“กฤษณพงศ์"แจงต้องเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาเป็นความต้องการของ มรภ.-มทร. เพื่อให้มีกฏหมายกลางดูแลสวัสดิการ ด้าน ประธาน ทปสท.ขอส่งตัวแทนร่วมร่างพ.ร.บ.ด้วย วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2558 เวลา 13:46 น. วันนี้ ( 8ก.ค.) ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.)
ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) และผู้เกี่ยวข้อง มีมติเสนอให้ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา เพราะเห็นว่ามีจุดอ่อนหลายประเด็น ว่า เหตุผลที่มีการยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเนื่องจากเป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ซึ่งยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนสถานะภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ออกนอกระบบ จึงต้องการให้มีกฏหมายกลางมาดูแลค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ “ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยกลุ่มเก่าบางแห่ง มองว่ากฏหมายระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา อาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากมหาวิทยาลัยของตนเองสามารถบริหารจัดการได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งจริงๆแล้วในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องใช้กฏหมายนี้ แต่ให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ
อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้ออกมาคัดค้านหรือเสนอให้ยกเลิก ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะต้องเชิญกลุ่มดังกล่าวมาหารือกัน เพื่อดูว่าร่างนี้ยังมีจุดบกพร่องตรงไหน เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไข อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ คณะอนุกรรมการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา จะประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนนำเสนอคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.)ต่อไป" รมช.ศธ.กล่าว. ผศ.ดร.รัฐกร คิดการ ประธาน ทปสท. กล่าวว่า ตนและปอมท. ได้เข้าพบ รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เพื่อชี้แจงมติให้ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา แต่ถ้า สกอ.จะเดินหน้าต่อก็ต้องพิจารณากฏหมายฉบับนี้ให้รอบคอบ เพราะมีผลกระทบกับพนักงานหลายกลุ่ม และขอให้ตั้งตัวแทนจาก ทปสท. และ ปอมท. เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ด้วย เพื่อจะได้เสนอความคิดเห็นในร่างดังกล่าว เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลสิทธิประโยชย์ให้แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย.“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/333456
ที่มา http://www.dailynews.co.th/education/333456
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สถาบันที่จะติดลำดับโลก
จากประชากรไทย 67 ล้านคน มีเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีประมาณ 8 แสนคน ร้อยละ 3 หรือ 24,000 คน เป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูงมาก ประเทศเรามีการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแต่ละปีตามโครงการของ พสวท. (100 คน) ร.ร.มหิดลฯ (240) กระทรวงวิทย์ฯ (210) ห้องพิเศษ สพฐ. (5,850) ร.ร.จุฬาภรณ์ (1,728) ร.ร.กำเนิดวิทย์ (72) รวม 8,200 คน
กลุ่ม ปตท. ได้แก่ บมจ.ปตท., บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล, บมจ.ไทยออยล์ และ บมจ.ไออาร์พีซี ได้ร่วมกันตั้งมูลนิธิโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ระยอง เพื่อดูแลโรงเรียนกำเนิดวิทย์ และมูลนิธิสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระยอง เพื่อดูแลสถาบันวิทยสิริเมธี
กำเนิดวิทย์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ต้องการบ่มเพาะเยาวชนไทยผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้มีจิตวิญญาณของนักวิจัย นักประดิษฐ์และนักนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยให้อยู่ดีมีสุขและแข่งขันได้ในเวทีโลก ในแต่ละปีโรงเรียนกำเนิดวิทย์จะรับนักเรียนเพียง 4 ห้อง ห้องละ 18 คน ทั้งปีรับเพียง 72 คน
มีนักเรียนที่เก่งทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาสมัครมากกว่า 5,000 คน ได้รับการคัดเลือกไว้เพียง 72 คนใน พ.ศ.2558 ซึ่งเป็น นักเรียนรุ่นแรก นักเรียนเหล่านี้เป็นวัตถุดิบชั้นยอดที่ผ่านกระบวนการสรรหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อเข้ามาแล้วก็ได้รับการพัฒนาจากครูอาจารย์ระดับโลกเป็นรายบุคคล สื่อการสอนใช้ภาษาอังกฤษ ทุกคนต้องอยู่ประจำโดยอยู่แบบระบบบ้านพักในบริเวณเนื้อที่ 1,000 ไร่
วังจันทร์วัลเลย์มีเนื้อที่กว่า 4,000 ไร่ แบ่งเป็นส่วนของสถานศึกษา 1,000 ไร่ ในส่วนนี้ นอกจากจะมีโรงเรียนกำเนิดวิทย์แล้ว ยังมีสถาบันระดับอุดมศึกษาที่ชื่อว่าสถาบันวิทยสิริเมธี ที่เป็นสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นงานวิจัยชั้นแนวหน้า เพื่อสร้างบุคลากรที่ดีเลิศในระดับโลกทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถสร้างและใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ผู้ที่รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนระดับมัธยมปลายในโรงเรียนกำเนิด–วิทย์และระดับปริญญาโทในสถาบันวิทยสิริเมธีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนะครับ กลุ่มบริษัท ปตท. ใส่เงินลงไปในมูลนิธิเบื้องต้นถึง 6 พันล้านบาท ใช้เป็นค่าก่อสร้าง 2 พันล้านบาท ที่เหลืออีก 4 พันล้านบาทเป็นอุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือในการเรียนการสอน ซึ่งเน้นปฏิบัติการวิจัย
มหาวิทยาลัยสอน หรือ Teaching University ที่มีเกลื่อนกราดดาษดื่นในประเทศและในโลกของเราใบนี้ มีวิธีหารายได้จากงบประมาณของรัฐและจากการเก็บค่าเล่าเรียน แต่มหาวิทยาลัยวิจัย หรือ Research University อย่างเช่น สถาบันวิทยสิริเมธี มีรายได้มาจากผลงานวิจัยและจากกองทุนต่างๆ
สถาบันวิทยสิริเมธีที่รับนักศึกษารุ่นแรกใน พ.ศ.2558 มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยใน พ.ศ.2563 และต้องการให้เป็น 1 ใน 10 ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนใน พ.ศ.2568 พอถึง พ.ศ.2578 หรืออีก 20 ปี ข้างหน้า ต้องการให้สถาบันแห่งนี้เป็น World Research University ที่ติดลำดับ 1 ใน 50 ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
25 มิถุนายน 2558 ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กรุณาบรรยายด้วยตัวเองเรื่อง ‘พัฒนาการของระบบการอุดมศึกษาและการจัดตั้งสถาบันวิทยสิริเมธีของกลุ่ม ปตท.’ ให้ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ และพวกเราซึ่งเป็นพนักงานของกลุ่มบริษัทบาลานซ์ฟังนานถึง 1 ชั่วโมง จากนั้น ดร.ไพรินทร์ และ ดร.ธีรเดช ทังสุบุตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่โครงการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนวิทยาศาสตร์กลุ่ม ปตท. พื้นที่ภาคตะวันออก ได้พาพวกเราไปชมทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยด้วยตัวเองอีกเกือบ 2 ชั่วโมง พ่อของผมพูดย้ำๆซ้ำๆในระหว่างการเดินชมว่า ปตท. จะทำให้ประเทศไทยของเราจะยิ่งใหญ่ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจะช่วยทำให้คนของเราที่เก่งเฉพาะด้านประดิษฐกรรม ไปมีความสามารถด้านนวัตกรรม
ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมขอขอบคุณกลุ่ม ปตท. ที่สร้างโอกาสและอนาคตให้ประเทศชาติบ้านเมือง ใครก็ตามที่สนใจสถาบันการศึกษา ทั้งสองนี้ ผมขอแนะนำให้ท่านไปเยี่ยมชมวังจันทร์วัลเลย์ ท่านจะมีกำลังใจขึ้นทันที
ปตท.มีทุน มีวิสัยทัศน์ มีเครือข่าย มีศักยภาพ ฯลฯ ได้ช่วยชาติด้วยการดูแลผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ขณะเดียวกัน ปตท.และคนไทยทั้งประเทศก็ต้องดูแลเด็กไทยที่เกิดใหม่อีกปีละ 8 แสนคนให้พวกเขาโตไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศและของโลก
คุณนิติ นวรัตน์
ที่มา https://m.thairath.co.th/content/508427
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความแนะนำ
โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
http://www.mua.go.th/users/bhes/pdf/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B...
-
สวัสดีค่ะ... วันนี้แอดมินขอนำเสนอความหมายของ EdPEx อีกครั้ง ....ที่ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอ "คำถาม 15 ข้อที่คาใจ" เกี่ยวกับ EdPEx...
-
ฟอนต์อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ดาวน์โหลดกันได้เลยค่ะ http://www.f0nt.com/release/silpakor...
-
การสอนงาน หมายถึง การที่หัวหน้างานได้สอนหรือแนะนำให้ลูกน้อง ได้เรียนรู้งาน ที่ได้รับ มอบหมาย มีวัตถุประสงค์และข้อปฏิบัติอย่างไร จึงจะบรรล...