วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เดินหน้าพ.ร.บ.บริหารงานบุคคลอุดมศึกษา

“กฤษณพงศ์"แจงต้องเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาเป็นความต้องการของ มรภ.-มทร. เพื่อให้มีกฏหมายกลางดูแลสวัสดิการ ด้าน ประธาน ทปสท.ขอส่งตัวแทนร่วมร่างพ.ร.บ.ด้วย วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2558 เวลา 13:46 น. วันนี้ ( 8ก.ค.) ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) 

ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) และผู้เกี่ยวข้อง มีมติเสนอให้ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา เพราะเห็นว่ามีจุดอ่อนหลายประเด็น ว่า เหตุผลที่มีการยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเนื่องจากเป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ซึ่งยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนสถานะภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ออกนอกระบบ จึงต้องการให้มีกฏหมายกลางมาดูแลค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ “ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยกลุ่มเก่าบางแห่ง มองว่ากฏหมายระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา อาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากมหาวิทยาลัยของตนเองสามารถบริหารจัดการได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งจริงๆแล้วในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องใช้กฏหมายนี้ แต่ให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ 

อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้ออกมาคัดค้านหรือเสนอให้ยกเลิก ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะต้องเชิญกลุ่มดังกล่าวมาหารือกัน เพื่อดูว่าร่างนี้ยังมีจุดบกพร่องตรงไหน เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไข อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ คณะอนุกรรมการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา จะประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนนำเสนอคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.)ต่อไป" รมช.ศธ.กล่าว. ผศ.ดร.รัฐกร คิดการ ประธาน ทปสท. กล่าวว่า ตนและปอมท. ได้เข้าพบ รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เพื่อชี้แจงมติให้ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา แต่ถ้า สกอ.จะเดินหน้าต่อก็ต้องพิจารณากฏหมายฉบับนี้ให้รอบคอบ เพราะมีผลกระทบกับพนักงานหลายกลุ่ม และขอให้ตั้งตัวแทนจาก ทปสท. และ ปอมท. เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ด้วย เพื่อจะได้เสนอความคิดเห็นในร่างดังกล่าว เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลสิทธิประโยชย์ให้แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/333456
ที่มา http://www.dailynews.co.th/education/333456

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น