วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

ความหมายที่หลากหลายของคำว่า “Best Practices”

 ภาษาเป็นสิ่งที่ “ดิ้นได้” มีความหมายที่ “แปรเปลี่ยน” ไปตามยุค
สมัยหรือบริบทที่ใช้ ตัวอย่างเช่น คำว่า “ติดใจ” ถ้าเป็นสมัยก่อนผมก็
จะนึกถึงอาการพึงพอใจ ติดอกติดใจ อยากจะทำซ้ำใหม่ อะไรทำนอง
นั้น แต่พอมาถึงปัจจุบัน คำว่า “ติดใจ” อาจให้ความหมายไปใน
ทำนองที่ว่า เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่ปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไป 
ต้องเคลียร์ให้ได้ก่อน เป็นต้น . . .
         คำว่า “Best Practices” ที่หยิบยกมาในวันนี้ก็เช่นกัน แต่ก่อน
ตอนที่ผมทำงานด้านคุณภาพ (เมื่อ 20 ปีก่อน) เวลาใช้คำว่า “Best Practices”
 จะหมายถึง วิธีการปฏิบัติงาน หรือกระบวนการทำงาน “ที่ดี
ที่สุด”  คือ ประหยัด ปลอดภัย หรือให้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในการ
บริหารระบบคุณภาพ เรามักจะนำเอา Best Practices เหล่านี้มา
ถ่ายทอดไว้ให้เห็นชัดเจนคือทำให้เป็น “Explicit” Knowledge
 (ความรู้ชัดแจ้ง) ผ่านคู่มือการทำงาน Procedures หรือ Work 
Instructions . .

         มาถึงปัจจุบัน คำว่า Best Practices ก็ยังคงใช้กันเป็นที่แพร่
หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของ KM ที่มีการพูดเรื่องการแชร์
 Best Practices กันเป็นประจำ . . แต่คำๆ นี้มีความหมายที่เปลี่ยน
ไปแล้ว การแชร์ Best Practices ในวันนี้ หมายถึงการแชร์ความรู้ที่
เป็น “Tacit” Knowledge คือเป็นความรู้ที่อยู่คู่กับบริบท ไม่สามารถ
แยกตัวความรู้ออกจากสถานการณ์นั้นๆ ได้ หลายครั้งที่เราพูดเรื่อง
เดียวกัน แต่ Best Practice ของท่าน กับ Best Practice ของผม
อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะสถานการณ์ที่ท่านเจอกับที่ผมเจอนั้นแตก
ต่างกันไป เรียกได้ว่าเป็น Best Practice ณ ขณะนั้น ซึ่งเป็นคนละ 
Case กัน . . .
         สรุปว่าหากท่านใช้ Best Practices ในความหมายที่
เป็น “Tacit Knowledge” ก็แสดงว่า ไม่ได้มีวิธีการ “ที่ดีที่สุด”เพียง
วิธีเดียวเท่านั้น ไม่มีวิธีการที่เป็น “The Best” หรือ “คำตอบ
สุดท้าย” อย่างที่หลายท่านเข้าใจ แต่เป็นการใช้คำว่า“Best” ในเชิง
ที่ว่า “Best” สำหรับเหตุการณ์หรือกรณีนั้นๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระหว่างกันหากท่านเป็นผู้ฟังท่านจะต้องฟังให้ได้ทั้งหมด ไม่ใช่ฟัง
แบบจับจดหรือฟังแบบสรุปความ หากแต่ต้องเป็นการฟังแบบ "Deep 
Listening" จึงจะเข้าใจ"Storytelling" ที่กำลังฟังอยู่นี้ เพราะนี่คือ 
Tacit Knowledge ที่ได้จากการแชร์ Best Practices ครับ

โดย ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
ที่มา บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย http://www.gotoknow.org/posts/366868

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น