วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด

         เมื่อผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบางแห่งได้คะแนนผลการเรียนสูง มากหรืออาจมีคะแนนระดับเกียรตินิยมจำนวนมาก ย่อมทำให้เกิดข้อสงสัยถึงมาตรฐานของการวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา แห่งนั้น ทั้งนี้ ต้องยอมรับความจริงในเบื้องต้นก่อนว่า นักศึกษาของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของผลการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนเข้า สู่สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชน

         นักศึกษาที่มีผลการเรียน ดี ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนมากจะเลือกเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษาของ รัฐเนื่องจากค่าเล่าเรียนมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และมีความมั่นใจในระบบคุณวุฒิหรือปริญญาที่ได้รับมากกว่า ถึงแม้ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยของรัฐเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก และอาจมีบางแห่งที่ผู้จบการศึกษาได้รับคุณวุฒิหรือปริญญาไม่ตรงกับเจตนาของ การเข้ามาเรียนก็ตามเหตุการณ์เหล่านั้นค่อยๆ ได้รับการแก้ไขตามกลไกของระบบราชการไปแล้ว

         สำหรับสถาบันอุดมศึกษา เอกชนต้องแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชนด้วยกันเองในการ รับนักศึกษาเข้ามาศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาของตน การสร้างแรงจูงใจ และการเชิญชวนให้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาอาจนำวิธีการและกลยุทธ์ทางการ ตลาดมาใช้ทำให้ถูกมองว่าเป็นการทำธุรกิจทางการศึกษามากเกินไปและสิ่งที่คิด ว่าสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาเข้ามาเรียนได้คือ เรียนง่าย สะดวกสบายจบง่าย แค่จ่ายค่าเล่าเรียนให้ครบ จึงมีคำพูดเชิงประชดประชันว่า จ่ายครบ จบแน่

          ยิ่ง กว่านั้น ยังมีการปล่อยเกรดหรือ ให้เกรดเฟ้อทำให้ผู้จบการศึกษาได้เปรียบเมื่อมีการแข่งขันที่ต้องมีการพิจารณาเกรดของ ผู้จบการศึกษาเป็นคุณสมบัติประการหนึ่ง อาจทำให้ผู้ได้เกรดไม่ถึงขาดคุณสมบัติทันที ตัวอย่างเช่น การสมัครขอรับทุนศึกษาต่อหรือทุนการศึกษาแบบให้เปล่ากับผู้เรียนดี อาจมีการกำหนดเกรดขั้นต่ำ ที่ระดับ 3.00 ผู้ที่ได้เกรดไม่ถึง 3.00 ก็ขาดคุณสมบัติทันที การได้เกรดสูงๆ จึงเป็นการได้เปรียบกว่าเกรดต่ำๆ โดยอาจไม่ได้พิจารณาถึงมาตรฐานการวัดและประเมินผลหรือการให้เกรดของสถาบัน การศึกษาแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน

มาตรฐานข้อสอบ

         ข้อ สอบ เป็นเครื่องมือสำหรับวัดผลการศึกษาที่รู้จักกันทั่วไปข้อสอบที่ดีและมี มาตรฐานนั้นนักการศึกษา หรือผู้ที่เป็นครู/อาจารย์ย่อมมีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นถึงคุณลักษณะ สำคัญของข้อสอบที่ดี เช่น มีความเชื่อมั่น มีความเที่ยงตรง มีอำนาจจำแนก และ มีระดับความยากง่าย ในระดับมาตรฐาน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามข้อสอบที่ครูทำขึ้น” (Teacher Made Tests) นั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อสอบมาตรฐาน” (Standardized Test) แต่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้ามีกระบวนการควบคุมคุณภาพประกอบรวม อยู่ด้วย

         กระบวนการควบคุมคุณภาพของข้อสอบนิยมทำในรูปของคณะกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อความรอบคอบในการพิจารณาและเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกระทั่งกับ ครู/อาจารย์ผู้ออกข้อสอบ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเอกชนนั้น คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบจะเป็นบุคคลภายนอกสถาบันการศึกษาจำนวน 3-5 คนซึ่งอาจประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา เนื้อหาวิชา และผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น

        สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนมากไม่มี ระเบียบหรือข้อบังคับกำหนดให้ต้องมีการควบคุมคุณภาพของข้อสอบและการออกข้อ สอบ กระบวนการออกข้อสอบจึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สอนในรายวิชานั้น แต่ในทางปฏิบัติมหาวิทยาลัยของรัฐมักมีคณะกรรรมการในการออกข้อสอบและตรวจสอบ คุณภาพข้อสอบก่อนจะนำไปใช้สอบกับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ในระดับบัณฑิตศึกษาส่วนมากยังไม่มีกระบวนการควบคุมการออกข้อสอบในรายวิชา ต่าง ๆ ซึ่งอาจถือเป็นประเด็นในด้านของความเป็นเลิศและเสรีภาพทางวิชาการของ คณาจารย์

มาตรฐานการให้เกรด

         การ ควบคุมคุณภาพการตัดสินผลการศึกษาหรือการให้เกรดนั้น โดยปกติเกรดที่ผู้สอนให้มาต้องผ่านการเห็นชอบหรือได้รับการอนุมัติจากคณะ กรรมการหรือผู้มีอำนาจในการอนุมัติ เช่น คณะกรรมการประจำคณะวิชาที่เปิดสอนรายวิชานั้น คณบดี หรือ ผู้ที่คณบดีมอบหมาย แต่ในทางปฏิบัติคณะกรรมการระดับคณะวิชาไม่อาจพิจารณากระบวนการ วิธีการ หรือรายละเอียดของการให้เกรดหรือการตัดสินผลได้มากนัก จึงจำเป็นต้องมีคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการตรวจสอบการตัดสินผลและการให้ คะแนนหลังจากที่มีการตรวจสอบการออกข้อสอบแล้วอีกครั้ง 
        ใน สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเอกชนกำหนดให้มีการตรวจสอบการตัดสินผลโดยคณะ กรรมการจากภายนอก เช่นเดียวกับการควบคุมคุณภาพของข้อสอบเพื่อพิจารณากระบวนการ วิธีการตัดสินผล หรือการให้เกรดกับนักศึกษา สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาดูจากกระบวนการวิธีการตัดเกรดตามหลักวิชาการวัด และประเมินผลทางการศึกษาและการใช้ดุลพินิจประกอบการพิจารณา
        แต่ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนมากไม่มีระเบียบหรือข้อ บังคับกำหนดไว้เช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติมักมีการตรวจสอบตั้งแต่ระดับคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือ คณะกรรมการภาควิชา หรือหัวหน้าภาควิชา (ถ้ามี) และกรรมการระดับคณะวิชาก่อนจะนำส่งฝ่ายทะเบียน การแก้ไขเกรดถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอนและคณะกรรมการที่อนุมัติผลการ ศึกษาก่อนจึงจะแก้ไขได้ ผู้ใดแก้ไขเกรดโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องถือเป็นความผิดร้ายแรง

เกรดเฟ้อและเกรดฝืด

        “เกรด เฟ้อหมายถึง การตัดสินผลด้วยการให้เกรดเกินมาตรฐานขีดความสามารถที่แท้จริงส่วนเกรดฝืดหมายถึง การตัดสินผลด้วยการให้เกรดต่ำกว่ามาตรฐานขีดความสามารถที่แท้จริง

        การ เกิดเกรดเฟ้อหรือเกรดฝืดนั้นเกิดจากการขาดกระบวนการในการควบคุมคุณภาพการ ตัดสินผลหรือการให้เกรดอย่างเคร่งครัดการให้เกรดจึงตกอยู่ภายใต้ดุลพินิจของ อาจารย์ผู้สอนเป็นสำคัญถึงแม้ว่าสิทธิ์หรืออำนาจในการตัดสินผลนี้ควรเป็นของ อาจารย์ผู้สอนไม่ควรให้ผู้ใดก้าวล่วงอำนาจในการใช้ดุลพินิจนี้ได้ แต่ควรต้องมีระบบการตัดสินผลที่เป็นที่ยอมรับสำหรับอาจารย์เพื่อการใช้เป็น กระบวนการในการตัดสินผลได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง และเชื่อถือได้อย่างอย่างมั่นใจด้วย

        ระบบที่กล่าวถึงนั้นอาจเป็น เอกสารคู่มือที่แสดงถึงกระบวนการในการตัดสินผลหรือให้เกรดอาจอยู่ในคู่มือ ครู/อาจารย์ หรืออาจเป็นระบบสารสนเทศบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเป็น Software ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ช่วยการตัดสินผลด้วยวิธีการต่างๆ ตามเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนและสถาบันการศึกษาได้กำหนดไว้ สิทธิและเสรีภาพของอาจารย์ผู้สอนจึงยังคงมีอยู่บริบูรณ์โดยมิมีการก้าวล่วง แต่เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำและยืนยันระบบที่เป็นกระบวนการตัดสินผลได้อย่างชัดเจน

        "เกรด เฟ้อ" มักเกิดในสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเอกชนทั้งนี้อาจเป็นความกรุณาของ อาจารย์ที่ต้องการให้ศิษย์ของตนได้มีโอกาสในสังคมมากขึ้นเพราะรู้สึกว่าผู้ จบการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมักจะเสียเปรียบผู้จบการศึกษาจากสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐประกอบกับนโยบายของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนบางแห่งต้องการรักษา นักศึกษาไว้ถ้าให้เกรดนักศึกษาน้อยจะทำให้นักศึกษาต้องพักการเรียนหรือพ้น สภาพการเป็นนักศึกษา นอกจากนั้นครู/อาจารย์อาจถูกเพ่งเล็งจากผู้บริหารถึงการให้เกรดที่ทำให้ นักศึกษาต้องพ้นสภาพหรือได้เกรดต่ำๆ จำนวนมาก

      ส่วน "เกรดฝืด" มักเกิดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐซึ่งอาจารย์มีสิทธิและเสรีภาพในการตัดสินผล และให้เกรดนักศึกษาของตนมากกว่าในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนประกอบกับค่านิยม บางประการที่ว่า ถ้าให้เกรดต่ำ จำนวนมากถือว่าอาจารย์ผู้นั้นเก่งมีมาตรฐานสูง บางห้องเรียนไม่มีใครได้เกรดสูงกว่า C หรือบางห้องให้เกรด F เกือบทั้งห้อง ผ่านเพียงคนเดียว ยิ่งสร้างความน่าเกรงขามให้กับอาจารย์ผู้นั้น

ข้อเสนอสำหรับผู้เกี่ยวข้อง

       ใน อดีตผู้เข้ารับราชการถ้าได้คะแนนเกียรตินิยมจะมีเงินเพิ่มพิเศษให้ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่ยกเลิกผู้จบการศึกษาระดับเกียรตินิยม ยังมีค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษ การให้รางวัลผู้เรียนดีด้วยการตอบแทนด้วยเงินเพิ่มพิเศษนี้มีทั้งข้อดีและ ข้อวิพากษ์เรื่องของความเป็นธรรมจนภาคราชการต้องยกเลิกไป ซึ่งอาจถูกมองได้ว่าเป็นการไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนตั้งใจเรียน ในภาครัฐอาจต้องมีการทบทวนการให้รางวัลผู้เรียนที่มีความตั้งใจเรียนและได้ คะแนนหรือเกรดระดับเกียรตินิยม

        สำหรับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่ยัง คงมีค่าตอบแทนพิเศษสำหรับผู้ได้คะแนนเกียรตินิยม อาจต้องทบทวนระเบียบและนโยบายนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความ อุตสาหะและให้อยู่บนฐานของความเป็นธรรมกันผู้อื่นด้วยเช่นกัน

        การควบ คุมคุณภาพการให้เกรดจึงเป็นกระบวนการที่ควรนำมาใช้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รวมทั้งของรัฐที่ยังไม่มีระบบการควบคุมคุณภาพของข้อสอบ การออกข้อสอบระบบช่วยเหลือการตัดสินผลและการให้เกรดสำหรับคณาจารย์ในสถาน ศึกษาของตน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรต้องมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดในการส อบ การออกข้อสอบและการตัดสินผลการเรียนของนักศึกษาอีกด้วย


โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/410443

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น