วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

CSR คืออะไร

ความหมายของ CSR     
     
Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและ

สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี


โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"


ระดับของ CSR
ระดับ 1 Mandatory Level: 

     ข้อกำหนดตามกฎหมาย หมายถึง การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค,  กฎหมายเเรงงาน, การจ่ายภาษี เป็นต้น

ระดับ 2 Elementary Level: 


     ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม

ระดับ 3 Preemptive Level: 

           จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนเเก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูเเล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ

ระดับ 4 Voluntary Level:

             ความสมัครใจ หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทาง                         ของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไปให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง CSR ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม 


ประเภทของ CSR

In process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม


                             ขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม,


                             ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

After process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยว

                             กับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,


                             การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

As Process หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร

                              เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ


หลักแนวคิดของ CSR

     1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี


     2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม

     3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม

     4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

     5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

     6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม

     7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม

     8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21

1) การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการพัฒนาสมรรถนะสำหรับทักษะในศตวรรษที่ 21  2) การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้แนวใหม่ และ 3) การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการสนับสนุนระบบการศึกษาที่เข้มแข็ง
1. การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการพัฒนาสมรรถนะสำหรับทักษะในศตวรรษที่ 21
ความรู้สำหรับเนื้อหาหลักเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ไม่มีความยั่งยืนสำหรับโลกในภาวะที่มีการแข่งขัน แม้ว่านักเรียนจะมีความรู้เกี่ยวกับสาระหลักในแต่ละรายวิชา แต่นักเรียนยังไม่ได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่องค์กรหรือตลาดงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้คงามรู้ของนักเรียนในการสื่อสาร ทำงานร่วมกับผู้อื่น วิเคราะห์ สร้างสรรค์ ริเริ่ม และแก้ปัญหา ซึ่งทั้งหมดนี้ควรใช้เทคโนโลยีออย่างครบวงจรในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
2. การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้แนวใหม่
เพื่อให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนต้องเอาจริงเอาจังและมีบทบาท รวมทั้งการส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียนและโอกาสในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในลักษณะที่มีความหมาย (meaningful)  ดังนั้น ต้องใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการสนับสนุนการเรียนรู้และการเรียนการสอนแนวใหม่อย่างเป็นรูปธรรม แนวทางการเรียนการสอนแบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
3. การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการสนับสนุนระบบการศึกษาที่เข้มแข็ง
เพื่อให้โรงเรียนและชั้นเรียนมีประสิทธิภาพ ครูและผู้บริหารจะต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องและการพัฒนาความสามารถเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอย่างกว้างขวางสำหรับการปรับมาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาความเป็นมืออาชีพ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ
โดย อนุชา โสมาบุตร

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นวัตกรรมทางการศึกษาคืออะไร ?

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)


ในที่นี้คำว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” จะประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า “ นวัตกรรม ” และคำว่า “ การศึกษา ” 
               คำว่า “ นวัตกรรม ”  ตาม ความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
              ส่วนคำว่า “ การศึกษา ” ตามพระ ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดย การถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
              สรุปความแล้ว “ นวัตกรรมการศึกษา ” หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ หรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิมหรือสิ่งเดิมที่ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอก งามของบุคคล  และสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

หลักเกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม
นวัต กรรมเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่หรือพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มเติมจากสิ่งเดิมแล้วนำมาทดลองจนมีประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือ และนำไปใช้ในสภาพงานที่จริงในที่สุด  แต่ เมื่อใช้นวัตกรรมจนเป็นที่แพร่หลายและยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของงานแล้ว ก็จะ ถือได้ว่านวัตกรรมนั้นได้ปรับเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี แต่ก็ยังมีความไม่แน่ใจอยู่อีกว่า ถ้าเทคโนโลยีสภาพแวดล้อมหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่แพร่หลายแล้ว แต่ในอีกสภาพแวดล้อมหนึ่งยังถือว่าเป็นสิ่งใหม่ เพราะยังไม่เคยนำไปปฏิบัติ จะถือว่าเป็นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมดังนั้นจึงมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณานวัต กรรมพอสรุปได้ดังนี้
         1. เป็นแนวคิดใหม่  วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน
         2. เป็นแนวคิดเดิม    วิธีการเดิม  หรือสิ่งเดิม  จากที่อื่น  แล้วนำมาใช่กับสภาพการณ์ใหม่
       3. เป็นแนวคิดเดิม    วิธีเดิม หรือสิ่งเดิม ที่ถูกพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วใช้ในสภาพการณ์เดิม หรือนำไปใช้สภาพการณ์ใหม่
         4. เป็น แนวคิด วิธีการ หรือสิ่งที่ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ถ้าใช้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันจะไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่เปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี
       5. เป็นแนวคิด วิธีการ หรือสิ่งที่อยู่ในระหว่างการวิจัย หรือพิสูจน์ด้วยการวิจัยแล้วว่าช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
                ถึง แม้ว่านวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ และใช้เป็นที่แพร่หลายในสภาพแวดล้อม และสังคมหนึ่งแล้วนั้น มิได้หมายความว่าจะใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมและสังคมอื่นเสมอ ไป เนื่องจากในแต่ละสภาพแวดล้อม และสังคมจะมีความแตกต่างกัน เช่น วัฒนธรรม บุคลากร สถานที่ บรรยากาศ เป็นต้น ดังนั้นในการนำนวัตกรรมจากสภาพแวดล้อม และสิ่งอื่นมาใช่ก็ควรที่จะต้องทดลองใช้กับสภาพแวดล้อและสังคมใหม่เพื่อ รับประกันว่าในสภาพแวดล้อม และสังคมใหม่นี้นวัตกรรมที่นำมาใช้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงกว่า จริง  หรือมีการวิจัยที่ยืนยัน ว่านวัตกรรมที่นำมาใช้นี้สามารถนำไปใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อม และสังคมที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือเหมือนกันนี้ 

ลักษณะของนวัตกรรม
1.    นำเอาวิธีเก่าจากที่อื่นมาทดลองใช้
2.    ดัดแปลง ปรับปรุงของเก่าให้เหมาะกับสถานการณ์
3.    ฟื้นฟูสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อน
4.    การคิดสิ่งใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับเทคโนโลยี
             นวัตกรรมกับเทคโนโลยี จะเห็นได้ว่าคำสองคำนี้มักจะเขียนควบคู่กันในภาษาอังกฤษบางครั้งจะใช้คำย่อว่า INNOTECH ซึ่งย่อมาจาก Innovation and Technology เนื่อง จากนวัตกรรมเมื่อนำมาใช้งานและยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน หรืออยู่ในช่วงการทดลอง พัฒนา ปรับปรุง จะยังเป็นนวัตกรรม แต่เมื่อไหร่ก็ตามได้นำไปใช้จนเป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน นวัตกรรมก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีหรืออีกนัยหนึ่งถ้ามองทางด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีจะเป็นการมุ่งเอาสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ก็น่าจะเป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง
            ใน ทางกลับกันเมื่อเทคโนโลยีได้มีการใช้ไปนาน ๆ ก็จะเป็นแนวคิดเดิม วิธีเดิม หรือ สิ่งเดิม หรือนำไปใช้ในสภาพการณ์ใหม่ จำเป็นต้องพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แล้วนำไปใช้ เทคโนโลยีก็จะกลายเป็นนวัตกรรม และเมื่อนวัตกรรม ถูกใช้เป็นส่วน หนึ่งของระบบงานและเป็นที่แพร่หลายก็กลายเป็นเทคโนโลยีหมุนเวียนสลับกันไป เช่นนี้ 

นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย
             จะ เห็นได้ว่า นวัตกรรมนั้นจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการพิจารณาซึ่งนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมหนึ่ง อาจจะเป็นเทคโนโลยีในอีกสภาพแวดล้อมหนึ่งไปแล้ว อย่างเช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสหรัฐอเมริกาจะเป็นเทคโนโลยีไปแล้ว แต่ในประเทศไทยอาจจะเป็นนวัตกรรมอยู่ แต่ถ้ามองให้แคบลงในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจจะถือว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นเทคโนโลยีไปแล้ว ดังนั้นการที่จะกล่าวลงไปว่าอะไรเป็นนวัตกรรมอะไรเป็นเทคโนโลยีก็ขึ้นอยู่ กับว่าจะเอากรอบอะไรมาเป็นตัวจับ กรอบนั้นมีขอบเขตกว้างหรือแคบแค่ไหน ในที่นี้จะขอใช้กรอบในประเทศไทย โดยรวมเป็นหลักไม่เฉพาะเจาะจงไปในมหาวิทยาลัยใด หรือกระทรวง กรม กอง สถาบันการศึกษาเป็นหลัก โดยจะแบ่งนวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทยออกเป็นหมวดหมู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ นวัตกรรมวิธีการหรือกระบวนการ (Technique of Process) นวัตกรรมที่ประสมวิธีการหรือกระบวนการและการผลผลิต (Process and Product) และคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการศึกษา (Computer-Based Education) ซึ่ง แยกออกมาจากนวัตกรรมที่ประสมวิธีการหรือกระบวนการ และ ผลผลิต เนื่องจากเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทมากในปัจจุบันและแนวโน้มคอมพิวเตอร์ก็จะ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน ส่วนนวัตกรรมที่เป็นผลผลิตอย่างเดียวได้นำไปกล่าวไว้ในเทคโนโลยีประเภท อุปกรณ์แล้ว 

คำถาม


1. นวัตกรรมทางการศึกษาคืออะไร ?  ยกตัวอย่างประกอบ
- นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง  การ นำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจใน การเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา
1.        ศูนย์การเรียน                                      
2.        การสอนแบบโปรแกรม
3.        บทเรียนสำเร็จรูป                                               
4.        ชุดการเรียนการสอน
5.        การเรียนการสอนระบบเปิด                             
6.        การสอนเป็นคณะ
7.        การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น                               
8.        การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
9.        การเรียนการสอนทางไกล                
10.      เรียนปนเล่น
11.      คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI )                        
12.      การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
13.      แบบฝึกหัดปฏิบัติเฉพาะกิจ

 2.  อธิบายขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
- กระบวนการของนวัตกรรม
 การ ทำงานใด ๆ ก็ตามถ้ามีการกระทำเป็นปกติวิสัย หรือ เป็นที่ยอมรับและใช้กันโดยทั่วไปแล้ว ยังไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่นวัตกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้นจะมีกระบวนการของนวัตกรรม ซึ่งมีนักการศึกษานักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศได้กล่าวไว้ พอสรุปได้แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การประดิษฐ์คิดค้น (Invention) เป็นระยะที่มีการคิดสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ วิธีการใหม่
หรือ สิ่งใหม่ หรือเป็นการพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิมหรือสิ่งเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพงาน ทันสมัย ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานให้สูงขึ้น
ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development) เป็นระยะที่นำสิ่งที่คิดขึ้นในระยะที่ 1 มาทำการทดลองใช้
เพื่อ ที่จะดูว่าสิ่งที่คิดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพจริงและน่าเชื่อถือแค่ไหน และอาจจะปรับปรุงพัฒาจนกว่าจะมีประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือซึ่งการทดลองบาง ลักษณะอาจจะอยู่ในรูปโครงการทดลองปฏิบัติก่อน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โครงการนำร่อง (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำไปใช้ (Implementation) เป็นระยะที่สืบเนื่องจากระยะที่ 2 เมื่อมีการทดลอง และพัฒนาจนมีประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือ ก็นำสิ่งใหม่นี้ไปใช้ในสภาพการณ์จริง ในระบบงานจริงซึ่งไม่เคยปฏิบัติมาก่อนถ้าระบบกระบวนการของนวัตกรรมดำเนินมา ถึงระยะที่ 3 แล้วจริงจะถือว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์



การสร้างและพัฒนานวัตกรรม
ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรม หรือเทคโนโลยี ต่างก็ใช้วิธีระบบ (system approach) ในการพัฒนาซึ่งประกอบไปด้วย ปัจจัย (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) และข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ซึ่งอาจวิเคราะห์ให้เข้ากับบริบทของการจัดการศึกษา ดังนี้
1)    การวิเคราะห์ (analyze)
2)    การออกแบบ (design)
3)    การพัฒนา (develop)
4)    การนำไปใช้ (implement)
5)    การประเมินผลและปรับปรุง (evaluate and improve)

1. การวิเคราะห์ (analyze)
1.1 วิเคราะห์ความต้องการ โรงเรียนควรวิเคราะห์ความต้องการทั้งจากภายใน เช่น ผู้เรียน บุคลากร และภายนอกโรงเรียน เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน
1.2 วิเคราะห์ผู้เรียน ทั้งด้านวิชาการ บุคลิก เจตคติ สุขภาพ ลักษณะพิเศษ
1.3 วิเคราะห์สภาพการณ์ เป็นการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนทั้งจุดเด่นและด้อย

2. การออกแบบ (design) ซึ่งอาจเป็น software hardware method โดยอาจใช้ศาสตร์ หรือหลาย ๆ อย่าง อาจจะดำเนินการโดยครูหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

3. การพัฒนา (develop) โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งอาจเป็นวิจัยพื้นฐาน (identification research) วิจัยพัฒนา (developmental research) วิจัยทดลอง (experimental research) วิจัยปฏิบัติการ (action research) วิจัยประเมิน (evaluation research) แล้วแต่กรณี

4. นำไปใช้จริง (implement)

ถอดบทเรียน "ครุศึกษาฟินแลนด์" สู่การพัฒนาการศึกษาระดับประเทศ

การครุศึกษาเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ ชาติ โดยมีคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ เป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทในการพัฒนาวิชาชีพครู ทั้งการสร้างครูใหม่ และการร่วมพัฒนาครูประจำการที่มีอยู่
กว่า 5 ปีผ่านมาพบว่าการครุศึกษาของประเทศฟินแลนด์ได้รับความสนใจจากนักการครุศึกษาไทยมาโดยตลอด สังเกตได้จากสถาบันครุศึกษาไทยหลายแห่งจัดศึกษาดูงานเกี่ยวกับการครุศึกษาที่ประเทศฟินแลนด์ ตลอดจนเข้าร่วมการประชุมนานาชาติเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูทั้งในและต่างประเทศ ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศฟินแลนด์มาบรรยาย

ดังนั้นเพื่อให้หน่วยงานครุศึกษาสามารถกำหนดกลยุทธ์ และบทบาทในภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักการครุศึกษา จึงส่งผลให้ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศึกษาฟอรั่ม จัดการเสวนาชุมชนแห่งการเรียนรู้นักการครุศึกษา เรื่องบทเรียนจากครุศึกษาฟินแลนด์ : คุณภาพครุศึกษา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ และนักการครุศึกษาจากหลายภาคส่วน มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
หนึ่งในนั้นคือ "ดร.จุฑารัตน์ วิบูลผล" รองคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล่าวว่า ตนมีโอกาสเรียนรู้เรื่องการศึกษาของฟินแลนด์จากหลายเวที ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในหลาย ๆโอกาสจะเป็นการสนับสนุนโดยบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

"จากประสบการณ์ผ่านมาทำให้ตระหนักว่าการศึกษาต้องสามารถรักษาดุลยภาพกับทางการเมืองให้ได้ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยครั้ง แต่นักการศึกษาต้องมีจุดยืนในการทำหน้าที่รักษาคุณภาพการศึกษาให้ดีที่สุด"

"เมื่อ พูดถึงการครุศึกษาของฟินแลนด์แน่นอนว่าคีย์เวิร์ดที่ทำให้เรานึกถึง คือTrust(เชื่อมั่น)และAccountability(ความรับผิดชอบในหน้าที่)ซึ่งเราพบว่า ครูฟินแลนด์มีจิตสำนึก และความรับผิดชอบในหน้าที่สูง โดยที่ไม่ต้องใช้ระบบประเมินมารับประกันคุณภาพ เพราะครูทุกคนมีความเอาใจใส่มุ่งมั่นให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จด้วยตัวเอง อันเป็นปัจจัยที่ทำให้ประชาชนของประเทศฟินแลนด์เชื่อมั่นในผู้เป็นครูอย่าง มาก"

"ดร.จุฑารัตน์" อธิบายเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ทำให้เกิด Trust และ Accountability ที่สมดุลกันในระบบการศึกษาของฟินแลนด์ คือความร่วมมือ และประสานการทำงานกันจากทุกภาคฝ่าย โดยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1.นักครุศึกษา 2.โรงเรียน 3.ผู้ปกครองและชุมชน

"นักครุศึกษาฟินแลนด์ใช้การวิจัยเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และจะทำงานสอนกับงานวิจัยควบคู่กันไปตลอดเวลา เพราะการวิจัยสร้างทิศทางที่ชัดเจน ทำให้สามารถตอบโจทย์ของสถาบันการศึกษา และสังคมได้ และจากการที่ได้ไปทำเวิร์กช็อปที่ฟินแลนด์ ทำให้เห็นภาพว่านักศึกษาฝึกสอนตามโรงเรียนต่าง ๆ จะมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับทางโรงเรียน"

"ต่างกับบ้านเรา ที่โรงเรียนหลายแห่งอาจมองว่าการรับนักศึกษาฝึกสอนสร้างภาระและประเทศไทย มีบทบาทระหว่างนักศึกษาฝึกสอนกับครูพี่เลี้ยงไม่ชัดเจนโดยจะมองว่าครูพี่ เลี้ยงมีหน้าที่เป็นผู้ประเมินนักศึกษาฝึกสอนมากกว่าการเป็นผู้ส่งเสริมความ รู้แต่ที่ฟินแลนด์โรงเรียนเป็นเสมือนองค์กรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับครู ฝึกสอนได้อย่างดี"

"นอกจากนี้ครอบครัวและชุมชนยังมีบทบาทส่งเสริมการ ศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้นโดยแสดงผลสะท้อนที่ได้รับจากการปฏิบัติงานของ โรงเรียนกลับไปทั้งนี้จากการที่ประเทศฟินแลนด์เก็บภาษีคนในประเทศสูงเพื่อ ให้โอกาสคนในประเทศเรียนฟรีตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษาจึงส่งผลให้คน ในชุมชนมีความเอาใจใส่ตรวจสอบการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อให้แน่ใจว่าเงินภาษี ที่จ่ายไปนั้นจะคุ้มค่าและสามารถช่วยพัฒนาประเทศชาติได้"

ขณะที่ "ดร.ภาวิณี โสธายะเพ็ชร" อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ที่ไปศึกษาระดับปริญญาเอกด้านครุศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า จากการที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศฟินแลนด์มา 5 ปี

จึงพอสรุปปัจจัยซ่อนเร้นที่ทำให้ฟินแลนด์ประสบความสำเร็จด้านการศึกษาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ

หนึ่ง วัฒนธรรม-ชาวฟินแลนด์มีวัฒนธรรมทางความคิด ความเชื่อ (Culture of Trust) ที่เด่นชัดมาก ซึ่งส่งผลตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงถึงระดับล่าง โดยแต่ละหน่วยงานสามารถทำหน้าที่ของตนเองได้ โดยไม่ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดจากส่วนงานระดับบน และชาวฟินแลนด์มีวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นมืออาชีพ

"โดยใช้การวิจัยเป็นหลัก เพราะชาวฟินแลนด์มีความเชื่อมั่นว่าจะพัฒนาสิ่งใดก็ตามจะต้องขึ้นอยู่กับการวิจัย เพื่อให้รู้สภาพการณ์ในปัจจุบัน และเห็นทิศทางที่จะพัฒนาได้อย่างไร

สอง สังคม-ประเด็นทางสังคมในฟินแลนด์ที่สำคัญ ๆ จะถูกจัดสรร และนำมาบูรณาการเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับชั้นเรียน เพื่อให้มีบทเรียนที่ทันกับเหตุการณ์ กับสังคมในปัจจุบัน

สาม ปัจเจกบุคคล-ทุกคนในสังคมของฟินแลนด์มีความเท่าเทียกัน โดยจะเห็นได้จากทั้งด้านปริมาณ (Quantity) คือให้การศึกษากับคนทุกเชื้อชาติ และทุกศาสนา สามารถเข้ามาเรียนในประเทศเท่าเทียมกันและด้านคุณภาพ (Quality) ที่ให้เสรีภาพในการทำงาน และการแสดงศักยภาพของแต่ละบุคคลอย่างเท่าเทียม"

ส่วน "ดร.สุธรรม วาณิชเสนี" ผู้เชี่ยวชาญแนวคิดเชิงระบบ กล่าวสรุปในตอนท้ายของการประชุมว่า เมื่อเราพูดถึงบทเรียนจากครุศึกษาฟินแลนด์ อยากให้นักครุศึกษาคิดถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาและหาวิธีที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศไทยต่อไป

"แม้ ครุศึกษาจะเป็นรากฐานหลักของระบบการศึกษาและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพ ครูแต่ประเทศของเรายังขาดกลยุทธ์ของครุศึกษาในภาพรวมที่ชัดเจนปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของครุศึกษาไทยได้แก่การออกแบบหลัก สูตรครุศึกษา,คุณภาพของผู้เรียนที่ผลิตออกมาเป็นนิสิตครู,เกณฑ์ในการคัด เลือก, คุณภาพของกระบวนการสร้างครูใหม่ และการรับรองคุณภาพโปรแกรมการผลิต รวมถึงการให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ"

"ฉะนั้นจากการที่มีโอกาสเห็นการเรียนรู้ของคณาจารย์ และนักการครุศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ศึกษาการคุรุศาสตร์ฟินแลนด์ ผมจึงมองว่า หากเรามีการจัดการความรู้ หรือสร้างภาพต่อที่สมบูรณ์ ผ่านการตีความและวิเคราะห์ในมุมมองของนักการครุศึกษาไทย จะมีโอกาสสร้างแนวทางการดำเนินงานการครุศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพต่อไปได้"

ที่มาประชาชาติธุรกิจออนไลน์  http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1408074151

โมเดล "ศิลปกรรมบำบัด" พัฒนาการศึกษาเพื่อเด็กพิการ




ในอดีตการศึกษาค้นคว้าวิธีการสื่อสารเพื่อสร้างหลักสูตรการ ศึกษาด้านพัฒนาการ และเสริมสร้างสมรรถนะในเด็กพิการหรือเด็กที่บกพร่องทางด้านร่างกายและสติ ปัญญาค่อนข้างมีข้อจำกัดบางประการ ไม่ว่าจะเป็นบทเรียน หรือแม้กระทั่งกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน ประกอบกับการกำหนดสื่อกลางการเรียนการสอนสำหรับเชื่อมโยงการสื่อสารและความ เข้าใจระหว่างผู้สอนกับผู้รับยังมีความเหลื่อมล้ำมากเกินไป

เหตุ นี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาในด้านการนำสื่อกลางมาเพื่อบำบัดเด็กพิการของ "ผศ.ดร.เลิศศิริร์ บวรกิตติ" อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยได้ค้นพบว่าศิลปกรรมเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการบำบัดเด็กพิการได้อย่าง มีประสิทธิภาพ



เบื้อง ต้น "ผศ.ดร.เลิศศิริร์" เล่าถึงที่มาของการศึกษาในเรื่องนี้ว่าเกิดจากความสนใจส่วนตัวที่ต้องการ สร้างจุดเด่นในสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิการ โดยเน้นการกระตุ้น การพัฒนา และการบำบัด ซึ่งสอดคล้องต่อความต้องการของเด็กกลุ่มพิเศษในประเทศไทย

"ถึงวันนี้ ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีต่อการสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกในที่สาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล และโรงแรมกับคนพิการมากขึ้นกว่าในอดีตผ่านมา นั่นเป็นสัญญาณดีที่บอกว่าแม้จำนวนของผู้พิการและเด็กพิเศษจะไม่มีอัตรา เพิ่มขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ได้เป็นการกำหนดการส่งมอบความสะดวกสบายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ ลดลง ตรงกันข้ามกลับยิ่งเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ในสังคม"

โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกแก่เด็กพิการใน โรงเรียนที่ยิ่งต้องได้รับความปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงการกำหนดสื่อการเรียนการสอนก็ยิ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้แก่เด็ก กลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ ดังนั้น ตนจึงมีแนวคิดต่อการศึกษาครั้งนี้ว่าศิลปะจะเป็นเครื่องมือเฉพาะที่ช่วยสื่อ สารระหว่างครูผู้สอน กับเด็กพิการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากศิลปะจะถูกหยิบยกไปใช้บ่อยครั้งขึ้น เพราะถือเป็นสื่อกลางการเรียนการสอนที่เข้าใจง่ายและผ่อนคลายในเวลาเดียวกัน

"มี แนวปฏิบัติเป็นจิตบำบัดทางเลือก หรือการบำบัดเสริมสำหรับผู้พิการ ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และคนทั่วไปที่ต้องการค้นหาตัวเอง หรือเพิ่มเสริมพลังทางจิตใจ ซึ่งกลไกในการบำบัดมีหลากหลายรูปแบบที่ไม่มีกระบวนการ หรือรูปแบบที่ตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับความต้องการ ขีดความสามารถ และวัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ"

สำหรับ กระบวนการบำบัดในเด็กพิการ "ผศ.ดร.เลิศศิริร์" บอกว่า ต้องขึ้นอยู่กับการที่ผู้รับได้สื่อสารส่งถ่ายกับนักบำบัด โดยการแสดงออกเชิงภาษาสัญลักษณ์ผ่านงานศิลปะที่สร้างสรรค์ เพื่อสะท้อนความนึกถึง และสิ่งเร้าต่อสิ่งนั้น ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนเชิงวิชาการได้เบื้องต้น 4 ด้าน ประกอบด้วย

หนึ่ง ศิลปะการเรียนภาษา การกำหนดรูปแบบศิลปกรรมเชิงภาษาจะช่วยเปิดเผยความในใจของบุคคลที่ไม่สามารถ หรือไม่ต้องการแสดงออกทางวาจา ศิลปกรรมภาษาจึงมีบทบาทเกี่ยวกับทัศนศิลป์ที่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น ภาพ คำ โดยให้ผู้เรียนได้สะกดและเขียนคำศัพท์จากภาพที่กำหนด รวมถึงการนำกวีนิพนธ์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างถ้อยคำได้ โดยใช้การวาดภาพเพื่อสื่อความหมาย


สอง ศิลปะกับคณิตศาสตร์ โดยศิลปะจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ความชำนาญ และความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ผ่านกระบวนการจากการแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสร้างความสัมพันธ์ และการนำเสนอ โดยทักษะเหล่านี้เพียงพอต่อการพัฒนาความเข้าใจในคณิตศาสตร์

สาม ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ เช่น ใช้การคาดการณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์กระบวนการเรียนรู้ในการคาดเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้

สี่ ศิลปะกับสังคมศึกษา โดยเน้นการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมของเด็กพิเศษ ผ่านกิจกรรมศิลปะที่แสดงวิธีการต่าง ๆ เนื่องจากงานศิลปะสามารถแสดงออกในรูปวัตถุที่จับต้องได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยจะเกี่ยวโยงไปถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างงานศิลปะ และการเรียนรู้ทางด้านสังคมด้วยตัวเองไปพร้อม ๆ กัน

การใช้ศิลปะกับการเรียนการสอนทั้ง 4 ด้านนี้ "ผศ.ดร.เลิศศิริร์" บอกว่าจะเป็นอีกมิติทางเลือกหนึ่งของการช่วยบำบัดเด็กพิการในด้านวิชาการแบบ องค์รวม ทั้งทางอารมณ์ จิตใจ ร่างกาย และสติปัญญา เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยสร้างความเข้าใจปมปัญหาภายในจิตใจได้ด้วยตัวเอง จนสามารถปรับจัดอารมณ์ความรู้สึก และสร้างพลังเชิงบวกได้

"กุญแจ สำคัญที่จะทำให้กระบวนการการบำบัดสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจถึงกระบวนการทำงานเชิงวิชาการในงานศิลปะ โดยต้องวางแผนการบำบัดการรักษาให้เหมาะสมกับรายบุคคลหรือประเภทกลุ่มบุคคล ซึ่งต้องอาศัยภาคการประเมินก่อนให้การบำบัด เพื่อคัดผู้ที่เหมาะสำหรับศิลปกรรมบำบัด ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิผลของการบำบัดในระยะยาว"

องค์ ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ตนผนวกรวมกับความรู้ที่ได้จากหนังสือ Art-centered Education and Therapy for Children with Disabilities ร้อยเรียงเป็นหนังสือแปลในชื่อศิลปะศูนย์กลางการศึกษาและการบำบัดเด็กพิการ ซึ่งได้เน้นสหวิทยาการใช้ศิลปะในหลักสูตรการศึกษาด้านการพัฒนาการเรียนและ การเสริมสร้างสมรรถนะ โดยรวบรวมความรู้ความเข้าใจด้านทฤษฎีศิลปะกับประเภทความพิการ เพื่อนำมาปรับใช้ศิลปะในด้านวิชาการ และการพัฒนาทางภาษาให้มีประสิทธิผลเชิงบำบัด

"ผมหวังอย่างยิ่งว่า ศิลปะทุกแขนงจะสามารถเป็นส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพเด็กพิการให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูง สุด ตลอดจนการช่วยขัดเกลาจิตใจให้มีความเข้มแข็ง และมีความสุขต่อการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต"

เพราะสุดท้ายแล้วคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกวิธีหนึ่ง

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414212213

เอ็นคอนเส็ปท์ "Peer Tutoring" กระบวนการเรียนการสอนระหว่างเพื่อน


ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ ร่วมกับโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ และ โรงเรียนโซไซไทย จัดกิจกรรมแนะแนวให้กับนักเรียนโรงเรียนสัตยาไส จ.ลพบุรี และโรงเรียนวัดรางบัว กรุงเทพฯ นำร่องโครงการเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาให้กับนักเรียนไทยผ่าน "พี่ช่วยน้อง ผองเพื่อนช่วยกัน (Peer Tutoring)"
"อริสรา ธนาปกิจ" (หรือครูพี่แนน) ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ เปิดเผยว่า Peer Tutoring คือ การเรียนการสอนแบบให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดยังนักเรียนอื่น ๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับนักเรียนได้ดี กล่าวคือ เป็นการกระตุ้นให้เด็กที่มาเรียนได้มี Output-based Learning เรียนแล้วได้คิด ได้พยายามเข้าใจกับเนื้อหาการเรียนจริง ๆ เพราะมีเป้าหมายในการเรียนที่ชัดเจนว่า ต้องเรียนให้รู้จริงเพื่อเอาไปสอนคนอื่นต่อได้

"สำหรับโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมภาพรวมของเด็กทั้งหมด ให้มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน และเก่งได้ทั่วถึงมากขึ้น ช่วยทดแทนเรื่องการรอพัฒนาศักยภาพครูเพียงด้านเดียว อีกทั้งกระบวนการเรียนการสอนระหว่างเพื่อนนอกจากจะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ในเรื่องที่นำมาสอนกันแล้ว ยังจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันให้มากขึ้น และได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ซึ่งนักเรียนผู้สอนเองยังได้ฝึกพัฒนาตัวเองในเรื่องความรับผิดชอบ และได้รับรู้ถึงคุณค่าในการช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย"

"เราเชื่อมั่นในพลังแห่งการยกกำลัง ซึ่งคือการที่นักเรียนผู้ได้รับทุนการศึกษามาเรียนกับเราในวันนี้ แล้วกลับไปสอนเพื่อน ๆ หรือรุ่นน้องต่ออีก 3 คน และคนที่ได้รับความรู้จากนักเรียนคนแรกก็ถ่ายทอดความรู้แบบ 1 : 3 ต่อเรื่อย ๆ ได้นั้นเท่ากับว่านักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาในวันนี้ได้รับโอกาสทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และเป็นต้นน้ำแห่งความรู้ที่จะถูกส่งต่อกันไปไม่รู้จบ โดยเอ็นคอนเส็ปท์พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการสอน และแนวคิดต่าง ๆ ให้กับนักเรียนในโครงการ Peer Tutoring"

"ธนัช ลาภนิมิตรชัย" (หรือครูพี่หมุย) กล่าวเสริมว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน พัฒนาสังคม และประเทศไทย ซึ่งการได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีนั้นสามารถเปลี่ยนฐานะ และสร้างโอกาสให้หลายคนได้

"ผมเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เคยได้รับโอกาส และพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นจากการศึกษา จึงอยากถ่ายทอดโอกาสนั้นกลับสู่สังคมไทยผ่านโครงการนี้ครับ สำหรับโครงการ Peer Tutoring เป็นหนึ่งในโครงการของศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเป็นผู้กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาการศึกษา โดยเริ่มจากหัวใจของการศึกษาคือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ตามแนวพระราชกระแสฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อันสอดคล้องไปกับงานวิจัยด้านการศึกษาระดับโลก"

อันเป็นโครงการที่มุ่งหมายจะสร้างประสิทธิผลทางการศึกษาไทยให้เพิ่มขึ้น


ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1415617212

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21

ระบบสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21  (21st Century Support Systems) เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามโมเดลที่กล่าวถึง ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญจะประกอบไปด้วย
  1. มาตรฐานในศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards) จุดเน้น (1) เน้นทักษะ ความรู้และความเชี่ยวชาญที่เกิดกับผู้เรียน (2). สร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนในเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลักที่เป็นจุดเน้น (3) มุ่งเน้นการสร้างความรู้และเข้าใจในเชิงลึกมากกว่าการสร้างความรู้แบบผิวเผิน (4) ยกระดับความสามารถผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริง การใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษา การทางานและในการดารงชีวิตประจาวัน ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และ (5) ใช้หลักการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง
  2. การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 (Assessment of 21st Century Skills) จุดเน้น (1) สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบทดสอบมาตรฐานสาหรับการทดสอบย่อยและทดสอบรวมสาหรับการประเมินผลในชั้นเรียน (2) เน้นการนำประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมาปรับปรุงแก้ไขงาน (3) ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (4) สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ
  3. หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 (21st Century Curriculum & Instruction) จุดเน้น (1) การสอนให้เกิดทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการของวิชาแกนหลัก (2) สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหา และสร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน (Competency-based) (3) สร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน การเรียนรู้แบบสืบค้น และวิธีการเรียนจากการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based) เพื่อการสร้างทักษะขั้นสูงทางการคิด และ (4) บูรณาการแหล่งเรียนรู้ (Learning Resources) จากชุมชนเข้ามาใช้ในโรงเรียน
  4. การพัฒนาทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 (21st Century Professional Development) (1) จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการสร้างครูให้เป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงบูรณาการ การใช้เครื่องมือและกำหนดยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน และสร้างให้ครูมีความสามรรถในการวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสม (2) สร้างความสมบูรณ์แบบในมิติของการสอนด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย (3) สร้างให้ครูเป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงลึกเกี่ยวกับการแก้ปัญหา การคิดแบบวิจารณญาณ และทักษะด้านอื่นๆที่สำคัญต่อวิชาชีพ (4) เป็นยุคแห่งการสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพให้เกิดขึ้นกับครูเพื่อเป็นตัวแบบ ( Model ) แห่งการเรียนรู้ของชั้นเรียนที่จะนาไปสู่การสร้างทักษะการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ (5) สร้างให้ครูเป็นผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนได้ทั้งรูปแบบการเรียน สติปัญญา จุดอ่อนจุดแข็งในตัวผู้เรียน เหล่านี้เป็นต้น (6) ช่วยให้ครูได้เกิดการพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้นเพื่อนาไปใช้สาหรับการกำหนดกลยุทธ์ทางการสอนและจัดประสบการณ์ทางการเรียนได้เหมาะสมกับบริบททางการเรียนรู้ (7) สนับสนุนให้เกิดการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างทักษะและเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ (8) แบ่งปันความรู้ระหว่างชุมชนทางการเรียนรู้โดยใช้ช่องทางหลากหลายในการสื่อสารให้เกิดขึ้น และ (9) สร้างให้เกิดตัวแบบที่มีการพัฒนาทางวิชาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
  5. สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environment ) (1) สร้างสรรค์แนวปฏิบัติทางการเรียน การรับการสนับสนุนจากบุคลากรและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เกื้อหนุน เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุผล (2) สนับสนุนทางวิชาชีพแก่ชุมชนทั้งในด้านการให้การศึกษา การมีส่วนร่วม การแบ่งปันสิ่งปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกันรวมทั้งการบูรณาการหลอมรวมทักษะหลากหลายสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน (3) สร้างผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติจริงตามบริบท โดยเฉพาะการเรียนแบบโครงงาน (4) สร้างโอกาสในการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เครื่องมือหรือแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ (5) ออกแบบระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งการเรียนเป็นกลุ่มหรือการเรียนรายบุคคล และ (6) นำไปสู่การพัฒนาและขยายผลสู่ชุมชนทั้งในรูแบบการเผชิญหน้าหรือระบบออนไลน์
โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร