วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับผู้ประเมินภายนอก สมศ.

คำถาม ผู้ประเมินมีอายุเกิน 60 ปีได้หรือไม่ ?
คำตอบ ได้และมีคุณสมบัติครบตามที่ สมศ. กำหนด

คำถาม ผู้ประเมินต้องเรียนจบสาขาการศึกษาหรือไม่ ?
คำตอบ ไม่ จำเป็น แต่ผู้ประเมินต้องมีความรู้เรื่องหลักสูตร การสอน การบริหารสถานศึกษา และในคณะผู้ประเมิน 1 คณะ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จบสาขาการศึกษาทุกคน


คำถาม  ผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับใบรับรองจาก สมศ. แล้วสามารถเป็นผู้ประเมินได้กี่ปี ?
คำตอบ  สม ศ. ให้การรับรองเป็นผู้ประเมินภายนอกคราวละ 3 ปี และจะพ้นจากการเป็นผู้ประเมินภายนอก เมื่อตาย หรือถูกเพิกถอนใบรับรองตามหลักเกณฑ์ที่ สมศ. กำหนด
 
คำถาม  หน่วยงานประเมินภายนอกมีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง ?
คำตอบ  1. ทำสัญญากับ สมศ. เพื่อทำการประเมินภายนอก 2. จัดคณะผู้ประเมินภายนอกตามหลักเกณฑ์ สมศ. 3. กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การทำการประเมินคุณภาพภายนอกของคณะผู้ประเมิน


คำถาม  ผู้ประสงค์จะจัดตั้งหน่วยงานประเมินภายนอก ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
คำตอบ  1. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการศึกษาโดย เฉพาะ 2. มีบุคคลที่ได้รับการรับรองจาก สมศ.ให้เป็นผู้ประเมินภายนอก ตามที่กำหนด  

โดย สมศ. http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/faq/index.php 

ศธ.ดันจุฬา-ภาคอุตต่อยอดผลวิจัยทำเงิน


http://www.iqnewsclip.com/selection/newstif.aspx?nid=131126021080&ftype=bw

ด่วนประกาศ สมศ. ขยายเวลารับสมัครออกไปถึง 30 พ.ย. 56

ขยายเวลารับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 

http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/home/download.php?LinkPath=../../upload/NewsPublish/download/2562-7931-0.pdf&DownloadFile=2562-7931-0.pdf&DownloadID=3714&path=../../upload/NewsPublish/download/2562-7931-0.pdf

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีปฏิบัติและผลการดำเนินงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้น” ของคณะวิชา

จากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2555
ผู้ประเมินได้ให้ข้อเสนอแนะในหัวข้อ “จุดเด่นใน 4 พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา (การเรียนการสอน การวิจัยและงานสร้างสรรค์ บริการทางวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) วิธีปฏิบัติและผลการดำเนินงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้น” ของคณะวิชา ดังนี้
  • คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
    1.  บุคลากรมีความโดดเด่น มีศักยภาพสูงในด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม
    2.  มีศักยภาพในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ส่งเสริมต่อเอกลักษณ์ และวัฒนธรรม
ของชาติ
  • คณะโบราณคดี
1. คณะโบราณคดีเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทยที่ผลิตบัณฑิตด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยา
2. คณะโบราณคดีมีความโดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ problem based learning
3. คณะโบราณคดีมีบุคลากรที่มีความโดดเด่นด้านการวิจัย ท าให้ได้รับทุนวิจัยจากภายนอกจ านวนมาก
4. คณะโบราณคดีมีการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและการท านุบ ารุงศิลปวัฒนธรรม การที่เกิดจากศึกษาค้นคว้าทั้งทฤษฎี ภาคปฏิบัติและภาคสนาม

  • คณะมัณฑนศิลป์
1. คณะมีบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ในด้านวิชาการและวิชาชีพสูง เป็นแหล่งรวมบุคลากรจากอาวุโสถึงรุ่นใหม่ ทําให้มีศักยภาพในดhานการเรียนการสอน การผลิตผลงานวิชาการ และวิชาชีพสูง
2. คณะมีโครงการสนับสนุนนักออกแบบไทยไปสู่สากลซึ่งเป็นโครงการที่ดําเนินการต่อเนื่องมาระยะยาวและมีส่วนในการสนับสนุนผลักดันมาตรฐานทางด้านการออกแบบในระดับนานาชาติ

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
1. คณาจารย์มีศัยกภาพในการท างานวิจัย และ เผยแพร่ผลงานวิจัย และสามารถประยุกต์ในเชิงพาณิชย์
ได้
2. บางภาควิชาฯ มีการน าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการเรียนการสอนและส่งผลให้คณาจารย์ยัง
สามารถปฏิบัติตามภารกิจได้เป็นอย่างดี
3. มีศักยภาพในการน างานวิจัยไปสู่บริการวิชาการและเป็นที่ยอมรับ คณะควรต่อยอดให้เชื่อมโยงกับการ
เรียนการสอน
4. คณะฯสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บูรณาการเข้ากับงานท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม
และปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่สากล และเพิ่มมูลค่าของผลผลิตชุมชน

  • คณะดุริยางคศาสตร์
1. Master class and workshop เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนการสอน โดยวิทยากรพิเศษที่
หลากหลายทำให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางวิชาชีพได้เป็นอย่างดี รวมถึงได้สร้างโอกาสการ
เชื่อมโยงกับเครือข่ายทางวิชาชีพทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
 2. Thailand Jazz Competition เป็นโครงการที่สร้างมาตรฐานทางศิลปวัฒนธรรมในระดับชาติ
 3. โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียนผู้มีความสามารถเป็นเลิศด้านดนตรี เป็นโครงการที่
สร้างโอกาสในการเรียนรู้ สร้างพื้นฐานทางดนตรี และพัฒนาเยาวชนเพื่อจะต่อยอดสู่การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
  •  คณะวิทยาการจัดการ
1. จุดเดนของคณะคือดานการเรียนการสอนที่เปนเรื่องการปฏิบัติและการวิจัย โดยใชกระบวนการ
เรียนการสอนที่มีลักษณะเปน Practice Research Based Learning ที่ใหนักศึกษามีโอกาสฝกปฏิบัติจริง
ทั้งในหองปฏิบัติการและลงพื้นที่ ซึ่งสิ่งเหลานี้จะสรางคุณลักษณะเดนของบัณฑิตทั้งดานความพรอมในการ
ทํางาน การคิดวิเคราะหการวิจัย และสรางความแตกตางของคุณลักษณะของบัณฑิตที่แขงขันได
2. อุปกรณการเรียนการสอน หองปฏิบัติการเรียนงาย แตใชประโยชนไดดี เปดโอกาสใหนักศึกษา
ไดฝกปฏิบัติอยางเปนรูปธรรม
3. คณะมีงบประมาณกิจกรรมสงเสริมการวิจัยอยางเพียงพอและสามารถนําผลการวิจัยไปใช
ประโยชนเปนรูปธรรม
4. คณะฯ มีความรวมมือกับชุมชนในการวิจัย การบริการทางวิชาการและทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
5. คณะฯ มีบุคลากรในวัยทํางานที่มีพลังพรอมที่จะเรียนรูความกาวหนาใหมๆ ในเชิงวิชาการและ
ทํางานรวมกัน
  • วิทยาลัยนานาชาติ
1. หลักสูตรของวิทยาลัยนานาชาติ เป็น Double degree
2. การเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษามีโอกาสฝึกปฏิบัติงานจริงและสนับสนุนการเข้าประกวดหรือแข่งขัน ทำ
ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีประสบการณ์ทำงานและแก้ปัญหาจึงสามารถปฏิบัติงานให้กับผู้ใช้บัณฑิตได้ทันที
3. การเรียนการสอนรายวิชาทางศิลปะ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ด้วยภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งที่ส่งเสริม
โอกาสและความสามารถในการแข่งขันของบัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติในสถานการณ์เคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
ในสมาคมประชาชาติอาเซียน
4. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนางานวิจัยของคณาจารย์
5. มีการบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมดีมาก

  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. หลักสูตรของคณะฯ มีการบูรณาการระหวางศาสตรและสอดรับกับอัตลักษณของมหาวิทยาลัย และมี
การจัดกิจกรรมที่นักศึกษาทุกสาขามีสวนรวม
 2. มีแนวปฏิบัติที่ดีในการประสานความรวมมือระหวางคณะฯ และ ผูทรงคุณวุฒิภายนอก ศิษยเกา ที่มา
เปนผูทรงคุณวุฒิ และอาจารยผูสอน โดยมีกระบวนการในการรับฟงขอคิดเห็น และนํามาปรับปรุงการเรียนการ
สอน
 3. คณาจารยและนักศึกษามีความใกลชิดกัน ทั้งคณาจารยและนักศึกษาไดมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรูกับ
ผูเชี่ยวชาญ และมีการปฏิบัติงานจริง ทําใหนักศึกษาที่จบไปแลวสามารถสูตลาดแรงงานได



ที่มา รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2555



สถิติและกราฟ การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

http://www.edthai.com/onec_web/page.php?mod=Statisticgraph&file=viewall

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมศ.เข้มประเมินรอบสี่หวังปั้นเด็กไทย "เก่ง-ดี"


ผอ.สมศ.เผย พัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่เสร็จแล้ว โดยสมศ.จะประกาศให้สาธารณชนรับทราบผ่านทางเว็บไซต์ของ สมศ.ว่าสถาบันการศึกษาใดได้รับการรับรองหรือไม่...

ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า สมศ.ได้พัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่  (พ.ศ.2559-2563) เสร็จเรียบร้อยแล้ว มีกรอบแนวคิดหลักคือเตรียมคนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี  2558  โดยเป้าหมายคุณลักษณะของศิษย์ในอนาคตต้องเป็นคนเก่ง ดี งาม

ด้าน ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ประธานกรรมการบริหาร สมศ. กล่าวว่า หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ได้ระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายรอบ สมศ.ไม่ได้คิดขึ้นเอง และในรอบสี่นี้ สมศ.จะให้ความสำคัญกับผู้ประเมินโดยจะมีการคัดกรองแบบเข้มข้นขึ้น และในอนาคตอาจเพิ่มการสอบและออกใบประกาศนียบัตรรับรองการเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอกให้ ส่วนการร้องเรียนเกี่ยวกับผู้ประเมินคุณภาพภายนอกนั้น หากตรวจแล้วพบว่าผิดจริง 

สมศ.จะปลดและปิดศูนย์ผู้ประเมินทันที ทั้งนี้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ สมศ.จะประกาศให้สาธารณชนรับทราบผ่านทางเว็บไซต์ของ สมศ.ว่าสถาบันการศึกษาใดได้รับการรับรองหรือไม่ โดยจะประกาศแบบเจาะลึกเป็นรายคณะและโปรแกรมวิชา ไม่ใช่ประกาศเหมารวมเป็นรายมหาวิทยาลัย ซึ่งคนทั่วไปสามารถดูได้จากเดิมที่ให้เฉพาะสถานศึกษาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ปกครอง และนักเรียนเข้ามาสืบค้นประกอบการตัดสินใจ.



ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/381957