วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผลการประเมินโครงการอบรม “การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก (WorldUniversityRankings)

     เมื่อวันพุธที่ 29 มกราคม 2557 มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา ได้จัด โครงการอบรม การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก (WorldUniversityRankings)  ณ ห้องประชุม 314 – 315 ตึกสำนักงานอธิการบดีตลิ่งชัน มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดี เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งการจัดโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิด เกี่ยวกับการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเวทีระดับสากล นอกจากนี้ยังเป็นการตระหนักและเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลงานเข้าสู่เวทีระดับนานาชาติ 

       โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร คือ  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สุมนต์ สกลไชย กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยายในหัวข้อเรื่อง "หลักการ และเหตุผลของการจัดอันดับมหาวิทยาลัย" และนโยบาย และทิศทางการนำองค์กรเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัย"  และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อเรื่อง "ทำอย่างไรในการเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัย/รายละเอียดและวิธีการ
         การจัดโครงการอบรมในครั้งนี้ พบว่า มีสมาชิกเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เข้าร่วมอบรม ทั้งหมดจำนวน 124 คน ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร   คณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพฯ จากภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร 1คณะวิชา และ 15 หน่วยงานสนับสนุน และ คณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพฯ จากมหาวิทยาลัยภายนอก รวม 16 สถาบัน ประกอบไปด้วย
1.       มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2.       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3.       มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
4.       สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
          ลาดกระบัง
5.       มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
6.       มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
7.       มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
8.       มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
9.       สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
10.   มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
11.   มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
12.   มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
13.   มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
14.   มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
15.   มหาวิทยาลัยคริสเตียน
16.   วิทยาลัยทองสุข


     ซึ่งได้แจกแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจ จำนวน 120 ชุด ได้รับตอบกลับจำนวน 96 ชุด คิดเป็นร้อยละ 80.00 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 96 คน เป็นเพศชาย 31 คน คิดเป็นร้อยละ 32.29 เพศหญิง 65 คน คิดเป็นร้อยละ 67.71 มีสถานภาพเป็นอาจารย์ 31 คน คิดเป็นร้อยละ 32.63 เป็นบุคลากรสายสนับสนุน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 67.37 เป็นบุคลากรภายในหน่วยงานมหาวิทยาลัยศิลปากร 74  คน คิดเป็นร้อยละ 77.08 เป็นบุคลากรจากหน่วยงานภายนอก 21 คน คิดเป็นร้อยละ 21.88   ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคลากรภายนอก ทั้งหมด จำนวน 21 คน ตอบว่า หน่วยงานของตนมีได้มีการดำเนินการเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกใน ด้านคุณภาพบัณฑิตและการสอน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 38.10 ด้านคุณภาพงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ด้านบริการวิชาการแก่สังคม จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 ด้านความเป็นนานาชาติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 9.52และอีกจำนวน 8 คน ตอบว่ายังไม่มีการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 38.10

       ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรทั้งหมดจำนวน 74 คน ตอบว่า หน่วยงานของตนได้มีการดำเนินการเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกใน ด้านคุณภาพบัณฑิตและการสอน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 8.11 ด้านคุณภาพงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 20.27 ด้านบริการวิชาการแก่สังคม จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 10.81 ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 8.11 ด้านความเป็นนานาชาติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5.41 ด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านบริหารจัดการ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.35และอีกจำนวน 42 คน ตอบว่ายังไม่มีการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 56.76

      การประเมินความรู้และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมคิดว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 44.38 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.22 และหลังเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมตอบว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 76.17 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.81
     โดยเมื่อนำแบบสอบถาม มาแยกประเภทผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็นบุคลากรจากภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร และบุคลากรจากภายนอกมหาวิทยาลัยจะพบว่า บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ตอบแบบประเมินคิดว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 43.24 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.16 และหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 76.44 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.82 ส่วน บุคลากรจากสถาบันอื่นๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยที่ตอบแบบประเมินคิดว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก มีอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.48 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.52 และหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 79 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.95
        
     ในภาพรวมของการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นว่า สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ได้ในระดับมาก ร้อยละ 75.27 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.76 และเมื่อนำแบบสอบถามมาแยกประเภทผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็นบุคลากรจากภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร และบุคลากรจากภายนอกมหาวิทยาลัย จะพบว่า ค่าเฉลี่ยของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ตอบแบบประเมินเห็นว่า ตนเองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับมาก ร้อยละ 75.83 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.79 และค่าเฉลี่ยของบุคลากรจากสถาบันอื่นๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยที่ตอบแบบประเมินเห็นว่า ตนเองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับมาก ร้อยละ77.00 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.85
      ความพึงพอใจในด้านกระบวนการ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพึงพอใจในความรู้/เนื้อหา ที่ได้รับในระดับมาก ร้อยละ 82.71 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.14 โดยเห็นว่าวิทยากรมีความรู้ ความสามารถในการนำกิจกรiม อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 90.83 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.54 และเห็นว่ากิจกรรมในโครงการถือเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในระดับมาก ร้อยละ79.17 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.96 ในส่วนของคณะทำงาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ คณะทำงานโดยเห็นว่ามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและเป็นกันเองแก่ผู้เข้าร่วมประชุม อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 86.46 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.32 ด้านสถานที่ประชุม/โสตทัศนูปกรณ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 77.71 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.89 โดยสรุปภาพรวมของโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ที่ระดับมาก ร้อยละ 83.16 คิดเป็นค่าเฉลี่ย4.16

ที่มา : ข้อมูลจากสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา