วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

EdPEx กับ TQA เหมือนกันหรือไม่??


สวัสดีค่ะ... วันนี้แอดมินขอนำเสนอความหมายของ EdPEx อีกครั้ง ....ที่ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอ "คำถาม 15 ข้อที่คาใจ" เกี่ยวกับ EdPEx ไปแล้ว

ซึ่งมีหลายท่านสงสัยว่า TQA กับ EdPEx เหมือนกันหรือไม่ ...วันนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ

EdPEx ย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ” เป็นเครื่องมือพัฒน  The Malcolm Baldrige National Quality Award:MBNQA โดย The National Institute of Standards and Technology (NIST)   ซึ่งประเทศไทยได้นำมาปรับใช้กับภาคธุรกิจและภาครัฐ คือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศไทย (Thailand Quality Award : TQA)  และ สกอ. ได้นำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) มาปรับใช้เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานบริหารจัดการการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สามารถเทียบได้ในระดับสากล


เ กณฑ์ EdPEx คื อกรอบที่ทำให้มอง/ คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด)และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบันของเราจริงๆ

แม้ เกณฑ์ Baldrige จะมี 3 ฉบับ คื อ ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่ แสวงหากำไร ภาคการดูแลสุขภาพ และภาคการศึกษา แต่ทั้ง 3 ฉบับเป็นเรื่องเดียวกัน มีหลักการต่างๆ เหมือนกัน

ทุกประการ จะแตกต่างก็เพียงศัพท์เฉพาะสาขาเท่านั้น เช่น แทนที่ จะใช้คำว่าลูกค้า เพียงอย่างเดียว ในเกณฑ์ EdPEx จะใช้คำว่ าผู้เรียนในหลายๆ ตอนด้วย สำหรับในภาคธุรกิจ ผู้รับบริการ คือ ลูกค้า ภาคสุขภาพ ผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วย

ทั้งนี้ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ได้ถูกนำไปใช้เป็นกรอบการพัฒนารางวัลคุณภาพอื่นๆ ในภาครัฐและเอกชนอย่างแพร่หลาย เช่น มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital Accreditation หรือ HA) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award หรือ PMQA ) เกณฑ์การประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal หรือ SEPA)

สรุปว่า : TQA กับ EdPex เหมือนกัน

ถ้าท่านประสงค์ทราบรายละเอียดหรือประเด็นไขข้อข้องใจเพิ่มเติม...เราไปพบกับคำตอบได้จากท่านวิทยากร รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกณฑ์ EdPEx กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา" ในวันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 ณ หอประชุมชั้น 4 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินร (องค์การมหาชน)



 
ที่มา : http://www.mua.go.th/users/bhes/edpex/doc/15faq.pdf 

          เจาะลึก EdPEx : เป็นเลิศด้วยเครื่องมือการจัดการ 
                โดยคุณพัฒนชัย กุลสิริสวัสดิ์
          เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศกับการพัฒนาคุณภาพ
          การบริหารจัดการ สถาบันอุดมศึกษาสู่ระดับสากลอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน 
                โดย ดร. ฐิติเดช ลือตระกูล









วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

การถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วม (อิน) ของนักวิจัยมือใหม่

          คำว่า อินมาจากคำว่า "อินเนอร์" (Inner) หมายถึง การมีความรู้สึกร่วม หรือ มีอารมณ์ร่วม เป็นภาวการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วการจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยมือใหม่ที่ได้มีโอกาสเข้าไปทำการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด สภาพการใช้ชีวิตของบุคคลในสภาพต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นักวิจัยอาจมีความรู้สึกร่วม หรือมีอารมณ์ร่วมอย่างรุนแรงบางครั้งมากกว่าผู้ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเสียอีก เมื่อการวิจัยจบสิ้นลง ความรู้สึกร่วมหรืออารมณ์ร่วมยังคงค้างอยู่กับนักวิจัย และอาจทำให้นักวิจัยผู้นั้นเปลี่ยนแปลงเจตคติ วิถีชีวิต หรือพฤติกรรมตามแบบเรื่องราวที่ไปทำการศึกษาวิจัย

นักวิจัยมือใหม่ หมายถึง ผู้ที่เริ่มทำวิจัย ซึ่งส่วนมากจะเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอก การทำวิจัยจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา ทำให้กระบวนการวิจัยสามารถดำเนินไปตามแบบแผนที่นำเสนอไว้ อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการของการวิจัยนั้น นักวิจัยอาจต้องเข้าไปสัมผัสถึงแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งจะอยู่ท่ามกลางสภาพของปัญหาวิจัยที่นักวิจัยศึกษาค้นคว้าอยู่ การเตรียมตัวเพื่อทำงานวิจัยอาจไม่ให้ความสำคัญกับภาวะทางจิตใจ เช่นความรู้สึกร่วมและอารมณ์ร่วมของนักวิจัยมากนัก ส่วนมากจะเน้นระเบียบวิธีวิจัย หรือกระบวนการจัดกระทำต่างๆ เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ต้องการ

ภาวการณ์ที่มีความรู้สึกร่วม หรือ
อินกับเรื่องราวและบุคคลที่นักวิจัยเข้าไปสัมผัสอาจเกิดขึ้นกับนักวิจัยได้เสมอ เนื่องจากมีเหตุและปัจจัยต่างๆ เกื้อหนุนให้ต้องเข้าไปอยู่ในอารมณ์และความรู้สึกกับสิ่งที่ได้สัมผัส ประเด็นปัญหาวิจัยต่างๆ อาจให้ผลทางอารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่าง หลากหลาย และมีระดับของความรู้สึกมากน้อยแตกต่างกัน แต่เมื่อเกิดภาวการณ์ที่ อิน
กับเรื่องราวหรือบุคคลเข้าไปอย่างมาก อาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนักวิจัยอย่างไม่ตั้งใจ การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจแสดงออกมาอย่างเปิดเผย หรือซ่อนเร้น ปิดบัง หรืออาจส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของตนเองได้

ตัวอย่างของนักวิจัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น นักวิจัยที่ไปศึกษาเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่นเรื่องราวของหนังใหญ่ทางภาคใต้ ลิเกทางภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง หมอลำทางภาคอีสาน ผู้วิจัยเมื่อได้เข้าไปสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ เรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเหล่านั้น มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดภาวการณ์ ที่
อิน
กับการใช้ชีวิตและผู้คนในแวดวงศิลปกรรมพื้นบ้านเหล่านั้น มีนักวิจัยบางท่านถึงกับทิ้งครอบครัว การงาน และการเรียนไปใช้ชีวิตกับผู้คนในแวดวงศิลปกรรมพื้นบ้านไปเลย

นอกจากนั้น การที่บางคนได้ไปสัมผัสกับผู้ที่มีความพิการ หรือบกพร่องทางด้านความสามารถต่างๆ เช่นหูหนวก ตาบอด หรือทุพลภาพในลักษณะต่างๆ ทำให้เกิดภาวการณ์ทางอารมณ์ รู้สึกอาทร เห็นใจ หรือสงสารอยากช่วยเหลือ หรือ
อินกับสภาพที่ตนเองได้สัมผัส รวมทั้งการที่ได้พบเห็นผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเอาเปรียบจากกลุ่มอิทธิพล กลุ่มสังคม หรือกลไกของรัฐ ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม อยากช่วยเหลือ ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยและสร้างอิสรภาพ ภราดรภาพให้กับบุคคลที่ถูกกดขี่ นักวิจัยจำนวนหนึ่งเกิดภาวการณ์ อิน
กับเรื่องราวและผู้คนเหล่านั้น ในที่สุดก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสภาพการณ์ที่ไปศึกษาวิจัย

ภาวการณ์
อิน
ที่มีระดับต่ำกว่าดังกล่าวข้างต้นก็มีปรากฏให้เห็นเช่น เมื่อนักวิจัยได้ทำวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเกิดความลุ่มหลงจนไม่เห็นความสำคัญของสิ่งอื่น หรือศาสตร์อื่นใดอีกเลย เล็งเห็นแต่ความสำคัญของงานวิจัยที่ตนเองศึกษาเท่านั้นว่าสามารถจะตอบคำถามได้ทุกคำถาม และงานวิจัยของตนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดประเสริฐสุดแล้วกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ปิดกั้นตนเองจากสิ่งอื่นๆ ไม่ยอมรับผู้อื่นหรือศาสตร์อื่น ๆ นอกจากของตนเองเท่านั้น

จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจมีประเด็นโต้แย้ง ในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และการยอมรับในสติปัญญา ความสามารถ หรือเคารพต่อการตัดสินใจของบุคคลที่จะเลือกใช้ชีวิต มีความชอบ ความรัก ความพอใจ หรือเกลียดชังตามที่ใจตนเองปรารถนา และอาจนำเรื่องบุญกุศล กรรมเวร ต่างๆ มาตอบปัญหาการเปลี่ยนไปของนักวิจัยที่เกิดภาวการณ์
อินและอาจเล็งเห็นว่าเป็นความดีงามเพราะจะได้เกิดผู้สนใจและเชี่ยวชาญอย่างจริงจัง ลึกซึ้ง เช่น นักวิจัยเรื่องลิงป่าก็จะทุ่มเทชีวิตอยู่กับลิงในป่าตลอดเวลาจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องลิงป่า จึงทำให้ไม่เห็นความจำเป็นต้องปกป้องการเกิดภาวการณ์ อินและการเยียวยานักวิจัยที่เกิดภาวการณ์ อิน
ไปแล้วให้เกิดการถอนตัวและกลับสู่ฐานะเดิม

แต่สำหรับนักวิจัยมือใหม่ ซึ่งส่วนมากเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ถึงแม้จะมีวัยที่เป็นผู้ใหญ่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายแล้วก็ตาม แต่พวกเขากำลังเริ่มหัดทำวิจัย ต่างจากนักวิจัยมืออาชีพที่ตัดสินใจเลือกทางเดิน และการใช้ชีวิตของตนแล้วอย่างมีสติสมบูรณ์ แต่นักวิจัยมือใหม่นั้นการมีอาจารย์ปรึกษานอกจากจะช่วยการดำเนินการวิจัยเป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้องแล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดภาวการณ์
อินกับงานวิจัยมากเกินไป หรือ ถ้าเกิดภาวการณ์ อินไปแล้วควรจะต้องมีกระบวนการทำให้ถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วม หรือ อิน
นั้นให้ได้เป็นภารกิจสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาควรให้ความสำคัญด้วย

นักวิจัยบางคนไม่เกิดภาวการณ์
อินขณะที่บางคนอาจเกิดขึ้นและค่อยๆ หายไปเองเมื่อสิ้นสุดการวิจัย แต่นักวิจัยบางคนเกิดอาการมากและไม่มีทีท่าจะกลับสู่ฐานะเดิมได้ง่ายนัก ซึ่งมักจะถูกมองจากสังคมว่า เพี้ยน
เพราะพฤติกรรมไม่อยู่ในปทัสถานของสังคมเมื่อได้เข้าสู่การทำวิจัย และประเด็นหลังสุดนี้เป็นประเด็นที่นักวิจัยควรจะต้องได้รับการช่วยเหลือให้กลับสู่ฐานะเดิม หรือ คืนสติ ให้กลับสู่ปทัสถานทางสังคมอย่างที่เคยเป็น ถึงไม่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดแต่ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

อาจารย์ที่ปรึกษาและเมธีวิจัยเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยมากแล้วจึงสามารถทำหน้าที่ควบคุมดูแลการวิจัยและนักวิจัยตามแบบแผนและวิธีการของตนเมื่อนักวิจัยมือใหม่มีภาวการณ์
อินจนมีพฤติกรรมเลยปทัสถานของสังคม อย่างไรก็ตาม อาจารย์ที่ปรึกษาและเมธีวิจัยสามารถดำเนินการแก้ไขให้เขาเหล่านั้นสามารถถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วม หรือ อิน
ได้ด้วยกลวิธีดังนี้

1. ให้นักวิจัยหยุดพักและแยกนักวิจัยออกจากสภาพแห่งปัญหาวิจัยทันทีด้วย วิธีการที่แยบยล โดยอาจมอบหมายงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนและเรื่องราวที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของนักวิจัย

2. นำนักวิจัยไปสู่สถานการณ์ใหม่ เงื่อนไขใหม่ คนกลุ่มใหม่หรือกลุ่มอื่นๆ ที่แตกต่างจากเดิม

3. นำกระบวนการปรับเปลี่ยนเจตคติด้วยการเสริมข้อมูล และการใช้เหตุผลทางความคิด ตรรกะทางความคิดให้กับนักวิจัย เช่น กระบวนการ
Inner Retreat
และกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ

4. ใช้คำสอนทางศาสนาและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเข้ามาเสริมการปฏิบัติในปกติวิสัยมากขึ้น เช่น การเจริญกรรมฐาน การวิปัสสนา หรือ
Meditation
เป็นต้น

5. นำตัวส่งผู้เชี่ยวชาญทางการแก้ไขพฤติกรรม อาจต้องมีการบำบัดรักษาด้วยยา หรือกระบวนการบำบัดรักษาอื่นๆ

สำหรับรายละเอียดในแต่ละข้อมีเทคนิควิธีการที่ต้องปรับเหมาะกับสภาพความหนักเบาของนักวิจัยแต่ละคน ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในภูมิหลัง และวิถีชีวิตที่เป็นปกติวิสัยของแต่ละคนอีกด้วย

การช่วยเหลือให้นักวิจัยสามารถถอนตัวจากความรู้สึกร่วม หรือ
อินเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมอาจยังไม่ถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญทั้งนี้เนื่องจากปัญหานี้ยังถือว่าเป็นปัญหาเฉพาะบุคคล หรือ เอกชน ไม่ใช่ปัญหามหาชนหรือที่มีผลกับคนส่วนมาก ปัญหานี้จึงไม่ถูกนำมาตีแผ่และขยายผลให้สื่อมวลชนได้รับรู้รับทราบ หรือเพียงรับทราบว่ามีนักวิจัย เพี้ยนหรือนักวิชาการ เพี้ยนอันเกิดจากการ อินกับงานวิจัยมากเกินไปอยู่จำนวนหนึ่ง แต่อาจไม่ให้ความสำคัญมากนัก และอาจใช้วิธีการตอบโต้ด้วยกลวิธีต่าง ๆ เช่น การสร้างมวลชนต่อต้าน สร้างวาทกรรม และเหตุการณ์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของนักวิจัยเหล่านั้นแทน

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/333051