วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์KMคณะวิชา/หน่วยงาน

คณะอักษรศาสตร์http://www.arts.su.ac.th/qa/km.html

คณะศึกษาศาสตร์ http://www.educ.su.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=151%3Akm&catid=40&lang=en
คณะวิทยาศาสตร์ http://www.sc.su.ac.th/teaching.php
คณะเภสัชศาสตร์ http://blog.pharm.su.ac.th/
คณะวิศวกรรมศาสตร์ http://www.eng.su.ac.th/
คณะดุริยางคศาสตร์ http://www.music.su.ac.th/km.php#1
คณะวิทยาการจัดการ http://www.management.su.ac.th/
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร http://61.19.53.89/km/
บัณฑิตวิทยาลัย http://www.graduate.su.ac.th/km.html
ศูนย์คอมพิวเตอร์ http://www.cc.su.ac.th/
สถาบันวิจัยและพัฒนา http://www.surdi.su.ac.th/km.html
สำนักหอสมุดกลาง วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ http://twitter.com/#!/suslibrary
http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/
หอศิลป์ http://www.su.ac.th/
สำนักงานอธิการบดี http://www.president.su.ac.th/
กองบริการการศึกษา http://www.eds.su.ac.th/km.htm
กองแผนงาน http://www.plan.su.ac.th/page-kmpsu.htm

แนวปฏิบัติที่ดี

บทสัมภาษณ์ รศ. ดร. เรณู เวชรัชต์พิมล ประสบการณ์จากการทำงานบริการวิชาการสู่สังคม



บทสัมภาษณ์ รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล แนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างไร http://www.qa.su.ac.th/DATA/qa/qa2553/qasu153.pdf




การจัดการความรู้กลุ่มสายสนับสนุน

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ได้จัดให้มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะวิชาอื่น คู่มือการปฏิบัติงาน วศ 7.2.3-7 www.eng.su.ac.th KM การจัดการความรู้)
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การพัฒนากระบวนการเบิกจ่ายกิจกรรม/โครงการ คณะฯ ได้รวบรวมองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงินและงบประมาณโดยตรง เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาสามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้ถูกต้อง อีกทั้งลดระยะเวลาในการกลับมาแก้ไข
คณะวิทยาการจัดการ
การจัดทำคู่มือการทำงาน โดยการสำรวจความต้องการของบุคลากรสายสนับสนุนรายบุคคลในเรื่องการจัดการความรู้พบว่า มีความสนใจในการพัฒนาคู่มือการทำงาน และเริ่มเขียนขั้นตอนการทำงานพร้อมทั้งรวบรวมให้เป็นระบบ จากนั้น จึงได้เชิญผู้มีประสบการณ์ในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ในการจัดสัมมนาอาจารย์และบุคลากร เมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2554 (เอกสารหมายเลข วก 7.2.4-6 ถึง วก 7.2.4-8)
บัณฑิตวิทยาลัย
มีการจัดโครงการการจัดการความรู้ โดยเชิญบุคลากรภายในหรือภายนอกที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวิชาการและผลงานทางด้านวิจัย มาถ่ายทอดความรู้ เคล็ดลับ หรือนวัตกรรม แนวปฏิบัติที่ดี โดยมีเวที การจัดประชุมสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเจ้าของความรู้ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยการดำเนินการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “จากหิ้งสู่ชุมชน” ครั้งที่ 1 เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้บริหารจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเพชรบุรี องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน นักวิชาการที่สนใจและบุคลากรของบัณฑิตวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข อ.7.2.6)
สำนักหอสมุดกลาง
มีการแบ่งปันผ่าน Blog การประชุม การเสวนา และการสัมมนาในหน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการฯ (สห 7.2.3–1) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้และทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง โดยเชิญ ผศ.ดร. นรงค์ ฉิมพาลี ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลางมาเล่าประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำดัชนีชี้วัดหน่วยงาน ดัชนีชี้วัดรายบุคคล การทำความเข้าใจกับบุคลากร และการวิพากษ์ KPI ให้กับบุคลากร (สห 7.2.3–2) รวมทั้งโครงการจดหมายเหตุฯ มีการศึกษาดูงานจดหมายเหตุ ณ หน่วยงานต่างๆ (สห 7.2.3–3)
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มีการจัดโครงการการจัดการความรู้ โดยเชิญบุคลากรภายในหรือภายนอกที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวิชาการและผลงานทางด้านวิจัย เช่น การจัดอบรมการใช้โปรแกรมระบบบริหารงานวิจัย (NRPM) การฝึกทักษะการนำเสนอต่อที่ประชุมระดับนานาชาติ การเขียนบทความภาษาอังกฤษเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ การจัดระบบทางการเงินของหน่วยงาน และการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน โดยมีเวที การจัดประชุม อบรม สัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเจ้าของความรู้ เพื่อการพัฒนาหน่วยงานและมหาวิทยาลัย และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ (เอกสารหมายเลข สว 2.4.1-4, สว 2.4.1-5, สว 4.1.2-2, สว 4.2.2-1, สว 4.2.2-2 และ สว 7.2.2-1)
หอศิลป์ได้จัดการความรู้ที่มีความจำเป็นต่อหอศิลป์
คือ การอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม เพราะหอศิลป์มีผลงานศิลปกรรมที่มีอายุมากและจำเป็นต้องซ่อมแซม ดังนั้นการจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและลงมือปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรของหอศิลป์รวมทั้งผู้สนใจ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีประสบการณ์ตรงและมีความชำนาญได้ถ่ายทอดความรู้ของตน ในขณะเดียวกันบุคลากรของหอศิลป์และผู้สนใจซึ่งมีความสนใจในประเด็นที่สอดคล้องกันแม้นมีประสบการณ์น้อยในเชิงปฏิบัติแต่ศึกษาภาคทฤษฎีมามาก จึงก่อให้เกิดบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีโดยวิทยากร 3 ท่าน คือ (1) อาจารย์สมศักดิ์ แตงพันธ์ ข้าราชการบำนาญ ผู้เชี่ยวชาญในการอนุรักษ์ผลงาน ศิลปกรรม จัดการความรู้ “การอนุรักษ์ผลงานผ้าใบ” (2) อาจารย์ขวัญจิต เลิศศิริ ข้าราชการในสังกัดกลุ่มวิทยาศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม เจ้าหน้าที่ในกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม สำนักโบราณคดี ผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการอนุรักษ์ผลงานกระดาษ จัดการความรู้ “การอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรมบนกระดาษ” และ (3) อาจารย์ชลิต สิงหศิริ ข้าราชการในสังกัดกลุ่มวิทยาศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม เจ้าหน้าที่ในกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม สำนักโบราณคดี จัดการความรู้ “เคมีภัณฑ์เพื่อใช้ในการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม” โดยได้ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการทำงาน และได้นำตัวอย่างบางส่วนมาให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกทักษะ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริงได้ (เอกสารหมายเลข 7.2.3-1 ถึง 7.2.3-3)
สำนักงานอธิการบดี
ได้ดำเนินนการตามแผนการจัดการความรู้ โดยขอบเขต KM 3 โครงการการจัดการความรู้ เรื่องระเบียบงานสารบรรณและการจัดการความรู้ (KM) ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรของกองในสำนักงานอธิการบดีและบุคลากรของคณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองกลาง และที่ประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในของสำนักงานอธิการบดียังเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (เอกสารหมายเลขสนอ. 7.2.3-1 ถึง สนอ. 7.2.3-3 และ สนอ. 7.2.1-5)

การจัดการความรู้ด้านการวิจัย

คณะโบราณคดีโดยภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
(1) ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการขอทุนสนับสนุนการวิจัย (2) ความรู้เกี่ยวกับการตั้งประเด็นวิจัยและวิธีการวิจัยทางประวัติศาสตร์ศิลปะ (3) ความรู้เกี่ยวกับการเผยแผร่ผลงานวิจัย (4) รวบรวมผลงานวิจัยและผลงานวิชาการอื่นๆ ของศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ในภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคณาจารย์ท่านอื่นๆ

คณะอักษรศาสตร์
โครงการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการขอทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (เอกสารหมายเลข arts 7.2.6)
คณะศึกษาศาสตร์
การเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยอย่างสร้างสรรค์ http://www.educ.su.ac.th/images/stories/KM2.pdf

คณะเภสัชศาสตร์
มีการจัดโครงการการจัดการความรู้ โดยเชิญบุคลากรภายในหรือภายนอกที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวิชาการและผลงานทางด้านวิจัย เช่น การให้ความรู้แก่ผู้บริหารของคณะวิชา ในเรื่องการจัดการความรู้และการบริหารความเสี่ยง โดยเชิญ อาจารย์ ดร.ชาคร วิภูษณวนิช เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ในภาควิชาในการประชุมต่าง ๆ มาถ่ายทอดความรู้ เคล็ดลับ หรือนวัตกรรม แนวปฏิบัติที่ดี โดยมีเวทีการจัดประชุมสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเจ้าของความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย/คณะวิชา/หน่วยงานเทียบเท่า (เอกสารหมายเลข ภส.7.2.2-1, ภส.7.2.2-4, ภส.7.2.2-5 และ ภส.7.2.3-1 ถึง ภส.7.2.3-4)

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มีการจัดโครงการการจัดการความรู้ด้านการวิจัยโดยเชิญอาจารย์และบุคคลภายนอกที่มีผลงานด้านการวิจัยในดีเด่น มาถ่ายทอดความรู้ เคล็ดลับ หรือนวัตกรรม แนวปฏิบัติที่ดีให้กับคณาจารย์ เพื่อการพัฒนาองค์กร ในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการยังได้จัดให้มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะวิชาอื่น (วศ 7.2.3-5 รายงานผลการดำเนินงานโครงการสัมมนาในหัวข้อ “การระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ” วศ 7.2.3-6 คู่มือการปฏิบัติงาน วศ 7.2.3-7 www.eng.su.ac.th KM การจัดการความรู้)

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การพัฒนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง คณะฯ ได้รวบรวมองค์ความรู้จากคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยทั้งภายนอกและภายใน โดยภายนอกคณะฯ ได้รวบรวมองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรีย์ จันทลักขณา และจากคณาจารย์ที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยทั้งที่อยู่ระหว่างการทำวิจัยและดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว

คณะวิทยาการจัดการ
การวิจัย โดยได้ทำการรวบรวมเอกสารจากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาของอาจารย์ทางด้านการวิจัยในปีการศึกษา 2553 และนำเอกสารที่ได้รับทั้งหมดมารวบรวมเป็นหมวดหมู่ใน ด้านการวิจัย และเพื่อให้สามารถเข้าถึงความรู้ จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามารถด้านการวิจัยมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ (เอกสารหมายเลข วก 7.2.4-3 ถึง วก 7.2.4-5)

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต


คณะโบราณคดี  
             โดยภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะได้ดำเนินการการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตตามแผนกลยุทธ์ดังนี้ (1) วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้หรือการจัดการความรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ความรู้ในด้านวิธีการมอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาทำรายงาน ความรู้ในด้านการเสนอแนะนักศึกษาในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ความรู้ในการควบคุมการอภิปรายกลุ่มย่อยของนักศึกษา ความรู้และวิธีปฏิบัติในการนำนักศึกษาออกทัศนศึกษา เป็นต้น  (2) วิธีส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนกับหน่วยงานภายนอก ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น ขั้นตอนและวิธีการเขียนหนังสือราชการถึงหน่วยงานภายนอก ขั้นตอนและวิธีการแสวงหาความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น

คณะอักษรศาสตร์
ได้ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ ประจำปี 2554 การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนด เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร : ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์กรและจรรยาบรรณของผู้บริหาร โดยผู้บริหารทุกระดับของคณะอักษรศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านการบริหารเป็นอย่างดี (เอกสารหมายเลข arts 7.2.3)  โครงการจัดการความรู้ เรื่อง การผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Power Point ขั้นสูง ที่บุคลากรคณะอักษรศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ว่าที่ร้อยตรีพิเชษฐ์  ทองนาวา  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้โปรแกรม Power Point และมีเทคนิคเฉพาะตัวสูง (เอกสารหมายเลข arts 7.2.4)    โครงการจัดการความรู้เรื่อง “การอบรมการออกข้อสอบวิชาภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ” (เอกสารหมายเลข arts 7.2.5) 
คณะศึกษาศาสตร์
             การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ http://www.educ.su.ac.th/images/stories/KM1.pdf

คณะวิทยาศาสตร์
             การใช้ Microsoft word เพื่อพัฒนาเอกสารและสื่อการสอน http://www.sc.su.ac.th/teaching/ms_word01.pdf

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
             การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ คณะฯ ได้รวบรวมองค์ความรู้จากคณาจารย์ทุกคนเพื่อหาแนวทางการสอน รวมไปถึงเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในประเด็นต่างๆ เช่น การส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดด้วยการระดมสมอง การกระตุ้นให้นักศึกษากล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นตนเอง ความเคารพตนเอง ใฝ่รู้ และไม่กลัวต่ออุปสรรคต่างๆ เป็นต้น โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์

คณะวิทยาการจัดการ
             การจัดการเรียนการสอน โดยได้ทำการรวบรวมเอกสารจากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาของอาจารย์ทางด้านการเรียนการสอนภาษาในปีการศึกษา 2553 นอกจากนี้ ยังได้สืบค้นจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ อาทิ ห้องสมุด และทางอินเตอร์เน็ต) และนำเอกสารที่ได้รับทั้งหมดมารวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้านการเรียนการสอน และเพื่อให้สามารถเข้าถึงความรู้ จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามารถด้านการเรียนการสอนมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ (เอกสารหมายเลข วก 7.2.4-3 ถึง วก 7.2.4-5)

วิทยาลัยนานาชาติ
             มีการจัดโครงการการจัดการความรู้ โดยเชิญบุคลากรภายในที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติงานในสำนักงานมาถ่ายทอดความรู้ เคล็ดลับ หรือนวัตกรรม แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อการพัฒนาองค์กร รวมถึงการจัดบุคลากรที่มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดีมาช่วยถ่ายทอดทักษะ ส่วนประเด็นอื่นๆ อยู่ระหว่างการดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนกับคณาจารย์ Birmingham City University ด้วย (เอกสารหมายเลข 7.2.3-1)

คณะมัณฑนศิลป์
             ได้จัดทำ ขั้นตอน และคู่มือปฏิบัติงานสำนักงาน และได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 ครั้งในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำตัวชี้วัดKPIs ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการรอบ 6 เดือนของบุคลากร หัวหน้าภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา และหัวหน้าภาควิชาประยุกตศิลปศึกษาได้ดำเนินการตามกระบวนการจัดการความรู้ และได้นำเสนอวิธีการคำนวณ และเกณฑ์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ภาควิชาอื่น ๆได้นำไปพิจารณาปรับใช้ในภาควิชา ตามความเหมาะสม มศ 7.2 ก5-1 7.2 5 บรรยายคู่มือคณะวิทย์ มศ 7.2 ก5-2 7.2 5 บรรยายคู่มือคณะอักษร มศ 7.2 ก5-3 และ7.5 5 หลักเกณฑ์พิจารณา KPI)