วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วิธีปฏิบัติ 6 ประการ เพื่อทำให้ผู้อื่นชอบท่าน

จงปฏิบัติตามนี้ แล้วจะมีผู้ต้อนรับท่านทุกหนทุกแห่ง
  1. การผูกมิตรกับผู้อื่นจะสำเร็จเรียบร้อยภายในเวลา 2 เดือน ด้วยการเอาใจใส่อย่างแท้จริงต่อเขาผู้นั้น ซึ่งจะได้ผลยิ่งกว่าการผูกมิตรซึ่งใช้ เวลาถึง 2 ปี แต่ด้วยความพยายามให้เขาผู้นั้นเอาใจใส่ต่อเรา
  2. บุคคลใดที่ละเว้นการเอาใจใส่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่เพียงแต่เขาจะดำรงชีวิตอยู่โดยปราศจากความราบรื่น หากเขาจะเป็นมนุษย์ที่มี อันตรายอย่างใหญ่หลวงแก่ผู้อื่นด้วย มนุษย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ห่างไกลจากความก้าวหน้า และความรุ่งเรืองในประการทั้งปวง
  3. ฉะนั้น จงเอาใจใส่อย่างแท้จริงต่อผู้อื่น ขอเน้น จงเอาใจใส่อย่างแท้จริงต่อผู้อื่น ถ้าท่านต้องการให้ผู้อื่นชอบท่าน
วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้ผู้อื่นติดเนื้อต้องใจเมื่อแรกพบ
  1. ท่านไม่มีความรู้สึกที่จะยิ้มเลยหรือ? เมื่อเช่นนั้นจะทำอย่างไรดี? มีอยู่ 2 ประการ ประการแรกจงบังคับตัวท่านให้ยิ้ม
    จนได้ ถ้าท่านอยู่ คนเดียว จงบังคับตัวของท่านให้ผิวปาก หรือทำเสียงหึ่มๆเป็นทำนองเพลง หรือร้องเพลง ท่านจงทำกิริยา
    ท่าทางเหมือนหนึ่งท่านกำลังมีความสุข และในที่สุด จะโน้มความรู้สึกของท่านให้มีความสุขจริงๆ
  2. ความสุขมิได้อยู่ที่สิ่งแวดล้อมภายนอก แต่อยู่ที่สิ่งแวดล้อมภายในต่างหาก
    - ไม่ใช่เพราะสิ่งที่ท่านมี หรือท่านอยู่ในฐานะใด หรือท่านอยู่ที่ไหน หรือท่านกำลังกระทำสิ่งใดที่ช่วยให้ท่านมีความสุข หรือปราศจาก ความสุข มันอยู่ที่ท่านคิดถึงสิ่งเหล่านั้นต่างหาก คนส่วนมากมีความสุขมากน้อยเพียงใด แล้วแต่จะทำใจให้รู้สึกเช่นนั้น
  3. "ท่านจะไม่ยอมเสียเวลาแม้แต่นาทีเดียวคิดถึงศัตรูของท่าน จงพยายามตั้งใจให้แน่วแน่ มั่นคงในสิ่งที่ท่านปรารถนาจะ
    กระทำ ครั้นแล้ว โดยปราศจากการลังเลหันเห ท่านจงมุ่งตรงไปสู่จุดหมายนั้น จงทำใจของท่านให้จดจ่ออยู่เสมอว่า ความปรารถนาของท่านเพื่อกระทำสิ่งใดๆ จะประสบผลอันงามเลิศ แล้วท่านจะพบว่าขณะวันและเวลาล่วงไป โอกาสจะเปิด ให้ท่านประสบความสำเร็จตามความปรารถนาโดยไม่รู้ตัว"
  4. จงสร้างมโนภาพของท่าน ถึงบุคคลที่มีสมรรถภาพสูง เข้มแข็งเอาการเอางาน ซึ่งท่านประสงค์จะเป็นเช่นนั้นบ้าง และจากความนึกคิด ทุกๆชั่วโมงอันนี้เอง สามารถเปลี่ยนแปลงท่านให้เป็นบุคคลที่มีความเด่นเป็นพิเศษ..... ความคิด เป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด จงดำรง รักษาจิตใจ แนวจิตไว้ให้อยู่ในท่าทีถูกต้องดีงาม ท่าทีแห่งความกล้าหาญบึกบึน แห่งความเป็นคนเปิดเผยตรงไปตรงมา และร่าเริงแจ่มใส ความคิดอันถูกต้องดีงามจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ ความสำเร็จสมดังปรารถนามาจากความตั้งใจจริง เราจะเป็นอย่างไร แล้วแต่ใจเราคิด
  5. มีภาษิตของจีนกล่าวไว้ว่า คนที่ใบหน้าไม่ยิ้ม อย่าเปิดร้านค้าขาย
    ฉะนั้น วิธีง่ายๆ ที่ทำให้ผู้อื่นติดใจเมื่อแรกพบ ก็คือ "ยิ้ม"
ถ้าท่านไม่ทำตามนี้ ท่านจะบ่ายหน้าไปพบความยุ่งยาก
  1. การให้เกียรติโดยการตั้งชื่อ
  2. พยายามจดจำชื่อบุคคลที่เราพบปะให้ได้มากที่สุด
  3. จงจำไว้ว่า ชื่อของบุคคลใดก็ตาม สำหรับบุคคลนั้น เป็น สำเนียงหวานที่สุด และสำคัญที่สุด ในภาษามนุษย์
หนทางง่ายๆ ที่จะเป็นนักสนทนาที่ดี
  1. ฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สนใจอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอีกแล้วที่จะเป็นการแสดงความคารวะยิ่งไปกว่านี้
  2. มีบุคคลอยู่เป็นอันมาก ประสบความล้มเหลวที่จะเป็นผู้ได้รับความนิยม เนื่องจากไม่ฟังผู้อื่นอย่างตั้งอกตั้งใจ
  3. ความสามารถเป็นนักฟังที่ดีของมนุษย์เป็นสิ่งหายาก เกือบจะยิ่งกว่านิสัยดีๆอื่นๆทั้งหลาย
  4. จงตั้งคำถามในเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งจะตอบด้วยความยินดี สนับสนุนให้ผู้อื่นสนทนาถึงเรื่องของเขา และความสำเร็จของเขา
  5. โปรดจำไว้เสมอว่า บุคคลที่ท่านสนทนาด้วย เป็นผู้สนใจตัวของเขาเอง ความต้องการของเขา และปัญหาของเขา ยิ่งกว่าจะสนใจในตัวท่าน และปัญหาของท่านตั้งร้อยเท่า
    จงเป็นนักฟังที่ดี จงสนับสนุนให้อีกฝ่ายหนึ่งคุยถึงเรื่องของเขา
วิธีทำให้ผู้อื่นสนใจ
  1. ค้นหาความจริงว่าเขาสนใจในสิ่งใด และเขามีความสุขในการสนทนาถึงสิ่งใด
    สนทนาในเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งสนใจ
วิธีทำให้ผู้อื่นชอบท่านในทันที
  1. จงทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเป็นคนสำคัญ
  2. จงปฏิบัติต่อผู้อื่น เช่นเดียวกับที่ท่านต้องการจะให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน
  3. คำพูดสั้นๆ เช่น "เสียใจมากที่ต้องรบกวน" , "โปรด", "กรุณา", "ขอบคุณ" ความสุภาพอ่อนโยนเพียงเล็กน้อยจะช่วยปลอบใจ
    อีกฝ่ายหนึ่งให้หายจากความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียจากงานประจำวัน
    จงทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเป็นคนสำคัญ และ จงทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมพัฒนาตนเอง

ก่อนที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงตัวเอง เราจะต้องยอมรับเสียก่อนว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเราและต้องเชื่อว่า เราสามารถกระทำได้ ประเด็นสำคัญคือ เราต้องยอมรับและสนใจปัญหานั้น ไม่ใช่หลีกเลี่ยงมัน ซึ่งกระทำได้โดย การศึกษาจาก หนังสือตำรา หรือปรึกษาปัญหานั้นกับคนอื่นๆ ลองคิดถึงผลที่เกิดขึ้นว่าชีวิตของเราจะดีขึ้นเพียงใดถ้าหากเราไม่มีปัญหานั้น
หลังจากตัดสินใจว่าจะปรับปรุงตัวเองในเรื่องใดเป็นการเฉพาะ แน่นอนว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาปัญหานั้นให้ชัดเจน อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลงหรือกลัวว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็จ เริ่มต้นหาแนวทางว่า จะทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้การเปลี่ยนแปลง เป็นไปตามที่ต้องการ การปรับปรุงตนเองต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจหลายอย่าง ไม่ใช่อาศัยเพียง แต่ความตั้งใจจริง ที่จะทำอะไรสักอย่างเท่านั้น ดังนั้นเราจะต้องใส่ใจหาความรู้และทักษะที่จำเป็นที่จะช่วยให้การปรับปรุงตัวเองบังเกิดผล
จากการศึกษาพบว่า ในการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตนเองของคนเรานั้นมีพัฒนาการเป็น 6 ระยะ (Prochaska, Norcross & DiClemente, 1994) คือ
ระยะที่1. ยังไม่คิดจะปรับปรุงตนเอง (precontemplation) เป็นระยะที่บ่ายเบี่ยง คิดว่ายังไม่มีปัญหาอะไรในตัวเอง แม้ว่าคนอื่นๆจะมองเห็นชัดเจน หรือถ้ามีก็หวังว่าอาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ไม่มีความตั้งใจอย่างแน่นอน ไม่มีแผนใน การปรับปรุงแต่อย่างใด มักจะอ้างว่าปัญหาเกิดจากคนอื่น ต่อต้านการปรับปรุงตัวเอง และเชื่อว่าตนเอง ไม่สามารถ แก้ไขอะไรได้
ระยะที่ 2. เริ่มคิดถึงการปรับปรุงตนเอง (contemplation) เป็นระยะก่อนการลงมือปรับปรุงตนเอง ระยะนี้เริ่มมีความตระหนักถึงปัญหาที่มี และคิดถึงการเปลี่ยนแปลงแก้ไข แต่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะแก้ปัญหานั้นโดยวิธีใด อยู่ระหว่างการชั่งใจว่าผลการเปลี่ยนแปลงจะคุ้มค่ากับความพยายามหรือไม่ เปรียบผลระหว่างการปรับปรุงและการไม่ทำอะไรเลย คนส่วนมากเสียเวลากับระยะนี้นานมาก (คนที่คิดจะเลิกสูบบุหรี่ ใช้เวลาตัดสินใจเกือบสองปี)
ระยะที่ 3. วางแผนหรือโครงการปรับปรุงตนเอง (preparation) ถือเป็นระยะตกลงใจแล้วว่าจะปรับปรุงตัวเอง โดยเริ่มศึกษา วิเคราะห์ปัญหา เลือกวิธีการที่เหมาะสม กำหนดแผนปฏิบัติการ และกำหนดเป้าหมาย ของการเปลี่ยนแปลงตนเอง อย่างชัดเจน
ระยะที่ 4. ลงมือปรับปรุงตนเอง (action) โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ลงมือปฏิบัติการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดในแผนหรือโครงการของระยะที่ 3
ระยะที่ 5. คงสภาพผลได้จากการปรับปรุง (maintainance) การทบทวน หรือ เสริมแรงให้ผลการปรับปรุงตนเองตามเป้าหมายคงอยู่ต่อไปอย่างถาวร หรือนานชั่วระยะเวลาหนึ่งที่พอใจ
ระยะที่ 6. จบการปรับปรุง (termination)
การทราบระยะของการปรับปรุงตนเองย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่คิดจะพัฒนาตน ไม่ใช่เพราะทราบว่า ระยะใดต้องทำอะไร เท่านั้น แต่จะช่วยให้ทราบว่า เราจะทำอย่างไรจึงจะผลักดันหรือจูงใจให้ผ่านจากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่งได้ คนจำนวนมากปฏิเสธ ที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง หรือบางคนต้องการจะทำแต่ไม่สามารถจะเริ่มต้นได้สักครั้งเดียว การสร้างแรงจูงใจ ให้ตัวเองจึงมีความสำคัญต่อ การเปลี่ยนเปลงตนเอง
การวางโครงการปรับปรุงตนเองจะมีความสะดวกในขั้นตอนปฏิบัติมากขึ้น ถ้าเราวิเคราะห์พฤติกรรม หรือ ลักษณะนิสัยที่ต้องการปรับปรุง ให้ชัดเจนตามองค์ประกอบของปัญหา ถ้าพิจารณาในขณะที่เกิดปัญหาขึ้นกับเรา ไม่ว่าปัญหาใดก็ตาม สามารถวิเคราะได้จาก องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน ดังนี้
1. การกระทำหรือพฤติกรรม (behavior) ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
2. ความรู้สึกหรืออารมณ์ในขณะนั้น (emotions experiences)
3. การขาดทักษะ (skills needed) ที่จำเป็นอะไรบ้าง จึงทำให้เกิดปัญหา
4 .ความคิดความเข้าใจ (mental processes) รวมถึงอัตมโนทัศน์ ค่านิยม ความคาดหวัง
5. พลังใต้สำนึกบางอย่าง (unconscious forces) ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
ถ้าสามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห็ปัญหาที่เกิดกับตัวเราได้ชัดเจนแล้ว เท่ากับเราแก้ไขปัญหาสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง เพราะทำให้มองเห็นได้สะดวกว่าควรใช้วิธีการใดจึงเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหานั้น
การเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตนเองไม่ใช่กระทำได้ราบรื่นหรือสะดวกสบาย อาจมีอุปสรรคทำให้ล้มเหลวได้ อาจเกิดจากโครงการที่ไม่ชัดเจน วิธีการที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม บางครั้งก็หมดแรงจูงใจที่จะทำหรือลืมปฏิบัติตามโครงการ ปัญหากลับทรุดลงกว่าเดิม เป็นต้น ส่วนมากมักต้องพยายามทำหลายครั้ง เมื่อไม่สำเร็จก็กลับไปเริ่มต้นใหม่อีกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยเฉพาะเมื่อศึกษาปัญหาไม่ชัดเจนพอ หรือมีความรู้ไม่พอ แต่ผู้ที่ปรับปรุงตนเองได้มักเป็นผู้ที่ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เมื่อไม่สำเร็จเขาจะกลับไปศึกษาใหม่ หาอุปสรรค สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง หาวิธีการที่ดีกว่า เป็นการดีที่ได้พยายามแล้วไม่สำเร็จ ดีกว่าคนที่ไม่ได้ลองพยายามเลย เพราะจะล้มเหลวตลอดไป
ขั้นตอนปฏิบัติในโครงการปรับปรุงตนเอง
เมื่อตัดสินใจจะปรับปรุงตนเองแล้ว ควรวางโครงการให้เป็นไปตามลำดับขั้นที่จะเสนอโดยสรุปต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นการบังคับตายตัวว่าต้องวางแผนไปตามนี้ทุกขั้นตอนในทุกโครงการ อาจข้ามไปได้บ้างในบางครั้ง ถ้าหากว่าการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องการไม่มีความยากลำบากหรือซับซ้อนมากนัก เช่น ปัญหาบางอย่างไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์แยกออกเป็นห้าองค์ประกอบ หรือไม่ต้องบันทึกผลความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียด เพราะเป็นเรื่องง่ายที่รอให้ลงมือปรับปรุงได้เลย แต่ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ซึ่งจำเป็นต้องวางแผนปฏิบัติไปตามลำดับทุกขั้นตอน

การบริหารคนเก่ง Talent Management

"คนเก่ง" หรือ Talent หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ มีผลงานที่โดดเด่นเหนือ บุคคลอื่น ซึ่งอาจมีลักษณะที่ แตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร โดยขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ลักษณะธุรกิจนโยบายวัฒนธรรมองค์กร และกลยุทธขององค์กรว่าต้องการเดินไปในทิศทางใด
ลักษณะทั่วไปของคนเก่ง หรือมีศักยภาพสูง คือ
1. มีความสามารถ และมีคุณสมบัติในการนำตัวเองไปสู่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
2. สามารถแก้ปัญหาได้ดี วางแผนป้องกันปัญหาได้
3. เรียนรู้ได้รวดเร็ว
4. มีความกระตือรือร้น
5. มีความคิดสร้างสรรค์
6. มีความเป็นผู้นำ
7. มีวิสัยทัศน์
8. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งภายในได้แก่ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา
รวมถึงการประสานงานกับภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า เป็นต้นความสามารถของบุคคลเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อ การบรรลุเป้าหมายของ องค์กร และบุคคลเหล่นี้จะถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำ รือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในอนาคตการจัดการกับคนเหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์
(Human Capital Management) ซึ่ง
• เป็นการรักษาประสิทธิภาพขององค์กร
• ลดอัตราสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้และประสพการณ์
• นำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน
กระบวนการจัดการคนเก่ง
1. การสรรหาคนเก่ง
2. การคัดเลือกหรือระบุคนเก่งขององค์กร
3. การพัฒนาคนเก่ง
4. การบริหารและจูงใจคนเก่ง
5. การรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร
การสรรหาคนเก่ง
ในกระบวนการสรรหาคนเก่งนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจนบางบริษัทเช่น Microsoft ต้องตั้งทีมสรรหาคนเก่งไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน โดยการไปสัมภาษณ์และรับนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยที่กำลังใกล้จบ ในการสรรหาคนเก่งนั้น มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่องค์กรอยากได้
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อยากได้
3. หาแหล่งเป้าหมายที่จะเข้าถึงคนเหล่านี้
External Hunting
เช่น บริษัท Clisco กำหนดไว้เป็น Passive job seeker หมายถึง ไม่ใช่คนที่กำลังหางานทำ แต่เป็นคนที่มีงานทำมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเป็น ที่ต้องการขององค์กร แล้วพยายามเข้าถึงคนเหล่านี้ หรือ บริษัท Home Depot กำหนดไว้ว่าต้องการคนเก่งที่สุดของคู่แข่ง เรียกว่า กระบวนการ Head hunter ผู้บริหารที่ใช้วิธีดังกล่าวมักให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่าจริยธรรม คุณธรรม เกิดการโก่งค่าตัว ในบางครั้งจนกลายเป็นกระบวนการ Trading เป็นธุรกิจโดยมีนายหน้าเป็นผู้บริการ Head hunter ก็มี บางบริษัทเช่น P&G เน้นการสรรหาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และการจัดโปรแกรมใน ภาคฤดูร้อนสำหรับนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญาโท
การคัดเลือกคนเก่งที่มาจากแหล่งภายใน
เป็นการมองหาดาวรุ่งที่มีอยู่ในองค์เพื่อที่จะจัดให้เข้ามาในกลุ่มของพนักงาน ที่องค์กรต้องการดูแลเป็นพิเศษ แบ่งเป็น
• แบบไม่เป็นทางการ โดยการพูดคุย วางแผนกันระหว่างผู้บริหารสายงานกับ HR ถึงตัวบุคคลที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เป็นที่ทราบกันเฉพาะในผู้ที่เกี่ยวข้อง
• แบบเป็นทางการ อาจเป็นในรูปแบบการจัดการทดสอบ คัดเลือก แจ้งให้พนักงานทราบและดำเนินตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ หรืออาจจะพิจารณาจากผลประเมินบุคคล ในงานและนอกงาน