วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
"สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access"
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ
 



สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)บรรยายโดย : รศ.อังสนา ธงไชย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เอกสารประกอบการบรรยาย 
สรุปจากการบรรยาย
OA เกิดขึ้นเมื่อปี 2004 มีการพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นที่ยอมรับจากแนวโน้มของยุคดิจิทัล โมเดล การตีพิมพ์เชิงพาณิชย์ เน้นการตีพิมพ์แบบออนไลน์ซึ่งมีการสร้างคลังเอกสาร (Repository) เป็นคลังเอกสารแบบเปิด (OA) เกิดการสนับสนุนอย่างกว้างขวางมีประโยชน์ต่อการวิจัย นอกจากนี้ OA ยังมีประโยชน์ต่อสังคม เจ้าของผลงาน และ หน่วยงานวิจัยอีกด้วย
OA อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
  1. OA ประเภท Gold เปิดให้ทางออนไลน์ทันที
  2. OA ประเภท Green (self archive)
 
มีสัญญาอนุญาตแบบต่างๆ ทั้ง CC Gnu ขณะนี้มี 378 Funding agency ที่มีนโยบายให้ตีพิมพ์แบบ OA วารสารของประเทศ ไทยมี 16 ชื่อที่เป็น OA เช่น วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น วารสารวิทยาศาสตร์สงขลานครินทร์ ตัวอย่างสำนักพิมพ์ SpringerLink ทำ Journal แบบ hybrid มี Business model 2 แบบ ทั้ง Traditional และ Open Access
 
  • DOAR - Traditional และ Open Repository
  • DOAB - Directory of Open Access Books
PLOS ถือเป็นวารสาร mega OA ที่มีชื่อเสียง มี 7 ฉบับ ตีพิมพ์บทความราว 1 พันบทความ/ปี ห้องสมุดควรเป็นผู้นำหรือ แกนนำในการผลักดันเรื่องนี้ ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความมักเป็นหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนให้เป็นส่วนใหญ่ (ในรูปของงบประมาณการวิจัย) หน่วยงานวิจัยต้องมีนโยบายให้ชัดเจน สำนักพิมพ์ Elsevier ร่วมกับ สภาอเมริกาออกกฎหมายทำการกีดกันวารสาร OA ต่อมาได้ตกไป จึงเกิดเป็นการต่อต้าน (Boycott Elsevier) นักวิทยาศาสตร์ราวๆ 8 พันคนจะไม่เสนอบทความลงพิมพ์ของ Elsevier ประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 8 มีนาคม 2556 หน้า 38 มีข้อความ "ผลงานวิชาการรับใช้สังคม" สามารถรับรองผลงานวิชาการได้
ห้องสมุดควรส่งเสริม OA ดังนี้
  1. ศึกษาเกี่ยวกับ OA
  2. ปฏิเสธข้อเสนอที่เกี่ยวกับฐานข้อมูลวารสารที่มีราคาสูง
  3. แจ้งประชาคม เหตุผลการเลิกบอกรับ
  4. จัดทำรายการ OAJ, OAR, OJB ใน OPAC ของห้องสมุด
  5. จัดทำ OAJ ในสาขาวิชาต่างๆ
  6. สร้างฐานข้อมูลดัชนีชี้แหล่ง OA
  7. จัดทำ OAR ช่วยเหลือนักวิจัยในการนำบทความเข้าเก็บในคลัง
  8. เผยแพร่แนวคิด OA เช่น จัด OA Week
สรุปจากการบรรยายโดย
นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเขียนบทความการวิจัย

การเขียนบทความควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- ควรที่จะทำเรื่องที่ตนเองสนใจอย่างจริงจัง และมีความถนัดเป็นพิเศษ เพราะจะทำให้งานออกมาดี
- บทความที่เขียนควรเป็นเรื่องที่ทันสมัย และสังคมให้ความสนใจในปัจจุบัน
- ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนอย่างใกล้ชิด
- เลือกวารสารที่ตรงกับเรื่องที่เขียน
- ควรระวังคำต่อไปนี้เพราะอาจจะใช้บ่อยเกินไป เช่น โดย ซึ้ง ดังนั้น และ จึง
- การใช้สถิติ ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับผู้วิจัย
การเขียนชื่อเรื่องที่ดี
- ชื่อเรื่องควรบอกได้ว่า อะไร เพื่ออะไร กับใคร ที่ไหนและมีความชัดเจน เปรียบเหมือนเวทีมวย ที่มีเชือก 3 เส้นและมีกรอบ 4 ด้านป้องกันนักมวยออกนอกเวที
- ไม่วกวน อ่านและดีความไปได้หลายอย่าง
การเขียนบทคัดย่อที่ดีต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
-  วัตถุประสงค์คืออะไร
-  ใช้วิธีการใดในการศึกษา
-  เกิดผลอย่างไร
-  สรุปผลการวิจัย
การเขียนอภิปรายผลที่ดีควรมีลักษณะต่อไปนี้
- เขียนว่าพบอะไรบ้าง
- ผลที่ได้เหมือนหรือแตกต่างจากผู้วิจัยคนอื่นๆ
- เข้าใจง่ายไม่ยาวจนเกินไป เขียนในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
- การเขียนบทความต้องใส่ใจถึงรายละเอียดอย่างมาก เพราะถ้าผิดเพียงเล็กน้องก็จะทำให้งานไม่ได้ลงในวารสาร และไม่มีความน่าเชื่อถือ
- วิธีการเขียนบทความวิจัย เพื่อให้ได้ลงในวารสาร
- นำความรู้ที่ได้ฟังบรรยายมาปรับใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ของเราได้ 
- นำแนวความคิด มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของตัวเอง
ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/537098 สรุปการฟังบรรยายเรื่อง การเขียนบทความวิชาการ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2556 

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โลกยกบทกวี'เนาวรัตน์'สลักเคียง'ไอนสไตน์-คานธี'

กุนสท์เวลท์ อี.วี. เบอร์ลิน ยกบทกวี ‘เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์’ สลักเคียงคู่วาทะระดับโลกไอนสไตน์-คานธี     

    
            10 มิ.ย.2556 สำนักข่าวอิศราได้รายงานว่า นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย เมื่อบทกวี ‘วิถีไทย’ ของ 'ครูเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์' ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี 2536 ได้รับการคัดเลือกจากโครงการพาทธ์ ออฟ วิชั่นนารี่ ออฟ เดอะ เวิล์ด (Path of Visionaries of the World) ดำเนินการโดยกุนสท์เวลท์ อี.วี. เบอร์ลิน (KUNSTWELT e.V. Berlin) ภายใต้การอุปถัมภ์ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) นำวรรคทองช่วงท่อนจบสลักลงแผ่นหินบนทางเท้าฟรีดริชสตราเซอร์ เคียงคู่วาทะบุคคลสำคัญต่าง ๆจากทั่วโลก เช่น อัลเบิร์ต ไอนสไตน์, มหาตมะ คานธี, แองตวน เดอ แซ็งค์เตกซูเปรี ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี โดยมีใจความว่า

ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
เอกราชเอกลักษณ์เอกศักดิ์ศรี
เป็นคันฉ่องส่องความงามและความดี
เป็นโคมฉายช่วยชี้วิถีชน ฯ
The art and cultural heritage of a nation
Resonates its sovereignty, independence and unique pride.
Reflecting what is good and beautiful,
it lightens the path of the people.
NaowaratPongpaiboon, poet, Thailand

            แหล่งข่าวกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้รับจดหมายเชิญเข้าร่วมจากโครงการดังกล่าวทางสถานเอกอัครราชทูต ไทย ณ กรุงเบอร์ลิน จึงส่งจดหมายมายังกระทรวงการต่างประเทศ และแจ้งเรื่องผ่านกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อดำเนินการคัดเลือกวาทะของบุคคลสำคัญของไทยที่มีผลงานทางด้านศิลป วัฒนธรรม ซึ่งวธ.จึงได้คัดเลือกวาทะของศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ‘เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์’  จากบทกวี ‘วิถีไทย’

            กระทั่งเมื่อ 31 ส.ค. 2555 ทางสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเบอร์ลิน โดยนายเชิดชู รักตะบุตร อัครราชทูต ปฏิบัติราชการแทนเอกอัครราชทูต ได้แจ้งให้ว่าบทกวีของนายเนาวรัตน์ ได้รับคัดเลือกจากโครงการดังกล่าวและขอรับคำแปลผลงานการประพันธ์เป็นภาษา เยอรมัน เพื่อเตรียมการตีพิมพ์ในแผ่นป้ายแสดงผลงานของโครงการ
            ด้านครูเนาวรัตน์ กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากกระทรวงวัฒนธรรมแล้ว ซึ่งบทกวีดังกล่าว จะถูกแปลเป็นภาษาเยอรมันและนำไปสลักลงแผ่นหิน ซึ่งตนและคณะ ได้กำหนดการเดินทางส่งมอบบทกวีที่ถูกรับเลือกให้แก่โครงการพาทธ์ ออฟ วิชั่นนารี่ ออฟ เดอะ เวิล์ด ภายในปี 2556 นี้
            สำหรับความหมายของบทกวี ‘วิถีไทย’ ประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ในงานที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ตอนที่แต่ง เป็นช่วงที่สังคมเรียกร้องความเป็นตัวของตัวเองผ่านทางวัฒนธรรม เพราะเห็นว่างานวัฒนธรรมเป็นงานที่แสดงถึงความเป็นตัวของตัวเอง  สิ่งที่เด่นชัดในงานวัฒนธรรม คือ ความเป็นเอกราช ซึ่งก็คือความไม่ขึ้นกับอะไร ความเป็นอิสระ และจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการครอบงำใดใด
            " ‘เอกลักษณ์’ คือความเป็นหนึ่ง ไม่เหมือนใคร มิได้หมายความถึงความหยิ่งผยอง หากแต่คือการรู้จักตัวเอง และสร้างลักษณะพิเศษของตัวเองขึ้นมา ‘ศักดิ์ศรี’ คือ ความงามและความดี ศักดิ์ มาจากคาว่า ศักย หรือศักติ - ศักดิ์ – ศักดา คือความสามารถ ศรี แปลว่า ความดีและความงาม"
            ศิลปินแห่งชาติ กล่าวต่อว่า บทกวีข้างต้นเป็นบทกวีที่ใช้เสียงแบบไทย ใช้จังหวะแบบไทย ใช้การเล่นคำแบบไทย ซึ่งเป็นอรรถรสของบทกวีแบบไทยอันเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของความเป็นไทยด้วย เพื่อให้ผู้อ่านและสังคมแสวงหาความเป็นเอกลักษณ์ จึงได้ ‘ชูธง’ เรื่อง ‘ความเป็นไทย’ นี้ขึ้นมา แล้วอะไรคือความเป็นไทยที่แท้จริง?? คำตอบคือ ‘ศิลปวัฒนธรรม’ นั่นเอง วัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่จะมีความเป็นตัวของตัวเอง (เอกลักษณ์) มีศักดิ์ศรี ซึ่งความยิ่งใหญ่, ความมีเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีนี้รวมกันได้ความหมายว่า ไท ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า ไทย
            ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมยังได้ประกาศผลการตัดสินรางวัลกวีสุนทรภู่ให้กับ ‘ครูเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ของไทยอีกด้วย โดยจะมีการมอบรางวัลในวันสุนทรภู่ 26 มิ.ย. 56 พร้อมกับผู้ได้รับรางวัลคนอื่นจาก 10 ประเทศอาเซียนด้วย
 

บทกวี 'วิถีไทย' ฉบับเต็ม
วัฒนธรรมคือวิถีเเห่งชีวิต
ของคนคิดคนทำคนสร้างสรรค์
เพื่อประโยชน์เป็นอยู่รู้เเบ่งปัน
ไปตามขั้นครรลองของชีวิต
ศิลปะนั้นเป็นความเจนจัด
จากปฏิบัติการงานการประดิษฐ์
ศิลปวัฒนธรรมจึงนำคิด
ให้รู้ทิศรู้ทางรู้ย่างเท้า 
พื้นฐานบ้านเราคือชาวบ้าน
ทำนาไร่นามาก่อนเก่า
เป็นปู่เป็นย่าตายายเรา
ปลูกเหย้าเเปลงย่านเป็นบ้านเมือง
เป็นเมืองเรืองรู่งเป็นกรุงไกร
ลูกไทยหลานไทยได้ฟูเฟื่อง
น้ำใจไมตรีมีนองเนือง
จากเบื้องบรรพกาลถึงวันนี้ 
ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
เอกราชเอกลักษณ์เอกศักดิ์ศรี
เป็นคันฉ่องส่องความงามเเละความดี
เป็นโคมฉายช่วยชี้วิถีชนฯ
ที่มาภาพ:http://www.oknation.net/blog/songer/2013/04/08/entry-2

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การสอนแบบ PBL (Problem-based Learning) ใช้ได้ผลกับเด็กไทยจริงหรือ?


มีเรื่องเล่าคร่าวๆ ว่า อาจารย์ระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งของไทย เดินทางไปพบปะกับอาจารย์ระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS ; National University of Singapore) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดแซงหน้ามหาวิทยาลัย ชั้นนำของประเทศไปในเรื่องกระบวนการเรียนการสอน โดยเฉพาะ NUS ได้รับจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของเอเชียและอันดับ 8 ของโลก

เรื่องที่ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยลำดับต้นๆ ของทั้ง 2 ประเทศพูดถึงก็คือ   NUS  ได้มีการเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ ซึ่งแต่เดิม NUS ก็ใช่วิธีการเล็คเชอร์เหมือนที่อื่นๆ (มหาวิทยาลัยเมืองไทย) ให้กลายมาเป็น  Problem-based Learning (การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ หรือ PBL) และทางฝ่ายผู้บริหาร NUS ก็ตอกย้ำว่า "ความรู้จากเล็คเชอร์นั้น นักศึกษาเรียนจบแล้วเอาไปใช้ได้แค่ 3 ปีถึง 5 ปี ความรู้นั้นก็ล้าสมัยแล้วเพราะมันคงทำให้ความรู้นั้น ตายอย่างไม่เกิดประโยชน์ ซ้ำยังไม่เพิ่มทักษะการศึกษาค้นคว้าให้แก่บัณฑิตเมื่อเรียนจบกลับออกไปทำงาน
อาจารย์ฝ่ายไทยอาจจะถึงกับอึ้ง (หรือเปล่าก็ไม่รู้?) ที่เรื่องบางเรื่องเพียงแค่พลิกวิธีคิดก็ทำให้มองเห็นแสงสว่างอยู่รำไรๆ เหลือเพียงแค่ลงมือทำเท่านั้น เขาไม่ได้เปลี่ยนหลักสูตร แต่เปลี่ยนวิธีการสอน ...เช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัยขั้นนำของโลก …. สิ่งที่เป็นปัจจัยความสำเร็จของมหาวิทยาลัยชั้นนำไม่ใช่หลักสูตร ไม่ใช่ตึกเรียนทันสมัย แต่คือวิธีการสอน 
เรื่องที่เล่าก็มีเพียงเท่านี้ แต่ก็ถูกนำมาเล่าขยายกันต่อในหน้าเฟสบุ๊คส่วนตัวของอาจารย์ท่านนั้น และผู้เขียน (จขบ.) ก็มีส่วนร่วมสนทนาแบ่งปันผ่านพื้นที่สาธารณะนั้นด้วย
  PBL หรือ Problem-based Learning คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ การเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อ ขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง ได้ถูกนำมาใช้อย่างได้ผลในหลายระดับการศึกษา เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด
 
PBL ไม่ใช่วิธีการสอนต่อไปนี้ ได้แก่ สอนเนื้อหาไปบางส่วนก่อน  หลังจากจากนั้นก็ทดลองให้นักเรียนแก้ปัญหาเป็นกลุ่มย่อย  ซึ่งเป็นวิธีสอน แบบแก้ปัญหา แต่เป็นการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving method)  หรือผู้สอนว่าไปตามทฤษฎี เนื้อหาที่สอนแล้วก็ยกกรณีศึกษาขึ้นมาให้นักเรียนถกกัน ก็ไม่ใช่วิธีการสอนแบบ PBL หากแต่ PBL นั้นผู้สอนต้องนำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์วิชาของผู้เรียนโดยตรงต้อง มาก่อน  แล้วใช้ปัญหาหรือกรณีศึกษานั้นเป็นโจทย์กระตุ้นเพื่อให้ผู้เรียนไป ค้นคว้าหาความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง เพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปัญหาดังกล่าว   โดยกระบวนการ หาความรู้ด้วยตนเองนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา (Problem solving skill) ระหว่างการเรียนผู้สอนอาจจะแนะแนวทางการค้นหาคำตอบหากเห็นว่าจะไม่อยู่ใน ศาสตร์วิชาที่สอนนั้นได้
 การสอนแบบ  PBL  นักศึกษาไทยเราไม่ค่อยคุ้นเคยกันนัก เพราะเราชินกับการสอนแบบ เล็คเชอร์หรือการบรรยายมามากกว่า เนื่องจากเรามักจะขาดแคลนตำรับตำราอยู่มาก มีปัญหาด้านการเข้าถึงสื่อการเรียนอยู่ในวงจำกัด
 
PBL ไม่ใช่ของใหม่เสียทีเดียว มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกหลายแห่งก็ใช้การเรียนการสอนแบบ PBL  จนเป็นที่ยืนยันกันว่า PBL เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนที่ได้ผลสูง เพราะผลที่ได้จากการสอนให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยวิธี PBL จะทำให้เขากลายเป็นคนที่ไม่ตกยุค หรือพัฒนาตนเองตลอดเวลา และไม่เชื่อว่าความรู้นั้นจะหยุดนิ่งอยู่เพียงแค่นั้น
ซึ่งแตกต่างจากการสอนแบบเล็คเชอร์ที่ครูจะมาป้อนความรู้ให้ รวมทั้งถูกสอนให้เชื่อตามทฤษฎีในเรื่องหรือศาสตร์นั้นๆ 
 PBL คล้ายๆ กับการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ไทยที่ใช้กัน หลังจากที่นักศึกษาได้เรียนทฤษฎีพื้นฐานในเรื่องร่างกายมนุษย์ในช่วงปีแรกๆ ของหลักสูตรแล้ว เมื่อต้องเข้าไปศึกษากับตัวคนไข้จริงๆ และการสอนในระดับคลินิก นักศึกษาก็จะได้พบกับปัญหาโรคต่างๆ ของคนไข้ ครูแพทย์ทั้งหลายก็มักจะนำข้อปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ขึ้นมา แล้วนักศึกษาก็ต้องไปค้นคว้าหาความรู้จากที่เคยศึกษาในช่วงปีแรกๆ นั้น หรือค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่มีอยู่รอบตัว ด้วยเหตุนี้เองแพทย์ (บางคน) จึงมีคติว่า เรียนไปจนตัวแพทย์เองตาย มิใช่หยุดเพียงแค่คนไข้ตายซึ่งเป็นผลจากความคุ้นเคยในการศึกษาแบบ PBL  นั่นเอง
PBL ยังใช้ได้ในหลายๆ ศาสตร์วิชา เช่น ปัญหาที่คลาสสิกที่สุด คือเรื่องการปกปิดบัญชีจนทำให้ บริษัท Enron ต้องล้มละลาย ก็ใช้ได้ทั้งวิชาการเงินบัญชีการบริหาร  อาจจะสรุปได้ว่า PBL เป็นการเรียนการสอนที่ใกล้ตัวคนเราและคุ้นเคยมากที่สุดก็ว่าได้ เพียงแต่เราอาจจะไม่เข้าใจวิธีการนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่จะให้เกิด สัมฤทธิ์ผล เพราะหากครูผู้สอนไม่เข้าใจกระบวนการ PBL และไม่รู้จักวิธีการดึงประเด็นหรือบูรณาการให้เข้ากับเนื้อหาวิชา เรื่อง PBL  จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายครูผู้สอนอีกด้วย
ในบางครั้งจะต้องจัดให้นักศึกษามาโต้ เถียงกันด้วยเหตุผล (discussion)  และทำเป็นกลุ่มๆ กันในห้องเรียนโดยมีครูผู้สอนคอยกำกับดูแลให้ถกเถียงอยู่แต่ในประเด็น เรื่องใดที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอยู่ก็จะถูกค้นคว้าต่อยอดออกไปโดยระหว่างครู ผู้สอน หรือนักศึกษาด้วยกันเอง
 เมื่อลักษระการสอนแบบ PBL เป็นเช่นนี้ จึงเป็นวิธีการศึกษาแบบผู้ใหญ่ หรือ “adult learning approach”   เหมาะสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป เนื่องจากนักศึกษาต้องรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายไปศึกษาค้นคว้า  ต้องมีภูมิความรู้ระดับหนึ่ง หรือมีประสบการณ์และกล้าแสดงความคิดเห็น ลักษณะการเรียนการสอนแบบ PBL จึงดูเหมือนว่าคนไทยจะเริ่มคุ้นสายตาจากภาพยนตร์จากฮอลีวู้ด ซึ่งมีให้เห็นบ่อยๆ PBL อยู่ตรงกันข้ามกับการเรียนการสอนแบบเก่า เด็กฝรั่งจึงต่อยอดความรู้ออกนอกวิชาเรียนได้เก่ง เพราเกิดจากการกระตุ้นของครูในห้องเรียน ทำให้เด็กไปศึกษาค้นคว้ามาล่วงหน้า เพียงแต่ครูพูดถึงโจทย์ปัญหา นักศึกษาก็จะเข้าใจถึงแนวคิด หลักการพื้นฐานที่เป็นแก่นของเนื้อที่จะสอนทันที
 แต่ PBL สำหรับนักศึกษาไทยที่ยังใหม่หรือไม่คุ้นเคยกับวิธีการเรียนการสอนแบบนี้ อาจจะยังใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากเด็กไทยมีพื้นฐานการเรียนมาแบบสอนด้วยวิธีการบอกเสียมากกว่า แต่ก็อาจจะมีครูที่สอนเก่งๆ บางคนได้พยายามปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา มาบ้าง
สำหรับครูผู้สอนที่กลัวว่า PBL จะทำให้ได้ความรู้ไม่ตรงกับเนื้อหาวิชาตามหลักสูตร ผู้เขียนขอเสนอว่า หากต้องการนำวิธีการเรียนการสอนแบบ PBL มาใช้ควรได้ศึกษาและนำวิธีการสอนแบบ "The case Method" นั้นมาปรับใช้  เพราะจะเป็นกรอบหรือแนวทางในการทำให้การเรียนการสอนนั้นสัมฤทธิ์ผลได้ตามเป้าหมายมากขึ้น
แม้ว่า ข้อดีของ PBL จะมีอยู่มาก แต่ถ้าหากนำมาใช้กับระบบการศึกษาไทยก็อาจจะไม่ได้ผลอีกประการ เพราะอาจถูกปรับไปตามวิธีการเรียนและค่านิยมของเด็กไทยคือ มักใช้วิธีการอ่านจากเล็คเชอร์ที่วางขายอยู่ตามร้านถ่ายเอกสารหรือซีร๊อกซ์ ต่อๆ กันมาจากเพื่อนแล้วท่องจำเข้าห้องสอบก็พอ
ด้วยสาเหตุนี้เอง จึงทำให้เด็กไทยไม่ฉลาด เพราะมีการเรียนที่ไม่ถูกต้อง วิทยาการความรู้ของเด็กไทยจึงสั้นกว่าอยู่เพียงแค่ ห้องสอบเมื่อเดินพ้นห้องสอบออกไปก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนนั้น แล้ว การเรียนของเด็กไทยจึงผิดพลาดเพราะเราเน้นการเรียนเพื่อสอบเอาคะแนนมากกว่า ที่จะเรียนเพื่อให้รู้ เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
การศึกษาไทยจึงเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณด้านการศึกษาทั้งระบบ
เมื่อเขียนเล่ามาถึงตรงนี้ เชื่อว่า ผู้อ่านคงพอเข้าใจเรื่อง PBL และรู้ได้ถึงสาเหตุของความล้มเหลวของระบบการศึกษาของบ้านเรา
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนเปิด ประเด็น PBL เอาไว้ และค้นหาจุดอ่อนของ PBL หากนำมาปรับใช้ในการศึกษาไทย และเพื่อเตรียมหาจุดที่เหมาะสม
 และมีคำถามว่า การนำข้อสอบปีเก่าๆ มาเฉลยร่วมกันหาคำตอบที่ถูกต้องนั้น เป็น PBL หรือไม่?
คำตอบคือ ดูเหมือนว่าคล้าย PBL  แต่ไม่ใช่….!!!  เพราะการเฉลยข้อสอบ (ร่วมกันกับนักศึกษา) ไม่ได้ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะการไปศึกษาค้นคว้าต่อจนเกิดทักษะต่อเนื่องไปจนเข้าสู่ช่วงของวัยทำ งาน
 ผู้เขียนจึงขอสรุปสั้นๆ ว่า PBL นั้น มีวิธีการที่ซับซ้อนกว่าการเฉลยข้อสอบร่วมกัน  โดยต้องไม่ลืมว่า PBL จะทำให้ เกิดแรงบันดาลใจแก่นักศึกษาที่จะไปศึกษาค้นคว้ามาเพิ่มเติมต่อไปอีกไม่รู้จบ
PBL จะทำให้ ครูเป็น “Instructor”  โดยมีนักศึกษาเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง  ไม่ได้เป็นเพียงแค่คนสอนหนังสือ" หรือ Teacher เท่านั้น... !!!
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/nn1234/2013/06/07/entry-1
 

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาพบรรยากาศการเข้าร่วม การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การนำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพองค์กร” ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx ของเครือข่าย C-IQA วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2556 เวลา 8.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.537050646358916.1073741843.117177981679520&type=1