วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาพบรรยากาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาดูงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2556 ณ หอศิลป์ วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร 





















 





























วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาสุนทรียภาพ (Aesthetics)



 สุนทรียภาพ เป็นความรู้สึกและรับรู้ได้ถึงความงดงาม ทั้งที่อยู่ในธรรมชาติ และเกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ จึงเป็นสภาพการณ์และความสัมพันธ์ของอารมณ์ (Emotions) และจิตใจ (Mind) ที่มีต่อการรับรู้และชื่นชมความงดงาม (Beauty) ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจพัฒนาต่อไปถึงขั้นซาบซึ้ง ชื่นชม หลงใหล และส่งผลต่อบุคลิกภาพ รสนิยม ความรู้สึกนึกคิด การติดสินคุณค่า รวมทั้งการตัดสินใจ และพฤติกรรมของผู้คนต่อไป

คำว่า สุนทรียภาพ” (Aesthetics) เป็นคำในภาษากรีก หมายถึง การรับรู้ทางความรู้สึก (Sense Perception) จึงเน้นย้ำที่ความรู้สึก และอารมณ์ของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ให้คุณค่าสุนทรียภาพแตกต่างกันไป ความหมายของสุนทรียภาพในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า ความเข้าใจ และความรู้สึกของแต่ละบุคคลที่มีต่อความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ

สุนทรียภาพ เป็นผลมาจากการเกิดประสบการณ์ที่เป็น สุนทรียะและวิทยาการทางด้านนี้เรียกว่า สุนทรียศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยความนิยมความงาม จะเห็นได้ว่า สุนทรียะ” “สุนทรียภาพและ สุนทรียศาสตร์เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยความงามที่เกี่ยวกับความรู้สึกอันละเอียดอ่อน มีอารมณ์และความรู้สึกถึงความงาม สุนทรียศาสตร์เป็นปรัชญาศิลปะที่มีเนื้อหาสาระของวิชาคือ การค้นหาธรรมชาติของความงาม

นอกจากความหมายทั่วไปของคำว่าสุนทรียภาพซึ่งมักจะให้ความสำคัญกับความรู้สึก หรืออารมณ์ และศิลปะที่สร้างความสุข หรือความพึงพอใจแล้ว ยังขยายความไปถึงความรู้สึกอื่นๆ เช่น ความเศร้าโศก ความน่าเกลียด ความน่ารัก ความขบขัน ความน่าพิศวง ความน่าสนใจ ความไม่น่าสนใจ ความเพลิดเพลินใจ ความเบื่อหน่าย ความใฝ่ฝัน ความทะเยอทะยาน แรงบันดาลใจ การหลงลืมตัว การมีความรู้สึกร่วม หรืออิน (Inner) ก็ทำให้เกิดอารมณ์ หรือเป็นประสบการณ์ สุนทรียะ ได้เช่นเดียวกัน

การเข้าถึงสุนทรียภาพ ได้นั้นนอกจากจะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแล้ว ยังสามารถเรียนรู้ได้จากการสั่งสอน ชี้แนะ ชี้นำให้เห็นถึงสุนทรียภาพต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในทุกสภาพการณ์ การสอนเพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ ไม่ได้รับการส่งเสริมในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยมากนัก กระบวนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งเน้นให้นักเรียนสามารถเข้าเรียนต่อใน ระดับสูงขึ้น หรือศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่อาชีพที่พึงปรารถนา สุนทรียศาสตร์จึงเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เฉพาะกลุ่มผู้เรียนในบางสาขาวิชา เช่น ศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับความงามเท่านั้น สาขาวิชาอื่นๆ ไม่มีโอกาสได้เรียน ถึงแม้ว่าโดยระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะเปิดโอกาสก็ตาม แต่ความเป็นจริงไม่ค่อยเกิดขึ้น

คุณประโยชน์ของการมีสุนทรียภาพในตัว บุคคล หรือในพลเมืองของประเทศนั้นมีมากเกินกว่าจะบรรยายได้ในเวลาและพื้นที่สำหรับ การอ่านอันจำกัด สุนทรียภาพเป็นส่วนสำคัญของความเป็นมนุษย์และการเข้าถึงและตระหนักถึงความ สำคัญและคุณประโยชน์นั้นแท้จริงแล้วไม่อาจเกิดขึ้นได้ดีนักด้วยการบอกกล่าว ให้เชื่อถือ จดจำ หรือรับรู้รับทราบเท่านั้น แต่ต้องเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือการทดลองปฏิบัติ ซึ่งทักษะทางอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อการเข้าถึงสุนทรียภาพ ไม่ใช่ทักษะของการใช้กล้ามเนื้อ หรือความถนัดในเชิงช่างหรือวิชาชีพต่างๆ แต่เป็นทักษะของการใช้ความรู้สึก หรือ อารมณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุดท้ายของบุคคลซึ่งต้องมีกระบวนการพัฒนาและกลไก ของการควบคุมที่เข้มแข็ง ถ้าควบคุมไม่ดีพออาจสร้างผลทางลบได้อย่างมาก หรืออาจกลายเป็นคนที่สังคมเรียกว่า "คนบ้า" ได้เช่นกัน

ทักษะทาง อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของความฉลาดทางอารมณ์ หรือ Emotional Intelligence เป็นสมรรถนะของบุคคลที่สามารถพัฒนาได้ด้วยกระบวนการแห่งการสั่งสอน ซึ่งมีสาระของกระบวนการที่แตกต่างจากการสอนทักษะทางด้านการใช้กล้ามเนื้อ การใช้มือ หรือการปฏิบัติในวิชาชีพต่างๆ และยังแตกต่างจากการฝึกทักษะการคิด ซึ่งมีประเภทของการคิดที่จำแนกตามทัศนะของผู้นิยมการคิดแบบต่างๆ เช่น คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดแบบมีวิจารณญาณ ฯลฯ การสอนทักษะทางอารมณ์เพื่อสุนทรียภาพจึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

การ พัฒนาทักษะทางอารมณ์อาจประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ มาก เช่น การแสดงละคร ภาพยนตร์ การใช้วาทกรรมเพื่อการบันเทิง การปลุกระดมความคิด การรณรงค์เพื่อจุดประสงค์เฉพาะ ซึ่งเป็นการสร้างอารมณ์และความรู้สึกร่วม ซึ่งการจะสร้างอารมณ์ร่วมได้ต้องเข้าใจอารมณ์นั้นๆ เสียก่อนแล้วจึงถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้ สิ่งเหล่านี้เป็นการประยุกต์สุนทรียภาพซึ่งเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม และคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำหรือผู้ที่มีความโดดเด่นที่สามารถสร้างความ รู้สึกร่วมให้กับผู้อื่นได้ล้วนเป็นผู้ที่มีสุนทรียภาพทั้งสิ้น

การ พัฒนาสุนทรียภาพให้เกิดขึ้นสามารถพัฒนาได้ทุกช่วงอายุ เนื่องจากสุนทรียภาพเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกดังกล่าวมาแล้ว และอารมณ์และความรู้สึกเกิดขึ้นมาพร้อมกับสภาพบุคคลซึ่งเริ่มแต่คลอดและอยู่ รอดเป็นมนุษย์และเติบโตขึ้นจนถึงตาย การพัฒนาจึงสามารถทำได้ทุกช่วงอายุ ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่ระยะแรกเกิดจนถึงผู้ป่วยระยะสุดท้าย เช่น การแขวนปลาตะเพียนหลากสีสวยงามให้เด็กทารกแรกเกิดมองดู จนถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุขก่อนตายล้วนเป็นการสร้าง สุนทรียภาพทั้งสิ้น

การพัฒนาสุนทรียภาพต้องเป็นความร่วมมือของทุกภาค ส่วน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และจนถึงระดับนโยบายของชาติคือ รัฐบาล

1. ระดับครอบครัว สามารถจัดประสบการณ์ให้เกิดสุนทรียภาพกับบุตรหลานและสมาชิกในครอบครัวด้วย วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ของเล่น กิจกรรม ดูภาพยนตร์ ดูทีวี ฟังเพลง และการพาไปทัศนศึกษา และเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ถึงแม้ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวจะแตกต่างกัน แต่กิจกรรมสร้างสุนทรียภาพ สามารถเกิดขึ้นได้ตามอัตภาพของแต่ละครอบครัว ซึ่งครอบครัวส่วนมากได้ดำเนินการอยู่แล้วทั้งอาจจะรู้หรือไม่รู้ว่าเป็นการ สร้างสุนทรียภาพในครอบครัวก็ตาม เช่น การร้องเพลงของเด็กๆ หรือสมาชิกในครอบครัวอาจเป็นการสร้างสุนทรียภาพที่มีค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจมีบ้างถ้าเป็นการร้องคาราโอเกะ นับเป็นการสร้างสุนทรียภาพในครอบครัวเช่นกัน

สิ่งที่สำคัญสำหรับครอบ ครัวในการสร้างสุนทรียภาพ คือ บรรยากาศที่อบอุ่นของครอบครัว การดูแลช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวซึ่งกันและกันเป็นฐานรากสำคัญของการฝึก ทักษะทางอารมณ์เพื่อเกิดสุนทรียภาพ

2. ระดับสถานศึกษา สามารถจัดกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่สวยงาม มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งการแต่งกายของผู้เรียน ผู้สอน กิจกรรมความงามและสุนทรียะต่างๆ มีบรรยากาศที่สร้างความสุข เจริญตาเจริญใจให้กับผู้เรียน เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย การจัดกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสุนทรียภาพนั้นควร ได้รับการวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ผู้บริหารสถานศึกษาควรจะรู้และเข้าใจความสำคัญของสุนทรียภาพที่ควรจะเสริม สร้างให้เกิดขึ้น เพราะสุนทรียภาพในตัวบุคคลมีผลต่อพฤติกรรม รสนิยม ความรู้สึกนึกคิด และการแสดงออกเมื่อจบการศึกษาออกไปสู่สังคม ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มคน

สิ่งที่สำคัญสำหรับสถานศึกษา ในการสร้างสุนทรียภาพคือ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ ให้รู้สึกได้ถึงความงามและความซาบซึ้งต่อคุณค่าของสิ่งต่างๆ ผ่านกระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน

3. ระดับชุมชน ต้องมีการบริหารจัดการที่เสริมสร้างสุนทรียะด้วยการจัดระเบียบของเมืองให้มี ความเรียบร้อย สวยงาม มีความสะอาด สิ่งก่อสร้างที่สวยงาม มีศูนย์รวมของแหล่งสุนทรียะต่างๆ เช่น โรงละคร พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ สวนสนุก สนามเด็กเล่น สถานที่พักผ่อนต่างๆ รวมทั้งการสร้างถาวรวัตถุที่งดงามรวมถึงรักษาดูแลธรรมชาติที่งดงามของชุมชน ส่งเสริมให้ตระหนักถึงความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เป็นต้น

สิ่ง ที่สำคัญในระดับชุมชนในการดำเนินการเพื่อสร้างสุนทรียภาพให้กับคนในชุมชน คือ การสร้างช่องทางและแหล่งข้อมูลสุนทรียภาพต่างๆ ให้คนในชุมชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคโดยไม่มีข้อจำกัดด้านฐานะทาง เศรษฐกิจและสังคมของคนในสังคมเป็นอุปสรรค และส่งเสริมความงามที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน

4. ระดับรัฐบาล ต้องถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะบริหารบ้านเมืองให้พลเมืองมีความสุข การบริหารจัดการเชิงนโยบายให้พลเมืองเข้าถึงสุนทรียภาพนั้นต้องมีการส่ง เสริมทั้งทางตรงและทางอ้อม การอุดหนุนทุนเพื่อสร้างผลงานส่งเสริมสุนทรียภาพต่างๆ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การสร้างภาพยนตร์ ละครเวที ละครทีวี ละครวิทยุ กิจกรรมการประกวดผลงานศิลปะต่างๆ ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการอยู่แล้วแต่ยังน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นการลงทุนขั้นพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงแหล่งความงามตามธรรมชาติ การจัดกิจกรรม การประกวด หรือจัดสร้างสถานที่เพื่อการแสดงผลงานและเรียนรู้ทางด้านสุนทรียภาพทั้ง ระดับชาติและระดับนานาชาติต้องได้รับการส่งเสริมเช่นกัน

สิ่งสำคัญ สำหรับระดับนโยบายของรัฐบาลคือ การยอมรับและคุ้มครองความรู้สึกนึกคิดและเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งสุนทรียภาพ ของพลเมืองเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

สรุป

สุนทรียภาพ เกิดขึ้นและพัฒนาได้กับทุกเพศทุกวัย ทุกช่วงเวลา ไม่เฉพาะผู้สนใจงานศิลปะเท่านั้น แต่การได้มีโอกาสพบเห็นหรือได้เรียนรู้ศิลปะแขนงต่างๆ จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจศิลปะนั้นได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และอาจทำให้เกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพเฉพาะด้านได้อีกเช่นกัน โดยเฉพาะศิลปะที่เป็นนามธรรมและไม่มีรูปร่าง ไม่เห็นรูปทรง ต้องใช้เพียงจินตนาการ และเมื่อได้คุ้นเคยและมีความเข้าใจแล้วจะทำให้เกิดทักษะการสร้างอารมณ์และ ความรู้สึกให้เกิดขึ้นได้โดยง่าย เป็นการพัฒนาทักษะทางอารมณ์เพื่อให้เกิดสุนทรียภาพในตนเองอย่างแยบคาย นอกจากนั้นถ้าเริ่มต้นจากการมีความเข้าใจในงานศิลปะแขนงใดแขนงหนึ่งหรือความ งามในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ก็จะสามารถทำให้เข้าถึงศิลปะแขนงอื่นหรือความงามอื่นๆ ได้อย่างง่ายขึ้น และจะกลายเป็นสุนทรียภาพแห่งตน หรือ สุนทรียภาพของตนเองในที่สุด


ที่มา : โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
          www.thairath.co.th/content/edu/341567

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

“มนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบให้อยู่ในห้องแอร์”


สัมภาษณ์ อาจารย์จุลพร นันทพานิช เดินหารากเหง้า สถาปัตยกรรมสีเขียว “มนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบให้อยู่ในห้องแอร์”

http://www.sarakadee.com/2013/05/17/jullapol/

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โครงการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกณฑ์ EdPEx กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

          สวัสดีค่ะ ..แอดมินขอนำเสนอภาพบรรยากาศ.. "โครงการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกณฑ์ EdPEx กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา" เมื่อวันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 ณ หอประชุมใหญ่ชั้น 4 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

       โดยได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดีกล่าวเปิดงาน และวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นันทนา ศิริทรัพย์  ให้ความรู้ ความเข้าใจในเกณฑ์ EdPEx  
  
      ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ มีผู้ให้สนใจเป็นจำนวนมาก เป็นผู้เข้าร่วมโครงการจากภายในประกอบด้วยคณะวิชาและหน่วยงาน และจากภายนอก ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ (1) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (3) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (4) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (5) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (6) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (7) มหาวิทยาลัยบูรพา (8) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (9) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (10) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
         มหาวิทยาลัยเอกชน 9 แห่ง ได้แก่ (1) มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสยาม (2) มหาวิทยาลัยคริสเตียน (3) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (4) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (5) มหาวิทยาลัยธนบุรี (6) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (7)วิทยาลัยทองสุข  (8) วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
         มหาวิทยาลัยราชภัฎอีก 5 แห่ง ได้แก่ (1) มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร (2) มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี (3) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม (4) มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี (5)มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

        สรุปผลประเมินความพึงพอใจ 
        พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 214 คน เป็นผู้หญิงร้อยละ 76.09 ผู้ชายร้อยละ 21.74 โดยส่วนใหญ่เป็นบุคลากรสายสนับสนุนร้อยละ 59.78 และอาจารย์ร้อยละ 36.41  โดยมีความพึงพอใจด้านกระบวนการ-วิทยากรและการให้บริการ ตามลำดับดังนี้
         (1) วิทยากรมีความรู้ ความสามารถในการนำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 4.58 ระดับดีมาก  
          (2) วิทยากรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมได้ซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ค่าเฉลี่ย 4.45 ระดับดี
          (3) ความพึงพอใจในภาพรวม และสถานที่ประชุม/โสตทัศนูปกรณ์ มีความเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 4.39 ระดับดี
          (4) คณะทำงานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นกันเองแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ค่าเฉลี่ย 4.38 ระดับดี

       

                                                      บรรยากาศการลงทะเบียน


 
 



 


 
 
บรรยากาศในหอประชุม



 
 


 
 
 
พิธีเปิดโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช
อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
 

 


 
 
วิทยากรโดย : รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นันทนา ศิริทรัพย์
ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
 


 
 
ผู้เข้าร่วมโครงการซักถามวิทยากร



                     พิธีปิดโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน  อิงคพัฒนากุล
                   รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา 
                                มหาวิทยาลัยศิลปากร



                             รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา
                           มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร