วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

องค์การแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้
ความหมายของคำว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning Organization) ถ้าอ้างอิงตามนักคิดท่านหนึ่งคือ Peter M. Senge ท่านเคยให้นิยามไว้ว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ที่ๆ ซึ่งบุคลากรมีความเป็นเลิศใน  – การสร้างสรรค์ (Creating) และพัฒนา ความรู้ใหม่ๆ,  – ได้มาจาก (Acquiring) การจัดเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบ, และ  – ถ่ายทอด (Transferring) แลกเปลี่ยน ความรู้ภายในองค์กร ” ส่วนทฤษฎีการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นมีนักคิดหลายท่านได้เสนอไอเดียที่หลายหลาก ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างทฤษฎีของ David A. Garvin, Amy C.Edmondson, and Francesca Gino ที่ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review – March 2008 ซึ่งมี 3 องค์ประกอบหลักดังนี้
LO_element
  • สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Supportive learning environment)
    • มีบรรยากาศของ “ ความปลอดภัยเชิงจิตวิทยา ” (Psychological safety)
    • องค์กรจะต้อง “ ชื่นชมยอมรับในความแตกต่าง ” (Appreciation of differences)
    • องค์กรจะต้อง “ เปิดกว้างต่อความคิดใหม่ๆ ” (Openness to new ideas)
    • องค์กรจะต้อง “ มีเวลาให้ได้คิดเชิง สะท้อน ” (Time for reflection)
  •  
  • พฤติกรรมของผู้นำที่กระตุ้นการเรียนรู้ (Leadership That Reinforcing Learning)
    • การเป็นผู้บริหารที่ใจกว้าง ยอมรับฟัง ข้อคิดเห็นจากผู้อื่น
    • การเป็นผู้นำที่ถ่อมตน ยอมรับข้อจำกัดของ ตนเองและเคารพความชำนาญการของผู้อื่น
    • เป็นนักตั้งคำถามที่ดี
    • เป็นนักฟังที่ดี
    • เป็นนักกระตุ้นให้เกิดการแสดงมุมมองที่ หลากหลาย
    • เป็นนักบริหารเวลา สถานที่ และ ทรัพยากร เพื่อการค้นพบปัญหาและข้อท้าทายต่อ องค์กร
    • เป็นนักบริหารเวลา สถานที่ และ ทรัพยากร เพื่อการสะท้อนและปรับปรุงผลการทำงาน ในอดีต
  •  
  • กระบวนการและการดำเนินการการเรียนรู้ที่ เป็นรูปธรรม (Concrete Learning Processes and Practices)
    • องค์กรจะต้องส่งเสริม “ ให้มีการทดลอง ” (Experimentation)
    • องค์กรส่งเสริมให้ “ มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ” (Information collection) โดยมีการเก็บรวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อติดตามความเคลื่อนไหว และแนวโน้มด้านการแข่งขัน คู่แข่งขัน ลูกค้า แนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฏหมาย และเทคโนโลยีใหม่ๆ
    • องค์กรส่งเสริมให้ “ มีการวิเคราะห์ ” (Analysis) โดย จัดให้บุคลากรได้มีการสนทนา (Dialogue) อภิปราย (Discuss) แล้วตีความข้อคิดเห็นและข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและระบุหาปัญหาและแสวงหาแนว ทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
    • องค์กรจัดให้มี “ การศึกษาและฝึกอบรม ” (Education and Training) เพื่อพัฒนาบุคลากรทั้ง กลุ่มใหม่และกลุ่มเก่าได้มีความรู้ความสามารถในการ ทำงานอย่างเพียงพอ
    • องค์การจัดให้มี “ การถ่ายโอนข้อมูล ” (Information transfer)
  • ที่มา http://www.bejame.com/article/2806

ขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา


ขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ครั้งหนึ่งเล่าปี่ขอขงเบ้งให้แนะนำวิธีสร้างตนให้เป็นมหาเศรษฐีแห่งดินแดน  ขงเบ้งว่างานใหญ่เช่นนี้ต้องวางแผนและรู้จักบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
เล่าปี่กล่าวว่า “ ข้าฯ เห็นด้วยในหลักการแต่ทว่าข้าฯมีงานมากมายที่ต้องทำทุกวันจนเวียนเกล้าเวียนศีรษะ ไม่เคยมีเวลาพอที่จะจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้เลย “
ขงเบ้งบอกลูกน้องให้ไปเตรียมก้อนหิน ก้อนกรวด ก้อนทราย และน้ำจำนวนหนึ่งพร้อมถังเหล็กใหญ่หนึ่งใบ
เล่าปี่ถามด้วยความแปลกใจ “ ท่านเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่ออะไร ”
ขงเบ้งยิ้มอย่างมีเลศนัยพร้อมกับตอบด้วยคำถามว่า “ท่านบริหารเวลาด้วยวิธีใด
เล่าปี่ตอบว่า “ ข้าฯเคยคิดว่าข้าฯมีเทคนิคที่ดีอยู่แล้วคือใช้วิธีมอบหมาย ข้าฯมีผู้ช่วยอยู่รอบด้านตั้งแต่กวนอู เตียวหุย เจ้าหยุน ฯลฯ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ด้านต่างๆ แต่งานทั้งหลายก็ยังพันกันอีนุงตุงนัง ไม่สามารถปรับให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นได้ เดิมข้าฯคิดว่าข้าฯ คือ แมลงวันไม่มีหัวอยู่ตัวเดียว แต่หลังการใช้ระบบมอบหมายงานกลับกลายเป็นว่า ปัจจุบันมีแมลงวันหัวขาดเป็นฝูง”
ขงเบ้งฟังแล้วจึงเริ่มอธิบายว่า “ เทคนิคการบริหารเวลาสามารถแบ่งเป็นสูง กลาง และต่ำ สามขั้น  ขั้นต่ำเน้นการใช้เศษกระดาษบันทึก  ขั้นกลางเน้นการใช้แผนดำเนินงาน และตารางโปรแกรมประจำวันซึ่งสะท้อนความสำคัญของการวางแผน ส่วนขั้นสูงเน้นการจัดการโดยแบ่งแยกประเภทของหน้าที่การงานตามดีกรีความสำคัญของงาน เพื่อพิจารณาลำดับความเร่งด่วนในการจัดการงานดังกล่าว  ทั้งสามขั้นต่างมีเรื่องการมอบหมายงานเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตามความต้องการของปริมาณและลักษณะเฉพาะของงานแต่ละชิ้น ”
เล่าปี่สารภาพว่า “ หากพิจารณาตามการแบ่งขั้นของเทคนิคการบริหารเวลาแล้ว ข้าฯ ยอมรับว่าวิธีของข้าฯอยู่ที่ขั้นต่ำ เพราะใช้แค่สลิปบันทึก”
ขงเบ้งชี้ไปที่ถังเหล็กกับกองวัสดุที่ผู้ช่วยได้เตรียมไว้มุมห้องพร้อมกล่าวว่า “ คำตอบของการบริหารขั้นสูงอยู่ในถังเหล็กใบใหญ่นี่แหละ!  ความจุของถังใบนี้ เปรียบเสมือนขีดความสามารถของคนคนหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ก้อนกรวดเปรียบได้กับงานที่สำคัญและเร่งด่วน  ก้อนหินคือภาระที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน  เม็ดทรายเปรียบได้กับภาระที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ และน้ำคือหน้าที่ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ”     ขงเบ้งอธิบายพลางวาดผังประกอบคำอธิบายดังตารางประกอบด้านล่างนี้
             เร่งด่วน            ไม่เร่งด่วน
สำคัญ ก. งานประเภทก้อนกรวด
  • วิกฤติการณ์
  • ปัญหาประชิดตัว
  • งานที่มีเวลากำหนดแน่นอน
 ข. งานประเภทก้อนหิน
  • โครงการใหม่/การริเริ่มใหม่
  • กฎระเบียบ
  • การปฏิรูปประสิทธิภาพการผลิต
  • การสร้างความสัมพันธ์กับหุ้นส่วน
  • มาตรการการป้องปราม
ไม่สำคัญ ค. งานประเภทเม็ดทราย
  • รับรองแขกที่ไม่ได้รับเชิญ
  • จัดการกับจดหมาย เอกสารโทรศัพท์ทั่วไป
  • เข้าประชุมและกิจกรรมทั่วไปที่ไม่สำคัญ
 ง. งานประเภทน้ำ
  • งานจุกจิกทั่วไปที่ทำหรือไม่ทำก็ได้
  • งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไปที่ไม่จำเป็น
  • กิจกรรมที่น่าสนใจทั่วไป

“ ปกติท่านเน้นงานประเภทใด ”  ขงเบ้งถาม
“ ก็ต้องเป็นประเภท ก.  ”  เล่าปี่ตอบอย่างไม่ลังเล
“ แล้วงานประเภท ข. ล่ะ ”   ขงเบ้งถามต่อไป
เล่าปี่ตอบว่า “ ข้าฯ ตระหนักถึงความสำคัญของงานประเภท ข. แต่ไม่มีเวลาพอที่จะสนใจมัน”
“ เป็นอย่างนี้ใช่ไหม ”  ขงเบ้งถามพลางใส่กรวดลงไปในถังเหล็กจนเต็มแล้วพยายาม
ใส่ก้อนหินตามซึ่งใส่ไม่ได้  เล่าปี่ตอบว่า “ ใช่ “
“ และหากเปลี่ยนวิธีบรรจุใหม่ล่ะ ”   ขงเบ้งถามต่อพลางใส่ก้อนหินทีละก้อนเข้าไปในถังก่อนจนใส่ไม่ได้แล้วจึงถามเล่าปี่อีกว่า  “ ตอนนี้ถังเหล็กเต็มแล้วจะใส่ลงไปอีกไม่ได้ใช่ไหม? ”   ซึ่งเล่าปี่ตอบว่า “ ใช่ “
“ จริงหรือ ? ”  ขงเบ้งถามแล้วหยิบก้อนกรวดใส่เข้าไปข้างบนถังแล้วเขย่าให้ก้อนกรวดตกลงไปในถังจนหมด  “ บัดนี้ถังเหล็กใบนี้ใส่อะไรลงไปอีกได้หรือไม่? ” ขงเบ้งพูดพลางเทเม็ดทรายลงไปจนหมด  “ แล้วทีนี้ล่ะ ใส่อะไรลงไปอีกได้ไหม ? ”  ขงเบ้งถามต่อ แต่ก่อนที่เล่าปี่มีโอกาสตอบ ขงเบ้งก็ตักน้ำที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังเหล็กอีกจนหมด  “ ตอนนี้ท่านเข้าใจความหมายของการทดลองนี้หรือยัง ? ” เล่าปี่ตอบว่า “ เข้าใจแล้ว นี่คือสิ่งที่ท่านกล่าวถึงเมื่อสักครู่เกี่ยวกับการจัดการแบบแยกประเภทและเลือกการจัดการก่อนหลังใช่ไหม ? ”
ขงเบ้งตอบว่า “ ใช่แล้ว  การทดลองชี้ให้เห็นว่าหากถังเหล็กตั้งแต่แรกก็เติมเต็มด้วยก้อนกรวด ทราย  และน้ำ  ก็คงไม่มีโอกาสใส่ก้อนหินลงไปได้  แต่ถ้าใส่ก้อนหินลงไปก่อน  ในถังยังมีเนื้อที่ที่จะใส่สิ่งอื่นๆเข้าไปได้อีก ดังนั้น การบริหารเวลาที่ได้ผลต้องดูว่า อะไรคือก้อนหิน อะไรคือก้อนกรวด เม็ดทรายและน้ำ และไม่ว่าจะเป็นประการใดก็ต้องใส่ก้อนหินลงไปในถังเป็นอันดับแรก ”
เล่าปี่ยังถามว่า “ แล้วการวิเคราะห์แยกแยะเรื่องต่างๆออกเป็นสี่หมวดนี้มีผลอย่างไร ”
ขงเบ้งตอบว่า “ บุคคลจำพวกที่ว้าวุ่นอยู่กับเรื่องราวประเภทก้อนกรวดย่อมมีความรู้สึกถูกเวลากดดันและวนเวียนอยู่ในแดนวิกฤตจนอ่อนล้า  พวกที่เน้นเรื่องประเภทเม็ดทรายจะขาดพลังสร้างสรรค์  ชอบฟังคำพูดเพราะหู คบคนแบบผิวเผิน  พวกที่นิยมเรื่องราวประเภทน้ำมักบกพร่องเรื่องสำนึกรับผิดชอบแม้กระทั่งเรื่องสารทุกข์สุกดิบของตนเอง ”
เล่าปี่ถามว่า “เป็นไปได้ไหมที่ว่าถ้าเน้นก้อนหินมากเกินไปจะมองข้ามก้อนกรวด เพราะก้อนกรวดมากับความเร่งด่วน ? “
“ ท่านทราบไหมว่าก้อนกรวดมาจากไหน? ก็มาจากก้อนหินที่แตกสลายไง ” ขงเบ้งตอบ “ คนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องประเภทก้อนหินจะมีก้อนกรวดน้อย  คนที่เน้นก้อนกรวดก็จะมีก้อนกรวดเยอะตลอด “  ขงเบ้งสอนต่อไปว่า  “ คนที่อิงเรื่องประเภทก้อนหินเป็นคนมีประสิทธิภาพ เพราะเขาจะเก่งในการวิเคราะห์สถานการณ์ เวลาและสิ่งแวดล้อม  สามารถจับประเด็นหลักของปัญหา สามารถจัดการกับเรื่องเร่งด่วนและควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกินกว่าเหตุ  กล้าฟันธงและใช้มาตรการป้องปราม  บุคคลจำพวกนี้จะมีวิสัยทัศน์  มีอุดมการณ์ เคารพ ระเบียบ สามารถควบคุมตัวเอง  ดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย และสามารถทำงานชิ้นใหญ่ได้ ”
เล่าปี่ชื่นชอบทฤษฎี “ วัตถุในถัง “ ของขงเบ้งเป็นอย่างมากพร้อมกับสารภาพว่า “ มาวันนี้ข้าฯเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่าการต่อสู้ของข้าฯทำไมจึงยังลุ่มๆดอนๆ  เพราะแม้ว่าข้ามีขุนพลเก่งๆเช่นกวนอูและเตียวหุย  แต่พวกเขาจะก้าวหน้าได้อย่างไรตราบใดที่คนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างพวกเขาจมปลักอยู่กับเรื่องจิ๊บจ๊อย  กับทำงานลักษณะ“ เก็บเม็ดงาแต่ทิ้งแตงโม “ (เจี่ยนเลอจือหมา ติวเลอซีกวา)  ขืนดำเนินตามวิธีนี้ต่อไป ความพยายามของข้าฯที่จะเป็นอภิมหาเศรษฐีนัมเบอร์วันในแผ่นดินก็คงเป็นได้แค่ความฝัน ! ”