วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

ภาพกิจกรรม : โครงการการจัดการความรู้ เพื่อแสวงหา Best Practice ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระหว่างเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา

    เมื่อวันอังคารที่ 25 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นเจ้าภาพในพิธีการลงนามความร่วมมือเครือข่ายการส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาระดับสถาบันการศึกษา ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคตะวันตก ณ ศุนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์
     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือเครือข่ายการส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรู้ ความเข้าใจ วิธีการดำเนินงาน และเผยแพร่ผลงานการเรียนรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดจนเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ทางด้านประกันคุณภาพการศึกษา 
   ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภูมิภาคตะวันตก ทั้ง 24 สถาบัน ดังนี้
  1. อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร 
 2. รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
   3. รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน
   4. ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี
   5. รองอธิการบดีพื้นที่บพิตรพิมุขจักรวรรดิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
   6. อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
   7. รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
   8. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล
   9. รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  10. รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  11. อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  12. รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  13. รักษาการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง สุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  14. รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  15. รองผู้บังคับการสำนักประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  16. ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
  17. ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฎศิลปสุพรรณบุรี
  18. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  19. รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  20. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  21. รองผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สุพรรณบุรี
  22. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  23. อธิการบดีสถาบันกันตนา
  24. รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ประจำวิทยาเขตสุพรรณบุรี 
   สถาบันทุกแห่งได้เห็นชอบร่วมกันที่จะทำความตกลงความร่วมมือเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา ดังต่อไปนี้
     1.  สถาบันทุกแห่งจะร่วมกันเป็นเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระดับสถาบันการศึกษา คณะวิชา หน่วยงานเทียบเท่าทุกแห่ง และนิสิตนักศึกษาทุกสถาบัน เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถาบัน
2. สถาบันทุกแห่งจะร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
3. สถาบันทุกแห่งจะกำกับดูแลให้องค์กรนิสิตนักศึกษาทุกแห่งทำความตกลงร่วมมือสร้างเครือข่ายในการพัฒนากิจกรรมนิสิตนักศึกษาที่มีคุณภาพ
4. สถาบันทุกแห่งจะติดตาม ประเมินผลการสร้างเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทำงานร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง
5. กิจกรรมอื่นๆ ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน

โดยกิจกรรมจะประกอบด้วย - พิธีการลงนามความร่วมมือฯ  -วิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                                    - การนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีด้วยวาจาและภาคโปสเตอร์

บรรยากาศการลงทะเบียน





**************************************************
ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ประธานกล่าวเปิดงาน

พิธีการลงนามความร่วมมือเครือข่ายฯ จากผู้แทนจาก 24 สถาบัน






ท่านอธิการบดีกล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึกแก่สมาชิกเครือข่ายฯ
**************************************************


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น 
ผศ.วันชัย สุ่มเล็ก (ซ้าย) 
และ ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อ.ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2556 (ขวา)


สถาบันในเครือข่ายภูมิภาคตะวันตกนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีด้วยวาจา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (ซ้าย) และมหาวิทยาลัยคริสเตียน (ขวา)

คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศิลปากร (ซ้าย) และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท (ขวา)

คณะมัณฑนศิลปากร ม.ศิลปากร (ซ้าย) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ขวา)



รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร (ซ้าย) และผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพรชบุรี มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร (ขวา)

รศ.ดร.วศิน  อิงคพัฒนากุล รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา ม.ศิลปากร มอบของที่ระลึกแก่ผู้นำเสนอผลงานด้วยวาจา


**************************************************

วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด

         เมื่อผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบางแห่งได้คะแนนผลการเรียนสูง มากหรืออาจมีคะแนนระดับเกียรตินิยมจำนวนมาก ย่อมทำให้เกิดข้อสงสัยถึงมาตรฐานของการวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา แห่งนั้น ทั้งนี้ ต้องยอมรับความจริงในเบื้องต้นก่อนว่า นักศึกษาของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของผลการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนเข้า สู่สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชน

         นักศึกษาที่มีผลการเรียน ดี ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนมากจะเลือกเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษาของ รัฐเนื่องจากค่าเล่าเรียนมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และมีความมั่นใจในระบบคุณวุฒิหรือปริญญาที่ได้รับมากกว่า ถึงแม้ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยของรัฐเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก และอาจมีบางแห่งที่ผู้จบการศึกษาได้รับคุณวุฒิหรือปริญญาไม่ตรงกับเจตนาของ การเข้ามาเรียนก็ตามเหตุการณ์เหล่านั้นค่อยๆ ได้รับการแก้ไขตามกลไกของระบบราชการไปแล้ว

         สำหรับสถาบันอุดมศึกษา เอกชนต้องแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชนด้วยกันเองในการ รับนักศึกษาเข้ามาศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาของตน การสร้างแรงจูงใจ และการเชิญชวนให้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาอาจนำวิธีการและกลยุทธ์ทางการ ตลาดมาใช้ทำให้ถูกมองว่าเป็นการทำธุรกิจทางการศึกษามากเกินไปและสิ่งที่คิด ว่าสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาเข้ามาเรียนได้คือ เรียนง่าย สะดวกสบายจบง่าย แค่จ่ายค่าเล่าเรียนให้ครบ จึงมีคำพูดเชิงประชดประชันว่า จ่ายครบ จบแน่

          ยิ่ง กว่านั้น ยังมีการปล่อยเกรดหรือ ให้เกรดเฟ้อทำให้ผู้จบการศึกษาได้เปรียบเมื่อมีการแข่งขันที่ต้องมีการพิจารณาเกรดของ ผู้จบการศึกษาเป็นคุณสมบัติประการหนึ่ง อาจทำให้ผู้ได้เกรดไม่ถึงขาดคุณสมบัติทันที ตัวอย่างเช่น การสมัครขอรับทุนศึกษาต่อหรือทุนการศึกษาแบบให้เปล่ากับผู้เรียนดี อาจมีการกำหนดเกรดขั้นต่ำ ที่ระดับ 3.00 ผู้ที่ได้เกรดไม่ถึง 3.00 ก็ขาดคุณสมบัติทันที การได้เกรดสูงๆ จึงเป็นการได้เปรียบกว่าเกรดต่ำๆ โดยอาจไม่ได้พิจารณาถึงมาตรฐานการวัดและประเมินผลหรือการให้เกรดของสถาบัน การศึกษาแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน

มาตรฐานข้อสอบ

         ข้อ สอบ เป็นเครื่องมือสำหรับวัดผลการศึกษาที่รู้จักกันทั่วไปข้อสอบที่ดีและมี มาตรฐานนั้นนักการศึกษา หรือผู้ที่เป็นครู/อาจารย์ย่อมมีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นถึงคุณลักษณะ สำคัญของข้อสอบที่ดี เช่น มีความเชื่อมั่น มีความเที่ยงตรง มีอำนาจจำแนก และ มีระดับความยากง่าย ในระดับมาตรฐาน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามข้อสอบที่ครูทำขึ้น” (Teacher Made Tests) นั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อสอบมาตรฐาน” (Standardized Test) แต่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้ามีกระบวนการควบคุมคุณภาพประกอบรวม อยู่ด้วย

         กระบวนการควบคุมคุณภาพของข้อสอบนิยมทำในรูปของคณะกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อความรอบคอบในการพิจารณาและเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกระทั่งกับ ครู/อาจารย์ผู้ออกข้อสอบ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเอกชนนั้น คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบจะเป็นบุคคลภายนอกสถาบันการศึกษาจำนวน 3-5 คนซึ่งอาจประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา เนื้อหาวิชา และผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น

        สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนมากไม่มี ระเบียบหรือข้อบังคับกำหนดให้ต้องมีการควบคุมคุณภาพของข้อสอบและการออกข้อ สอบ กระบวนการออกข้อสอบจึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สอนในรายวิชานั้น แต่ในทางปฏิบัติมหาวิทยาลัยของรัฐมักมีคณะกรรรมการในการออกข้อสอบและตรวจสอบ คุณภาพข้อสอบก่อนจะนำไปใช้สอบกับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ในระดับบัณฑิตศึกษาส่วนมากยังไม่มีกระบวนการควบคุมการออกข้อสอบในรายวิชา ต่าง ๆ ซึ่งอาจถือเป็นประเด็นในด้านของความเป็นเลิศและเสรีภาพทางวิชาการของ คณาจารย์

มาตรฐานการให้เกรด

         การ ควบคุมคุณภาพการตัดสินผลการศึกษาหรือการให้เกรดนั้น โดยปกติเกรดที่ผู้สอนให้มาต้องผ่านการเห็นชอบหรือได้รับการอนุมัติจากคณะ กรรมการหรือผู้มีอำนาจในการอนุมัติ เช่น คณะกรรมการประจำคณะวิชาที่เปิดสอนรายวิชานั้น คณบดี หรือ ผู้ที่คณบดีมอบหมาย แต่ในทางปฏิบัติคณะกรรมการระดับคณะวิชาไม่อาจพิจารณากระบวนการ วิธีการ หรือรายละเอียดของการให้เกรดหรือการตัดสินผลได้มากนัก จึงจำเป็นต้องมีคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการตรวจสอบการตัดสินผลและการให้ คะแนนหลังจากที่มีการตรวจสอบการออกข้อสอบแล้วอีกครั้ง 
        ใน สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเอกชนกำหนดให้มีการตรวจสอบการตัดสินผลโดยคณะ กรรมการจากภายนอก เช่นเดียวกับการควบคุมคุณภาพของข้อสอบเพื่อพิจารณากระบวนการ วิธีการตัดสินผล หรือการให้เกรดกับนักศึกษา สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาดูจากกระบวนการวิธีการตัดเกรดตามหลักวิชาการวัด และประเมินผลทางการศึกษาและการใช้ดุลพินิจประกอบการพิจารณา
        แต่ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนมากไม่มีระเบียบหรือข้อ บังคับกำหนดไว้เช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติมักมีการตรวจสอบตั้งแต่ระดับคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือ คณะกรรมการภาควิชา หรือหัวหน้าภาควิชา (ถ้ามี) และกรรมการระดับคณะวิชาก่อนจะนำส่งฝ่ายทะเบียน การแก้ไขเกรดถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอนและคณะกรรมการที่อนุมัติผลการ ศึกษาก่อนจึงจะแก้ไขได้ ผู้ใดแก้ไขเกรดโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องถือเป็นความผิดร้ายแรง

เกรดเฟ้อและเกรดฝืด

        “เกรด เฟ้อหมายถึง การตัดสินผลด้วยการให้เกรดเกินมาตรฐานขีดความสามารถที่แท้จริงส่วนเกรดฝืดหมายถึง การตัดสินผลด้วยการให้เกรดต่ำกว่ามาตรฐานขีดความสามารถที่แท้จริง

        การ เกิดเกรดเฟ้อหรือเกรดฝืดนั้นเกิดจากการขาดกระบวนการในการควบคุมคุณภาพการ ตัดสินผลหรือการให้เกรดอย่างเคร่งครัดการให้เกรดจึงตกอยู่ภายใต้ดุลพินิจของ อาจารย์ผู้สอนเป็นสำคัญถึงแม้ว่าสิทธิ์หรืออำนาจในการตัดสินผลนี้ควรเป็นของ อาจารย์ผู้สอนไม่ควรให้ผู้ใดก้าวล่วงอำนาจในการใช้ดุลพินิจนี้ได้ แต่ควรต้องมีระบบการตัดสินผลที่เป็นที่ยอมรับสำหรับอาจารย์เพื่อการใช้เป็น กระบวนการในการตัดสินผลได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง และเชื่อถือได้อย่างอย่างมั่นใจด้วย

        ระบบที่กล่าวถึงนั้นอาจเป็น เอกสารคู่มือที่แสดงถึงกระบวนการในการตัดสินผลหรือให้เกรดอาจอยู่ในคู่มือ ครู/อาจารย์ หรืออาจเป็นระบบสารสนเทศบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเป็น Software ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ช่วยการตัดสินผลด้วยวิธีการต่างๆ ตามเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนและสถาบันการศึกษาได้กำหนดไว้ สิทธิและเสรีภาพของอาจารย์ผู้สอนจึงยังคงมีอยู่บริบูรณ์โดยมิมีการก้าวล่วง แต่เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำและยืนยันระบบที่เป็นกระบวนการตัดสินผลได้อย่างชัดเจน

        "เกรด เฟ้อ" มักเกิดในสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเอกชนทั้งนี้อาจเป็นความกรุณาของ อาจารย์ที่ต้องการให้ศิษย์ของตนได้มีโอกาสในสังคมมากขึ้นเพราะรู้สึกว่าผู้ จบการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมักจะเสียเปรียบผู้จบการศึกษาจากสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐประกอบกับนโยบายของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนบางแห่งต้องการรักษา นักศึกษาไว้ถ้าให้เกรดนักศึกษาน้อยจะทำให้นักศึกษาต้องพักการเรียนหรือพ้น สภาพการเป็นนักศึกษา นอกจากนั้นครู/อาจารย์อาจถูกเพ่งเล็งจากผู้บริหารถึงการให้เกรดที่ทำให้ นักศึกษาต้องพ้นสภาพหรือได้เกรดต่ำๆ จำนวนมาก

      ส่วน "เกรดฝืด" มักเกิดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐซึ่งอาจารย์มีสิทธิและเสรีภาพในการตัดสินผล และให้เกรดนักศึกษาของตนมากกว่าในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนประกอบกับค่านิยม บางประการที่ว่า ถ้าให้เกรดต่ำ จำนวนมากถือว่าอาจารย์ผู้นั้นเก่งมีมาตรฐานสูง บางห้องเรียนไม่มีใครได้เกรดสูงกว่า C หรือบางห้องให้เกรด F เกือบทั้งห้อง ผ่านเพียงคนเดียว ยิ่งสร้างความน่าเกรงขามให้กับอาจารย์ผู้นั้น

ข้อเสนอสำหรับผู้เกี่ยวข้อง

       ใน อดีตผู้เข้ารับราชการถ้าได้คะแนนเกียรตินิยมจะมีเงินเพิ่มพิเศษให้ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่ยกเลิกผู้จบการศึกษาระดับเกียรตินิยม ยังมีค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษ การให้รางวัลผู้เรียนดีด้วยการตอบแทนด้วยเงินเพิ่มพิเศษนี้มีทั้งข้อดีและ ข้อวิพากษ์เรื่องของความเป็นธรรมจนภาคราชการต้องยกเลิกไป ซึ่งอาจถูกมองได้ว่าเป็นการไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนตั้งใจเรียน ในภาครัฐอาจต้องมีการทบทวนการให้รางวัลผู้เรียนที่มีความตั้งใจเรียนและได้ คะแนนหรือเกรดระดับเกียรตินิยม

        สำหรับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่ยัง คงมีค่าตอบแทนพิเศษสำหรับผู้ได้คะแนนเกียรตินิยม อาจต้องทบทวนระเบียบและนโยบายนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความ อุตสาหะและให้อยู่บนฐานของความเป็นธรรมกันผู้อื่นด้วยเช่นกัน

        การควบ คุมคุณภาพการให้เกรดจึงเป็นกระบวนการที่ควรนำมาใช้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รวมทั้งของรัฐที่ยังไม่มีระบบการควบคุมคุณภาพของข้อสอบ การออกข้อสอบระบบช่วยเหลือการตัดสินผลและการให้เกรดสำหรับคณาจารย์ในสถาน ศึกษาของตน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรต้องมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดในการส อบ การออกข้อสอบและการตัดสินผลการเรียนของนักศึกษาอีกด้วย


โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/410443