วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพทำอย่างไร :

ถ่ายทอดจากจากทัศนะของอธิการบดี รองอธิการบดีและคณบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เรียบเรียงโดย สมพร ศิลป์สุวรรณ์
       ขึ้นหัวเรื่องไว้ ผู้อ่านคงจะเข้าใจและนึกว่าเป็นการถ่ายทอดทัศนะในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพทำอย่างไรจากท่านอธิการบดีคนใหม่ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รวมทั้งรองอธิการบดีชุดใหม่ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อาจารย์ ดร.เลอสรรค์ โบสุวรรณ และรองศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ถ้าจะเข้าใจและนึกอย่างนั้นก็คงไม่ผิด เพราะท่านผู้บริหารที่ได้กล่าวนามมานั้น ยกเว้น รองศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ท่านได้ให้ทัศนะในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพทำอย่างไรในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งคณบดี และในปัจจุบันนี้ท่านได้เป็นผู้บริหารสถาบัน ทัศนะที่ได้ให้ไว้รวมทั้งทัศนะของผู้บริหารชุดที่ผ่านมา นับว่ามีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จึงขอร้อยเรียงและถักทอมาถ่ายทอดให้พวกเราชาวนิด้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับกลาง หัวหน้างานและสายสนับสนุนทุกท่าน เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพต่อไป
        บทความนี้เรียบเรียงจากการเสวนากับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา จรุงกิจอนันต์ อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และรองศาสตราจารย์ ดร.จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2549 เสวนากับ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2549 เสวนากับ รองศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 และเสวนากับ อาจารย์ ดร.เลอสรรค์ โบสุวรรณ คณบดีคณะสถิติประยุกต์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 จัดโดย KM กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งการเสวนากับผู้บริหารสถาบัน และคณบดี มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ รับทราบนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน หลักและวิธีการบริหารจัดการของผู้บริหาร ความคาดหวังที่ผู้บริหารมีต่อผู้บริหารระดับกลาง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหารระดับกลางในทัศนะของผู้บริหารข้างต้นโดยสรุปจะต้องใช้ความรู้และทักษะหลายด้านด้วยกัน ดังนี้
1. หลักการบริหาร        หลักในการบริหารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและในแต่ละสถานการณ์ แต่ที่สำคัญที่ได้ยึดถือกันมาโดยตลอดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) โดยมีการปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สำคัญ ๆ ทุกคนควรจะต้องรับรู้รับทราบ ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันทำ รวมทั้งการใช้หลัก การบริหารแบบพี่น้อง มีปัญหาหรือเรื่องอะไรที่สำคัญ จะปรึกษาผู้อาวุโส ซึ่งเป็นที่เคารพของทุกคน ไม่มีการเข้มงวดมาก มีการให้รางวัลและพร้อมที่จะไม่ให้รางวัลแก่คนที่ไม่ดี มีอะไรก็จะพูดกันแบบตรงไปตรงมา ดูผู้อาวุโส เป็นต้นแบบ (Modeling)
สำหรับผู้บริหารระดับกลางจะต้อง ศึกษา Style การบริหารและวัฒนธรรมของหน่วยงานของตน เพราะ style การบริหารแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องปรับรูปแบบการบริหารของเราให้เข้ากับนายได้ วิธีการพูดหรือ approach กับนายบางคนก็ไม่เหมือนกัน ต้องศึกษาว่านายเป็นอย่างไร culture ของคณะเป็นอย่างไร
2. ด้านความรู้ ความรู้ที่ผู้บริหารระดับกลางพึงมีที่สำคัญคือ2.1 ต้องรู้ระเบียบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพราะราชการมีข้อบังคับ ระเบียบและประกาศต่าง ๆ ทีเกี่ยวข้องซึ่งต้องบริหารงานให้เป็นไปตามที่กำหนด มิฉะนั้นแล้วก็จะทำให้มีความผิดได้ การรู้กฎระเบียบจะทำให้งานรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ดังนั้นก่อนจะส่งงานหรือเสนองานต้องตรวจสอบว่าถูกต้องตามกฎระเบียบหรือไม่
2.2 ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นในระดับผู้บริหาร ผู้บริหารระดับกลางต้องใช้ IT เป็นในระดับผู้บริหาร คืออย่างน้อยใช้ด้วยตัวเองไม่เป็นแต่ต้องรู้ว่าใช้ทำอะไร ในขณะเดียวกันต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการใช้ระบบ IT รวมทั้งพัฒนาบุคลากรของเราให้มีความพร้อมความเข้าใจใน IT มากขึ้น นอกจากนั้นแล้วทักษะด้านภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งสำคัญ
2.3 ต้องแลกเปลี่ยนความรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานจะช่วยทำให้เพิ่มพูนมากขึ้น ทำให้รู้จักวิธีการทำงานของแต่ละหน่วยงาน งานเลขาฯ ที่สำคัญคือ บางคณะบทบาทอาจารย์อาจจะมาก บางคณะบทบาทอาจารย์อาจจะน้อย การบริหารก็จะต่างกัน เลขาฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันจะช่วยให้งานแต่ละงานดีขึ้น
ผู้บริหารระดับกลางต้องมีการพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และรวมกันให้เป็นหนึ่ง ความสำคัญที่สุดของสถาบันที่จะดำเนินการไปได้ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้บริหารระดับกลาง เพราะข้างบนทำนโยบาย วางกรอบ แต่จะขับเคลื่อนด้วยผู้บริหารระดับกลาง ถ้าผู้บริหารระดับกลางทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะดำเนินไปด้วยดี การวางนโยบายไม่ใช่เป็นเรื่องยาก องค์กรของคนญี่ปุ่นคนที่สำคัญคือคนระดับกลาง เพราะคนตรงกลางประสานระหว่างข้างบนกับข้างล่าง ต่อให้ข้างบนวางนโยบายอย่างดีแต่ถ้าไม่ได้มีการสานต่อก็จะไม่สามารถบรรลุผลได้
3. ด้านมนุษยสัมพันธ์3.1 ประสานงานอย่างไม่เป็นทางการก่อน เพื่อลดปัญหาการขัดแย้ง การโต้เถียงกัน ลดการซ้ำซ้อนของงาน
3.2 การพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจกันให้มาคุยกัน อย่าไปเถียงกัน...เถียงกันแล้วก็ไม่สบายใจ ทำให้ผิดใจ
3.3 สร้างความร่วมมือ ให้เกิดขึ้นในองค์กรด้วยการมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานที่ดีและบริหารความขัดแย้ง ต้องมี attitude ที่ดีต่อกัน ทำอย่างไรให้ประนีประนอมกันให้มากที่สุด ใครที่ไม่ชอบใครก็อย่าไปพูดกับคนนั้นให้มาก รายละเอียดเล็กน้อย ปลีกย่อยอย่าแคร์มาก พยายามจัดกิจกรรมให้เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมกันเพื่อลด conflict เป้าหมายคือประสิทธิภาพของหน่วยงาน
3.4 อ่อนน้อมถ่อมตัว อ่อนโยนและจริงใจ อ่อนน้อมถ่อมตัว อ่อนโยนและจริงใจเป็น character ที่มีเสน่ห์ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็พูดกับเด็กดี ๆ เด็กก็นับถือ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ๆ ก็นับถือ
4. ด้านการปฏิบัติงาน4.1 การจัดลำดับความสำคัญของงาน4.2 ตรงต่อเวลา จึงจะถือว่ามีคุณภาพใช้ได้ เหมือนกับสินค้าที่ต้องมีคุณภาพที่ดี ราคาถูกต้องและส่งตรงเวลา
4.3 ลด Boundary ของกองใน สอธ. หลาย ๆ งานจะมีความเกี่ยวข้องกัน ใน สอธ. จะไม่มี boundary ของกอง งานบางอย่างที่สำคัญ เช่น งานออกนอกระบบก็อาจทำเป็น task force ขึ้นมา หลาย ๆ กองมาช่วยกันทำ ประเด็นคือ ใน สอธ.จะต้องทำงานร่วมกัน เป็น flat มากขึ้น
4.4 UPDATE ข้อมูล และใช้ IT เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
หน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนคือจะต้อง update ข้อมูลตลอดเวลา การบริหารการเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ด้วยระบบ IT เข้ามามีบทบาทมากขึ้น สองส่วนคือ e-learning และ e-office เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ถ้าหากเราเรียนรู้ได้ก็จะทำให้การให้บริการการศึกษาของเรามีความรวดเร็ว มีความทันสมัย การเรียนการสอนจะพัฒนาเป็น e-learning ระบบการบริหารจัดการภายใน เป็นระบบ e-office ก็จะทำให้มีความรวดเร็ว
4.5 ต้องกล้าที่จะเสนอแนะเพื่อพัฒนางานผู้บริหารระดับกลางคงทำอะไรใหม่ไม่ได้มากเพราะขึ้นอยู่กับคณบดี รองคณบดี เป็นหลัก เราจะตัดสินใจได้ค่อนข้างน้อย แต่เราเป็นผู้เสนอได้ว่า น่าจะทำอย่างนี้ถ้าอาจารย์เห็นดีด้วยก็ทำได้ แต่ถ้าไม่เห็นดีด้วยก็ไม่ต้องทำ เพราะเราไม่ได้อยู่ในระดับ decision maker ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจแต่เสนอได้ซึ่งจะทำให้การปรับปรุงมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สิ่งที่น่าจะช่วยกันได้ก็คือ ถึงแม้เราจะไม่ได้ตัดสินใจ แต่ควรจะเสนอได้ว่าควรเป็นแบบนี้ ผู้บริหารมาแล้วก็ไป ความต่อเนื่องอยู่ที่ผู้บริหารระดับกลาง
5. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
5.1 อย่ายึดติดกับการปรับเปลี่ยนโยกย้ายคน ขอให้มองภาพของการโยกย้าย การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของการพัฒนาคน การเปลี่ยนงานมีอยู่ 2 อย่าง คือ หนึ่งเพื่อให้งานไหลลื่นขึ้น สอง ประสบการณ์ บางทีทำงานสัก 4-5 ปีมันเริ่มเบื่อหน่าย ไม่ใช่การลงโทษแต่ความจริงแล้วมันทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น ทำให้ fresh ขึ้นด้วย มองภาพแบบนี้ซึ่งคงจะ dynamic มากขึ้น
5.2 การแบ่งโครงสร้างที่มีอยู่เราจะเน้นเรื่องของความรวดเร็ว ความเที่ยงตรง และความมีประสิทธิภาพ บุคลากรทุกคนต้องมี Job Description สิ่งเหล่านี้จะต้องทำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจ เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนต้องมี Job Description ถ้ามี Job Description ครบ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานเราจะรู้ว่างานแต่ละงานมีผู้รับผิดชอบหรือยัง และจะรู้ว่ามีงานบางงานมีความซ้ำซ้อนกันไหม งานอะไรที่ขาดยังไม่มีคนทำ เพราะฉะนั้นจาก Job Description จะทำให้จัดบุคลากรได้เหมาะสม เป็นเรื่องที่จะช่วยว่ามีงานครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน
5.3 พัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการในฐานะที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ต้องดูแลบุคลากรสายสนับสนุนว่าจะทำอย่างไรให้บุคลากรของเราทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเรื่องของการดูแล การบริหาร การพัฒนาบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะต้องเน้นว่าให้ผู้ที่ทำงานกับเราได้รับการพัฒนา ในแต่ละปีต้องทำแผนพัฒนาบุคลากร ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนมีการพัฒนาตนเอง ทำให้ระบบงานของตนเองมีความก้าวหน้า มีความรวดเร็วโดยตลอด ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ขององค์การคือ ทุกคนจะต้องขวนขวายหาความรู้ และในขณะเดียวกันการอบรม การสัมมนาของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยในเรื่องของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ให้พนักงานทุกคนรู้และเข้าใจองค์การแห่งการเรียนรู้
5.4 สนับสนุนให้ลูกน้องก้าวหน้าในอาชีพสิ่งจูงใจประการหนึ่งซึ่งโดยปกติคนเราทุกคนทำงานไม่ว่าจะอยู่สายไหนก็ต้องการความก้าวหน้าทั้งสิ้น ในทางทฤษฎีของเรื่องสิ่งจูงใจถ้าหากเราไม่เอามาใช้หรือทำให้คนที่ทำงานกับเราก็จะทำให้เป็นข้อติดขัด ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชามีโอกาสที่จะเติบโตได้สนับสนุนทุกกรณี เพราะถือเป็นขวัญและกำลังใจที่สำคัญ เมื่อเราดูแลความก้าวหน้า ขวัญกำลังใจและค่าตอบแทนต่าง ๆ ที่สมควรจะได้รับ ก็ต้อง demand กลับว่าทุกคนต้องทำงานด้วยความตั้งใจ
5.5 ประเมินผลการปฏิบัติงานต้องถูกต้องและยุติธรรมการประเมินต้องมีลักษณะ Objective มากขึ้น ถ้าเป็น Subjective มากไม่สามารถแยกให้เห็นว่าคนนี้ต่างกับคนนั้นอย่างไร ต้องทำให้มี Objective ให้ชัด ๆ เลยว่า ข้อไหนประเด็นไหนคะแนนเป็นอย่างไร ก็จะทำให้แยกความแตกต่างได้ ถ้าหากเป็นลักษณะ Subjective ก็ขึ้นอยู่กับหัวหน้า ระบบที่สำคัญที่จะทำให้คนทำงานกับเรามีขวัญกำลังใจก็จะต้องทำให้เขาได้รับการประเมินที่ถูกต้อง และยุติธรรม อาจจะต้องใช้การประเมิน 360 องศา
5.6 Empower ให้ฝ่ายสนับสนุน
มีการ empower ไปยังหัวหน้างาน ทำให้การทำงานได้เร็วขึ้น ทุกเรื่องไม่ต้องไปลงที่เลขานุการคณะหรือผู้อำนวยการกองก็จะทำให้แต่ละคนทำงานได้คล่องตัวขึ้น
5.7 การสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีแก่บุคลากร เพราะงานจะเดินหรือไม่ต้องมีกองทัพที่เข้มแข็งและมีความสุขในการทำงาน ดูแลและเอาใจใส่ลูกน้อง ให้กำลังใจลูกน้อง เพื่อนร่วมงานไม่ใช่ลูกน้อง ต้องดูแลไม่ให้อดอยาก ให้กินดีอยู่ดีพอสมควร..ถามลูกน้องว่าเขาเป็นอย่างไร สบายดีหรือไม่ ..คำพูดดี ๆ ก็ทำให้เขาดีใจ..ผู้บริหารต้องทำให้เป็นธรรมชาติ
ที่มา : KM สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

เขียนวาระการประชุมอย่างไร...ไม่ได้ใจความ

คิดอยู่นานว่า  ชื่อนี้เหมาะกับเรื่องที่ต้องการสื่อสารหรือไม่ ?
โดยเลือกระหว่างหัวข้อดังกล่าว กับ "เขียน(วาระการประชุม)อย่างไรให้ได้ใจความ" แล้วก็ตัดสินใจเลือกชื่อแรก เพราะบางครั้งการบอกว่า ทำอย่างไรแล้วดี ฟัง(อ่าน) แล้วไม่เห็นภาพที่ชัดเจน
ทำอย่างไรจึงเรียกว่าไม่ดี ?
จากประสบการณ์ที่เข้าประชุมหลายสิบครั้งต่อปี พบว่ามีเรื่องบางเรื่องที่การนำเสนอ (วาระการประชุม) ที่ไม่ได้ใจความมีสามเหตุหรือที่มาดังต่อไปนี้
** ผู้เขียนไม่ทราบความเป็นมาของเรื่องนั้นๆ
**ผู้เขียนไม่ทราบกฎระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
**ผู้เขียนขาดทักษะในการเขียนวาะการประชุม
ดังนั้น ที่ประชุมจึงไม่สามารถตัดสินใจได้ ทำให้การดำเนินการล่าช้าและเกิดผลเสียหายในงานที่จะปฏิบัติตามมา
เมื่อได้ทราบสาเหตุของการเขียนวาระการะประชุมที่ไม่ได้ใจความแล้ว ลองมาดูทางแก้ ว่าควรทำอย่างไร
 **ก่อนลงมือเขียนวาระ ให้ศึกษารายละเอียดจากเรื่องที่ได้รับ หรือมีอยู่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและทราบความเป็นมา ปัญหา หรือความสำคัญของวาระที่จะเขียน
**ถ้ายังไม่เข้าใจให้สอบถามเจ้าของเรื่องหรือผู้ที่คาดว่าจะรู้ เข้าใจเรื่องนั้นๆ และอาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
**ศึกษากฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ใช้อ้างอิงและแนวปฏิบัติที่เคยดำเนินการมาแล้ว
**ศึกษาวิธีการเขียนวาระการประชุมเพิ่มเติม โดย
     - ดูจากรายงานการประชุมที่(คิดว่า) เป็นมาตรฐาน
     - ดูจากหนังสือที่แนะนำการเขียน
     - ศึกษาจากเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา
     - ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ หรือหาความรู้เพิ่มเติม
ทั้งนี้จะต้องเอาใจใส่ และคอยพัฒนาให้ดีขึ้น โดยนำคำแนะนำ คำติชมไปปรับปรุงงานอย่างสม่ำเสมอ
วาระการประชุมที่ดี ควรมีองค์ประกอบ อย่างไร?
 **ความเป็นมา (ใคร ทำไม)
**ประเด็นที่เสนอให้พิจารณา หรือเสนอเพื่อทราบ (อะไร อย่งไร)
**ข้อมูลอ้างอิงที่จำเป็น
**การตรวจสอบกับกฎ ระเบียบ
**ความเห็นเบื้องต้นของหน่วยงาน (เพื่อประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการ)
**วาระการประชุมที่ดีไม่ควรยาวเกินไป (เพราะอ่านแล้วจะสับสน จับประเด็นไม่ได้ แต่ถ้าสั้นเกินไปอาจขาดข้อความสำคัญทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจความเป็นมา ไม่มีข้อมูล ทำให้ตัดสินใจไม่ได้ อันนี้ต้องใช้ประสบการณ์และทักษะมาช่วยตัดสิน)
ข้อควรระวังสุดท้ายที่ผู้เสนอเรื่องเข้าประชุมต้องคิดให้มาก คือ การวางแผนที่ดี เพราะหากเขียนวาระการประชุมดี แต่เสนอเรื่องเข้าไม่ทัน ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ภายในกำหนดเวลา รับรองว่า งานเข้าแน่!!
โดย อุษาโรจน์  ดีร์โจซูโบรโต
ที่มา : KM สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

'ม.ศิลปากร' เผยผลสอบ ใบประกอบวิชาชีพเภสัชฯ

        ภก.รศ.ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึงผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพเภสัชกรรม ประจำปี 2555 ที่บัณฑิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำคะแนนได้ 95.73% และจากเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยผลการสอบ 3 ปีย้อนหลัง 2553-2555 มีคะแนนเฉลี่ยเป็นอันดับที่ 1 จากคณะเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ ว่า คณะมีความยินดีมากสำหรับผลการสอบในครั้งนี้ที่บัณฑิตมีศักยภาพสูง ได้รับการยอมรับในวงการวิชาชีพเภสัชกรรม เป็นการเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจของนักเรียนที่สนใจเข้ามาศึกษาต่อใน สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งนอกจากคุณภาพทางด้านวิชาการแล้วยังมีความชำนาญด้านวิชาชีพ และจริยธรรม มีหน่วยงานในสังกัดที่พร้อมให้ความรู้กับนักศึกษา สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
'การสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรม จัดขึ้นโดยสภาเภสัชกรรม ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์จะต้องสอบเพื่อขอรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรม เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง การสอบความรู้ฯ จึงเป็นการกลั่นกรองในเบื้องต้นเพื่อยืนยันคุณภาพทางด้านวิชาการ อย่างไรก็ดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ให้ความสำคัญกับการก้าวเข้าสู่วิชาชีพเภสัชกรรมที่ ต้องเต็มเปี่ยมด้วยความสามารถทางวิชาการ และมีคุณธรรม จริยธรรม รักษาจรรยาบรรณ และมั่นคงในกฎระเบียบของวิชาชีพ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่วิชาชีพเภสัชกรรมกำลังเป็นที่จับตาในสังคม' ภก.รศ.ดร.ธนะเศรษฐ์กล่าว
ที่มา : 

19 เมษายน 2555