วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556
ชุมชนผู้ทรงปัญญา (Community of Scholars)
เสียงประกาศว่า “Welcome to the Community of Scholars” หมายถึง
“ยินดีต้อนรับสู่ชุมชนผู้ทรงปัญญา” จะดังขึ้นในพิธีรับปริญญาบัตรระดับดุษฎีบัณฑิตหรือปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย
ส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการแสดงถึงความยินดีที่ได้ต้อนรับกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถทางปัญญา
กลุ่มใหม่ โดยมีนัยของความหวังเพื่อให้มาร่วมกันใช้ปัญญาในการพัฒนาประเทศชาติหรือมวล
มนุษยชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
“Community of Scholars” ยังได้ถูกนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ เช่นนำไปใช้เป็นชื่อของหลักสูตร โครงการ สถาบันหรือหน่วยงาน รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดกันโดยมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางปัญญาหรือการใช้สติ ปัญญาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จนทำให้ Community of Scholars มีความหมายมากกว่าความหมายตามตัวอักษร
“ชุมชนผู้ทรงปัญญา” เป็นการให้ความหมายในภาษาไทยที่ค่อนข้างโน้มเอียงไปตามตัวอักษร การขยายความจึงมีความจำเป็นเพื่อความเข้าใจร่วมกันสำหรับการกล่าวถึงชุมชน ผู้ทรงปัญญาในแต่ละกลุ่มสังคม หรือกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เนื่องจากกระบวนการทางสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบันไม่ส่งเสริมการแบ่งแยก ชนชั้น หรือการแยกกลุ่มตามสถานภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา ถึงแม้ว่าความแตกต่างเหล่านั้นมีปรากฏอยู่จริงในทุกสังคม แต่การพยายามเพื่อขจัดความแตกต่างมีอยู่ในทุกสังคมเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การยอมรับสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคลอย่างเท่าเทียมกันในการได้รับสวัสดิการ จากรัฐ จากการบังคับใช้กฎหมาย หรือจากการบริการสาธารณะต่าง ๆ
อย่าง ไรก็ตาม กลุ่มบุคคล ที่มีความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น เชื้อชาติเดียวกัน ศาสนาเดียวกัน หรือความสนใจเหมือนกันก็จะรวมกันเป็นชุมชนทั้งที่เป็นรูปนัย เช่น ชมรม สมาคม และยังมีชุมชนที่เป็นอรูปนัยหรือไม่มีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ไม่มีสถานที่ตั้ง ไม่มีการจดทะเบียนหรือมีกฎหมายรับรอง ตัวอย่างเช่น ชุมชนผู้ทรงปัญญา เป็นชุมชนอรูปนัย เป็นชุมชนที่สมาชิกของชุมชนมีเพียงความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นผู้ที่อยู่ใน กลุ่มคนที่ใช้ความสามารถทางปัญญาเป็นส่วนมากในการประกอบอาชีพและทำกิจกรรม ต่างๆ สมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาส่วนมากจึงเป็นอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา และนักวิชาการในแขนงวิชาต่างๆ การสื่อสารในกลุ่มผ่านทางการประชุม สัมมนา งานวิจัย และบทความวิชาการที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการเป็นสำคัญ
การ เป็นสมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญานั้นไม่ต้องมีการกรอกใบสมัคร ไม่มีการจดทะเบียน และไม่มีแม้กระทั่งการประชุมประจำปี แต่เป็นความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ที่สังคมยอมรับให้เป็นผู้ทรงปัญญา สามารถใช้ความคิด ความรู้ ความเห็นของคนเหล่านั้นเป็นแหล่งอ้างอิง หรือชี้นำทางวิชาการให้กับสังคมได้ การเป็นที่พึ่งทางวิชาการให้กับสังคมโดยนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ เริ่มเป็นที่ประจักษ์มากขึ้นในสังคมไทย ดูได้จากเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในสังคม สื่อมวลชนจะเชิญนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง นั้นอย่างดีมาเป็นผู้ให้ความรู้ความเข้าใจกับสังคม ตัวอย่างเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือข้อพิพาทต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและระหว่างประเทศ นักวิชาการเหล่านั้นจะสามารถให้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
การ เป็นที่พึ่งทางวิชาการให้กับสังคมนั้นได้ถูกกำหนดไว้เป็นภารกิจหนึ่งในสี่ ของสถาบันอุดมศึกษา คือ การบริการทางวิชาการให้กับสังคม ภารกิจอื่นๆ อีกสามภารกิจได้แก่ ผลิตบัณฑิต วิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ความรับผิดชอบในการบริการทางวิชาการจึงทำให้สมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาส่วน มากจึงอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากสมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาไม่มีกฎ กติกา หรือระเบียบวินัยเป็นลายลักษณ์อักษร สำนึกแห่งตนจึงมีความสำคัญมาก การแสดงความรู้ ความคิดเห็นให้กับสังคมจึงจำเป็นต้องมีความระมัดระวัง ปราศจาก อคติต่าง ๆ ทั้ง 4 ประการได้แก่ โกรธ ชอบ หลง และ กลัว สังคมจึงจะได้ประโยชน์จากการใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการอย่างแท้จริง
อย่าง ไรก็ตาม วิถีชีวิตของนักวิชาการหรือนักปรัชญาผู้ยึดมั่นในภูมิปัญญาแห่งตนจำนวนมากใน อดีต เช่น Socrates, Plato, Aristotle, และ Galileo อาจจะสร้างความน่าหวาดกลัวภัยที่เกิดขึ้นจากการแสดงทรรศนะ ความคิด ความเห็นของตนต่อสังคม แต่การเรียนรู้ในวิถีชีวิตและความเป็นไปของสังคมในแต่ละยุคสมัยจะช่วยให้ สมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาสามารถปรับตัว และเลือกใช้ช่องทางการเผยแพร่ความรู้ ความคิดอย่างบริสุทธิ์ใจของตนได้อย่างปลอดภัย
ในโอกาสที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีพัฒนาการทางด้านการศึกษาถึงระดับที่สามารถผลิตดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกในหลายสาขาวิชาได้โดยไม่ต้องข้ามน้ำ ข้ามทะเลไปศึกษาในต่างประเทศ ในแต่ละปีมีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวนมากขึ้นๆ นั่นหมายถึงการเพิ่มขึ้นของสมาชิกชุมชนผู้ทรงปัญญา สังคมไทยจะได้มีที่พึ่งทางวิชาการจากสมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญามากขึ้นภาย ใต้บริบทของสังคมไทย โดยไม่ต้องพึ่งภูมิปัญญาต่างชาติ หรือภูมิปัญญานำเข้าซึ่งได้ประจักษ์หลายครั้งหลายเรื่องว่าไม่อาจแก้ปัญหา ให้กับสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังได้สร้างปัญญาใหม่ให้กับสังคมไทยอีกด้วย
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกมานานกว่า 20 ปี ผลิตนักวิชาการและนักวิชาชีพตั้งแต่ระดับช่างฝีมือ ช่างเทคนิค และระดับวิชาชีพชั้นสูง รับใช้สังคมมาเป็นเวลาช้านานนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2502 เคยเป็นที่รู้จักในนาม "เทคนิคไทย-เยอรมัน" และในปี พ.ศ. 2556 มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรให้กับผู้สำเร็จการศึกษาในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556 ในปีนี้มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตหรือปริญญาเอกหลายสาขาวิชา
“Community of Scholars” ยังได้ถูกนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ เช่นนำไปใช้เป็นชื่อของหลักสูตร โครงการ สถาบันหรือหน่วยงาน รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดกันโดยมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางปัญญาหรือการใช้สติ ปัญญาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จนทำให้ Community of Scholars มีความหมายมากกว่าความหมายตามตัวอักษร
“ชุมชนผู้ทรงปัญญา” เป็นการให้ความหมายในภาษาไทยที่ค่อนข้างโน้มเอียงไปตามตัวอักษร การขยายความจึงมีความจำเป็นเพื่อความเข้าใจร่วมกันสำหรับการกล่าวถึงชุมชน ผู้ทรงปัญญาในแต่ละกลุ่มสังคม หรือกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เนื่องจากกระบวนการทางสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบันไม่ส่งเสริมการแบ่งแยก ชนชั้น หรือการแยกกลุ่มตามสถานภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา ถึงแม้ว่าความแตกต่างเหล่านั้นมีปรากฏอยู่จริงในทุกสังคม แต่การพยายามเพื่อขจัดความแตกต่างมีอยู่ในทุกสังคมเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การยอมรับสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคลอย่างเท่าเทียมกันในการได้รับสวัสดิการ จากรัฐ จากการบังคับใช้กฎหมาย หรือจากการบริการสาธารณะต่าง ๆ
อย่าง ไรก็ตาม กลุ่มบุคคล ที่มีความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น เชื้อชาติเดียวกัน ศาสนาเดียวกัน หรือความสนใจเหมือนกันก็จะรวมกันเป็นชุมชนทั้งที่เป็นรูปนัย เช่น ชมรม สมาคม และยังมีชุมชนที่เป็นอรูปนัยหรือไม่มีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ไม่มีสถานที่ตั้ง ไม่มีการจดทะเบียนหรือมีกฎหมายรับรอง ตัวอย่างเช่น ชุมชนผู้ทรงปัญญา เป็นชุมชนอรูปนัย เป็นชุมชนที่สมาชิกของชุมชนมีเพียงความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นผู้ที่อยู่ใน กลุ่มคนที่ใช้ความสามารถทางปัญญาเป็นส่วนมากในการประกอบอาชีพและทำกิจกรรม ต่างๆ สมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาส่วนมากจึงเป็นอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา และนักวิชาการในแขนงวิชาต่างๆ การสื่อสารในกลุ่มผ่านทางการประชุม สัมมนา งานวิจัย และบทความวิชาการที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการเป็นสำคัญ
การ เป็นสมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญานั้นไม่ต้องมีการกรอกใบสมัคร ไม่มีการจดทะเบียน และไม่มีแม้กระทั่งการประชุมประจำปี แต่เป็นความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ที่สังคมยอมรับให้เป็นผู้ทรงปัญญา สามารถใช้ความคิด ความรู้ ความเห็นของคนเหล่านั้นเป็นแหล่งอ้างอิง หรือชี้นำทางวิชาการให้กับสังคมได้ การเป็นที่พึ่งทางวิชาการให้กับสังคมโดยนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ เริ่มเป็นที่ประจักษ์มากขึ้นในสังคมไทย ดูได้จากเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในสังคม สื่อมวลชนจะเชิญนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง นั้นอย่างดีมาเป็นผู้ให้ความรู้ความเข้าใจกับสังคม ตัวอย่างเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือข้อพิพาทต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและระหว่างประเทศ นักวิชาการเหล่านั้นจะสามารถให้ความเข้าใจได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
การ เป็นที่พึ่งทางวิชาการให้กับสังคมนั้นได้ถูกกำหนดไว้เป็นภารกิจหนึ่งในสี่ ของสถาบันอุดมศึกษา คือ การบริการทางวิชาการให้กับสังคม ภารกิจอื่นๆ อีกสามภารกิจได้แก่ ผลิตบัณฑิต วิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ความรับผิดชอบในการบริการทางวิชาการจึงทำให้สมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาส่วน มากจึงอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากสมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาไม่มีกฎ กติกา หรือระเบียบวินัยเป็นลายลักษณ์อักษร สำนึกแห่งตนจึงมีความสำคัญมาก การแสดงความรู้ ความคิดเห็นให้กับสังคมจึงจำเป็นต้องมีความระมัดระวัง ปราศจาก อคติต่าง ๆ ทั้ง 4 ประการได้แก่ โกรธ ชอบ หลง และ กลัว สังคมจึงจะได้ประโยชน์จากการใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการอย่างแท้จริง
อย่าง ไรก็ตาม วิถีชีวิตของนักวิชาการหรือนักปรัชญาผู้ยึดมั่นในภูมิปัญญาแห่งตนจำนวนมากใน อดีต เช่น Socrates, Plato, Aristotle, และ Galileo อาจจะสร้างความน่าหวาดกลัวภัยที่เกิดขึ้นจากการแสดงทรรศนะ ความคิด ความเห็นของตนต่อสังคม แต่การเรียนรู้ในวิถีชีวิตและความเป็นไปของสังคมในแต่ละยุคสมัยจะช่วยให้ สมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาสามารถปรับตัว และเลือกใช้ช่องทางการเผยแพร่ความรู้ ความคิดอย่างบริสุทธิ์ใจของตนได้อย่างปลอดภัย
ในโอกาสที่ประเทศไทย ปัจจุบันมีพัฒนาการทางด้านการศึกษาถึงระดับที่สามารถผลิตดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกในหลายสาขาวิชาได้โดยไม่ต้องข้ามน้ำ ข้ามทะเลไปศึกษาในต่างประเทศ ในแต่ละปีมีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจำนวนมากขึ้นๆ นั่นหมายถึงการเพิ่มขึ้นของสมาชิกชุมชนผู้ทรงปัญญา สังคมไทยจะได้มีที่พึ่งทางวิชาการจากสมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญามากขึ้นภาย ใต้บริบทของสังคมไทย โดยไม่ต้องพึ่งภูมิปัญญาต่างชาติ หรือภูมิปัญญานำเข้าซึ่งได้ประจักษ์หลายครั้งหลายเรื่องว่าไม่อาจแก้ปัญหา ให้กับสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังได้สร้างปัญญาใหม่ให้กับสังคมไทยอีกด้วย
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกมานานกว่า 20 ปี ผลิตนักวิชาการและนักวิชาชีพตั้งแต่ระดับช่างฝีมือ ช่างเทคนิค และระดับวิชาชีพชั้นสูง รับใช้สังคมมาเป็นเวลาช้านานนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2502 เคยเป็นที่รู้จักในนาม "เทคนิคไทย-เยอรมัน" และในปี พ.ศ. 2556 มีพิธีพระราชทานปริญญาบัตรให้กับผู้สำเร็จการศึกษาในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556 ในปีนี้มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตหรือปริญญาเอกหลายสาขาวิชา
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
มีระบบการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการผลิตนักศึกษาหลายขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอก
เพื่อต้องการให้มีสมาชิกของชุมชนผู้ทรงปัญญาที่มีคุณภาพ และถือเป็นโอกาสที่ดีในการต้อนรับสมาชิกใหม่ของชุมชนผู้ทรงปัญญา
และฝากความหวังกับสมาชิกชุมชนผู้ทรงปัญญาในปัจจุบันให้เป็นที่พึ่งให้กับ สังคมรวมทั้งสมาชิกใหม่
เพื่อร่วมมือกันพัฒนาชาติบ้านเมืองและสังคมให้โลกนี้น่าอยู่สืบไป
โดย รองศาสตราจารย์
ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556
หลักสูตรการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีผลการประเมิน "ผ่าน" จากการตรวจประเมินโดย ผู้ทรงคุณวุฒิในปีงบประมาณ 2555 และได้รับการ รับทราบแล้วโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยศิลปากร 2 หลักสูตร
- ลำดับที่ 27หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ลำดับที่ 28 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ที่มา : http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/off-campus/data_15-02-56.pdf
- ลำดับที่ 27หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ลำดับที่ 28 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ที่มา : http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/off-campus/data_15-02-56.pdf
วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556
คำถาม 15 ข้อที่คาใจ : EdPEx
1. ได้ยินว่า จะนำ EdPEx
มาใช้กับสถาบันอุดมศึกษา แล้วจะเอา QA ไปทิ้งไว้ที่ไหน
ถ้าจะตอบว่าไม่ทิ้ง
ก็คงจะหงุดหงิด เรามาตั้งต้นกันอย่างนี้นะคะ
QA คือ
ระบบประกันคุณภาพที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องกำกับดูแลกันตามลำดับชั้น
-สำหรับการประกันคุณภาพภายใน
เกณฑ์และตัวบ่งชี้เป็นข้อกำหนดตามกฎกระทรวง
-สำหรับการประกันคุณภาพภายนอก
เกณฑ์และตัวบ่งชี้กำหนดโดย สมศ
สถาบันอุดมศึกษายังคงต้องทำ QA ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อทำ QA ไประยะหนึ่งแล้ว
หากสถาบันต้องการเครื่องมือเพื่อพัฒนาคุณภาพองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและเชื่อมโยงระหว่างเรื่องที่จำเป็นที่ต้องสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน
ทั้งในการวางแผน การปฏิบัติ และการติดตามผล เกณฑ์ EdPEx จะเป็นกรอบคุณภาพที่จะแก้ข้อจำกัดนี้ได้
ซึ่งเป็นไปตามความสมัครใจของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ ไม่ใช่เกณฑ์บังคับ
2. EdPEx คืออะไร
EdPEx ย่อมาจาก
“Education Criteria for Performance Excellence” หรือ“เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ” ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์
Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ
(Thailand Quality Award: TQA) เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทำให้มอง/คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด)
และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน
จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบันของเราจริงๆ
แม้เกณฑ์
Baldrige จะมี 3 ฉบับ คือ
ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ภาคการดูแลสุขภาพ และภาคการศึกษา แต่ทั้ง
3 ฉบับเป็นเรื่องเดียวกัน มีหลักการต่างๆ เหมือนกัน ทุกประการ
จะแตกต่างก็เพียงศัพท์เฉพาะสาขาเท่านั้น เช่น แทนที่จะใช้คำว่าลูกค้า
เพียงอย่างเดียว ในเกณฑ์ EdPEx จะใช้คาว่า ‘ผู้เรียน’ ในหลายๆตอนด้วย สำหรับในภาคธุรกิจ
ผู้รับบริการ คือ ลูกค้า ภาคสุขภาพ ผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วย
3. คนไทยเราชอบเลียนแบบฝรั่ง
โดยไม่ดูว่าจะเข้ากับเราได้มากน้อยแค่ไหน ในกรณีของ EdPEx นั้น
เป็นการนำเกณฑ์ Baldrige มาใช้ทั้งหมดอีกแล้ว
จะเหมาะกับไทยหรือไม่
ต้องเรียนว่าเกณฑ์นี้ได้นำมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่
ปี 2545 โดยปรับเป็นไทย
และใช้ชื่อว่าเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เรามาพิจารณาที่คุณค่าของเกณฑ์กันดีกว่าค่ะ
ถ้าเรื่องใดทำให้เราสามารถพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
และเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันได้อย่างก้าวกระโดด ก็อย่าไปสนใจเลยค่ะว่าได้มาอย่างไร
เกณฑ์ Baldrige เป็นเกณฑ์ที่ชี้แนะว่า
เรื่องไหนมีความสำคัญต่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศขององค์กร โดยจะเสนอข้อคำถามให้เราค้นหาคำตอบเอง
ไม่ระบุตัวบ่งชี้ และไม่บังคับให้ต้องใช้เครื่องมือใดๆ เพราะบริบทขององค์กร/สถาบัน แต่ละแห่งจะแตกต่างกัน
มหาวิทยาลัย/คณะ ของเราต้องมาตั้งต้นตอบคำถามด้วยกันเองว่า สถาบันของเรา
มีคุณลักษณะที่สาคัญและสภาวะการณ์เชิงกลยุทธ์ของสถาบันเป็นอย่างไร เราจะกำหน ด
กลยุทธ์และแนวทางต่อไปอย่างไร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้
และแม้ว่าเราจะศึกษาจากรายงานของสถาบันอุดมศึกษาของต่างชาติที่ได้รางวัล
หรือของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ได้เริ่มนำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้มาลองปรับใช้
เราก็จะพบเองว่าเรื่องของคุณภาพลอกกันเต็มๆไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อม จุดเด่น
บุคลากร สมรรถนะหลัก ฯลฯ ของแต่ละองค์กร ไม่เหมือนกัน เกณฑ์ EdPEx นี้ จึงเหมาะกับทุกแห่งที่มีผู้นำและประชาคมซึ่งต้องการจะพัฒนาสถาบัน
อย่างมีระบบแบบประสานสัมพันธ์ ในทุกด้านของการจัดการอุดมศึกษา
ให้สอดคล้องกับกำลังความสามารถ จุดเน้นและความพร้อมที่แท้จริงของตน
ฟังดูแล้วอาจจะยากขึ้นไปอีกนะคะ
แต่ก็ต้องเรียนว่า สำหรับสถาบันการศึกษา ในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่า
การพัฒนาคุณภาพดำเนินมาระยะหนึ่งแล้ว อันที่จริงคือ เรามีคุณภาพในระดับหนึ่งแล้ว
ทำไมเราไม่มาช่วยกันหาคำตอบเพื่อเป็นต้นแบบและทางเลือก ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งๆขึ้นไปดีกว่าไหมคะ
4. ถ้าใช้ EdPEx
แล้ว ไม่เห็นปลายทางที่สิ้นสุด ทำให้สิ้นหวังตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำ
จะทำยังไงดี
การพัฒนาคุณภาพด้วยความเป็นเลิศ
ไม่ว่าจะด้วยระบบใดก็ตาม เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
จึงไม่มีจุดสิ้นสุดตราบใดที่เรายังทำงานอยู่ แต่องค์กรจะได้เห็น
การพัฒนาของตนเองอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงานที่ดีขึ้น
หรือผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น เมื่อเห็นแล้ว เราจะรู้สึกสนุก สนใจค้นคว้าเพิ่มเติม
และสื่อสารระหว่างกันมากยิ่งขึ้น โดยจะไม่หยุดพัฒนาเอง เหมือนการท่องเที่ยวที่เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ปลายทาง
แต่อยู่ที่ความสวยงามของเส้นทางที่เดินไป
การล้มเลิกตั้งแต่ต้น
เท่ากับว่า เราหยุดการพัฒนาตนเองและสถาบัน
ซึ่งจะทำให้สถาบันของเราถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ เพราะมหาวิทยาลัยอื่นๆ
จะมีพัฒนาการต่อเนื่อง และอาจจะทำให้ การอุดมศึกษาไทยมีโอกาสน้อยลงๆที่จะแข่งขันหรือได้รับการยอมรับจากนานาชาติได้เต็มที่อีกด้วย
5. สถาบันอุดมศึกษา
มีหน้าที่ต้องทำวิจัยด้วย ในเกณฑ์ EdPEx ไม่เห็นพูดไว้ที่ไหนเลย
นี่ละค่ะ
เป็นตัวอย่างที่สาคัญมากเลย สมมติว่า มหาวิทยาลัยของเรากำหนดตัวเอง
ว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย พันธกิจที่สาคัญ 1 พันธกิจ
ก็คือการวิจัยถูกไหมคะ ก็มีอยู่แล้วไง ในโครงร่างองค์กร ที่เราต้องดูต่อก็คือ
เรามีความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ มากน้อยเพียงใด
สมรรถนะหลักของเราคือการวิจัย หรือ ถ้าไม่ใช่ แล้วจำเป็นก็ต้องสร้าง
โดยกลุ่มผู้นำต้องไปกำหนดไว้เป็นวิสัยทัศน์และสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้องในหมวด
1 กาหนดไว้เป็นแผนกลยุทธ์ ในหมวด 2 กำหนดตัวชี้วัดในหมวด
4 สร้างกระบวนการในหมวด 6 พัฒนาบุคลากร ในหมวด
5 หาลูกค้าซึ่งอาจหมายถึงผู้ให้ทุนหรือผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในหมวด
3 และแสดงผลลัพธ์ในหมวด 7 ส่วนวิธีการจะเป็นอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จและเป็นเลิศ
ตรงนี้ทุกคนในองค์กรต้องช่วยกันค่ะ สถาบันใดทำได้ดีกว่าเร็วกว่า
ก็มาแบ่งปันวิธีการกัน เพื่อให้สถาบันเพื่อนๆได้แสวงหาแนวทางใหม่ๆ
มาแลกเปลี่ยนกันต่อไป
ที่บอกว่า
EdPEx ไม่ได้กล่าวถึงการวิจัย หากดูในอภิธานศัพท์ในหนังสือ เกณฑ์
EdPEx คาว่า “หลักสูตร
และบริการที่ส่งเสริมการเรียนรู้” ได้รวมถึงการวิจัยด้วย
แต่มหาวิทยาลัยจะให้น้ำหนักเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละสถาบัน
นี่คือตัวอย่างที่ดีของความหมายของคาว่าบริบท
เกณฑ์ EdPEx จะไม่กำหนดว่า
เรื่องใดเป็นหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา อยู่ที่ผู้นาไปใช้ที่จะพิจารณาเองว่า
ในสถาบัน ของตนนั้น มีพันธกิจสาคัญด้านใด และเป็นเรื่องที่ตกลงกันเองในสถาบัน
ถ้าเห็นว่า มหาวิทยาลัยของเราต้องเน้นด้านวิจัยอย่างมาก
เพื่อให้โดดเด่นขึ้นหรือเพื่อให้ทุกคนเพิ่มความสาคัญและมุ่งงานด้านวิจัยให้มากขึ้น
มหาวิทยาลัย/คณะของเราเองจะต้องกาหนด ให้ชัดขึ้น
ตามแนวคิดที่เราอยากทำและอยากเน้น
6. ทำให้เกณฑ์
EdPEx เข้าใจง่ายขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่
เคยมีผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพบอกไว้ว่า
คุณภาพไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง ถ้าเป็นหลักธรรมก็ต้องปฏิบัติค่ะ จึงจะรู้แจ้ง
การรวมกลุ่มกันลงมือทำเอง ความจริงอยากจะเรียกว่า ศึกษาร่วมกัน
แลกเปลี่ยนถกแถลงกัน จะทำให้ ยิ่งเข้าใจได้ลึกซึ้งขึ้นและคงต้องอ่าน
ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยคู่กันไป ถ้ายังไม่เข้าใจตรงจุดไหน
ก็อาจจะอ่านเอกสารเพิ่มเติมจากองค์กรที่ได้รับรางวัลที่จะให้แนวปฏิบัติซึ่ง
จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ที่จริง
มีความพยายามอยู่เหมือนกัน
แต่คงร่วมมือกันที่จะช่วยกันรวบรวมและเขียนตัวอย่างต่างๆ เพื่อประกอบกับหมวด/หัวข้อในเกณฑ์ ซึ่งน่าจะช่วยได้อีกทางหนึ่ง
7. ไม่ชอบเลยที่ในเกณฑ์
EdPEx ใช้คาว่า ‘ลูกค้า’ แทนที่จะเรียกว่า ‘ผู้เรียน’
หากดูในอภิธานศัพท์ในหนังสือเกณฑ์
EdPEx คาว่า”ลูกค้า” หมายถึง
ผู้เรียนและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถาบัน เช่น คู่ความร่วมมือ ผู้ปกครอง
ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สถาบันมีมุมมองที่กว้างขึ้น
เมื่อจะกำหนดหลักสูตรหรือจัดการเรียนการสอน
จะต้องตอบสนองต่อความต้องการและสร้างความสัมพันธ์กับใครบ้าง
สำหรับผู้ที่ “แพ้” คำว่า “ลูกค้า” เรื่องนี้อาจต้องทำใจ คิดเสียว่า เป็นศัพท์อีกคำ ที่เตือนใจว่า
หน้าที่ของเราที่มีต่อผู้เรียนนั้น มีความหมายที่เพิ่มจากความเข้าใจเดิมในอดีต
ที่ให้คุณค่าของความลึกซึ้งของคาว่า ‘ครู’ และ ‘ลูกศิษย์’ เมื่อมีทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง
มีเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และบุคลากร และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่รวดเร็ว
พฤติกรรมของผู้เรียนในปัจจุบัน ก็ย่อมมีความแตกต่างไปได้ ซึ่งอาจต้องพิจารณาว่า
เป็นบทบาทของคณาจารย์สมัยใหม่ใช่หรือไม่ ที่ต้องสร้างจิตสำนึกของการเคารพความเป็น
‘ครูอาจารย์’ และที่แน่ๆ
ต้องเป็นตัวอย่างของคนคุณภาพ เพื่อให้เกิดการยอมรับและเคารพยกย่อง
เพราะไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยอัตโนมัติอีกต่อไป
8. ไม่ชอบการใช้คำว่า
“คู่แข่ง” ทางด้านการศึกษา เกรงว่าจะสร้างบรรยากาศการไม่ให้ความร่วมมือ
เป้าหมายของการใช้คำว่า “คู่แข่ง” เพื่อให้มีการเปรียบเทียบในการพัฒนาหรือแข่งกันทำดี
รวมถึงการหาแนวปฏิบัติและผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ แต่หากไม่ชอบจริงๆ
อาจจะใช้คำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น “คู่เทียบเคียง”
และการใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ
อาจเป็นข้อมูลจากองค์กรภายนอกวงการศึกษาก็ได้
9. ทำไมต้องตอบทุกหมวดทุกข้อ
ใครว่า! ไม่มีความจำเป็นเลย จริงๆแล้วไม่ต้องตอบทุกหมวดก็ยังได้
เลือกเอาเฉพาะที่เห็นว่ามีความสำคัญและจะช่วยพัฒนาองค์กรไปอย่างก้าวกระโดด
อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการจะพัฒนาสถาบันให้เป็นเลิศ
สุดท้ายแล้วก็ต้องประเมินตนเองจนครบทุกหมวด เพื่อทำแผนปรับปรุง
สำหรับผู้เริ่มแรก
อย่าเริ่มด้วยความพยายามที่จะตอบคำถามย่อยทุกคำถาม
แต่ควรเริ่มจากความพยายามเข้าใจสถาบันของตนเอง เมื่อยังไม่ค่อยเข้าใจ
ก็อาจจะเริ่มจาก การถกเถียงและหาคำตอบร่วมกันจากคาถามหลักๆ ในแต่ละหมวด
โดยอิงกับข้อมูลในหน้า 58 เช่น ในหมวด 1.1 ลองตอบคำถามตามลำดับความซับซ้อนดังนี้
- เมื่อยังเพิ่งเริ่มใช้เกณฑ์
ตอบคำถามว่า ผู้นำระดับสูงนำสถาบันอย่างไร ซึ่งเป็นคาถามที่ปรากฏต่อจากหัวข้อ
1.1 ที่ตามเกณฑ์ EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดพื้นฐาน’
- พอเริ่มเข้าใจและมีข้อมูลในสถาบันที่ชัดเจนขึ้น
ตอบคำถามว่า ให้อธิบายถึงกระทำโดยผู้นำระดับสูง
ในการชี้นำและทำให้สถาบันมีความยั่งยืน
รวมทั้งอธิบายวิธีการที่ผู้นำระดับสูงสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงาน
และส่งเสริมให้มีผลการดาเนินการที่ดียิ่งขึ้น ที่ตามเกณฑ์ EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดโดยรวม’
- เมื่อเชี่ยวชาญขึ้น
จึงเริ่มตอบในรายละเอียด ตามข้อ ก ข้อ ข.......... ที่ตามเกณฑ์
EdPEx เรียกว่า ‘ข้อกำหนดต่างๆ
ที่เป็นคำถามในแต่ละประเด็นเพื่อพิจารณา’ ซึ่งในหมวด
1.1 คือคำถามเช่น
ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจ
(1) ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์
และค่านิยมของสถาบัน และถ่ายทอดวิสัยทัศน์
และค่านิยมดังกล่าวโดยผ่านระบบการนำสถาบันไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน คู่ความร่วมมือ การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อค่านิยมของสถาบันอย่างไร
10. ต้องเขียนเป็นเล่มๆหรือไม่
ไม่จำเป็นเลยค่ะ
วัตถุประสงค์ของโครงการนาร่องนี้ ไม่ใช่การมีรายงานส่ง
ดังนั้นอาจเพียงสรุปเป็นข้อความสั้นๆ ที่เข้าใจง่ายก็เพียงพอ หรือเขียนเป็นข้อๆ
เพื่อไว้เตือนตนเองว่าขณะนี้เราอยู่ที่ใด และจะต้องพัฒนาตนเองไปในทิศทางใด
เรื่องอะไรบ้าง
เกณฑ์
EdPEx นี้ใช้เพื่อการประเมินตนเอง เพราะฉะนั้น
สิ่งสำคัญที่สุดคือความเข้าใจ ‘ตัวตน’ ที่แท้จริงของสถาบันของเรา
เพื่อจะได้พัฒนา ปรับปรุง และมุ่งสู่ทิศทาง
ที่ถูกต้องที่สุดเท่าที่เราสามารถระบุและกระทำได้ ถ้ามีข้อมูลและประเด็นที่เราคิดว่า
จาเป็นต้องรู้
ต้องบันทึกเพื่อให้เข้าใจตรงกันและเพื่อทำงานด้วยกันในทิศทางเดียวกัน
ก็ควรจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่จาเป็นต้อง ‘ประพันธ์’
ยืดยาว ซึ่งอาจจะมี แต่ ‘น้า’ มากกว่า ‘เนื้อ’ และเสียเวลาเปล่าๆ
แต่ถ้าไม่เขียนก็จะลืม แล้วก็มาตั้งต้นใหม่อีกนะคะ
11. ทำไมเกณฑ์
EdPEx ไม่กำหนดตัวบ่งชี้ หรือระบุวิธีการตอบคำถามให้ชัดๆว่า
คำตอบไหนเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ความสำเร็จและความเป็นเลิศน่าจะแปรตามอัตลักษณ์ขององค์กรนะคะ
จริงอยู่ ตัวบ่งชี้พื้นฐานบางตัว อาจเป็นตัวเดียวกันในทุกองค์กร ลองถามตัวเองดูว่าเคยหงุดหงิด
บ้างไหม เวลามีใครมาสั่งให้เก็บ/รายงานตัวนั้นตัวนี้
ทั้งๆที่ตัวบ่งชี้เหล่านั้นไม่ได้แสดงความสำเร็จขององค์กรเลย
ทีเรื่องที่เราเก่งกลับไม่ถาม เช่น ถามว่าเงินทุนวิจัยภายในภายนอกเพิ่มขึ้นไหม
ความจริง ภายนอกน่าจะเพิ่มขึ้น ภายในน่าจะลดลง เพราะแสดงถึงศักยภาพในการแสวงหาทุน
ก็เห็นบ่นๆกันอยู่ ตอนนี้ได้คิดเองแล้วละค่ะ ว่าอยากแสดงอะไร
ที่สื่อความสาเร็จตามแผนกลยุทธ์ แล้วถ้าไม่มีใครในบ้านเราทำเรื่องนี้
ก็ลองหาข้อมูลเปรียบเทียบกับ idol ของเรา
ก็ย่อมได้นะคะ เหมือนแข่งกีฬาไงคะ จากกีฬามหาวิทยาลัย ในบ้านเป็นกีฬามหาวิทยาลัยโลกไง
การดำเนินการตามเกณฑ์
EdPEx ไม่ใช่การให้คำตอบหรือการกำหนดให้ทำตาม ตัวบ่งชี้
เรื่องนี้จึงอาจขัดใจคนหลายกลุ่มที่เคยชินกับการได้รับคำสั่งชัดเจน
คนในสถาบันต้องสร้างความเคยชินขึ้นใหม่โดยร่วมกันคิดหา ตัวบ่งชี้เอง
เพราะการมีบริบทของ แต่ละองค์กรแตกต่างกัน
ทาให้เป็นไปไม่ได้ที่จะมีตัวบ่งชี้เหมือนกันทุกตัวหมดทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม
อาจจะมีตัวบ่งชี้ร่วม บางด้านในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาได้ เช่น
อัตราการมีงานทำ ของบัณฑิต ซึ่งแม้แต่ในเรื่องนี้ บางสถาบันก็อาจจะเห็นว่า
ไม่แม่นตรงกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของตนเต็มที่ที่มุ่งสู่ความเป็นอาเซียน
โดยอาจกำหนดว่า
อัตราการมีงานทำของบัณฑิตต้องเป็นไปตามสายงานในบริษัทข้ามงานในอาเซียน ก็ย่อมได้
เป็นต้น
12. การนำ EdPEx
มาใช้จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับมหาวิทยาลัยหรือไม่
เป็นคำถามที่ผู้ถามรู้คำตอบอยู่แล้วค่ะ
แต่ต้องคิดให้ดีว่าคุ้มที่จะลงทุนไหม
มีงานใหม่ตั้งหลายอย่างที่เรารับทำโดยไม่รู้ที่มาที่ไป และยังมองไม่เห็นอนาคต
ก้มหน้าก้มตาทาไปเรื่อยๆ ถ้าทำสิ่งที่คิดแล้วว่าจะทำให้มหาวิทยาลัย
ที่เราเป็นสมาชิกพัฒนาได้เร็วขึ้น ดีขึ้น ถ้าไม่ช่วยกันทำ ขณะที่คนอื่นเดินไปข้างหน้า
เราคงไม่เพียงแต่หยุดนิ่ง แต่เดินถอยหลังค่ะ แล้วก็อย่ามองเฉพาะรอบๆ ตัว
มองให้ไกลไปสู่ระดับสากลด้วยนะคะ เพราะเกณฑ์ EdPEx ช่วยชี้นำให้สถาบันทาในสิ่งที่เป็นพันธกิจอย่างมีคุณภาพ
โดยมองถึง‘สิ่งที่วาดหวัง’ กำลัง
ความสามารถและสิ่งที่ท้าทายของสถาบันทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งจะครอบคลุม
เรื่องหลักๆ ทั้งการประเมินคุณภาพภายในและภายนอก
ซึ่งหากสถาบันอุดมศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่จะเอื้อต่อการประกันคุณภาพในรูป
แบบต่างๆได้ ก็จะช่วยให้ประชาคมของสถาบันสามารถดำเนินการตามข้อกำหนดได้สะดวกขึ้น
13. ทำไมไม่ส่งเสริมให้สมัครขอรับรางวัล
โครงการนำร่องโดยใช้เกณฑ์
EdPEx นี้ เน้นให้สถาบันได้ประเมินตนเองอย่างตรงไปตรงมา
เพื่อวางแผนพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด
ซึ่งมีความหมายมากกว่าการประเมินเพื่อรับรางวัล
แต่หากสถาบันใดคิดว่าพัฒนาตนเองถึงระดับหนึ่ง
ก็อาจสมัครเข้ารับรางวัลคุณภาพแห่งชาติได้
14. จะได้อะไรจากการใช้
EdPEx ต่อเนื่อง
หากใช้เกณฑ์
EdPEx อย่างเข้าใจและต่อเนื่อง โดยประสานกับทุกระดับได้อย่างดี
จะทำให้เกิดการสื่อสารที่ดี
ผู้นำและบุคลากรมีความสุขในการทำงานและต่อยอดความรู้ต่อเนื่อง
เกิดความภูมิใจที่ได้รับรู้ภาพรวมของมหาวิทยาลัยและร่วมเป็นกำลังสาคัญของสถาบัน
ของตนอย่างเต็มที่ เต็มใจ ทุกจุด มีการพัฒนาตนเองทั้งผู้นำ บุคลากร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเข้ามาศึกษาในสถาบัน
รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เช่น ผู้ใช้บัณฑิต พ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน
โรงเรียนที่เป็นผู้ป้อนนักเรียนให้สถาบัน คู่ความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ
เป็นต้น พลังการประสานสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ
จะสามารถทำให้สถาบันอุดมศึกษาไปสู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืนด้วยความสามารถของทุกคนในประชาคมเป็นแกนสำคัญ
15. ถ้าโครงการนี้จบ
18 เดือนแล้ว จะมีอะไรต่อ
สกอ.มีโครงการที่จะต่อยอดอีกระดับหนึ่งให้กับสถาบันที่มีผลการดำเนินงานพัฒนาตนเอง
ในโครงการนาร่องตามเป้าหมาย
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
และจะนำบทเรียนนี้ไปขยายผลให้กับสถาบันอื่นที่มีความสนใจต่อไป
****************************************
ขอบพระคุณ ศ.อาวุธ ศรีศุกรี รศ.นันทนา ศิริทรัพย์
ผอ.พรทิพย์ กาญจนนิยต และดร.บุญดี บุญญากิจ
ที่ได้ช่วยตอบคำถามทั้ง 14 ข้อ
และ คุณโชติมา
ใช้เทียมวงศ์ และคุณลักขณา ดอกเขียว
ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์
EdPEx Website: http://www.mua.go.th/users/bhes/edpex/
Facebook: edpex
ที่มา : http://www.mua.go.th/users/bhes/edpex/doc/15faq.pdf
การสอนให้มีความอดทนรอคอย (Delayed Gratification)
อาการของผู้ที่ “รอไม่ได้” มีปรากฏให้เห็นเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนบ่อยครั้งและสร้างความเสียหายให้กับ
ตนเองและผู้อื่น ความเสียหายอาจเป็นทั้งระดับบุคคล ระดับหน่วยงาน ระดับสังคม
ไปจนถึงระดับชาติถ้าผู้รับผิดชอบมีอาการ “รอไม่ได้” เกิดขึ้น อาการ “รอไม่ได้” เป็นอาการของผู้ขาด
“ความอดทนรอคอย” ซึ่งนอกจากจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำแล้วยังเป็นมงคลสำหรับบุคคล
ทั่วไปที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ความอดทนรอคอย หมายถึง สมรรถนะในการต่อสู้กับความรู้สึกต้องการที่จะได้รับในทันที และสามารถอดทนรอคอยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Delayed Gratification หรือ Deferred Gratification การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความอดทนรอคอยที่ได้รับการอ้างอิงกว่า 400 ครั้งคือ Stanford Marshmallow Experiment ซึ่ง Walter Mischel เริ่มต้นทำการศึกษาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1970 และมีการศึกษาติดตาม (Follow-up Study) เป็นระยะ ๆ จนถึงล่าสุดปี ค.ศ. 2012 และคาดว่าจะมีการศึกษาต่อไปอีก แต่การศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการดูผลของความแตกต่างที่เกิดขึ้นของผู้ที่มี สมรรถนะในการอดทนรอคอยตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ไม่มีการจัดกระทำ หรือไม่มีการสอนให้มีสมรรถนะความอดทนรอคอยเกิดขึ้น
Walter Mischel เกิดที่กรุง Vienna ประเทศ Austria ลี้ภัยมาสหรัฐอเมริกากับพ่อแม่เมื่อพวกนาซีบุกเข้าประเทศ Austria ในปี ค.ศ. 1938 และมาเติบโตที่ เมือง Brooklyn มลรัฐ New York เป็นผู้เริ่มศึกษาความอดทนรอคอยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาที่ Ohio State University ซึ่งเขาจบ Ph.D. สาขา Clinical Psychology เมื่อปี ค.ศ. 1956 ต่อมาเขาได้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Stanford University การศึกษาวิจัยของเขาเริ่มทดลองด้วยการนำเด็กอนุบาลที่มีอายุเฉลี่ย 4-6 ปีจาก Bing Nursery School ที่อยู่ใน Stanford University นำมาไว้ในห้องที่เตรียมขนมหวานให้เด็กเลือกซึ่งได้แก่ Oreo Cookie และ Marshmallow ซึ่งเด็กๆ มีความชอบขนมหวานเหล่านี้อยู่แล้ว โดยมีสัญญาว่าถ้าเด็กคนใดจะกินขนมหวานเหล่านั้นทันทีก็จะได้เพียงชิ้นเดียว แต่ถ้ารออีก 15 นาทีก็จะได้ถึงสองชิ้น มีเด็กบางคนหยิบกินทันทีที่ผู้วิจัยออกจากห้อง
ความอดทนรอคอย หมายถึง สมรรถนะในการต่อสู้กับความรู้สึกต้องการที่จะได้รับในทันที และสามารถอดทนรอคอยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Delayed Gratification หรือ Deferred Gratification การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความอดทนรอคอยที่ได้รับการอ้างอิงกว่า 400 ครั้งคือ Stanford Marshmallow Experiment ซึ่ง Walter Mischel เริ่มต้นทำการศึกษาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1970 และมีการศึกษาติดตาม (Follow-up Study) เป็นระยะ ๆ จนถึงล่าสุดปี ค.ศ. 2012 และคาดว่าจะมีการศึกษาต่อไปอีก แต่การศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการดูผลของความแตกต่างที่เกิดขึ้นของผู้ที่มี สมรรถนะในการอดทนรอคอยตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ไม่มีการจัดกระทำ หรือไม่มีการสอนให้มีสมรรถนะความอดทนรอคอยเกิดขึ้น
Walter Mischel เกิดที่กรุง Vienna ประเทศ Austria ลี้ภัยมาสหรัฐอเมริกากับพ่อแม่เมื่อพวกนาซีบุกเข้าประเทศ Austria ในปี ค.ศ. 1938 และมาเติบโตที่ เมือง Brooklyn มลรัฐ New York เป็นผู้เริ่มศึกษาความอดทนรอคอยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาที่ Ohio State University ซึ่งเขาจบ Ph.D. สาขา Clinical Psychology เมื่อปี ค.ศ. 1956 ต่อมาเขาได้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Stanford University การศึกษาวิจัยของเขาเริ่มทดลองด้วยการนำเด็กอนุบาลที่มีอายุเฉลี่ย 4-6 ปีจาก Bing Nursery School ที่อยู่ใน Stanford University นำมาไว้ในห้องที่เตรียมขนมหวานให้เด็กเลือกซึ่งได้แก่ Oreo Cookie และ Marshmallow ซึ่งเด็กๆ มีความชอบขนมหวานเหล่านี้อยู่แล้ว โดยมีสัญญาว่าถ้าเด็กคนใดจะกินขนมหวานเหล่านั้นทันทีก็จะได้เพียงชิ้นเดียว แต่ถ้ารออีก 15 นาทีก็จะได้ถึงสองชิ้น มีเด็กบางคนหยิบกินทันทีที่ผู้วิจัยออกจากห้อง
แต่ มีเด็กจำนวนหนึ่ง
หลับตาเอามือไขว้หลังเดินไปเดินมา บางคนเตะโต๊ะ บางคนดึงผมเปียตัวเองเล่น และบางคนมาเขย่าถาดขนมแต่ไม่หยิบกิน
มีเด็กที่เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยนี้กว่า 600
คน เด็กส่วนน้อยเท่านั้นที่หยิบขนมกินทันทีเมื่อผู้วิจัยออกจากห้อง ที่เหลือค่อยๆ
ทยอยเข้ามาหยิบกิน แต่มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่อดทนรอคอยได้ถึง 15 นาทีเพื่อจะได้ขนม 2 ชิ้น
การทดสอบครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 เรียกว่า “Marshmallow
Test.” ทำขึ้นโดย Walter Mischel และ Ebbe
B. Ebbesen ที่ Stanford University พบข้อสังเกตว่า
วัยวุฒิมีความสัมพันธ์กับความอดทนรอคอย เด็กที่มีอายุมากกว่าจะมีความอดทนรอคอยสูงกว่าเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
ต่อมามีการทดลองและทดสอบโดยการให้เด็กอดทนรอคอยเพื่อจะได้รับสิ่งที่ปรารถนา ในหลายสถานการณ์
และต่อมาได้มีการศึกษาติดตาม (Follow-up Study) เด็กเหล่านั้นเมื่อเขาเติบใหญ่ขึ้น
Follow-up Study ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1988 พบว่า เด็กกลุ่มที่มีความสามารถในการอดทนรอคอยเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ผู้ปกครองบรรยายว่าบุตรหลานของเขาซึ่งอยู่ในระยะวัยรุ่นเป็นผู้มีสมรรถนะ หรือความสามารถทั่วไปสูงกว่าอีกกลุ่ม
การศึกษาครั้งที่สองเมื่อปี ค.ศ. 1990 พบว่าเด็กกลุ่มที่มีความสามารถในการอดทนรอคอยมีคะแนน SAT สูงกว่าอีกกลุ่ม (SAT แต่เดิมย่อมาจาก Scholastic Aptitude Test ต่อมาย่อมาจาก Scholastic Assessment Test แต่ปัจจุบันหมายถึง ข้อสอบมาตรฐานของผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย และใช้ผลคะแนนสำหรับการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย จึงไม่สนใจความหมายตามตัวอักษรมากนัก)
ในปี ค.ศ. 2006 Mischel ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของ “การลงมือทำกับไม่ลงมือทำ” (Go/no go task) ในภารกิจต่างๆ ย้อนหลังเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ของผู้ที่สามารถอดทนรอคอยได้เมื่อครั้งอายุ 4 ปี และ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างความสามารถในการอดทนรอคอยกับ “การลงมือทำกับไม่ลงมือทำ” ผู้วิจัยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ความสามารถอดทนรอคอยเมื่อครั้งอายุ 4 ปีนั้นเป็นร่องรอยเครื่องหมายบ่งชี้ (Marker) ที่สำคัญของการสร้างบุคลิกภาพของความแตกต่างในบุคคลเมื่อเติบโตขึ้น โดยให้ความสำคัญในพัฒนาการของสมองส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในปี ค.ศ. 2011 การศึกษาพบว่า ความสามารถในการอดทนรอคอยเป็นบุคลิกภาพที่จะอยู่กับตัวตลอดไปชั่วชีวิต และจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการถ่ายภาพสมองพบว่า ความแตกต่างของผู้ที่มีความสามารถอดทนรอคอยมาก กับผู้ที่มีความอดทนรอคอยน้อยนั้น มีความแตกต่างในส่วนของสมองที่เป็น Prefrontal Cortex กับส่วนที่เป็น Ventral Striatum ในปี ค.ศ. 2012 มีการศึกษาวิจัยที่ The University of Rochester โดยก่อนทำการทดลองกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ได้รับการวางเงื่อนไขแบบได้รับ การปฏิบัติโดยการทำตามสัญญา กับได้รับการปฏิบัติแบบไม่ทำตามสัญญามาก่อนที่จะมีการทดลองและทดสอบแบบ “Marshmallow Test” ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญามีความสามารถอดทนรอคอยได้นานกว่ากลุ่มที่ ไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลา 12 นาทีก่อนที่ขนมหวานชิ้นที่สองจะมาถึง
การนำผลการศึกษาวิจัยมาสู่การสอน
“ความ อดทนรอคอย” ไม่เพียงเกิดมาพร้อมกับบุคคลเท่านั้น แต่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ได้ คำสอนทางพุทธศาสนาเรียกความอดทนว่า “ขันติ” การฝึกความอดทนเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า “ขันติบารมี” เป็นสิ่งดีงามหรือเป็นสิ่งมงคลที่ควรเสริมสร้างให้มีขึ้นในตัวบุคคล และถ้าบุคคลใดที่มีความอดทนรอคอยได้มากถือเป็นบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Quotient) มาก และเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำ และผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอีกด้วย
การสอนให้มีสมรรถนะหรือความ สามารถในการอดทนรอคอยอาจไม่เป็นสมรรถนะที่ถูกกำหนดไว้โดยตรงในมาตรฐาน หลักสูตรทุกระดับการศึกษา ทั้งนี้เพราะเป็นสมรรถนะที่วัดได้ยากและส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ยากเช่นกัน ในทางตรงข้าม การเรียนการสอนกลับส่งเสริมการตอบสนองอย่างทันที และเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองมากขึ้น ๆ รวมทั้งพยายามพัฒนาเทคโนโลยีที่เชื่องช้าและต้องรอคอยให้กลายเป็นเทคโนโลยี ที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทันใจ สามารถรู้ผลอย่างรวดเร็วในทุกๆ กิจกรรมของการทำงาน ถึงแม้พัฒนาการด้านต่างๆ เพื่อลดการรอคอยด้วยการใช้เทคโนโลยีอาจไม่ส่งผลโดยตรงกับบุคลิกภาพของบุคคล ที่จะทำให้สมรรถนะในการอดทนรอคอยลดลง แต่เทคโนโลยีก็ไม่ส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางด้านการอดทนรอคอยเช่นกัน สภาพและอาการของบุคคลที่มีอาการ “รอไม่ได้” จึงพบเห็นได้มากและบางครั้งเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
การ สอนให้มีความอดทนรอคอย เป็นกลวิธีการสอนชั้นสูง และการออกแบบการสอนต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของทั้งกระบวนการเรียนและกระบวนการสอน กลวิธีการสอนให้มีความอดทนรอคอยได้นั้นสามารถทำการศึกษาได้จากการวิเคราะห์ กลวิธีการสอนในพุทธศาสนา เช่น วิธีการสอนการเจริญกรรมฐาน การวิปัสสนา การเดินจงกรม การธุดงค์ การสวดมนต์ รวมทั้งวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดให้พระสงฆ์ หรือผู้ทรงศีลพึงปฏิบัติ ในขณะเดียวกันหลักปฏิบัติของศาสนาอื่น ๆ ทุกศาสนาก็แฝงด้วยอุบายต่างๆ เพื่อการฝึกความอดทนเช่นกัน การถอดบทเรียน (Lesson Distilled) จากคำสอนในศาสนาต่างๆ จะทำให้ได้กลวิธีการสอนให้เกิดความสามารถในการอดทนรอคอยได้
จากผลการ วิจัยล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในสัญญา ถ้ามีการผิดสัญญาความเชื่อถือในสัญญาที่ต้องมีการกำหนดเวลาให้รอคอยก็จะลดลง การทำผิดสัญญาก็อาจเกิดมากขึ้น ซึ่งคู่สัญญาไม่อาจอดทนรอคอยได้ สำหรับคำพังเพยต่างๆ ที่อาจถูกหยิบยกขึ้นมาสนับสนุนและคัดค้านรวมทั้งเป็นการให้เหตุผลในการ ละเมิดสัญญา และไม่ยอมอดทนรอคอยได้แก่ “น้ำขึ้นให้รีบตัก” “นกในมือหนึ่งตัว ดีกว่านกทั้งฝูงในพุ่มไม้” หรือ อื่นๆ ในขณะที่อีกฝ่ายอาจจะใช้คำพังเพยได้แก่ “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” และอื่นๆ ที่สนับสนุนให้มีความอดทนรอคอย
การ ทำความเข้าใจและอธิบายคำพังเพยเหล่านี้เป็นประการแรกที่ผู้สอนต้องใช้กลวิธี ในการอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะเจตนาและความหมายของคำพังเพยนั้น เพราะคำพังเพยนั้นบางครั้งเป็นบทสรุปของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ มากกว่าจะใช้เป็นคำสอนที่จะควรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ คำพังเพยจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงในระดับที่เป็น “ปรัชญา” ที่จะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
การ จัดกิจกรรมที่ต้องใช้ความอุตสาหะ และความพยายามอย่างมาก หรือกิจกรรมยากๆ ให้กับผู้เรียนนอกจากจะทำให้ผู้เรียนใช้สมรรถนะที่ซับซ้อนทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ (Intelligent Quotient) แล้วยังส่งเสริมให้เกิด EQ ซึ่งความอดทนรอคอยเป็นส่วนหนึ่งของ EQ แต่ดูเหมือนว่ากิจกรรมการศึกษาในปัจจุบันไม่นิยมจัดกิจกรรมที่ยากๆ ให้ผู้เรียน เพราะผู้เรียนไม่ชอบเรียนยากๆ ทำอะไรยากๆ อยากเรียนง่ายๆ จบง่ายๆ และมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งสามารถตอบสนองผู้ต้องการเรียนแบบง่ายๆ จบเร็วๆ ให้ได้ด้วย
การสอนให้มีความอดทนในการเรียนการสอนวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรมที่ประจักษ์คือ การฝึกช่างฝีมือด้วยอุปกรณ์พื้นฐานงานช่าง ตัวอย่างเช่น งานตะไบ ผู้ฝึกจะต้องมีสมาธิ อดทนต่อสภาพของการทำงาน ถ้าพลาดพลั้งอาจเกิดความเสียหายและอันตราย ผู้ฝึกต้องอดทนรอคอยการเปลี่ยนแปลงของชิ้นงานจากการทำงานอย่างช้าๆ ตามลำดับ ไม่สามารถรวบรัดข้ามขั้นตอนได้ ผู้ผ่านการฝึกจึงมีความอดทน สู้งาน รอคอยผลสำเร็จที่ดีกว่า ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ หรือ เอกลักษณ์ของสถาบันการศึกษาบางแห่งเท่านั้นที่สามารถผลิตกำลังคนประเภทนี้ ได้
การอดทนทำตามขั้นตอนและรอให้บรรลุผลตามขั้นตอนเป็นการปฏิบัติตาม สัญญา ด้วยการมีวินัย ยึดมั่นในพันธะและสัญญา ให้ความสำคัญกับกระบวนการไม่น้อยกว่าผลลัพธ์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของใบงาน การบ้าน กิจกรรมการประลอง แบบฝึกหัด และการสอบต่างๆ ที่มีการตกลงกันไว้ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการเรียนการสอนบนสัญญาการเรียนรู้ (Learning Contracts) และถ้าผู้เรียนและผู้สอนทำตามสัญญาที่ตกลงกันได้ถือว่าทั้งผู้เรียนและผู้ สอน ต่างฝ่ายต่างมีความสามารถในการอดทนรอคอยได้อย่างมีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบ นับเป็นความสำเร็จของการเรียนและการสอนที่ให้ผู้เรียนและผู้สอนรู้จักอดทนรอ คอยได้อย่างดี
สำหรับการเรียนการสอนในระดับสูงขึ้นเช่น ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต การกำหนดเวลาและกระบวนการที่มีขั้นตอนชัดเจน เช่น มีกำหนดเวลาขั้นต่ำและขั้นสูงของการศึกษา และการทำดุษฎีนิพนธ์ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 365 วัน มีกระบวนการสอบผ่านแต่ละขั้นตอนเช่น การสอบกลั่นกรองหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การสอบหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การสอบก้าวหน้า การสอบป้องกัน (บางมหาวิทยาลัยเรียกว่าการสอบปกป้อง) การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ และการสอบความสามารถทางภาษา การสอบวัดคุณสมบัติ และอื่นๆ ที่เป็นข้อกำหนดต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เวลาและการอดทนรอคอยทั้งสิ้น
ผู้ที่สามารถจบการ ศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตได้จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอดทนรอคอย ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรไร้รูปอีกใบหนึ่งที่อยู่คู่กับใบปริญญา เพื่อยืนยันว่า ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทำตามสัญญาครบถ้วนแล้ว การเรียนการสอนบนสัญญาการเรียนรู้ (Learning Contracts) จึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่สามารถสร้างความอดทนรอคอย (Delayed Gratification) ได้เป็นอย่างดี
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
Follow-up Study ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1988 พบว่า เด็กกลุ่มที่มีความสามารถในการอดทนรอคอยเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ผู้ปกครองบรรยายว่าบุตรหลานของเขาซึ่งอยู่ในระยะวัยรุ่นเป็นผู้มีสมรรถนะ หรือความสามารถทั่วไปสูงกว่าอีกกลุ่ม
การศึกษาครั้งที่สองเมื่อปี ค.ศ. 1990 พบว่าเด็กกลุ่มที่มีความสามารถในการอดทนรอคอยมีคะแนน SAT สูงกว่าอีกกลุ่ม (SAT แต่เดิมย่อมาจาก Scholastic Aptitude Test ต่อมาย่อมาจาก Scholastic Assessment Test แต่ปัจจุบันหมายถึง ข้อสอบมาตรฐานของผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย และใช้ผลคะแนนสำหรับการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย จึงไม่สนใจความหมายตามตัวอักษรมากนัก)
ในปี ค.ศ. 2006 Mischel ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของ “การลงมือทำกับไม่ลงมือทำ” (Go/no go task) ในภารกิจต่างๆ ย้อนหลังเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ของผู้ที่สามารถอดทนรอคอยได้เมื่อครั้งอายุ 4 ปี และ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างความสามารถในการอดทนรอคอยกับ “การลงมือทำกับไม่ลงมือทำ” ผู้วิจัยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ความสามารถอดทนรอคอยเมื่อครั้งอายุ 4 ปีนั้นเป็นร่องรอยเครื่องหมายบ่งชี้ (Marker) ที่สำคัญของการสร้างบุคลิกภาพของความแตกต่างในบุคคลเมื่อเติบโตขึ้น โดยให้ความสำคัญในพัฒนาการของสมองส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในปี ค.ศ. 2011 การศึกษาพบว่า ความสามารถในการอดทนรอคอยเป็นบุคลิกภาพที่จะอยู่กับตัวตลอดไปชั่วชีวิต และจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการถ่ายภาพสมองพบว่า ความแตกต่างของผู้ที่มีความสามารถอดทนรอคอยมาก กับผู้ที่มีความอดทนรอคอยน้อยนั้น มีความแตกต่างในส่วนของสมองที่เป็น Prefrontal Cortex กับส่วนที่เป็น Ventral Striatum ในปี ค.ศ. 2012 มีการศึกษาวิจัยที่ The University of Rochester โดยก่อนทำการทดลองกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ได้รับการวางเงื่อนไขแบบได้รับ การปฏิบัติโดยการทำตามสัญญา กับได้รับการปฏิบัติแบบไม่ทำตามสัญญามาก่อนที่จะมีการทดลองและทดสอบแบบ “Marshmallow Test” ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญามีความสามารถอดทนรอคอยได้นานกว่ากลุ่มที่ ไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลา 12 นาทีก่อนที่ขนมหวานชิ้นที่สองจะมาถึง
การนำผลการศึกษาวิจัยมาสู่การสอน
“ความ อดทนรอคอย” ไม่เพียงเกิดมาพร้อมกับบุคคลเท่านั้น แต่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ได้ คำสอนทางพุทธศาสนาเรียกความอดทนว่า “ขันติ” การฝึกความอดทนเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า “ขันติบารมี” เป็นสิ่งดีงามหรือเป็นสิ่งมงคลที่ควรเสริมสร้างให้มีขึ้นในตัวบุคคล และถ้าบุคคลใดที่มีความอดทนรอคอยได้มากถือเป็นบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Quotient) มาก และเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำ และผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอีกด้วย
การสอนให้มีสมรรถนะหรือความ สามารถในการอดทนรอคอยอาจไม่เป็นสมรรถนะที่ถูกกำหนดไว้โดยตรงในมาตรฐาน หลักสูตรทุกระดับการศึกษา ทั้งนี้เพราะเป็นสมรรถนะที่วัดได้ยากและส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ยากเช่นกัน ในทางตรงข้าม การเรียนการสอนกลับส่งเสริมการตอบสนองอย่างทันที และเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองมากขึ้น ๆ รวมทั้งพยายามพัฒนาเทคโนโลยีที่เชื่องช้าและต้องรอคอยให้กลายเป็นเทคโนโลยี ที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทันใจ สามารถรู้ผลอย่างรวดเร็วในทุกๆ กิจกรรมของการทำงาน ถึงแม้พัฒนาการด้านต่างๆ เพื่อลดการรอคอยด้วยการใช้เทคโนโลยีอาจไม่ส่งผลโดยตรงกับบุคลิกภาพของบุคคล ที่จะทำให้สมรรถนะในการอดทนรอคอยลดลง แต่เทคโนโลยีก็ไม่ส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางด้านการอดทนรอคอยเช่นกัน สภาพและอาการของบุคคลที่มีอาการ “รอไม่ได้” จึงพบเห็นได้มากและบางครั้งเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
การ สอนให้มีความอดทนรอคอย เป็นกลวิธีการสอนชั้นสูง และการออกแบบการสอนต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของทั้งกระบวนการเรียนและกระบวนการสอน กลวิธีการสอนให้มีความอดทนรอคอยได้นั้นสามารถทำการศึกษาได้จากการวิเคราะห์ กลวิธีการสอนในพุทธศาสนา เช่น วิธีการสอนการเจริญกรรมฐาน การวิปัสสนา การเดินจงกรม การธุดงค์ การสวดมนต์ รวมทั้งวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดให้พระสงฆ์ หรือผู้ทรงศีลพึงปฏิบัติ ในขณะเดียวกันหลักปฏิบัติของศาสนาอื่น ๆ ทุกศาสนาก็แฝงด้วยอุบายต่างๆ เพื่อการฝึกความอดทนเช่นกัน การถอดบทเรียน (Lesson Distilled) จากคำสอนในศาสนาต่างๆ จะทำให้ได้กลวิธีการสอนให้เกิดความสามารถในการอดทนรอคอยได้
จากผลการ วิจัยล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในสัญญา ถ้ามีการผิดสัญญาความเชื่อถือในสัญญาที่ต้องมีการกำหนดเวลาให้รอคอยก็จะลดลง การทำผิดสัญญาก็อาจเกิดมากขึ้น ซึ่งคู่สัญญาไม่อาจอดทนรอคอยได้ สำหรับคำพังเพยต่างๆ ที่อาจถูกหยิบยกขึ้นมาสนับสนุนและคัดค้านรวมทั้งเป็นการให้เหตุผลในการ ละเมิดสัญญา และไม่ยอมอดทนรอคอยได้แก่ “น้ำขึ้นให้รีบตัก” “นกในมือหนึ่งตัว ดีกว่านกทั้งฝูงในพุ่มไม้” หรือ อื่นๆ ในขณะที่อีกฝ่ายอาจจะใช้คำพังเพยได้แก่ “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” และอื่นๆ ที่สนับสนุนให้มีความอดทนรอคอย
การ ทำความเข้าใจและอธิบายคำพังเพยเหล่านี้เป็นประการแรกที่ผู้สอนต้องใช้กลวิธี ในการอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะเจตนาและความหมายของคำพังเพยนั้น เพราะคำพังเพยนั้นบางครั้งเป็นบทสรุปของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ มากกว่าจะใช้เป็นคำสอนที่จะควรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ คำพังเพยจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงในระดับที่เป็น “ปรัชญา” ที่จะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
การ จัดกิจกรรมที่ต้องใช้ความอุตสาหะ และความพยายามอย่างมาก หรือกิจกรรมยากๆ ให้กับผู้เรียนนอกจากจะทำให้ผู้เรียนใช้สมรรถนะที่ซับซ้อนทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ (Intelligent Quotient) แล้วยังส่งเสริมให้เกิด EQ ซึ่งความอดทนรอคอยเป็นส่วนหนึ่งของ EQ แต่ดูเหมือนว่ากิจกรรมการศึกษาในปัจจุบันไม่นิยมจัดกิจกรรมที่ยากๆ ให้ผู้เรียน เพราะผู้เรียนไม่ชอบเรียนยากๆ ทำอะไรยากๆ อยากเรียนง่ายๆ จบง่ายๆ และมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งสามารถตอบสนองผู้ต้องการเรียนแบบง่ายๆ จบเร็วๆ ให้ได้ด้วย
การสอนให้มีความอดทนในการเรียนการสอนวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรมที่ประจักษ์คือ การฝึกช่างฝีมือด้วยอุปกรณ์พื้นฐานงานช่าง ตัวอย่างเช่น งานตะไบ ผู้ฝึกจะต้องมีสมาธิ อดทนต่อสภาพของการทำงาน ถ้าพลาดพลั้งอาจเกิดความเสียหายและอันตราย ผู้ฝึกต้องอดทนรอคอยการเปลี่ยนแปลงของชิ้นงานจากการทำงานอย่างช้าๆ ตามลำดับ ไม่สามารถรวบรัดข้ามขั้นตอนได้ ผู้ผ่านการฝึกจึงมีความอดทน สู้งาน รอคอยผลสำเร็จที่ดีกว่า ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ หรือ เอกลักษณ์ของสถาบันการศึกษาบางแห่งเท่านั้นที่สามารถผลิตกำลังคนประเภทนี้ ได้
การอดทนทำตามขั้นตอนและรอให้บรรลุผลตามขั้นตอนเป็นการปฏิบัติตาม สัญญา ด้วยการมีวินัย ยึดมั่นในพันธะและสัญญา ให้ความสำคัญกับกระบวนการไม่น้อยกว่าผลลัพธ์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของใบงาน การบ้าน กิจกรรมการประลอง แบบฝึกหัด และการสอบต่างๆ ที่มีการตกลงกันไว้ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการเรียนการสอนบนสัญญาการเรียนรู้ (Learning Contracts) และถ้าผู้เรียนและผู้สอนทำตามสัญญาที่ตกลงกันได้ถือว่าทั้งผู้เรียนและผู้ สอน ต่างฝ่ายต่างมีความสามารถในการอดทนรอคอยได้อย่างมีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบ นับเป็นความสำเร็จของการเรียนและการสอนที่ให้ผู้เรียนและผู้สอนรู้จักอดทนรอ คอยได้อย่างดี
สำหรับการเรียนการสอนในระดับสูงขึ้นเช่น ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต การกำหนดเวลาและกระบวนการที่มีขั้นตอนชัดเจน เช่น มีกำหนดเวลาขั้นต่ำและขั้นสูงของการศึกษา และการทำดุษฎีนิพนธ์ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 365 วัน มีกระบวนการสอบผ่านแต่ละขั้นตอนเช่น การสอบกลั่นกรองหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การสอบหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การสอบก้าวหน้า การสอบป้องกัน (บางมหาวิทยาลัยเรียกว่าการสอบปกป้อง) การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ และการสอบความสามารถทางภาษา การสอบวัดคุณสมบัติ และอื่นๆ ที่เป็นข้อกำหนดต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เวลาและการอดทนรอคอยทั้งสิ้น
ผู้ที่สามารถจบการ ศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตได้จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอดทนรอคอย ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรไร้รูปอีกใบหนึ่งที่อยู่คู่กับใบปริญญา เพื่อยืนยันว่า ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทำตามสัญญาครบถ้วนแล้ว การเรียนการสอนบนสัญญาการเรียนรู้ (Learning Contracts) จึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่สามารถสร้างความอดทนรอคอย (Delayed Gratification) ได้เป็นอย่างดี
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/318249
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความแนะนำ
โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
http://www.mua.go.th/users/bhes/pdf/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B...
-
สวัสดีค่ะ... วันนี้แอดมินขอนำเสนอความหมายของ EdPEx อีกครั้ง ....ที่ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอ "คำถาม 15 ข้อที่คาใจ" เกี่ยวกับ EdPEx...
-
ฟอนต์อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ดาวน์โหลดกันได้เลยค่ะ http://www.f0nt.com/release/silpakor...
-
การสอนงาน หมายถึง การที่หัวหน้างานได้สอนหรือแนะนำให้ลูกน้อง ได้เรียนรู้งาน ที่ได้รับ มอบหมาย มีวัตถุประสงค์และข้อปฏิบัติอย่างไร จึงจะบรรล...