วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

เขาทำสัมมนากันทำไม และทำอย่างไร ?

การสัมมนา
                                                                     ดร.เมธาวิทย์  ไชยะจิตรนำธร

คำว่า สัมมนา” เป็นคำศัพท์บัญญัติ มาจากคำว่า สำ-มนา” แปลว่า ร่วมใจ (Meeting of the Minds) เป็นการหาคำภาษาไทยใช้แทนคำ “Seminar”
จุดมุ่งหมายของการประชุมสัมมนา

1. เพื่อการแก้ปัญหา
2. เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน หรือการศึกษาอบรม
3. เพื่อการตัดสินใจ หรือการกำหนดนโยบาย
องค์ประกอบของการสัมมนา  ประกอบด้วย 
1. กลุ่มคนผู้เข้าร่วมสัมมนา
2. สถานที่ หรือเวทีให้นำเสนอ พูดคุย
3. มีจุดมุ่งหมายชัดเจน
4. มีระบบระเบียบกำหนดการชัดเจน
5. ผู้เข้าร่วมสัมมนายอมรับวัตถุประสงค์ของการสัมมนา
ลักษณะการสัมมนาที่ดี
1. ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบวัตถุประสงค์ของการสัมมนา
2. จัดให้มีกิจกรรมในการแก้ปัญหาร่วมกัน
3. จัดให้มีกิจกรรมในการเรียนรู้ร่วมกัน
4. จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น และข้อเท็จจริงร่วมกัน
5. ผู้เข้าร่วมสัมมนามีทัศนคติที่ดีต่อปัญหา ข้อเท็จจริง ผู้เข้าร่วมสัมมนา และตนเอง
6. ผู้เข้าร่วมสัมมนาต้องใช้ความคิดร่วมกันในการแก้ปัญหา
7. มีผู้นำที่ดี
8. ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นผู้ฟังที่ดี
9. ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นผู้พูดที่ดี
10.ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการประชุมสัมมนา เพื่อให้งานสัมมนาบรรลุเป้าหมาย
 ประโยชน์ของการจัดสัมมนา
1. ผู้จัดสัมมนาหรือผู้เรียนสามารถจัดสัมมนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความรู้ แนวคิดจากการสัมมนา สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้
3. ผลจากการที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้และความสามารถมากขึ้นจากการสัมมนา ช่วยทำให้ระบบและวิธีการทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. การจัดสัมมนาจะช่วยแบ่งเบาภาระการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา เพราะผู้ได้บังคับบัญชาได้รับการสัมมนา ทำให้เข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติงานตลอดจนปัญหาต่างๆ และวิธีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนางานให้ได้ผลดี
5. เป็นการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้พร้อมอยู่เสมอ ที่จะก้าวไปรับตำแหน่งที่สูงกว่าเดิม หรืองานที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะไม่รู้สึกลำบากในการปรับตัว เพราะได้รับความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลา
6. เป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงาน เพราะโดยปกติแล้วการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง ผู้ที่ได้รับการสัมมนาย่อมมีโอกาสได้รับการพิจารณาก่อน
7เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผลให้เกิดแรงบันดาลใจมุ่งกระทำกิจกรรมอันดีงามให้สังคม
8. สามารถสร้างความเข้าใจอันดีงามต่อเพื่อนร่วมงาน มีมนุษย์สัมพันธ์ เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน สามารทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี
9. เกิดความกระตือรือร้น กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ รู้จักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์ปัญหา สามารถแก้ปัญหาในการทำงานและเกิดภาวะผู้นำ
                                                      
ขั้นตอนการจัดประชุมสัมมนา
การจัดประชุมสัมมนาเป็นกระบวนการของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม   โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง   สามารถตรวจสอบและประเมินผลได้ทุกขั้นตอน    ซึ่งการดำเนินการการจัดประชุมสัมมนาจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.   การเตรียมการก่อนการประชุมสัมมนา
2.   การดำเนินการระหว่างการประชุมสัมมนา
3.   การดำเนินการหลังการประชุมสัมมนา
ขั้นตอนการจัดประชุมสัมมนา
ขั้นที่  1
การเตรียมการก่อน
การสัมมนา
ขั้นที่  2
การดำเนินการระหว่าง
การสัมมนา
ขั้นที่  3
การดำเนินการหลัง
การสัมมนา

1.  สำรวจประเด็นปัญหา
2.  ตั้งคณะกรรมการกลาง
3.  เขียนโครงการสัมมนา
4.  ดำเนินงานเตรียมการสัมมนา


1.  ลงทะเบียน
2.   เปิดการสัมมนา
3.  จัดประชุมกลุ่มใหญ่
4.  จัดประชุมกลุ่มย่อย
5.  จัดประชุมรวม
6.  ปิดการสัมมนา

1.  วิเคราะห์ผลการศึกษา
2.  รายงานผู้บังคับบัญชา
3.  รายงานหน่วยงานที่
      เกี่ยวข้อง
4.  ดำเนินงานงบประมาณ
5.  ติดตามผลและวิเคราะห์


การเตรียมการก่อนการประชุมสัมมนา

ในการจัดประชุมสัมมนาต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายมาทำงานร่วมกัน    ดังนั้นการเตรียมงานไว้ล่วงหน้า    จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยภายในเวลาที่กำหนดไว้   โดยมีขั้นตอนในการจัดเตรียมงานประชุมสัมมนา  ดังต่อไปนี้

1. สำรวจประเด็นปัญหาและความต้องการในการประชุมสัมมนา  โดยพิจารณาจากสิ่ง
ดังต่อไปนี้
1.1 ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงาน  หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน
1.2 ความต้องการของบุคลากร    โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจความคิดเห็น
แบบสอบถาม  หรือแบบสัมภาษณ์ 
1.3 ใช้การจัดประชุมสัมมนาช่วยให้บุคลากรในหน่วยงานเข้าใจ    นโยบายของ
หน่วยงานและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
2.  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมสัมมนา    เพื่อทำหน้าที่  ดังต่อไปนี้
2.1 หาหัวข้อเรื่องที่จะใช้ในการประชุมสัมมนา    โดยการรวบรวม  และแยกแยะในประเด็นปัญหาต่าง ๆ
2.2 พิจารณาบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ  ที่จะเชิญเข้าร่วมการประชุมสัมมนา  
2.3 พิธีเปิด  พิธีปิดการสัมมนา    ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในฝ่ายต่าง ๆ
2.4 พิจารณาแผนการและจัดเตรียมขั้นตอนในการดำเนินการ  ว่าช่วงใดควรจะจัดการอย่างไร   เพื่อจะได้เตรียมจัดให้มีพิธีการต่าง ๆ  ในแต่ละช่วงนั้นได้อย่างเหมาะสม
2.5 พิจารณาแนวทางในการประชาสัมพันธ์  วิธีการประเมินผล  ตลอดจนการเผยแพร่รายงานผลการประชุมสัมมนา  หรือผลสรุปของการประชุมสัมมนาได้อย่างเหมาะสม
2.6 พิจารณาและเสนอการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง  ๆ    ตั้งแต่เริ่มเตรียมงานจนกระทั่งสิ้นสุดการประชุมสัมมนา
2.7 พิจารณาปัญหาอื่น ๆ  ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในขั้นการเตรียมงาน ขั้นดำเนินการประชุมสัมมนา  และขั้นหลังการดำเนินการสัมมนา
2.8 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
3. เขียนโครงการประชุมสัมมนา    เพื่อกำหนดความชัดเจนของการดำเนินงาน    ขั้นตอนต่าง  ๆ    ซึ่งจะทำให้การดำเนินการประชุมสัมมนาสามารถดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย    และมีประสิทธิภาพ    นอกจากนี้  ังสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการประชุมสัมมนา  ดังต่อไปนี้

1.1  ใช้ในการขออนุมัติจัดประชุมสัมมนาจากผู้มีอำนาจ
1.2  ใช้ขอความสนับสนุนด้านงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.3  ให้ผู้เกี่ยวข้องทำความเข้าใจความเป็นมาเกี่ยวกับการจัดประชุมสัมมนา

           โครงการประชุมสัมมนาประกอบด้วยหัวข้อ    ดังต่อไปนี้  

1.    ชื่อโครงการ    การตั้งชื่อโครงการสามารถตั้งได้หลายลักษณะ  ดังต่อไปนี้
1.1   ตั้งชื่อตามลักษณะของผู้เข้าประชุมสัมมนา
1.2   ตั้งชื่อตามเนื้อหาที่จะประชุมสัมมนา
1.3   ตั้งชื่อตามกิจกรรมที่ประชุมสัมมนา
1.4   ตั้งชื่อตามปัญหาที่จะประชุมสัมมนา
                    2.    ผู้รับผิดชอบโครงการ    อาจเป็นหน่วยงาน  องค์การ  หรือบุคคล
 3.    หลักการและเหตุผล    เป็นการกล่าวถึง    ปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องประชุมสัมมนาในหัวข้อดังกล่าว    ซึ่งการเขียนหลักการและเหตุผล  ทำได้โดยการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลมาอ้างอิง ประกอบเพื่อเป็นเหตุผลว่ามีความจำเป็นอย่างที่จัดประชุมสัมมนาหัวข้อดังกล่าว
 4.   วัตถุประสงค์    ต้องเขียนให้สัมพันธ์กับหลักการและเหตุผล   โดยเขียนให้ชัดเจนว่าประชุมสัมมนาเพื่ออะไร มีเป้าหมายที่สำคัญอย่างไร
5.   กลุ่มเป้าหมายหรือผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา   กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่าเป็นใคร  มีคุณสมบัติอย่างไรมีจำนวนเท่าใด และจากที่ไหน
6.   วิทยากร    กำหนดว่าคือใคร  มีคุณสมบัติอย่างไร  ติดต่อได้จากที่ไหน
7.    ระยะเวลา    กำหนดให้แน่นอนว่าจะประชุมสัมมนากี่วัน  เริ่มตั้งแต่วันใดและสิ้นสุดในวันใด
8.   สถานที่    กำหนดให้ชัดเจนว่าในแต่ละกิจกรรมที่จัดในระหว่างการประชุมสัมมนานั้น   จะใช้สถานที่ที่ใดบ้าง  เช่น   พิธีเปิด-พิธีปิดการประชุมสัมมนา   การประชุมสัมมนากลุ่มใหญ่   การประชุมสัมมนากลุ่มย่อย   แต่ละกลุ่มจะใช้ห้องใด  และจะต้องแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาทราบด้วย
9.   วิธีการประชุมสัมมนา  กำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีใดบ้าง เช่น  การบรรยาย  การอภิปราย  การปฏิบัติจริง  เป็นต้น
10.  งบประมาณ    กำหนดรายรับรายจ่าย  ที่จะใช้ในการจัดประชุมสัมมนาว่าจะได้รายรับมาจากที่ไหนบ้าง  เช่น  จากค่าลงทะเบียน  จากเงินอุดหนุนของหน่วยงานเป็นต้น และรายจ่ายจะต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง  เช่น ค่าวัสดุที่ใช้ในการประชุมสัมมนาพิธีเปิดพิธีปิด  ค่าสมนาคุณวิทยากร  เป็นต้น    ซึ่งผู้จัดประชุมสัมมนาจะต้องคิดคำนวณงบประมาณให้ชัดเจน  จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง
11.  การประเมินผล    กำหนดวิธีการประเมินผลให้ชัดเจน    จะประเมินผลด้วยเครื่องมือหรือ เทคนิคอะไรก็ได้ที่เหมาะสม  เช่น  ใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์  และการสังเกต  เป็นต้น
12.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ    มีการคาดคะเนว่าหลังจากการประชุมสัมมนาแล้วผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการประชุมสัมมนาครั้งนี้
13.   กำหนดการประชุมสัมมนา    กำหนดตารางการประชุมสัมมนาในแต่ละวัน    โดยระบุเวลาและกิจกรรมที่จะทำอย่างชัดเจน  เพื่อผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาสามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้

                อนึ่ง  หัวข้อของโครงการดังกล่าวสามารถปรับให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะของโครงการ

   4. ขั้นดำเนินงานเตรียมการจัดประชุมสัมมนา    เมื่อทราบประเด็นปัญหาและตัดสินใจที่จะจัดประชุมสัมมนาแล้วควรเตรียมการจัดประชุมสัมมนา   โดยปฏิบัติตามลำดับขึ้น ดังต่อไปนี้
4.1   การประชาสัมพันธ์การประชุมสัมมนาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
4.2  ติดต่อเชิญวิทยากร  ที่จะมาให้ความรู้แก่ผู้เข้าประชุมสัมมนา    โดยวางแผนการติดต่อเชิญวิทยากร 
ดังต่อไปนี้
4.2.1  รวจรายชื่อวิทยากรที่จะบรรยายตามหัวข้อที่จะประชุมสัมมนา
          4.2.2  กำหนดตัววิทยากรที่จะบรรยาย  ทั้งวิทยากรหลักและวิทยากรสำรอง 
                  4.2.3   ติดต่อทาบทามวิทยากรด้วยวาจาเป็นการส่วนตัวก่อน    พร้อมทั้งแจ้งถึงวัตถุประสงค์ของข่ายหัวข้อของการประชุมสัมมนา  วัน  เวลา  สถานที่  และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เข้าประชุมสัมมนา
            4.2.4  ทำหนังสือเชิญวิทยากรและขออนุญาตผู้บังคับบัญชาของวิทยากรพร้อมกับส่งกำหนดการ
ประชุมสัมมนาให้วิทยากร
4.2.5 ประสานงานกับวิทยากรเพื่ออำนวยความสะดวก  เช่น  ด้านการเดินทางที่พักและอื่น  ๆ
                  4.3  เชิญผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา
                  4.4  การเตรียมการ  ด้านสถานที่และอุปกรณ์  ดำเนินการดังต่อไปนี้
                         4.4.1  ติดต่อขอใช้สถานที่ทำการประชุมสัมมนา    หรือถ้ามีการศึกษาดูงานฝึกงาน  ทัศนศึกษา ฯลฯ   จะต้องติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งยานพาหนะที่จะใช้ในการเดินทางด้วย     
                                 4.4.2  วางแผนการใช้สถานที่ในการจัดประชุมสัมมนา  การจัดห้องประชุมสัมมนา    การเตรียมโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ 
                              4.4.3   จัดทำอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการประชุมสัมมนา  เช่น  ป้ายชื่อโครงการระชุมสัมมนา   ป้ายชื่อวิทยากร  ป้ายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา   ป้ายบอกทางไปยังห้องประชุม สัมมนา  ป้ายลงทะเบียน  และป้ายอื่น ๆ ที่จำเป็น
             4.5    เตรียมการด้านการลงทะเบียน    โดยจัดเตรียมแฟ้มบัญชีรายชื่อเพื่อความสะดวกในการลงทะเบียน  การแจกเอกสาร การเก็บเงิน  และการสรุปผล    และยังทำให้ผู้จัดทราบยอดจำนวนที่แท้จริงของผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ  เช่น  ฝ่ายที่พัก  ฝ่ายเอกสาร  ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม  ตลอดจนการจัดแบ่งกลุ่มย่อย  ถ้าผู้เข้าประชุมสัมมนามีจำนวนมาก    ควรเตรียมแฟ้มสำหรับลงทะเบียนมากกว่า 1 แฟ้ม  และรายชื่อควรพิมพ์หน้าเดียว     เพื่อความสะดวกในการเซ็นชื่อลงทะเบียน
                    4.6    เตรียมการด้านเอกสารแจกผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา    เอกสารที่จะแจกผู้เข้า ร่วมการประชุมสัมมนาควรจัดใส่แฟ้มให้เรียบร้อย  โดยมีเอกสารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
 4.6.1โครงการประชุมสัมมนา
                           4.6.2 กำหนดการประชุมสัมมนา
                           4.6.3 คู่มือในการประชุมสัมมนา
                           4.6.4 รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา พร้อมแจ้งสังกัดของผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา
                           4.6.5 รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา ตามกลุ่มในกรณีที่มีการแบ่งกลุ่ม
                           4.6.6 รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาตามกลุ่มในกรณีที่มีการแบ่งกลุ่ม
                           4.6.7 เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา
                           4.6.8 กระดาษเปล่าสำหรับจดบันทึกเพิ่มเติม
             4.7  เตรียมการสำหรับพิธีเปิดพิธีปิดการประชุมสัมมนา  โดยการร่างคำกล่าวรายงานคำกล่าวประธานในพิธีเปิดพิธีปิดการประชุมสัมมนา
การดำเนินการระหว่างการประชุมสัมมนา

              เมื่อถึงกำหนดวันจัดประชุมสัมมนาคณะกรรมการแต่ละฝ่ายจะต้องดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ  ตามที่กำหนดไว้   ดังต่อไปนี้ 

1.   การต้อนรับผู้เข้าประชุมสัมมนา  ได้แก่  ประธานในพิธี  แขกผู้มีเกียรติ  วิทยากรและผู้เข้าสังเกตการณ์
2.   การลงทะเบียน    ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาทุกคน  จะต้องเซ็นชื่อในบัญชีรายชื่อที่ทางคณะกรรมการฝ่ายทะเบียนจัดเตรียมไว้   พร้อมกับรับเอกสารการประชุมสัมมนา
3. พิธีเปิดการประชุมสัมมนา    ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมสัมมนาจะเป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดการประชุมสัมมนาพร้อมกล่าวเชิญประธาน    เพื่อกล่าวเปิดการประชุมสัมมนา
4.  จัดประชุมกลุ่มใหญ่    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาและกิจกรรมที่นิยมจัดในห้องประชุมใหญ่    ได้แก่    การบรรยาย    การอภิปราย   และการสาธิต
5. จัดประชุมกลุ่มย่อย   หลังจากที่ได้รับความรู้  ความคิดจากวิทยากรในที่ประชุมกลุ่มใหญ่แล้ว  ให้แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะของปัญหาและความสนใจ    ซึ่งในกลุ่มย่อยจะร่วมกันถกปัญหา   เสนอข้อคิดเห็น    โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มทำหน้าที่ดำเนินการเลือกสมาชิกในกลุ่มขึ้นมาทำหน้าที่ต่าง     คือ  ประธานกลุ่ม   รองประธานกลุ่ม  เลขานุการกลุ่ม   และผู้ช่วยเลขานุการกลุ่มย่อย
       6.   จัดประชุมรวม  เพื่อรายงานผลการประชุม   แนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่มย่อย อภิปรายผลทั่วไป    โดยประธานกลุ่ม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรายงานผลการประชุมสัมมนาของแต่ละกลุ่มย่อยที่เสนอมานั้น   ผู้เข้าประชุมสัมมนาทุกคนในที่ประชุมมีสิทธิที่จะเสนอแนะข้อคิดเห็นหรือสนับสนุนได้    หลังจากที่ได้ปรับปรุงแก้ไขผลของการประชุมสัมมนาของแต่ละกลุ่มจนเป็นที่พอใจของสมาชิกส่วนใหญ่แล้ว    เลขานุการของแต่ละกลุ่มจะต้องจดข้อความที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมจากสมาชิกในที่ประชุมใหญ่ได้ร่วมกันอภิปราย    เพื่อรวบรวมให้เลขานุการคณะกรรมการจัดประชุมสัมมนา   จัดพิมพ์เป็นรายงานผลการประชุมสัมมนาของที่ประชุมใหญ่ต่อไป
7.   พิธีปิดการประชุมสัมมนา   ประธานในพิธีปิดการสัมมนา    อาจจะเป็นบุคคลเดียวกันกับประธานในพิธีเปิดการสัมมนาหรือคนละคนก็ได้

การดำเนินการหลังการประชุมสัมมนา

              ขั้นดำเนินการหลังการประชุมสัมมนา    นับเป็นขั้นตอนประเมินผล  รายงานผล   และติดตามผลการประชุมสัมมนาเมื่อการประชุมสัมมนาสิ้นสุดลงแล้ว    คณะกรรมการดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาจะต้องปฏิบัติภารกิจ   ดังต่อไปนี้
           1.  วิเคราะห์การประเมินผลการประชุมสัมมนา    โดยผู้จัดการประชุมสัมมนาต้องติดตามผลทั้งทางฝ่ายสมาชิก ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาและฝ่ายคณะกรรมการดำเนินงานทั้งหมด  แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์   เพื่อประมวลผลออกมาเป็นผลสรุปของการประชุมสัมมนาในครั้งนั้นแล้วจัดพิมพ์เป็นรายงานการประชุมสัมมนาแจกจ่ายไปยังบุคคลหรือหน่วยงานต่าง  ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมสัมมนา
           2. รายงานผลการประชุมสัมมนาต่อผู้บังคับบัญชา    ผู้จัดประชุมสัมมนาต้องรายงานผลการประชุมสัมมนาให้ผู้บังคับบัญชาทราบเป็นลายลักษณ์อักษร    ภายหลังจากการประชุมสัมมนาสิ้นสุดลงว่าการจัดประชุมสัมมนาในครั้งนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด   มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง  มีข้อเสนอแนะและวิธีการแก้ไขอย่างไร
          3. ทำหนังสือแจ้งผลการประชุมสัมมนาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ผู้จัดประชุมสัมมนาจะต้องแจ้งผลการ
ประชุมสัมมนาไปยังหน่วยงานของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา    ซึ่งอาจจะพิมพ์เป็นรายงานการประชุมสัมมนา   เพื่อที่หน่วยงานนั้น ๆ  จะได้ใช้ประโยชน์ในการบริหารงานบุคลากรต่อไป
          4.  ดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ   ผู้จัดการประชุมสัมมนาจะต้องดำเนินการเบิก- จ่ายให้เป็นที่เรียบร้อย  เช่น  ค่าตอบแทนวิทยากร  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิด  ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  ที่ใช้การดำเนินการจัดประชุมสัมมนา  เป็นต้น
          5.   ติดตามผลและวิเคราะห์การติดตามผลการประชุมสัมมนา    ภายหลังจากที่ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาได้กลับไปปฏิบัติงานในหน่วยงานระยะหนึ่ง ผู้จัดการประชุมสัมมนาควรจะติดตามผลว่าผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา    ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการประชุมสัมมนาไปใช้ปรับปรุงงานในหน้าที่ได้ผลเพียงใด    และต้องนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ดูว่าสิ่งใดที่เป็นประโยชน์และสิ่งใดที่ควรแก้ไข    เพื่อให้การจัดประชุมสัมมนาครั้งต่อไปได้ผลตรงตามที่ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
ที่มา http://methawit.blogspot.com/2012/02/blog-post.html

ความหมายของการสัมมนา

สัมมนา มีความหมายถึง การประชุมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำหนดขึ้นมา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกรวบรวมนำมาใช้วิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งผลจากการสัมมนาจะนำมาซึ่งข้อสรุปแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ปัจจุบันนี้ การเรียนการสอนในหลายสถาบันการศึกษามีการนำหลักการสอนแบบวิธีสัมมนามาใช้ คือ ให้นักเรียน นักศึกษา เป็นผู้รวบรวมหาข้อมูล แล้วมาร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงทำการวิเคราะห์ โดยอาจารย์จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ วิธีการสอนแบบสัมมนานี้ จะช่วยให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาข้อมูล รู้จักคิดวิเคราะห์มากขึ้น
ไม่เพียงในแวดวงการศึกษาที่ใช้ระบบสัมมนาในการประชุม แต่ในการทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน ก็นำเอาวิธีการสัมมนามาใช้มากขึ้น โดยจะก่อให้เกิดการระดมสมอง ทำให้มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่หลากหลายมากขึ้น

ประโยชน์ของการสัมมนา

1. เกิดความคิดสร้างสรรค์ในกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา
2. บทสรุปแนวทางแก้ปัญหาจากการสัมมนา มาจากข้อมูลที่หลากหลาย
3. เกิดความผูกพันธ์ สามัคคี ในการทำงานร่วมกัน
4. ผลจากการสัมมนา เมื่อนำไปปฏิบัติมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากกว่า วิธีการปฏิบัติที่เกิดการการตัดสินใจตามลำพังของใครคนใดคนหนึ่ง
5. ฝึกให้เกิดภาวะผู้นำ และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
 องค์ประกอบของการสัมมนา
1. หัวข้อ และเนื้อหา ที่จะสัมมนา
2. วัตถุประสงค์ในการสัมมนา เช่น แก้ไขปัญหา ,แบ่งปันความรู้ ,ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น
3. รูปแบบการสัมมนา เช่น การฟังข้อมูลจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ แล้วร่วมกันทำ workshop ,หรือการร่วมกันระดมสมองคิดในกลุ่ม เป็นต้น
4. ผู้เข้าร่วมสัมมนา ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสัมมนา จะประกอบไปด้วย
– วิทยากร หรือ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จัดสัมมนา
– ผู้ควบคุมการสัมมนา หรือ พิธีกร
– ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งมีทั้งผู้เข้ารับชมรับฟัง หรือที่ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสัมมนา
5. วันเวลา และสถานที่จัดสัมมนา
 การเขียนแผนงานการจัดสัมมนา
1.1 ชื่อโครงการการสัมมนา
1.2 หลักการและเหตุผล
1.3 วัตถุประสงค์
1.4 เป้าหมาย
1.5 ลักษณะโครงการ
1.6 วิธีดำเนินการ
1.7 ระยะเวลาการดำเนินงาน
1.8 สถานที่ดำเนินการ
1.9 งบประมาณ
1.10 การติดตามและประเมินผล
1.11 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ความแตกต่างระหว่างการฝึกอบรมกับการสัมมนา..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/13523


           การฝึกอบรม   หมายถึง   กระบวนการหรือกิจกรรมใดๆที่จัดขึ้นเพื่อมุ่งส่งเสริมเพิ่มพูนบุคลากรหรือกลุ่มบุคคลใดๆให้มีความรู้   ทักษะ   ทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ   รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงานของบุคลากรในองค์กรของตนตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี   แลพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น (สุจิตรา   จันทนา,2539,หน้า 339)  
การฝึกอบรมเป็นการเตรียมและพิจารณาตัวบุคคลให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานที่มีความสามารถถึงขีดสูงสุด    เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาองค์กรของตนให้มีการพัฒนา   มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น   องค์กรจะมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความรู้   ความสามารถของบุคลากรในองค์กรต่างๆเหล่านั้นที่จะสามารถพัฒนาองค์กรของตนเองนั่นเอง
                การสัมมนา   หมายถึง   การที่คณะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้าร่วมประชุมกัน   โดยการนำของผู้เชี่ยวชาญ  หรือผู้รู้ในลักษณะที่แต่ละคนหันหน้าเข้ามาปรึกษาหารือกัน  หรือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่จะมุ่งพิจารณากันโดยเฉพาะ   โดยการนำเอาประสบการณ์เดิมมาสร้างเป็นแนวปฏิบัติใหม่จัดได้ว่าเป็นการฝึกอบรมประเภทหนึ่ง   เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ร่วมสัมมนา   เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  หรือเพื่อเป็นการเตรียมตัวให้ก้าวหน้าเหมาะสมกับตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบ (ทัศนีย์   วิศาลเวชกิจ,2524,หน้า 1)
                การสัมมนาเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของการฝึกอบรม   ทั้งการฝึกอบรมและการสัมมนานี้มีความคล้ายคลึงกันมาก   แต่ก็มีความแตกต่างกันด้วยตรงที่การสัมมนามีลักษณะเหมือนการประชุมประเภทหนึ่ง   จะมีการจัดประชุมกันภายในห้องประชุม   แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  และหาข้อสรุป   หรือข้อแก้ไขปัญหา   แต่การฝึกอบรมมีลักษณะเป็นเหมือนการเรียนในห้องเรียน   โดยที่มีอาจารย์เป็นผู้บรรยาย   สอน  และให้คำปรึกษา   แต่ในการฝึกอบรมนั้นเพียงเปลี่ยนผู้บรรยาย   สอน  และให้คำปรึกษา   จากอาจารย์เป็นวิทยากรผู้ให้การอบรมเท่านั้นเอง  
                การสัมมนาจะมีการจัดเตรียมขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าการจัดฝึกอบรม   ทั้งการกำหนดหัวข้อ   เลือกสถานที่   จัดเตรียมสถานที่   วัน   เวลา   หรือแม้กระทั่งการเฟ้นหาตัววิทยากรผู้บรรยายในงานก็ตามจะต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้   ความสามารถสูง   สามารถควบคุมการสัมมนาได้จนลุล่วง   เพราะการจัดสัมมนาจะมีความเป็นทางการ   ดูเป็นราชการมากกว่าการจัดฝึกอบรม   ส่วนการจัดฝึกอบรมนั้นก็มีความเป็นทางการแต่ไม่มากเท่าการสัมมนา   ไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตองมากนัก   แต่ก็ยังคงมีความเป็นระบบระเบียบอยู่บ้าง
                บุคคลที่เข้าร่วมการสัมมนาจะเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ   ความรู้   ความสามารถ   และมีประสิทธิภาพมากกว่าบุคคลที่เข้าร่วมการฝึกอบรมเพราะบุคคลที่เข้าร่วมการสัมมนาจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้จากสาขาต่างๆมารวมตัวกัน   ส่วนการฝึกอบรมเป็นการรวมผู้ที่มีความรู้   ความสามารถน้อย   มาฝึกเพื่อให้มีความรู้ความสามารถมากยิ่งขึ้นเพื่อเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
                การสัมมนาส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในองค์กรของภาครัฐบาล   พวกข้าราชการ   พนักงานของรัฐ   มีการประชุมร่วมกัน   ส่วนการฝึกอบรมส่วนใหญ่จะจัดขึ้นกันภายในบริษัท   องค์กรการค้าขายที่เน้นการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรเพื่อขยายธุรกิจขององค์กรของตน
ในการสัมมนานั้นผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนาจะมีโอกาสเสนอแนะ   แลกเปลี่ยน   ความคิดเห็นของตนเองได้มากกว่าการฝึกอบรมเนื่องจากการสัมมนานั้นเป็นรวบรวมเอาผู้ที่มีความรู้มาประชุมกันเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันต่างมีแนวคิดกันไปคนละแบบจึงนำเอาความคิดนั้นมาผสมผสาน   วิเคราะห์หาเหตุผลจนหาข้อสรุปที่แน่นอนได้   ส่วนการฝึกอบรมนั้นผู้ที่เข้าร่วมการฝึกอบรมจะมีส่วนในการเสนอความคิดเห็น   หรือมีข้อแลกเปลี่ยนกันได้น้อยเพราะจะมีวิทยากรที่มีความรู้มากเป็นผู้ดำเนินกาอยู่แล้ว   และการฝึกอบรมเป็นเหมือนการสอนให้พัฒนาความรู้ของบุคลากรในเรื่องที่ไม่รู้ดังนั้นเมื่อบุคลากรไม่มีความรู้มาก่อนก็จะไม่มีโอกาสที่จะนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฝึกอบรมได้   อาจมีเพียงข้อซักถามเมื่อบุคคลนั้นมีข้อสงสัยในเรื่องที่เข้าฝึกอบรมในขณะที่วิทยากรกำลังฝึกอบรมอยู่  หรือในขณะที่วิทยากรฝึกอบรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว   หรือเมื่อวิทยากรฝึกอบรมได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสงสัยได้ซักถามเมื่อมีข้อสงสัย
การฝึกอบรมนั้นบุคลากรที่เข้ารับการฝึกอบรมนั้นเป็นบุคคลที่ยังไม่มีประสบการณ์  ทักษะ  ความรู้   และความชำนาญในเรื่องที่จะเข้ารับการฝึกอบรมมาก่อน   หรืออาจเป็นผู้ที่มีความรู้   ทักษะ   ประสบการณ์  และความชำนาญในเรื่องที่จะเข้ารับการฝึกอบรมมาบ้างแต่ไม่มากหรือไม่ชำนาญนักมาเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้   มีทักษะ   มีประสบการณ์  และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม    เพื่อเพิ่มพูนความรู้   ทักษะจากที่ไม่เคยมีมาก่อนให้มีความรู้  และทักษะความชำนาญในการทำงานเพิ่มมากขึ้น   และสามารถนำไปปฏิบัติตามหนน้าที่ของตนภายในองค์กรเพื่อพัฒนาองค์กรของตนเองได้อย่างมีคุณภาพ  และมีประสิทธิภาพสูงสุด   โดยที่การฝึกอบรมนั้นจะมีผู้ที่มีความรู้   ประสบการณ์   ทักษะและความชำนาญในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีมาเป็นผู้ฝึกอบรม   ส่วนการสัมมนานั้นบุคลากรที่เข้าร่วมสัมมนานั้นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์  ความรู้เป็นอย่างดีอยู่แล้วหลายๆบุคคล   หลายสาขา   ที่สนใจในเรื่องๆเดียวกันมารวมตัวกันเพื่อที่จะนำเอาความรู้ของตนเองในเรื่องนั้นๆมาอภิปราย   ปรึกษาหารือ   หาข้อคิดเห็น   และวิธีแก้ปัญหา   แล้วนำประสบการณ์   แต่ก็ยังต้องมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้ช่วยในการดำเนินการสัมมนาด้วยเหมือนกันแต่ไม่ต้องทำหน้าที่หนักเท่ากับการฝึกอบรม
การอภิปรายหาข้อยุติที่ได้นั้นมารวมกันแล้วจึงนำไปหาวิธีการเพื่อให้บรรลุผล   
ในขณะที่การฝึกอบรมนั้นบุคลากรไม่จำเป็นต้องมีความรู้  หรือประสบการณ์ในเรื่องนั้นมาก่อน  หรือมีความรู้ในเรื่องนั้นเพียงน้อยนิดก็ได้  เพราะว่าถ้าบุคลากรในองค์กรมีความรู้   ความสามารถในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรเกิดขึ้นภายในองค์กร   ส่วนการสัมมนานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เข้าร่วมการสัมมนานั้นต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะนำมาสัมมนานั้นเป็นอย่างดี   เพราะจะนำเอาความคิดเห็นที่เด่นๆมารวบรวม  และสรุป   เพื่อที่การสัมมนานั้นถึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้วางไว้
                การสัมมนาเป็นการรวบรวมผู้ที่มีความรู้และผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกๆสาขามารวมตัวกันเพื่อหาข้อสรุป   ข้อยุติ    หาทางแก้ปัญหา   อาจมีการแบ่งกลุ่มเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา   มีลักษณะเน้นเพื่อการแลกเปลี่ยน  เพิ่มพูนความรู้   เทคนิคใหม่ๆให้กับสมาชิก   แต่การฝึกอบรมจะเหมือนกันตรงที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้  และเทคนิคใหม่แก่สมาชิกแต่จะไม่เหมือนกันตรงที่การฝึกอบรมจะไม่มีการแลกเปลี่ยนกันมีแต่วิทยากรจะให้ความรู้แก่สมาชิกเท่านั้น
                วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมจะมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรมเป็นหลักให้มีพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น   ส่วนการสัมมนาเป็นเพียงการเข้าร่วมเพื่อหาแนวทางในการตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาเพียงเท่านั้นไม่ได้มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ที่เข้าร่วมการสัมมนาหลังจากการสัมมนาแล้วแต่เพียงอย่างใด    หรือถ้าจะมีผู้ใดที่เกิดกาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากการสัมมนาก็ไม่เป็นไรเพราะไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดสัมมนา    แต่ถ้าหลังจากการสัมมนาจะมีการนำเอาผลของการสัมมนานั้นไปดำเนินการอย่างไรต่อไปก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ที่ต้องการนำผลการสัมมนาไปใช้ดำเนินการต่อไป
                การฝึกอบรมอาจมีทั้งการฝึกอบรมด้วยทฤษฎีหรือบางครั้งการฝึกอบรมก็มีแบบที่เป็นการปฏิบัติด้วยแต่ในด้านของการสัมมนานั้นไม่มีการสัมมนาโดยการปฏิบัติส่วนใหญ่จะเป็นการระดมสมองกันอยู่ภายในห้องประชุมสัมมนาเพื่อหาข้อยุติของการสัมมนามากกว่า
                การสัมมนาไม่ได้เน้นผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในด้านการเจริญเติบโต   ขยายการผลิตหรือขยายงานในด้านต่างๆขององค์กรในทันทีหลังจากที่มีการสัมมนาแล้ว   แต่จะมีการนำเอาวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการสัมมนามาใช้พัฒนาองค์กรอีกทีหนึ่งหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผู้นำเอามาใช้หรือไม่   แต่การฝึกอบรมเน้นผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นเพื่อความอยู่รอดขององค์กรเสียมากกว่า   เพราะปัจจุบันมีการแข่งขันกันระหว่างองค์กรกันเป็นอย่างมาก   การฝึกอบรมจะช่วยให้องค์กรมีความแข็งแรง   เจริญเติบโตมีการขยายการผลิต   การขายและการขยายงานด้านต่างๆ (สมคิด   บางโม,2539,หน้า15)   และการฝึกอบรมจะเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรแบบทันทีทันใดมากกว่าการสัมมนา
                การสัมมนามีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน (สมพร   มันตะสูตร,2525,หน้า 5)   แต่การฝึกอบรมเป็นการแก้ปัญหาร่วมกันเหมือนกันแต่ต่างกันตรงที่การสัมมนาเป็นการแก้ปัญหาจากคนกลุ่มเดียวกันโดยที่ไม่ต้องถ่ายทอดไปยังคนกลุ่มอื่นอีก  ถ้าจะมีการถ่ายทอดก็ต่อเมื่อได้มีการเลือกนำเอาวิธีการที่ได้จากการสัมมนาไปใช้   แต่การฝึกอบรมเป็นการจัดการบริหารของผู้บริหารขององค์กรเพื่อหาวิธีพัฒนาองค์กรและหาความจำเป็นในการฝึกอบรมบุคลากรจากนั้นจึงจะถ่ายทอดคำสั่งว่าจะให้มีการอบรมหรือไม่
                 ประโยชน์โดยอ้อมอย่างหนึ่งที่จะได้รับจากการฝึกอบรม  คือ  เกิดการความเคลื่อนไหวในหน้าที่การงานภายในองค์กร   สร้างความพร้อมแก่บุคลากร   เพื่อการสับเปลี่ยน   หมุนเวียน   โยกย้าย  และการเข้ารับตำแหน่งใหม่   แต่การสัมมนาประโยชน์ที่จะได้รับจากการสัมมนาไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานภายในองค์กรพวกนี้เลย
                ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการจัดสัมมนา  คือ  การเกิดปัญหาการขัดแย้งกันในด้านความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเพราะการสัมมนาต่างก็รวบรวมผู้ที่มีความรู้กว้างขวางมากมายมารวมอยู่ด้วยกัน   แต่การฝึกอบรมจะเกิดปัญหาเหล่านี้น้อยมากเนื่องจากการฝึกอบรมบุคลากรแทบจะไม่ต้องออกความคิดเห็นใดๆ   อาจจะมีบางแต่ก็น้อยมากที่จะเกิดการขัดแย้งกันเกิดขึ้นภายในกลุ่ม    ดังนั้นการฝึกอบรมจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้
                การฝึกอบรมเป็นการรวมตัวของผู้ที่มีความรู้   ประสบการณ์   ความสามารถน้อยมาฝึกอบรมกัน   แต่การสัมมนาเป็นการรวมของกลุ่มบุคคลซึ่งมีความรู้   ความสามารถมากมาสัมมนากัน   จะแตกต่างกันตรงที่ความรู้   ความสามารถ   ของผู้ที่ร่วมทั้งฝึกอบรม   และสัมมนา
                ผู้ที่เข้าร่วมการฝึกอบรมนั้นมีความจำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรมในแกแนวบังคับ   โดยที่องค์กรนั้นจะจัดบังคับให้บุคลากรคนใดเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น   มีประสิทธิภาพมากขึ้น   เพื่อที่จะได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบได้ดีที่สุด   ส่วนผู้ที่เข้ารับการสัมมนานั้นไม่ได้มีการบังคับแต่เป็นการสมัครใจของผู้เข้าร่วมสัมมนานั้นเอง   ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ที่ต้องการเข้าร่วมการสัมมนา   ว่าในการสัมมนาครั้งนั้นเป็นเรื่องที่ตนสนใจ   และอยากเข้าร่วมสัมมนาด้วยหรือไม่
                ผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลในระดับผู้บริหารขององค์กร   แต่ในการฝึกอบรมส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมจะเป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่ต่างๆภายในองค์นั้นๆ  หรือพนักงานบริษัทนั่นเอง                แต่ถึงอย่างไรก็ตามทั้งการฝึกอบรม   และการสัมมนานั้นต่างก็จัดขึ้นเพื่ออบรม   ฝึกฝน   แนะนำ   เสนอสาระที่น่ารู้   ทันสมัย   และเหมาะสมกับสถานการณ์  เพี่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร   เพื่อที่องค์กรนั้นจะได้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ   และมีศักยภาพ   มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ   บุคลากรทุกคนในองค์กรเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน   เป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเองในทางอ้อม    และพัฒนาองค์กรของตนให้มีเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/13523

ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/13523

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

เปิดรับสมัครโครงการบ่มเพาะฯ รุ่นที่ 2


วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560
ด้วย สกอ. มีกำหนดเปิดรับสมัครโครงการบ่มเพาะฯ รุ่นที่ 2 เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

โดยมีกำหนดการที่สำคัญในการรับสมัครดังนี้
- 20 เม.ย. : เปิดให้ Download ใบสมัคร
- 2 พ.ค. : การประชุมชี้แจงโครงการบ่มเพาะฯ เพื่อแจ้งรายละเอียดการดำเนินการของโครงการและชี้แจงวิธีการสมัครให้แก่หน่วยงานที่สนใจ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริญ ณ นคร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเวลา 13.30-16.00 น.
- 26 พ.ค.: หมดเขตการส่งใบสมัคร
- 9 มิ.ย. : ประกาศผลการคัดเลือกหน่วยงานบ่มเพาะฯ รุ่นที่ 2
- 4 ก.ค. : ประชุมสัมมนาผู้บริหารของหน่วยงานที่ผ่านการคัดเลือก (ระดับคณะ = คณบดี / ระดับสถาบัน = อธิการบดี หากขาดการเข้าร่วมจะถือว่าสละสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ)