วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประชาสัมพันธ์ จาก สกอ.



ที่มา http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm
ประกาศกระทรวง เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558


ที่มา http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm
ประกาศกระทรวง เรื่อง มาตรฐานหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558


ที่มา http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm
ประกาศกระทรวง เรื่อง มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558

ที่มา http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

✎ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"ตาบอดคลำช้าง หรือมาถูกทางแล้ว

ต้องยอมรับความจริงว่าเด็กนักเรียนของไทยใช้เวลาเรียนมากติดอันดับต้นๆ ของโลก และใช้งบประมาณเพื่อการศึกษาปีละกว่าสี่ห้าแสนล้านบาทมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แต่คุณภาพการศึกษากลับตกต่ำลง เรื่อยๆ

บนเส้นทางความล้มเหลวของการปฏิรูปการศึกษาที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2542 ถึงบัดนี้จะร่วมยี่สิบปีแล้วนโยบาย "ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้" ของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะช่วยให้เด็กไทยฉลาดขึ้นไหม จะช่วยลดความเครียดให้ลูกหลานมีความสุขกับ การศึกษาหรือไม่?

ก่อนอื่น ดูข้อมูลของยูเนสโก เมื่อปี 2555 แสดงจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีของนักเรียนในระดับอายุ 9 - 13 ปีทั่วโลกกันก่อน ยูเนสโก พบว่า เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 2 ในระดับอายุ 9 ปี 1,080 ชั่วโมงต่อปี, เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ของโลกในระดับอายุ 10 ปี และ 11 ปี 1,200 ชั่วโมงต่อปี, เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 5 ในระดับอายุ 12 ปี 1,167 ชั่วโมงต่อปี เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 8 ในระดับอายุ 13 ปี 1,167 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่เด็กชาติอื่นๆ หากเทียบเฉลี่ยของประเทศที่พัฒนาแล้วหรือโออีซีดี จะมีเวลาอยู่ในห้องเรียนน้อยกว่าประเทศไทย คือไม่ถึง 800 ชั่วโมงต่อปี ดูๆ แล้วเด็กไทยและครูไทยขยันมากมีชั่วโมงเรียนสูงถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปี สูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศที่พัฒนาแล้ว และสูงกว่าฟินแลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ดังนั้น จึงต้องกล่าวว่ามาถูกทางแล้วที่จะลดชั่วโมงเรียนลงเสียบ้าง และจัดให้มีกิจกรรมหลากหลายขึ้นมาทดแทน แต่คำถามที่ตามมาคือ โรงเรียนพร้อมไหม ครูพร้อมไหม
คำตอบจะเห็นชัดเจนขึ้นจากการทดลองนำร่อง 4,100 กว่าโรงเรียน ซึ่งจะมีการประเมินในอีก 4 เดือนข้างหน้าว่าสิ่งที่ รมว.กระทรวงศึกษาฯ ตั้งเป้าหมายฝึกฝนเสริมทักษะเด็กไทยใน 4 ด้านจะได้ผลหรือไม่ คือ 1) ด้านสติปัญญา (Head) ที่จะช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นมากกว่าแค่ท่องจำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ วิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ 2) ด้านทัศนคติ (Heart) ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เคารพกฎกติกา และมีระเบียบวินัย 3) ด้านเรียนรู้และปฏิบัติจริง (Hand) ที่เปิดโอกาสให้ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 4) ด้านสุขภาพ (Health) เพื่อให้เด็กได้ฝึกซ้อมการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง

ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ครู และผู้บริหารโรงเรียน ต้องเปลี่ยนระบบคิดจากที่เน้นวิชาการอย่างเดียวมาจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้อื่นๆ ด้วย เช่นเดียวกับผู้ปกครองที่ยังมีบางส่วนไม่เห็นด้วย

อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่ป่วยหนักจะต้องทำมากกว่า "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" คือ หนึ่ง-ต้องมีการปฏิรูปหลักสูตรถ้าจะให้ดีต้องกล้ายกเลิกหลักสูตรเก่าไปเลยเพราะใช้มานาน ล้าสมัย แล้วยกร่างขึ้นใหม่มาใช้แทน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการเคยมีการหารือและยืดเยื้อมานานกว่าปีแล้ว โดยมีข้อเสนอกันว่าอาจต้องลดกลุ่มสาระการเรียนรู้จาก 8 กลุ่มสาระ เหลือ 5 กลุ่มสาระเท่านั้น

หากลดเวลาเรียนเพียงขาเดียว แต่หลักสูตรยังบังคับให้เรียนรู้แบบมากล้นเยอะแยะไปหมดซึ่งบางครั้งก็เป็นการเยอะแบบซ้ำซ้อนก็แทบจะไม่ได้ลด ชั่วโมงเรียนลง เนื่องจากเมื่อครูสอนไม่ทันตามหลักสูตรก็ต้องนัดเด็กมาเรียนเพิ่มเติมในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือเย็นหลังเลิกกิจกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแทบทุกวิชาหลักในเวลานี้ ยิ่งลดเวลาเรียนแต่ละคาบลงเหลือเพียง 40 นาที จาก 50 นาที เอาแค่เดินเปลี่ยนคาบเรียน ครูเข้ามาบ่น มาเมาท์มอยเรื่องส่วนตัวบ้างบางครั้งก็กินเวลาไปจนแทบไม่ได้เรียนอะไร โดยเฉพาะวิชาหลักที่ต้องใช้เวลาเรียนทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม เมื่อมีเวลาสอนไม่พอก็สั่งงานการบ้าน วันหนึ่งๆ เรียนกี่วิชาๆ ครูแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่สั่งการบ้านทั้งสิ้น

นี่ยังไม่นับว่าต้องไปเรียนกวดวิชาเพื่อสอบแข่งขัน วัดผล รวมทั้งเรียนเพิ่มเติมในวิชาที่โรงเรียนไม่ได้มีการเรียนการสอนเพียงพอที่นักเรียนจะมีความรู้เพื่อนำไปสอบเข้าเรียนต่อ เช่น ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ เป็นต้น สุดท้ายก็ไม่มีเวลาเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมการเรียนรู้ Head Heart Hand Health แต่อย่างใด

และไม่นับว่าบางโรงเรียนไม่พร้อมจัดกิจกรรม ไม่มีความหลากหลาย กลายเป็นว่าเด็กนักเรียนถูกบังคับให้เข้าร่วมกิจกรรมตามที่โรงเรียนจัดให้ไม่ใช่ตามที่นักเรียนสนใจ

ที่สำคัญ การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ก็ต้องตอบโจทย์ใหญ่ของระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นทั้งระดับมัธยมปลายและระดับมหาวิทยาลัยไปพร้อมกันด้วย เพราะโลกของความเป็นจริงทุกวันนี้ก็คือ ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นออกมาล้ำหน้าเกินกว่าที่มีเรียนมีสอนกันในระดับ มัธยมศึกษา บางเนื้อหา บางวิชา เช่น ศิลปะ ดนตรี ไม่มีการเรียนการสอนพอที่จะนำไปสอบแข่งขันเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา นักเรียนต้องขวนขวายหาความรู้ด้วยการไปเรียนกวดวิชาเอาเอง เป็นต้น

สอง การปฏิรูปครู เรื่องนี้เรื่องใหญ่ หลักสูตรจะเลอเลิศแค่ไหนถ้าครูผู้ถ่ายทอดความรู้ยังเป็นอยู่ในสภาพเช่นเวลานี้ก็เท่ากับว่าห่วงโซ่ที่เป็นข้อต่อสำคัญในการถ่ายทอดความรู้จากหลักสูตรสู่ผู้เรียนมีปัญหา ไม่ใช่ปัญหาเรื่องผลตอบแทนหรือไม่มีใครอยากเป็นครูเหมือนเมื่อก่อน เพราะทุกวันนี้ครูได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงสิบปีที่ผ่านมา และมีผู้ที่อยากเป็นครูมากล้นดูจากการสอบแข่งขันบรรจุครูในแต่ละปี แข่งกันชนิดลงทุนทุจริตอื้อฉาวกัน ทุกครั้ง

ทำไมต้องปฏิรูปครู ก็เพราะครูเป็นตัวแปรสำคัญการศึกษาของนักเรียนนั้นจะสัมฤทธิผลหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับครู ปัญหาของครูที่ต้องปฏิรูปนอกจากจะเป็นเรื่องคุณภาพของครูแล้ว ยังเป็นปัญหาของระบบที่ประเมินครูด้วยที่ทำให้ "ครูไม่เห็นหัวนักเรียน" เพราะความดีความชอบของครูประเมินกันที่ "กระดาษ" มากกว่าความเป็นจริง ดังที่ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เคยกล่าวไว้ในปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "ประเทศไทยกับอนาคตใหม่ทางการศึกษา" ที่สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัทซัมซุงฯ ร่วมจัดสัมมนา "Education for the Future : ปรับห้องเรียน เปลี่ยนอนาคต" ฯ ดังนี้

อันดับแรกต้อง "คืนครูกลับสู่ห้องเรียน" เนื่องจากไม่มีประโยชน์อันใดที่เด็กอยู่ในห้องเรียนปีละเป็น 1,000- 1,200 ชั่วโมง แต่ครูไม่อยู่ในห้องเรียน ซึ่งจากการสำรวจปีหนึ่งๆ พบว่าครูใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้ครูไม่สามารถอยู่ในห้องเรียนได้ถึง 84 วัน ปีหนึ่งมี 365 วัน มีวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดต่างๆ จะเหลือเวลา 200 กว่าวัน ฉะนั้นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว เวลาที่ครูจะไม่ได้เจอนักเรียนหายไปถึง 42% นั่นคือ ใน 1,000 ชั่วโมง นักเรียนจะได้เจอครูก็เหลือประมาณ 600 ชั่วโมง แล้วครูทำอะไรเมื่อไม่ได้อยู่ในห้องเรียน มี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ ใช้เวลาการประเมินจากหน่วยงานภายนอก เช่น การประเมินโรงเรียนโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาฯ หรือ สมศ.การประเมินตัวครูเพื่อให้ได้เลื่อนตำแหน่ง และการประเมินนักเรียนโดยการให้นักเรียนไปสอบแข่งขันต่างๆ

การประเมินโรงเรียนของ สมศ.เป็นกิจกรรมที่ครูคิดว่าไม่มีประโยชน์มากที่สุดคือ เพราะไม่ได้นำไปสู่การพัฒนาการศึกษา ขณะที่ สมศ.ใช้งบสำหรับการประเมินโรงเรียนในช่วง 5 ปี สูงถึง 1,800 ล้านบาท แถมผลศึกษาที่ทีดีอาร์ไอไปค้นพบยังน่าตกใจมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนคุณภาพระดับไหน ข้อเสนอแนะก็ออกมาคล้ายๆ กัน คือ "โรงเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น ควรส่งเสริมให้สามารถใช้กับชีวิตประจำวันได้ และพัฒนาทักษะการคิด ทำให้เกิดความสุขในชีวิต" เป็นที่น่าสงสัยว่าจะใช้วิธี Cut and Paste ด้วยหรือเปล่า? การประเมินโรงเรียนจึงออกมาแบบไม่มีประโยชน์

ดังนั้น ต้องคืนครูสู่ห้องเรียน และเปลี่ยนระบบการประเมินโรงเรียนใหม่แทนที่จะประเมินโดยการตรวจเอกสาร กลายเป็นว่าห้องเรียนจริงเป็นอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับการเขียนลงไปในกระดาษใช้หลอกกันไป

อันดับที่สอง ต้องคืนครูที่พร้อมและครูที่เก่งกลับสู่ห้องเรียนด้วย เพราะครูที่ดี สอนเก่ง พร้อม และอยากจะสอน จะช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นเรื่องจำเป็นกับการยกระดับการศึกษา และเมื่อผลตอบแทนครูสูงขึ้น มีการสอบแข่งขันกันมาก มีโอกาสที่จะได้คัดเลือกครูสู่ห้องเรียน แต่ปัญหาคือระบบคัดเลือกครูเวลานี้ไม่ว่าจะมีการแข่งขันสูงแค่ไหนก็จะไม่ได้ครูที่ดีเข้าสู่ห้องเรียนเพราะมีปัญหาหลายอย่าง เช่น ใช้การสอบข้อเขียนเป็นหลัก ดังนั้นครูได้เข้าไปสอนอาจมีความรู้แต่ทักษะการสอนดีหรือไม่ก็ไม่แน่ และไม่มีการดูผลงาน ดูประวัติ สอบสัมภาษณ์ก็ไม่ได้ใช้ผลของการสัมภาษณ์จริงๆ ขณะที่การออกข้อสอบของเขตการศึกษาก็ต่างออกกันเองเพื่อให้ได้ครู

แต่ที่สำคัญที่สุด คือ โรงเรียนไม่มีสิทธิ์เลือกครู ทั้งที่หากให้โรงเรียนสามารถคัดเลือกครูเองได้จะทำให้ได้ครูตรงกับความต้องการมากขึ้น ขณะเดียวกันการผลิตครูก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงมีการประกาศผลสอบคัดเลือกว่าสถาบันไหนผลิตครูออกมาแล้วสามารถไปสอบเป็นครูได้จริง เพื่อสะท้อนคุณภาพของสถาบันการศึกษาเป็นแรงกดดันให้ปรับปรุงให้ดีขึ้น

อันดับที่สาม ปรับระบบการประเมินผลที่ "กระดาษ" ทำให้ครูทิ้งห้องเรียน เพราะหากดูดัชนีชี้วัดจะวัดทักษะการสอนแค่ 30% อีก 70% วัดจากจริยธรรมและผลปฏิบัติงานอื่นซึ่งยากที่วัดได้อย่างถูกต้อง ผู้อำนวยการบางคนก็ให้ครูที่สนิทสนมได้คะแนนตรงนี้มากทำให้เป็นปัญหา เช่นเดียวกันกับการเลื่อนวิทยฐานะที่ดูจากผลการเรียนของนักเรียนเพียง 3% ขณะที่เรื่องอื่น เช่น ผลงานวิชาการ ให้น้ำหนักถึง 13% ครูที่อยากก้าวหน้าในอาชีพก็แห่ไปทำงานวิชาการ เขียนบทความวิชาการของตนเองมากกว่าจะพัฒนาการสอนในห้องเรียน เป็นการประเมินผลที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะเป็นจริงๆ

การปรับลดเวลาเรียนเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้ จึงเป็นเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของการพัฒนาระบบการศึกษาไทยโดยลดความเครียดของเด็กนักเรียนลงเพื่อฝึกเสริมทักษะ Head Heart Hand Health ขณะที่ประเด็นที่เป็นเป้าหมายสำคัญซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ในการปฏิรูปการศึกษาของไทยในภาพรวมก็คือ เป้าหมายของการศึกษาเพื่ออะไร ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ในการพัฒนาประเทศไทยด้วยว่าเราจะก้าวไปทางไหน เราจะผลิตคนที่มีคุณภาพเพื่อรองรับทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไรยังไม่ชัดเจน?

เวลานี้ สถาบันการศึกษาแห่ผลิตนักเรียนสายสามัญเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ขณะที่สายวิชาชีพไม่มีใครอยากเรียนขณะที่ประเทศชาติขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในแทบทุกสาขาอาชีพ ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก่อสร้าง ฯลฯ โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ต้องการแรงงานมีฝีมือ มีความคิด มีทักษะในการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญและเป็นจุดแข็งของประเทศ

ซูเปอร์บอร์ดการศึกษาที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั่งหัวโต๊ะ ต้องชัดเจนในเป้าหมายของการศึกษา เป้าหมายของการพัฒนาประเทศ ไม่เช่นนั้นการปฏิรูปการศึกษา ก็เป็นแต่เพียงการปฏิลูบ แค่ลูบๆ คลำๆ และการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ก็เป็นแค่อีเวนต์ แคมเปญช่วงโปรโมชันให้เด็กนักเรียนลั้ลลาของรัฐมนตรีการศึกษาคนใหม่ก็เท่านั้น



ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558
ที่มา http://www.kroobannok.com/76971

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา ให้ความเห็นชอบการใช้ระบบประกันคุณภาพของสถาบัน

http://www.mua.go.th/users/bhes/QAMUA58/qa21-9-58.pdf

กำหนดการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ 20



ที่มา http://www.mua.go.th/data_pr/161058.png

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สิทธิประโยชน์ของบุคลากรผู้เปลี่ยนสถานภาพ
โดย นางสาวอัปสร กิจเจริญค้า (ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี)
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนต์ สกลไชย (กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากรผู้ทรงคุณวุฒิ)


โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช (อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร)

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2557

มหาวิทยาลัยศิลปากร กำหนดรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2557 ในระหว่างวันจันทร์ที่ 19 - วันอังคารที่ 20 ตลุาคม 2558 โดยมีคณะกรรมการจากภายนอกสถาบัน ดังนี้
1. รศ. ดร.ชาคริต ชุ่มวัฒนะ ประธานกรรมการ
2. รศ.สีปาน ทรัพย์ทอง กรรมการ
3. รศ. ดร.วิกร ตัณฑวุฑโฒ กรรมการ
4. ภญ.รศ. ดร.อรลักษณา แพรัตกุล กรรมการ
5. ผศ.ดร.สุวิมล เรืองศรี กรรมการ
6. ผศ.ภาคม บำรุงสุข กรรมการ
7. ผศ.ภานุ สรวยสุวรณ กรรมการ




วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

เผย 4 มหา′ลัยไทยติดอันดับ "คิวเอส-ไทม์"

นายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ที่มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน รับทราบการจัดอันดับของกลุ่มมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชีย ปี 2015 (QS University Rankings Asia 2015) พบว่า มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อันดับที่ 44 ของเอเชีย อันดับ 1 ของไทย รองลงมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

พร้อมรับทราบผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Time Higher Education ปี 2015 มีมหาวิทยาลัยติดอันดับ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ มม. ที่ประชุมได้วิเคราะห์ร่วมกันว่างานวิจัยเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่จะทำให้มหาวิทยาลัยถูกจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ดังนั้น ขอให้ไปหาแนวทางเพิ่มศักยภาพงานวิจัยในมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

สมศ.จับมือ AQAN สร้างเครื่องมือประกันคุณภาพอุดมศึกษาอาเซียน : เชื่อมมาตรฐานมหาวิทยาลัย!

            นับถอยหลังอีกเพียง 3 เดือน 23 วัน ประตูของประชาคมอาเซียนก็จะเปิดขึ้น และนั่นหมายถึงวันที่ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมถึงประเทศไทย จะต้องบรรลุเป้าหมายการเป็น ประชาคมอาเซียนที่ความร่วมไม้ร่วมมือทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และวัฒนธรรมจะหลั่งไหลตามมา
               “ทีมการศึกษาได้มีโอกาสติดตามคณะของ ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ไปร่วมการประชุม เครือข่ายประกันคุณภาพอาเซียน (ASEAN Quality Assurance Network) หรือ AQAN ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเร่งผลักดัน กรอบการประกันคุณภาพอาเซียน (ASEAN Quality Assurance Framework) หรือ AQAF
                 โดยประเทศสมาชิกเครือข่ายประกันคุณภาพอาเซียน มีมติร่วมกันที่จะเริ่มต้นที่สถาบันอุดมศึกษา โดยยกร่าง กรอบการประกันคุณภาพการอุดมศึกษาของอาเซียน (ASEAN Quality Assurance Framework in Higher Education) หรือ AQAF เพื่อเป็นเครื่องมืออ้างอิงในการสร้างมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในอาเซียนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งนอกจาก 10 ประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีอาเซียนบวกสาม ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เข้าร่วมด้วย
             ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวว่า ปัจจุบันอาเซียนมีนักศึกษาระดับอุดมศึกษาประมาณ 18-20 ล้านคน มีสถาบันอุดมศึกษากว่า 6,000 แห่ง มีกระบวนการประกันคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ จึงมีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนด กรอบการประกันคุณภาพการอุดมศึกษาของอาเซียน เพื่อให้เกิดระบบการประกันคุณภาพที่มีมาตรฐานเทียบเคียงกัน อันจะนำไปสู่การเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ การถ่ายโอนหน่วยกิตและการยอมรับคุณวุฒิระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะมีการจัดทำคู่มือเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.นี้ และเชื่อว่าภายใน 5 ปีน่าจะเห็นผล อย่างไรก็ตามตั้งใจว่าในปีการศึกษาหน้าจะมีการนำร่องในสถาบันอุดมศึกษา โดยอาจจะเริ่มในมหาวิทยาลัยท็อปทรีของแต่ละประเทศ
เมื่อนำ กรอบการประกันคุณภาพการอุดมศึกษาอาเซียน มากาง พบว่ามี 4 หลักการใหญ่ ได้แก่
           1.หลักการของหน่วยประเมินคุณภาพภายนอก ที่ประกอบไปด้วย ต้องจัดตั้งตามกฎหมายและได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากหน่วยงานภาครัฐในประเทศ มีเป้าหมายและพันธกิจร่วมกัน มีความเป็นอิสระในความรับผิดชอบโดยปลอดอิทธิพลแทรกแซง มีมาตรฐานและระบบการแต่งตั้งคณะกรรมการที่โปร่งใส ยึดธรรมาภิบาล ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอและยั่งยืน มีความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีระบบการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลที่น่าเชื่อถือทุกขั้นตอน และต้องแจ้งให้สาธารณชนทราบนโยบาย ขั้นตอน เกณฑ์ มาตรฐาน และผลประเมินที่เป็นปัจจุบัน
            2.หลักการการประเมินคุณภาพภายนอก ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เรียนและสังคมเป็นสำคัญ มีมาตรฐานเทียบเท่านานาชาติและเชื่อมโยงการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนามาตรฐานต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตอบสนองความต้องการและอุปสงค์ เผยแพร่มาตรฐานให้สาธารณชนทราบและใช้ดำเนินการอย่างทั่วถึง โดยคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ต้องประกันว่าผู้ประเมินภายนอกมีความเป็นมืออาชีพและปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ต้องประเมินตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ดำเนินการด้วยความถูกต้อง โปร่งใส และในห้วงเวลาที่เหมาะสม และมีกลไกการอุทธรณ์ที่ทุกคนเข้าถึง
            3.หลักการการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักเรื่องคุณภาพ ส่งเสริมการสร้างความสมดุลระหว่างความอิสระกับการตรวจสอบโดยสาธารณะ เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับรวมทั้งคณาจารย์ นิสิต/นักศึกษา ต้องกำหนดโครงสร้าง วิธีดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และต้องประกาศให้ทราบ ต้องจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ มีกลไกที่เป็นทางการสำหรับอนุมัติ ติดตามตรวจสอบ ปรับปรุงหลักสูตรและปริญญา ติดตามตรวจสอบและปรับปรุงระบบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
            4.หลักการกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ประกอบด้วย ต้องช่วยเลื่อนคุณวุฒิไปสู่ระดับที่สูงขึ้นจากผลการเรียนรู้และฝึกอบรม รวมทั้งเทียบโอนประสบการณ์ก่อนเข้าศึกษา สนับสนุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการเคลื่อนย้ายบุคลากร ด้วยการยอมรับคุณวุฒิการศึกษารวมทั้งการศึกษาตลอดชีพ ตั้งอยู่บนหลักการของผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนและสมรรถนะ กำหนดนิยามของระดับการศึกษาโดยอาจตามระบบหน่วยกิตที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลื่อนคุณวุฒิ มีความโปร่งใสและยืดหยุ่น ต้องได้รับการสนับสนุนจากนโยบายที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ และมีระเบียบรองรับการบังคับใช้ ต้องดำเนินการโดยหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจ และต้องกำหนดหลักการประกันคุณภาพและมาตรฐานที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน
              “ทีมการศึกษาเห็นด้วยกับความมุ่งมั่นตั้งใจของ สมศ.ที่จะนำกรอบการประกันคุณภาพการอุดมศึกษาอาเซียนมาขับเคลื่อนในประเทศไทย เพราะหากเรามีระบบการประกันคุณภาพที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เมื่อถึงเวลาก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเต็มตัวผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับเด็กไทยและคนไทย
              แต่สิ่งที่เราห่วงคือ สถาบันอุดมศึกษาที่ สมศ.ต้องเข้าไปประเมิน จะให้การยอมรับและขานรับกับกรอบการประเมินนี้มากน้อยเพียงใด
               และนั่นคือโจทย์ข้อใหญ่ที่ สมศ.คงต้องกลับไปคิด และหาทางพูดคุยทำความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพราะหากเป็นการพูดเอง เออเอง เมื่อถึงเวลาจะนำกรอบที่วางไว้มาใช้จริงแต่มหาวิทยาลัยไม่เอาด้วย ก็คงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากความพยายามที่ทำมาต้องไร้ผลเป็นรูปธรรม!!!


วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

7 เทคนิค หัวเราะบำบัดกายเสริมใจ

ในสังคมปัจจุบันที่รายล้อมด้วยความเครียด เชื่อหรือไม่ว่าการหัวเราะ” มีความสำคัญอย่างมาก เพราะไม่เป็นเพียงการแสดงอารมณ์สุขตามธรรมชาติของมนุษย์เท่านั้น ในทางการแพทย์ยังใช้เป็นเครื่องมือบำบัดโรคภัยและอารมณ์ซึมเศร้าได้อีกด้วย

ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา ให้ข้อมูลว่า การหัวเราะทำให้ร่างกายหลั่งสารโดฟามีนที่ช่วยในการเรียนรู้และความทรงจำ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลดีต่อระบบประสาทของเรา โดยฮอร์โมนโดฟามีจะช่วยลดความเครียด และทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลกลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันและร่างกายของเราแข็งแรงขึ้น ผลจากการที่เราไม่เครียดจะทำให้ร่างกายเราได้พักผ่อนเพียงพอ นอนหลับสนิท จิตใจสงบ รู้สึกสดชื่น และยังทำให้มีสมาธิมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ การหัวเราะ ยังทำให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ ทำให้การไหลเวียนของเลีอดในร่างกายเป็นไปด้วยดี ซึ่งคนที่สามารถสร้างอารมณ์ขันและหัวเราะได้ ในสถานการณ์ที่เลวร้าย จะทำให้เกิดพลังในตัวเอง คลายความเศร้าหมอง และช่วยเปิดทัศนคติในการมองโลกเป็นไปในทางบวกได้
ความแตกต่างของการหัวเราะธรรมชาติ กับการหัวเราะบำบัด
การหัวเราะแบบธรรมชาติ เกิดจากสิ่งกระตุ้นให้เราเกิดอารมณ์ขัน แต่การ หัวเราะบำบัด คือ ภายใน โดยผู้หัวเราะจะคอยควบ คุมเส้นประสาทสรีระกายตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของเรา รวมทั้งกระบวนการหายใจของเราให้ขยับ ขับเคลื่อนโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งกระตุ้นเร้า หรือใครทำอะไรให้เราเกิดอารมณ์ขัน
ดร.วัลลภ บอกว่า การหัวเราะบำบัดมีหลายแบบ รวมถึงมีการผสมผสานระหว่างการหัวเราะและควบคุมการหายใจของโยคะเข้าด้วยกัน ซึ่งในอเมริกา แคนาดา อังกฤษ และอีกหลายประเทศ ได้นำการรักษาผู้ป่วยด้วยการหัวเราะเข้ามามีบทบาทแทนที่การบำบัดด้วยการใช้ยาคลายเครียด และยาแก้ปวด เพราะอารมณ์ขันให้ผลเช่นเดียวกับการออกกำลังกาย เป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนฝ่ายดี เช่น ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยระงับความเจ็บปวด และ ฮอร์โมนเซโรโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราอารมณ์ดี ขณะเดียวกันก็ทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดลดลง
สำหรับประเทศไทย ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพ มนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้คิดค้นการ หัวเราะบำบัด โดยผสมผสานการควบคุมการหายใจ การเปล่งเสียงหัวเราะ และการบริหารร่างกายไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการหัวเราะที่ให้ผลเชิงสุขภาพโดยไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์ขัน
การฝึกหัวเราะบำบัด เริ่มจากฝึกหัวเราะเพื่อเคลื่อนไหวอวัยวะภายใน 4 ส่วน ด้วยการเปล่งเสียงต่างๆ กัน คือ เสียง "โอ" ทำให้ภายในท้องขยับ เสียง "อา" ทำให้อกขยับขยาย เสียง "อู" เสียง "เอ" ทำให้ลำคอเปิดโล่ง และช่วยบริหารใบหน้า ทั้งนี้ แต่ละเสียงมีท่าทางประกอบและมีประโยชน์ในการบำบัดที่ต่างกันเช่น 
1.ท้องหัวเราะ กำมือชูนิ้วโป้งระดับท้อง หายใจเข้าและเปล่งเสียงหัวเราะ "โอ" ขยับมือทั้งสองข้างขึ้นลงเป็นจังหวะ ออกเสียงโอคือการหัวเราะบริเวณท้องจะช่วยในเรื่องอารมณ์ และช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น และช่วยบำบัดโรคลำไส้อักเสบ
2.อกหัวเราะ กางแขนออกหงายฝ่ามือระดับอก หายใจเข้ากลั้นหายใจแล้วปล่อยลมหายใจออกเปล่งเสียงหัวเราะ "อา" ขยับแขนทั้งสองข้างขึ้นลงเป็นจังหวะ กระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก หัวใจ ปอด และไหล่ขยับเขยื้อนไปด้วย ท่านี้จะช่วยให้อวัยวะบริเวณหน้าอกทั้งหมดทำงานได้ดีขึ้น
3.คอหัวเราะ ยกมือขึ้นระดับอก กำมือ ยกนิ้วโป้งตั้งขึ้น นิ้วชี้ และนิ้วกลางชี้ไปข้างหน้า หายใจเข้าและเปล่งเสียงหัวเราะ "อู" ขยับแขนตามจังหวะ เน้นพุ่งมือไปด้านหน้า เมื่อเปล่งเสียงอู จะกระตุ้นให้บริเวณลำคอสั่น ท่านี้จะช่วยแก้ปัญหาเจ็บคอ คออักเสบ ปวดคอ สำหรับคนที่มีปัญหาเนื่องจากต้องใช้เสียงเยอะ
4.ใบหน้าหัวเราะ ยกแขนขึ้นระดับใบหน้า ขยับนิ้วคล้ายเล่นเปียโน หายใจเข้าและเปล่งเสียงหัวเราะ "เอ" ขยับนิ้ว เคลื่อนไหวร่างกาย คล้ายท่าแหย่เด็กๆ นอกจากจะได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กที่นิ้วมือแล้ว ท่านี้ยังช่วยฝึกบริหารสมองด้วย
5.ไหล่หัวเราะ เป็นการบริหารช่วงไหล่ ยืนตรงแล้วส่ายไหล่ไปมา เหมือนการว่ายน้ำฟรีสไตล์ พร้อมกับเปล่งเสียง เอ เอะ ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับไหล่ ท่านี้ช่วยได้
6.สมองหัวเราะ โดยธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเครียดมักจะปิดปาก เป็นเหตุให้ความดันขึ้นสมอง ท่านี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยปิดปากแล้วเปล่งเสียง อึดันให้เกิดการสั่นสะเทือน ขึ้นไปนวดสมอง เมื่อทำเสร็จจะรู้สึกโล่ง โปร่งสบาย
7.หัวเราะทั้งตัว เป็นท่าที่ต้องทำพร้อมกันกับผู้อื่น โดยกระโดดพร้อมเสียงหัวเราะแบบสุดๆ ตามแบบของตัวเองอย่างต่อเนื่อง 1 นาที คล้ายท่ากบกระโดด เอามือสองข้างของเราไปตบมือสองข้างของเพื่อน ตามจังหวะ
เมื่อเริ่มฝึกอย่างต่อเนื่องจะพบว่าทุกส่วนของร่างกายจะโล่ง โปร่ง เบา และสบายขึ้น ความสดชื่นเข้ามาแทนที่ เมื่อชีวิตมีความสดชื่นจะส่งผลไปถึงการมองโลกวิธีคิดหรือมุมมองการใช้ชีวิตเปลี่ยน ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีแบบองค์รวมจะต้องควบคู่ไปกับการบริโภคที่ดี และออกกำลังกายที่เหมาะสมด้วยดร.วัลลภ กล่าวทิ้งท้าย
ได้ยินแบบนี้แล้ว...มาเริ่มเปล่งเสียงหัวเราะเพื่อสุขภาพกายใจที่ดีกันเถอะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  www.thaihealth.or.th
ภาพประกอบจาก clearstreamcoaching.com , examiner.com


รายงานผลการดำเนินงาน โครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2557 รุ่นที่ 2 วันจันทร์ที่ 29- วันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์

รายงานผลการดำเนินงาน โครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2557 รุ่นที่ 1 วันอังคารที่ 2 - วันพุธที่ 3 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น5 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล สำนักหอสมุดกลาง พระราชวังสนามจันทร์

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เดินหน้าพ.ร.บ.บริหารงานบุคคลอุดมศึกษา

“กฤษณพงศ์"แจงต้องเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาเป็นความต้องการของ มรภ.-มทร. เพื่อให้มีกฏหมายกลางดูแลสวัสดิการ ด้าน ประธาน ทปสท.ขอส่งตัวแทนร่วมร่างพ.ร.บ.ด้วย วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2558 เวลา 13:46 น. วันนี้ ( 8ก.ค.) ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) 

ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) และผู้เกี่ยวข้อง มีมติเสนอให้ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา เพราะเห็นว่ามีจุดอ่อนหลายประเด็น ว่า เหตุผลที่มีการยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเนื่องจากเป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ซึ่งยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนสถานะภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ออกนอกระบบ จึงต้องการให้มีกฏหมายกลางมาดูแลค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ “ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยกลุ่มเก่าบางแห่ง มองว่ากฏหมายระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา อาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากมหาวิทยาลัยของตนเองสามารถบริหารจัดการได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งจริงๆแล้วในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องใช้กฏหมายนี้ แต่ให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ 

อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้ออกมาคัดค้านหรือเสนอให้ยกเลิก ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะต้องเชิญกลุ่มดังกล่าวมาหารือกัน เพื่อดูว่าร่างนี้ยังมีจุดบกพร่องตรงไหน เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไข อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ คณะอนุกรรมการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา จะประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนนำเสนอคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.)ต่อไป" รมช.ศธ.กล่าว. ผศ.ดร.รัฐกร คิดการ ประธาน ทปสท. กล่าวว่า ตนและปอมท. ได้เข้าพบ รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เพื่อชี้แจงมติให้ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา แต่ถ้า สกอ.จะเดินหน้าต่อก็ต้องพิจารณากฏหมายฉบับนี้ให้รอบคอบ เพราะมีผลกระทบกับพนักงานหลายกลุ่ม และขอให้ตั้งตัวแทนจาก ทปสท. และ ปอมท. เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ด้วย เพื่อจะได้เสนอความคิดเห็นในร่างดังกล่าว เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลสิทธิประโยชย์ให้แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/333456
ที่มา http://www.dailynews.co.th/education/333456

สถาบันที่จะติดลำดับโลก

จากประชากรไทย 67 ล้านคน มีเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีประมาณ 8 แสนคน ร้อยละ 3 หรือ 24,000 คน เป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูงมาก ประเทศเรามีการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแต่ละปีตามโครงการของ พสวท. (100 คน) ร.ร.มหิดลฯ (240) กระทรวงวิทย์ฯ (210) ห้องพิเศษ สพฐ. (5,850) ร.ร.จุฬาภรณ์ (1,728) ร.ร.กำเนิดวิทย์ (72) รวม 8,200 คน
กลุ่ม ปตท. ได้แก่ บมจ.ปตท., บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล, บมจ.ไทยออยล์ และ บมจ.ไออาร์พีซี ได้ร่วมกันตั้งมูลนิธิโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ระยอง เพื่อดูแลโรงเรียนกำเนิดวิทย์ และมูลนิธิสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระยอง เพื่อดูแลสถาบันวิทยสิริเมธี
กำเนิดวิทย์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ต้องการบ่มเพาะเยาวชนไทยผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้มีจิตวิญญาณของนักวิจัย นักประดิษฐ์และนักนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยให้อยู่ดีมีสุขและแข่งขันได้ในเวทีโลก ในแต่ละปีโรงเรียนกำเนิดวิทย์จะรับนักเรียนเพียง 4 ห้อง ห้องละ 18 คน ทั้งปีรับเพียง 72 คน
มีนักเรียนที่เก่งทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาสมัครมากกว่า 5,000 คน ได้รับการคัดเลือกไว้เพียง 72 คนใน พ.ศ.2558 ซึ่งเป็น นักเรียนรุ่นแรก นักเรียนเหล่านี้เป็นวัตถุดิบชั้นยอดที่ผ่านกระบวนการสรรหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อเข้ามาแล้วก็ได้รับการพัฒนาจากครูอาจารย์ระดับโลกเป็นรายบุคคล สื่อการสอนใช้ภาษาอังกฤษ ทุกคนต้องอยู่ประจำโดยอยู่แบบระบบบ้านพักในบริเวณเนื้อที่ 1,000 ไร่
วังจันทร์วัลเลย์มีเนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ แบ่งเป็นส่วนของสถานศึกษา 1,000 ไร่ ในส่วนนี้ นอกจากจะมีโรงเรียนกำเนิดวิทย์แล้ว ยังมีสถาบันระดับอุดมศึกษาที่ชื่อว่าสถาบันวิทยสิริเมธี ที่เป็นสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นงานวิจัยชั้นแนวหน้า เพื่อสร้างบุคลากรที่ดีเลิศในระดับโลกทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถสร้างและใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ผู้ที่รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนระดับมัธยมปลายในโรงเรียนกำเนิด–วิทย์และระดับปริญญาโทในสถาบันวิทยสิริเมธีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนะครับ กลุ่มบริษัท ปตท. ใส่เงินลงไปในมูลนิธิเบื้องต้นถึง 6 พันล้านบาท ใช้เป็นค่าก่อสร้าง 2 พันล้านบาท ที่เหลืออีก 4 พันล้านบาทเป็นอุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือในการเรียนการสอน ซึ่งเน้นปฏิบัติการวิจัย
มหาวิทยาลัยสอน หรือ Teaching University ที่มีเกลื่อนกราดดาษดื่นในประเทศและในโลกของเราใบนี้ มีวิธีหารายได้จากงบประมาณของรัฐและจากการเก็บค่าเล่าเรียน แต่มหาวิทยาลัยวิจัย หรือ Research University อย่างเช่น สถาบันวิทยสิริเมธี มีรายได้มาจากผลงานวิจัยและจากกองทุนต่างๆ
สถาบันวิทยสิริเมธีที่รับนักศึกษารุ่นแรกใน พ.ศ.2558 มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยใน พ.ศ.2563 และต้องการให้เป็น 1 ใน 10 ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนใน พ.ศ.2568 พอถึง พ.ศ.2578 หรืออีก 20 ปี ข้างหน้า ต้องการให้สถาบันแห่งนี้เป็น World Research University ที่ติดลำดับ 1 ใน 50 ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
25 มิถุนายน 2558 ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กรุณาบรรยายด้วยตัวเองเรื่อง ‘พัฒนาการของระบบการอุดมศึกษาและการจัดตั้งสถาบันวิทยสิริเมธีของกลุ่ม ปตท.’ ให้ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ และพวกเราซึ่งเป็นพนักงานของกลุ่มบริษัทบาลานซ์ฟังนานถึง 1 ชั่วโมง จากนั้น ดร.ไพรินทร์ และ ดร.ธีรเดช ทังสุบุตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่โครงการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนวิทยาศาสตร์กลุ่ม ปตท. พื้นที่ภาคตะวันออก ได้พาพวกเราไปชมทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยด้วยตัวเองอีกเกือบ 2 ชั่วโมง พ่อของผมพูดย้ำๆซ้ำๆในระหว่างการเดินชมว่า ปตท. จะทำให้ประเทศไทยของเราจะยิ่งใหญ่ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจะช่วยทำให้คนของเราที่เก่งเฉพาะด้านประดิษฐกรรม ไปมีความสามารถด้านนวัตกรรม
ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมขอขอบคุณกลุ่ม ปตท. ที่สร้างโอกาสและอนาคตให้ประเทศชาติบ้านเมือง ใครก็ตามที่สนใจสถาบันการศึกษา ทั้งสองนี้ ผมขอแนะนำให้ท่านไปเยี่ยมชมวังจันทร์วัลเลย์ ท่านจะมีกำลังใจขึ้นทันที
ปตท.มีทุน มีวิสัยทัศน์ มีเครือข่าย มีศักยภาพ ฯลฯ ได้ช่วยชาติด้วยการดูแลผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ขณะเดียวกัน ปตท.และคนไทยทั้งประเทศก็ต้องดูแลเด็กไทยที่เกิดใหม่อีกปีละ 8 แสนคนให้พวกเขาโตไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศและของโลก
คุณนิติ นวรัตน์
ที่มา https://m.thairath.co.th/content/508427

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สกอ. เปิดรับสมัคร "โครงการบ่มเพาะคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (incubation project)"

           ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาให้มีการดำเนินการที่มุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ  และได้จัดทำแผนการดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศด้วยเกณฑ์ EdPEx (iCAD - Action Plan Model) เพื่อวางแผนการดำเนินการในการพัฒนาคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศด้วยเกณฑ์ EdPEx ในระยะ 5 ปีข้างหน้าต่อไป โดยได้จัดการประชุม “แนวทางการนำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้ในการพัฒนาองค์การทางการศึกษา (Introduction for EdPEx)” เพื่อชี้แจงและรับฟังข้อเสนอแนะต่อแผนการดำเนินการดังกล่าวร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ในวันวันพุธที่ 8 เมษายน 2558 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ  ณ นคร  ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นั้น

             ในการนี้ สกอ. จึงได้เริ่มดำเนินการตามแผนการดำเนินงานในด้านส่งเสริม: สถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยได้เตรียมดำเนินการ "โครงการบ่มเพาะคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (incubation project)" ซึ่งจะสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพไปสู่ความเป็นเลิศ ได้รับการตรวจเยี่ยม (Validation) และให้คำแนะนำโดยที่ปรึกษา (Mentor) ได้รับความรู้เพื่อเลือกใช้เครื่องมือ (Tools) ในการพัฒนาคุณภาพ ให้ข้อมูลป้อนกลับและติดตามความก้าวหน้า เพื่อเป็นแนวทางที่ดีและตัวอย่างของสถาบันที่มีการพัฒนาคุณภาพด้วยเกณฑ์ EdPEx อย่างเป็นรูปธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆที่ได้รับระหว่างการดำเนินโครงการต่อไป

โดยขอให้หน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะฯ ดำเนินการดังนี้
1. จัดทำหนังสือนำส่ง ใบสมัคร และโครงสร้างทีมงาน EdPEx ภายในหน่วยงาน  
2. จัดส่งเอกสารข้อ 1 พร้อมแบบตอบรับการเข้าร่วมประชุมชี้แจงให้สกอ. ภายในวันที่ 10 มิ.ย. 2558 
3. เข้าร่วมการประชุมชี้แจง "โครงการบ่มเพาะฯ" ในวันที่ 15 มิ.ย. 2558 เวลา 13.30 น. ที่สกอ. 
4. ผู้บริหารหน่วยงานที่ผ่านการคัดเลือก (คณบดี,รองคณบดี/ อธิการบดี/รองอธิการบดี) จะต้องเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรผู้บริหาร
ในวันที่ 10 ก.ค. 2558

Download เอกสารประกอบการสมัคร
ตารางการดำเนินการโครงการบ่มเพาะฯ
เกณฑ์การพิจารณา
ใบสมัคร

การประชุมชี้แจง โครงการบ่มเพาะฯ วันที่ 15 มิ.ย. (ยังไม่เปิดให้ download)
- โครงการและกำหนดการ
- แบบตอบรับ


FAQ

Q: ต้องใช้คะแนนผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (IQA) ของสกอ. และ ผลการประเมินภายนอก (EQA) ของสมศ. หรือไม่
A: ไม่ใช้ครับ แต่ขอให้แสดงความพร้อมและความตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การสนับสนุนจากผู้บริหารและความร่วมมือภายในหน่วยงาน รายละเอียดดังเอกสารประกอบการสมัคร

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2557








ตารางสรุปการกำหนดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาที่กำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (มคอ.)