วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

ความหมายที่หลากหลายของคำว่า “Best Practices”

 ภาษาเป็นสิ่งที่ “ดิ้นได้” มีความหมายที่ “แปรเปลี่ยน” ไปตามยุค
สมัยหรือบริบทที่ใช้ ตัวอย่างเช่น คำว่า “ติดใจ” ถ้าเป็นสมัยก่อนผมก็
จะนึกถึงอาการพึงพอใจ ติดอกติดใจ อยากจะทำซ้ำใหม่ อะไรทำนอง
นั้น แต่พอมาถึงปัจจุบัน คำว่า “ติดใจ” อาจให้ความหมายไปใน
ทำนองที่ว่า เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่ปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไป 
ต้องเคลียร์ให้ได้ก่อน เป็นต้น . . .
         คำว่า “Best Practices” ที่หยิบยกมาในวันนี้ก็เช่นกัน แต่ก่อน
ตอนที่ผมทำงานด้านคุณภาพ (เมื่อ 20 ปีก่อน) เวลาใช้คำว่า “Best Practices”
 จะหมายถึง วิธีการปฏิบัติงาน หรือกระบวนการทำงาน “ที่ดี
ที่สุด”  คือ ประหยัด ปลอดภัย หรือให้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในการ
บริหารระบบคุณภาพ เรามักจะนำเอา Best Practices เหล่านี้มา
ถ่ายทอดไว้ให้เห็นชัดเจนคือทำให้เป็น “Explicit” Knowledge
 (ความรู้ชัดแจ้ง) ผ่านคู่มือการทำงาน Procedures หรือ Work 
Instructions . .

         มาถึงปัจจุบัน คำว่า Best Practices ก็ยังคงใช้กันเป็นที่แพร่
หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของ KM ที่มีการพูดเรื่องการแชร์
 Best Practices กันเป็นประจำ . . แต่คำๆ นี้มีความหมายที่เปลี่ยน
ไปแล้ว การแชร์ Best Practices ในวันนี้ หมายถึงการแชร์ความรู้ที่
เป็น “Tacit” Knowledge คือเป็นความรู้ที่อยู่คู่กับบริบท ไม่สามารถ
แยกตัวความรู้ออกจากสถานการณ์นั้นๆ ได้ หลายครั้งที่เราพูดเรื่อง
เดียวกัน แต่ Best Practice ของท่าน กับ Best Practice ของผม
อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะสถานการณ์ที่ท่านเจอกับที่ผมเจอนั้นแตก
ต่างกันไป เรียกได้ว่าเป็น Best Practice ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็นคนละ 
Case กัน . . .
         สรุปว่าหากท่านใช้ Best Practices ในความหมายที่
เป็น “Tacit Knowledge” ก็แสดงว่า ไม่ได้มีวิธีการ “ที่ดีที่สุด”เพียง
วิธีเดียวเท่านั้น ไม่มีวิธีการที่เป็น “The Best” หรือ “คำตอบ
สุดท้าย” อย่างที่หลายท่านเข้าใจ แต่เป็นการใช้คำว่า“Best” ในเชิง
ที่ว่า “Best” สำหรับเหตุการณ์หรือกรณีนั้นๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระหว่างกันหากท่านเป็นผู้ฟังท่านจะต้องฟังให้ได้ทั้งหมด ไม่ใช่ฟัง
แบบจับจดหรือฟังแบบสรุปความ หากแต่ต้องเป็นการฟังแบบ "Deep 
Listening" จึงจะเข้าใจ"Storytelling" ที่กำลังฟังอยู่นี้ เพราะนี่คือ 
Tacit Knowledge ที่ได้จากการแชร์ Best Practices ครับ

โดย ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ที่มา บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย http://www.gotoknow.org/posts/366868

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

สร้างความสำเร็จในการทำงาน….ด้วยตัวคุณเอง



เทคนิคและวิธีการเพื่อการสร้างความสำเร็จในการทำงานด้วยตัวคุณเองตามหลักการง่าย ๆ ของ “D-E-V-E-L-O-P“ ดังนี้
DDevelopmentไม่หยุดยั้งการพัฒนา
EEnduranceมุ่งเน้นความอดทน
VVersatileหลากหลายความสามารถ
EEnergeticกระตือรือร้นอยู่เสมอ
LLoveรักงานที่ทำ
OOrganizingจัดการเป็นเลิศ
PPositive Thinkingคิดแต่ทางบวก

Development : ไม่หยุดยั้งการพัฒนา
ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้จะต้องเป็นคนที่มีหัวใจของการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลิกลักษณะ พฤติกรรม หรือแม้แต่วิธีการทำงาน โดยต้องเป็นผู้ที่มีการสำรวจและประเมินความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา คอยตรวสอบว่าเรามีจุดแข็งและจุดบกพร่องในด้านใดบ้างและพยายามที่จะหาทางพัฒนาจุดแข็งและปรับปรุงจุดบกพร่องของตนให้ดีขึ้น เช่น ถ้าไม่เก่งภาอังกฤษ..ซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ในการทำงาน..ก็ควรขวนขวายหาโอกาสที่จะเรียนเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนที่ไม่ยึดติดกับวิธีการหรือขั้นตอนการทำงานแบบเดิม ๆ โดยควรจะหาเทคนิคและแนวทางใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอยู่เสมอ

Endurance : มุ่งเน้นความอดทน
ความอดทนเป็นพลังของความสำเร็จ…อดทนต่อคำพูด อดทนต่อพฤติกรรมการดูหมิ่นหรือสบประมาท อดทนต่อความเครียดในการทำงาน…คนบางคนลาออกจากที่ทำงานเพราะเจอหัวหน้างานพูดจารุนแรง หรือเพียงแค่ถูกต่อว่าต่อหน้าที่ประชุมเท่านั้น…คุณรู้ไหมว่าการลาออกจากงานบ่อย ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะเวลาคุณไปสมัครงานที่ไหนเค้าอาจจะมองว่าคุณเป็นคนไม่มีความอดทนเลยก็เป็นได้ (เสียประวัติการทำงานของคุณเอง) หากคุณต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายหรือไม่ปรารถนา ขอเพียงแต่ให้คุณมีความอดทนและอดกลั้นเข้าไว้ แล้วคุณจะสามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้สำเร็จ
Versatile : หลากหลายความสามารถ
หลาย ๆ องค์กรย่อมต้องการคนที่มีความรู้ และความสามารถให้เข้ามาพัฒนาและปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น…ขอให้ลองคิดดูว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัท คุณอยากได้คนที่สามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง หรือ ทำได้เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง…แน่นอนคุณคงต้องการได้คนที่มีความสามารถทำงานได้หลากหลาย ไม่ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ…ซึ่งบางคนที่หลีกเลี่ยงงาน กลัวว่าจะต้องทำงานมากกว่าคนอื่น ไม่อยากให้ใครเอาเปรียบ ไม่เคยอาสาที่จะทำงานนอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ…แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้ไม่มีทางที่จะได้รับความก้าวหน้าและความสำเร็จในชีวิตการทำงานได้เลย…ดีไม่ดีกลุ่มคนเหล่านี้อาจจะเป็นกลุ่มคนแรกที่ถูกพิจารณาให้ Lay Off ก่อนก็เป็นได้ (หากองค์กรต้องเผชิญกับสภาวะการเงินที่ถดถอย)


Energetic : กระตือรือร้นอยู่เสมอ
ความสำเร็จต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ถ้าคุณมีความกระตือรือร้น และมีความตื่นตัวที่จะแสวงความรู้ใหม่ ๆ การรับฟังข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคให้ประสบผลสำเร็จ โดยส่วนใหญ่คนที่มีความกระตือรือร้นจะเป็นคนที่ชอบลองผิดลองถูก มาทำงานก่อนเวลาเสมอเพื่อหาโอกาสค้นคว้าข้อมูลและหาความรู้เพิ่มเติม พยายามที่จะให้งานเสร็จก่อนหรือตรงตามเวลาที่กำหนด ซึ่งแตกต่างจากคนที่ขาดความกระตือรือร้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่อยากให้วันทำงานมาถึง รอคอยเวลาเลิกงานหรือเสร็จสิ้นสัปดาห์การทำงาน ทำงานเฉื่อย ไม่สนใจรับฟังข้อมูลข่าวสารใด ๆ เลย ขอเพียงให้งานของตนเองเสร็จเท่านั้นเพื่อที่จะได้กลับบ้านหรือไปที่ไหน ๆ ตามที่ใจปรารถนา….ซึ่งทำนายได้เลยว่า บุคคลเหล่านั้นไม่มีทางหรือมีโอกาสน้อยมากในการได้รับความสำเร็จและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตน


Love : รักงานที่ทำ
ขอให้ตระหนักไว้เสมอว่า “คนเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะรักงานที่ทำอยู่ได้” พบว่าในยุคสมัยนี้การเลือกงานที่รักมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่าการที่จะเลือกรักงานที่ทำ ดังนั้น “หากคุณไม่สามารถเลือกงานที่รักได้ คุณก็ควรเลือกที่จะรักงานที่คุณทำ” เพราะความรู้สึกนี้เองจะส่งผลให้คุณมีความสุขกับงานของคุณ..ขอให้คุณลองถามตัวเองว่าคุณรักงานที่ทำอยู่หรือไม่ แล้วคุณมีพฤติกรรมอย่างไรหากคุณมีความรู้สึกว่าคุณไม่รักงานที่ทำอยู่เลย และผลงานที่เกิดขึ้นของคุณเป็นอย่างไรบ้าง..บางคนเบื่อหน่ายกับชีวิต..ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม…ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน ซึ่งย่อมแน่นอนว่าคุณคงไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของคุณเลย…พื้นฐานของความสำเร็จอยู่ที่ความรักในสิ่งนั้น เมื่อคุณมีความรัก คุณจะมีความสุขกับงานที่ทำ ซึ่งจะทำให้คุณพยายามหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของงานที่ทำอยู่ตลอดเวลา และนั่นจะส่งผลให้คุณรู้จักวางแผนชีวิตและเป้าหมายความสำเร็จในการทำงานของคุณ

Organizing : จัดการเป็นเลิศ
การจัดการงานที่ดี จะทำให้คุณรู้ว่าควรจะทำอะไรก่อนและหลังบ้าง สามารถจัดสรรเวลาและทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ การจัดการจะเป็นสิ่งผลักดันให้คุณต้องวางแผนและเป้าหมายการทำงานอยู่เสมอ ทั้งนี้คุณเคยสำรวจตัวเองบ้างหรือไม่ว่า คุณมีความสับสนและไม่สามารถทำงานได้เสร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้..ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นเครื่องบ่งบอกว่าคุณขาดประสิทธิภาพในการจัดการงานของคุณ คุณไม่สามารถบริหารทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีให้เกิดประสิทธิผลได้


Positive Thinking : คิดแต่ทางบวก

ความคิดทางบวกจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คุณมองโลกในแง่ดี มีกำลังใจและพลังที่จะทำงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จ คนที่มีความคิดทางบวกจะเป็นคนที่สนุกและมีความสุขกับงานที่ทำ แสวงหาโอกาสที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่นอยู่เสมอ…สำหรับผู้ที่มีความคิดในด้านลบอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ที่หมกมุ่นอยู่แต่กับปัญหา ชอบโทษตัวเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ ขาดความคิดที่จะพัฒนาตนเองและงานที่ทำ…ในที่สุดผลงานที่ได้รับย่อมขาด ประสิทธิภาพ

ดังนั้นหากคุณต้องการที่จะเป็นผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คุณควรประยุกต์ใช้หลักของการ “D-E-V-E-L-O-P“ (ไม่หยุดยั้งการพัฒนา มุ่งเน้นความอดทน หลากหลายความสามารถ กระตือรือร้นอยู่เสมอ รักงานที่ทำ จัดการเป็นเลิศ คิดแต่ทางบวก) กล่าวโดยรวมก็คือ พัฒนาตนเองอยู่เสมอทั้งในด้านความคิด ความรู้ จิตใจ และการกระทำของตัวคุณ และนั่นเองจะส่งผลให้คุณมีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างที่ตั้งใจและมุ่งหวังไว้


โดย อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ

http://library.uru.ac.th/webdb/images/MM1.htm