วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

องค์การแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้
ความหมายของคำว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning Organization) ถ้าอ้างอิงตามนักคิดท่านหนึ่งคือ Peter M. Senge ท่านเคยให้นิยามไว้ว่า “องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ที่ๆ ซึ่งบุคลากรมีความเป็นเลิศใน  – การสร้างสรรค์ (Creating) และพัฒนา ความรู้ใหม่ๆ,  – ได้มาจาก (Acquiring) การจัดเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบ, และ  – ถ่ายทอด (Transferring) แลกเปลี่ยน ความรู้ภายในองค์กร ” ส่วนทฤษฎีการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นมีนักคิดหลายท่านได้เสนอไอเดียที่หลายหลาก ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างทฤษฎีของ David A. Garvin, Amy C.Edmondson, and Francesca Gino ที่ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review – March 2008 ซึ่งมี 3 องค์ประกอบหลักดังนี้
LO_element
  • สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Supportive learning environment)
    • มีบรรยากาศของ “ ความปลอดภัยเชิงจิตวิทยา ” (Psychological safety)
    • องค์กรจะต้อง “ ชื่นชมยอมรับในความแตกต่าง ” (Appreciation of differences)
    • องค์กรจะต้อง “ เปิดกว้างต่อความคิดใหม่ๆ ” (Openness to new ideas)
    • องค์กรจะต้อง “ มีเวลาให้ได้คิดเชิง สะท้อน ” (Time for reflection)
  •  
  • พฤติกรรมของผู้นำที่กระตุ้นการเรียนรู้ (Leadership That Reinforcing Learning)
    • การเป็นผู้บริหารที่ใจกว้าง ยอมรับฟัง ข้อคิดเห็นจากผู้อื่น
    • การเป็นผู้นำที่ถ่อมตน ยอมรับข้อจำกัดของ ตนเองและเคารพความชำนาญการของผู้อื่น
    • เป็นนักตั้งคำถามที่ดี
    • เป็นนักฟังที่ดี
    • เป็นนักกระตุ้นให้เกิดการแสดงมุมมองที่ หลากหลาย
    • เป็นนักบริหารเวลา สถานที่ และ ทรัพยากร เพื่อการค้นพบปัญหาและข้อท้าทายต่อ องค์กร
    • เป็นนักบริหารเวลา สถานที่ และ ทรัพยากร เพื่อการสะท้อนและปรับปรุงผลการทำงาน ในอดีต
  •  
  • กระบวนการและการดำเนินการการเรียนรู้ที่ เป็นรูปธรรม (Concrete Learning Processes and Practices)
    • องค์กรจะต้องส่งเสริม “ ให้มีการทดลอง ” (Experimentation)
    • องค์กรส่งเสริมให้ “ มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ” (Information collection) โดยมีการเก็บรวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อติดตามความเคลื่อนไหว และแนวโน้มด้านการแข่งขัน คู่แข่งขัน ลูกค้า แนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฏหมาย และเทคโนโลยีใหม่ๆ
    • องค์กรส่งเสริมให้ “ มีการวิเคราะห์ ” (Analysis) โดย จัดให้บุคลากรได้มีการสนทนา (Dialogue) อภิปราย (Discuss) แล้วตีความข้อคิดเห็นและข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและระบุหาปัญหาและแสวงหาแนว ทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
    • องค์กรจัดให้มี “ การศึกษาและฝึกอบรม ” (Education and Training) เพื่อพัฒนาบุคลากรทั้ง กลุ่มใหม่และกลุ่มเก่าได้มีความรู้ความสามารถในการ ทำงานอย่างเพียงพอ
    • องค์การจัดให้มี “ การถ่ายโอนข้อมูล ” (Information transfer)
  • ที่มา http://www.bejame.com/article/2806

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น