วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ผลการสำรวจความคิดเห็นต่อรูปแบบการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและคณะกรรมการประเมินคุณภาพ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2555 (ระดับคณะวิชา/หน่วยงาน)


ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่มีการปรับปรุงใหม่ และการปฏิบัติงานของประธานกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (ระดับคณะวิชา/หน่วยงาน/สถาบัน) โดยรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  
เกณฑ์การประเมินทางสถิติ
          ระดับคะแนนความพึงพอใจตามแบบสอบถาม
                   5 คะแนน       หมายถึง                  มากที่สุด
                   4 คะแนน       หมายถึง                  มาก
                   3 คะแนน       หมายถึง                  ปานกลาง
                   2 คะแนน       หมายถึง                  น้อย
                   1 คะแนน       หมายถึง                  น้อยที่สุด
          ช่วงการพิจารณาหาค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ
                   ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00  หมายถึง        พึงพอใจระดับมากที่สุด
                   ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50  หมายถึง        พึงพอใจระดับมาก
                   ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50  หมายถึง        พึงพอใจระดับปานกลาง
                   ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50  หมายถึง        พึงพอใจระดับน้อย
                   ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.50  หมายถึง        พึงพอใจระดับน้อยที่สุด
โดยมีความพึงพอใจในประเด็นต่างๆ  ดังนี้

 

หัวข้อประเมิน
เฉลี่ยรวม
แปล
ผล
™ประเด็นรูปแบบการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (1 - 4)
4.23
มาก
1. การปรับปรุงรูปแบบการตรวจประเมินส่งผลต่อการพัฒนาการประเมินคุณภาพตั้งแต่ระดับคณะวิชา/หน่วยงานจนถึงระดับสถาบัน โดยใช้ผู้ประเมินระดับคณะวิชามาร่วมเป็นผู้ประเมินในระดับสถาบัน ทำให้สามารถประเมินผลในเชิงประจักษ์ได้สะดวก และชัดเจน
4.28
มาก
2. รูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในในระดับคณะวิชา/หน่วยงานสนับสนุน และระดับสถาบัน (IQA) ส่งผลให้การประเมินทั้งมหาวิทยาลัยมีมาตรฐานเดียวกัน
4.05
มาก
3. ผลการประเมินภายใต้รูปแบบการประเมินที่ปรับปรุงใหม่จากกรรมการผู้ตรวจประเมินชุดเดียวกัน มีความยุติธรรม และความเสมอภาค
3.94
มาก
4. การตรวจเยี่ยม และสัมภาษณ์คณะวิชา/หน่วยงานภายใต้รูปแบบการประเมินที่ดำเนินการเพียงครั้งเดียว โดยไม่ต้องตรวจเยี่ยมหรือสัมภาษณ์ในระดับสถาบันอีก ส่งผลให้ลดความซ้ำซ้อน ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการดำเนินการประเมินให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4.52
มากที่สุด
ประเด็นการปฏิบัติงานจริงของประธานกรรมการฯ(ในระหว่างการตรวจเยี่ยม ตรวจเอกสาร และสัมภาษณ์) 
(5 - 10)
4.25
มาก
5. สอบทานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การตรวจเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น
4.48
มาก
6. ทำการตรวจเยี่ยมคณะวิชา/หน่วยงานในวันที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
4.17
มาก
7. สามารถตอบข้อซักถามของคณะวิชา/หน่วยงาน/สถาบันอย่างชัดเจน
4.23
มาก
8. สามารถให้ข้อเสนอแนะที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคณะวิชา/หน่วยงาน/สถาบัน
4.18
มาก
9. รายงานผลตรงตามสภาพความเป็นจริง และเปิดโอกาสให้คณะวิชา/หน่วยงาน/สถาบันทักท้วงหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
4.29
มาก
10. คณะผู้ประเมินจัดส่ง (ร่าง) รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ
4.17
มาก
ประเด็นระดับความสามารถประธานกรรมการฯ (11 - 17)
4.50
มาก
11. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน
4.48
มาก
12. ความเข้าใจในบริบทของคณะวิชา/หน่วยงาน/สถาบัน
4.28
มาก
13. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ
4.42
มาก
14. ประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญ/ความน่าเชื่อถือในระดับอุดมศึกษา
4.58
มากที่สุด
15. มีมนุษยสัมพันธ์ และการสื่อสารแบบกัลยาณมิตร
4.53
มากที่สุด
16. มีความตรงต่อเวลา
4.63
มากที่สุด
17. การแสดงพฤติกรรม และจรรยาบรรณที่เหมาะสมตามบทบาทผู้ประเมิน
4.65
มากที่สุด
ประเด็นการสัมภาษณ์โดยประธานกรรมการฯ (18 - 20)
4.48
มาก
18. เนื้อหาของคำถามที่ใช้ ชัดเจน ตรงประเด็น
4.40
มาก
19. วิธีการซักถามมีการเน้นประเด็นสำคัญสำหรับการประเมิน
4.35
มาก
20. มีบุคลิกภาพเหมาะสมในการเป็นผู้ประเมินโดยภาพรวม
4.70
มากที่สุด
ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวม
มาก