อาการของผู้ที่ “รอไม่ได้” มีปรากฏให้เห็นเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนบ่อยครั้งและสร้างความเสียหายให้กับ
ตนเองและผู้อื่น ความเสียหายอาจเป็นทั้งระดับบุคคล ระดับหน่วยงาน ระดับสังคม
ไปจนถึงระดับชาติถ้าผู้รับผิดชอบมีอาการ “รอไม่ได้” เกิดขึ้น อาการ “รอไม่ได้” เป็นอาการของผู้ขาด
“ความอดทนรอคอย” ซึ่งนอกจากจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำแล้วยังเป็นมงคลสำหรับบุคคล
ทั่วไปที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ความอดทนรอคอย หมายถึง สมรรถนะในการต่อสู้กับความรู้สึกต้องการที่จะได้รับในทันที และสามารถอดทนรอคอยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Delayed Gratification หรือ Deferred Gratification การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความอดทนรอคอยที่ได้รับการอ้างอิงกว่า 400 ครั้งคือ Stanford Marshmallow Experiment ซึ่ง Walter Mischel เริ่มต้นทำการศึกษาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1970 และมีการศึกษาติดตาม (Follow-up Study) เป็นระยะ ๆ จนถึงล่าสุดปี ค.ศ. 2012 และคาดว่าจะมีการศึกษาต่อไปอีก แต่การศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการดูผลของความแตกต่างที่เกิดขึ้นของผู้ที่มี สมรรถนะในการอดทนรอคอยตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ไม่มีการจัดกระทำ หรือไม่มีการสอนให้มีสมรรถนะความอดทนรอคอยเกิดขึ้น
Walter Mischel เกิดที่กรุง Vienna ประเทศ Austria ลี้ภัยมาสหรัฐอเมริกากับพ่อแม่เมื่อพวกนาซีบุกเข้าประเทศ Austria ในปี ค.ศ. 1938 และมาเติบโตที่ เมือง Brooklyn มลรัฐ New York เป็นผู้เริ่มศึกษาความอดทนรอคอยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาที่ Ohio State University ซึ่งเขาจบ Ph.D. สาขา Clinical Psychology เมื่อปี ค.ศ. 1956 ต่อมาเขาได้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Stanford University การศึกษาวิจัยของเขาเริ่มทดลองด้วยการนำเด็กอนุบาลที่มีอายุเฉลี่ย 4-6 ปีจาก Bing Nursery School ที่อยู่ใน Stanford University นำมาไว้ในห้องที่เตรียมขนมหวานให้เด็กเลือกซึ่งได้แก่ Oreo Cookie และ Marshmallow ซึ่งเด็กๆ มีความชอบขนมหวานเหล่านี้อยู่แล้ว โดยมีสัญญาว่าถ้าเด็กคนใดจะกินขนมหวานเหล่านั้นทันทีก็จะได้เพียงชิ้นเดียว แต่ถ้ารออีก 15 นาทีก็จะได้ถึงสองชิ้น มีเด็กบางคนหยิบกินทันทีที่ผู้วิจัยออกจากห้อง
ความอดทนรอคอย หมายถึง สมรรถนะในการต่อสู้กับความรู้สึกต้องการที่จะได้รับในทันที และสามารถอดทนรอคอยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Delayed Gratification หรือ Deferred Gratification การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความอดทนรอคอยที่ได้รับการอ้างอิงกว่า 400 ครั้งคือ Stanford Marshmallow Experiment ซึ่ง Walter Mischel เริ่มต้นทำการศึกษาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1970 และมีการศึกษาติดตาม (Follow-up Study) เป็นระยะ ๆ จนถึงล่าสุดปี ค.ศ. 2012 และคาดว่าจะมีการศึกษาต่อไปอีก แต่การศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการดูผลของความแตกต่างที่เกิดขึ้นของผู้ที่มี สมรรถนะในการอดทนรอคอยตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ไม่มีการจัดกระทำ หรือไม่มีการสอนให้มีสมรรถนะความอดทนรอคอยเกิดขึ้น
Walter Mischel เกิดที่กรุง Vienna ประเทศ Austria ลี้ภัยมาสหรัฐอเมริกากับพ่อแม่เมื่อพวกนาซีบุกเข้าประเทศ Austria ในปี ค.ศ. 1938 และมาเติบโตที่ เมือง Brooklyn มลรัฐ New York เป็นผู้เริ่มศึกษาความอดทนรอคอยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาที่ Ohio State University ซึ่งเขาจบ Ph.D. สาขา Clinical Psychology เมื่อปี ค.ศ. 1956 ต่อมาเขาได้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Stanford University การศึกษาวิจัยของเขาเริ่มทดลองด้วยการนำเด็กอนุบาลที่มีอายุเฉลี่ย 4-6 ปีจาก Bing Nursery School ที่อยู่ใน Stanford University นำมาไว้ในห้องที่เตรียมขนมหวานให้เด็กเลือกซึ่งได้แก่ Oreo Cookie และ Marshmallow ซึ่งเด็กๆ มีความชอบขนมหวานเหล่านี้อยู่แล้ว โดยมีสัญญาว่าถ้าเด็กคนใดจะกินขนมหวานเหล่านั้นทันทีก็จะได้เพียงชิ้นเดียว แต่ถ้ารออีก 15 นาทีก็จะได้ถึงสองชิ้น มีเด็กบางคนหยิบกินทันทีที่ผู้วิจัยออกจากห้อง
แต่ มีเด็กจำนวนหนึ่ง
หลับตาเอามือไขว้หลังเดินไปเดินมา บางคนเตะโต๊ะ บางคนดึงผมเปียตัวเองเล่น และบางคนมาเขย่าถาดขนมแต่ไม่หยิบกิน
มีเด็กที่เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยนี้กว่า 600
คน เด็กส่วนน้อยเท่านั้นที่หยิบขนมกินทันทีเมื่อผู้วิจัยออกจากห้อง ที่เหลือค่อยๆ
ทยอยเข้ามาหยิบกิน แต่มีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่อดทนรอคอยได้ถึง 15 นาทีเพื่อจะได้ขนม 2 ชิ้น
การทดสอบครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 เรียกว่า “Marshmallow
Test.” ทำขึ้นโดย Walter Mischel และ Ebbe
B. Ebbesen ที่ Stanford University พบข้อสังเกตว่า
วัยวุฒิมีความสัมพันธ์กับความอดทนรอคอย เด็กที่มีอายุมากกว่าจะมีความอดทนรอคอยสูงกว่าเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
ต่อมามีการทดลองและทดสอบโดยการให้เด็กอดทนรอคอยเพื่อจะได้รับสิ่งที่ปรารถนา ในหลายสถานการณ์
และต่อมาได้มีการศึกษาติดตาม (Follow-up Study) เด็กเหล่านั้นเมื่อเขาเติบใหญ่ขึ้น
Follow-up Study ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1988 พบว่า เด็กกลุ่มที่มีความสามารถในการอดทนรอคอยเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ผู้ปกครองบรรยายว่าบุตรหลานของเขาซึ่งอยู่ในระยะวัยรุ่นเป็นผู้มีสมรรถนะ หรือความสามารถทั่วไปสูงกว่าอีกกลุ่ม
การศึกษาครั้งที่สองเมื่อปี ค.ศ. 1990 พบว่าเด็กกลุ่มที่มีความสามารถในการอดทนรอคอยมีคะแนน SAT สูงกว่าอีกกลุ่ม (SAT แต่เดิมย่อมาจาก Scholastic Aptitude Test ต่อมาย่อมาจาก Scholastic Assessment Test แต่ปัจจุบันหมายถึง ข้อสอบมาตรฐานของผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย และใช้ผลคะแนนสำหรับการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย จึงไม่สนใจความหมายตามตัวอักษรมากนัก)
ในปี ค.ศ. 2006 Mischel ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของ “การลงมือทำกับไม่ลงมือทำ” (Go/no go task) ในภารกิจต่างๆ ย้อนหลังเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ของผู้ที่สามารถอดทนรอคอยได้เมื่อครั้งอายุ 4 ปี และ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างความสามารถในการอดทนรอคอยกับ “การลงมือทำกับไม่ลงมือทำ” ผู้วิจัยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ความสามารถอดทนรอคอยเมื่อครั้งอายุ 4 ปีนั้นเป็นร่องรอยเครื่องหมายบ่งชี้ (Marker) ที่สำคัญของการสร้างบุคลิกภาพของความแตกต่างในบุคคลเมื่อเติบโตขึ้น โดยให้ความสำคัญในพัฒนาการของสมองส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในปี ค.ศ. 2011 การศึกษาพบว่า ความสามารถในการอดทนรอคอยเป็นบุคลิกภาพที่จะอยู่กับตัวตลอดไปชั่วชีวิต และจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการถ่ายภาพสมองพบว่า ความแตกต่างของผู้ที่มีความสามารถอดทนรอคอยมาก กับผู้ที่มีความอดทนรอคอยน้อยนั้น มีความแตกต่างในส่วนของสมองที่เป็น Prefrontal Cortex กับส่วนที่เป็น Ventral Striatum ในปี ค.ศ. 2012 มีการศึกษาวิจัยที่ The University of Rochester โดยก่อนทำการทดลองกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ได้รับการวางเงื่อนไขแบบได้รับ การปฏิบัติโดยการทำตามสัญญา กับได้รับการปฏิบัติแบบไม่ทำตามสัญญามาก่อนที่จะมีการทดลองและทดสอบแบบ “Marshmallow Test” ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญามีความสามารถอดทนรอคอยได้นานกว่ากลุ่มที่ ไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลา 12 นาทีก่อนที่ขนมหวานชิ้นที่สองจะมาถึง
การนำผลการศึกษาวิจัยมาสู่การสอน
“ความ อดทนรอคอย” ไม่เพียงเกิดมาพร้อมกับบุคคลเท่านั้น แต่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ได้ คำสอนทางพุทธศาสนาเรียกความอดทนว่า “ขันติ” การฝึกความอดทนเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า “ขันติบารมี” เป็นสิ่งดีงามหรือเป็นสิ่งมงคลที่ควรเสริมสร้างให้มีขึ้นในตัวบุคคล และถ้าบุคคลใดที่มีความอดทนรอคอยได้มากถือเป็นบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Quotient) มาก และเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำ และผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอีกด้วย
การสอนให้มีสมรรถนะหรือความ สามารถในการอดทนรอคอยอาจไม่เป็นสมรรถนะที่ถูกกำหนดไว้โดยตรงในมาตรฐาน หลักสูตรทุกระดับการศึกษา ทั้งนี้เพราะเป็นสมรรถนะที่วัดได้ยากและส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ยากเช่นกัน ในทางตรงข้าม การเรียนการสอนกลับส่งเสริมการตอบสนองอย่างทันที และเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองมากขึ้น ๆ รวมทั้งพยายามพัฒนาเทคโนโลยีที่เชื่องช้าและต้องรอคอยให้กลายเป็นเทคโนโลยี ที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทันใจ สามารถรู้ผลอย่างรวดเร็วในทุกๆ กิจกรรมของการทำงาน ถึงแม้พัฒนาการด้านต่างๆ เพื่อลดการรอคอยด้วยการใช้เทคโนโลยีอาจไม่ส่งผลโดยตรงกับบุคลิกภาพของบุคคล ที่จะทำให้สมรรถนะในการอดทนรอคอยลดลง แต่เทคโนโลยีก็ไม่ส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางด้านการอดทนรอคอยเช่นกัน สภาพและอาการของบุคคลที่มีอาการ “รอไม่ได้” จึงพบเห็นได้มากและบางครั้งเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
การ สอนให้มีความอดทนรอคอย เป็นกลวิธีการสอนชั้นสูง และการออกแบบการสอนต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของทั้งกระบวนการเรียนและกระบวนการสอน กลวิธีการสอนให้มีความอดทนรอคอยได้นั้นสามารถทำการศึกษาได้จากการวิเคราะห์ กลวิธีการสอนในพุทธศาสนา เช่น วิธีการสอนการเจริญกรรมฐาน การวิปัสสนา การเดินจงกรม การธุดงค์ การสวดมนต์ รวมทั้งวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดให้พระสงฆ์ หรือผู้ทรงศีลพึงปฏิบัติ ในขณะเดียวกันหลักปฏิบัติของศาสนาอื่น ๆ ทุกศาสนาก็แฝงด้วยอุบายต่างๆ เพื่อการฝึกความอดทนเช่นกัน การถอดบทเรียน (Lesson Distilled) จากคำสอนในศาสนาต่างๆ จะทำให้ได้กลวิธีการสอนให้เกิดความสามารถในการอดทนรอคอยได้
จากผลการ วิจัยล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในสัญญา ถ้ามีการผิดสัญญาความเชื่อถือในสัญญาที่ต้องมีการกำหนดเวลาให้รอคอยก็จะลดลง การทำผิดสัญญาก็อาจเกิดมากขึ้น ซึ่งคู่สัญญาไม่อาจอดทนรอคอยได้ สำหรับคำพังเพยต่างๆ ที่อาจถูกหยิบยกขึ้นมาสนับสนุนและคัดค้านรวมทั้งเป็นการให้เหตุผลในการ ละเมิดสัญญา และไม่ยอมอดทนรอคอยได้แก่ “น้ำขึ้นให้รีบตัก” “นกในมือหนึ่งตัว ดีกว่านกทั้งฝูงในพุ่มไม้” หรือ อื่นๆ ในขณะที่อีกฝ่ายอาจจะใช้คำพังเพยได้แก่ “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” และอื่นๆ ที่สนับสนุนให้มีความอดทนรอคอย
การ ทำความเข้าใจและอธิบายคำพังเพยเหล่านี้เป็นประการแรกที่ผู้สอนต้องใช้กลวิธี ในการอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะเจตนาและความหมายของคำพังเพยนั้น เพราะคำพังเพยนั้นบางครั้งเป็นบทสรุปของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ มากกว่าจะใช้เป็นคำสอนที่จะควรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ คำพังเพยจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงในระดับที่เป็น “ปรัชญา” ที่จะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
การ จัดกิจกรรมที่ต้องใช้ความอุตสาหะ และความพยายามอย่างมาก หรือกิจกรรมยากๆ ให้กับผู้เรียนนอกจากจะทำให้ผู้เรียนใช้สมรรถนะที่ซับซ้อนทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ (Intelligent Quotient) แล้วยังส่งเสริมให้เกิด EQ ซึ่งความอดทนรอคอยเป็นส่วนหนึ่งของ EQ แต่ดูเหมือนว่ากิจกรรมการศึกษาในปัจจุบันไม่นิยมจัดกิจกรรมที่ยากๆ ให้ผู้เรียน เพราะผู้เรียนไม่ชอบเรียนยากๆ ทำอะไรยากๆ อยากเรียนง่ายๆ จบง่ายๆ และมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งสามารถตอบสนองผู้ต้องการเรียนแบบง่ายๆ จบเร็วๆ ให้ได้ด้วย
การสอนให้มีความอดทนในการเรียนการสอนวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรมที่ประจักษ์คือ การฝึกช่างฝีมือด้วยอุปกรณ์พื้นฐานงานช่าง ตัวอย่างเช่น งานตะไบ ผู้ฝึกจะต้องมีสมาธิ อดทนต่อสภาพของการทำงาน ถ้าพลาดพลั้งอาจเกิดความเสียหายและอันตราย ผู้ฝึกต้องอดทนรอคอยการเปลี่ยนแปลงของชิ้นงานจากการทำงานอย่างช้าๆ ตามลำดับ ไม่สามารถรวบรัดข้ามขั้นตอนได้ ผู้ผ่านการฝึกจึงมีความอดทน สู้งาน รอคอยผลสำเร็จที่ดีกว่า ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ หรือ เอกลักษณ์ของสถาบันการศึกษาบางแห่งเท่านั้นที่สามารถผลิตกำลังคนประเภทนี้ ได้
การอดทนทำตามขั้นตอนและรอให้บรรลุผลตามขั้นตอนเป็นการปฏิบัติตาม สัญญา ด้วยการมีวินัย ยึดมั่นในพันธะและสัญญา ให้ความสำคัญกับกระบวนการไม่น้อยกว่าผลลัพธ์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของใบงาน การบ้าน กิจกรรมการประลอง แบบฝึกหัด และการสอบต่างๆ ที่มีการตกลงกันไว้ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการเรียนการสอนบนสัญญาการเรียนรู้ (Learning Contracts) และถ้าผู้เรียนและผู้สอนทำตามสัญญาที่ตกลงกันได้ถือว่าทั้งผู้เรียนและผู้ สอน ต่างฝ่ายต่างมีความสามารถในการอดทนรอคอยได้อย่างมีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบ นับเป็นความสำเร็จของการเรียนและการสอนที่ให้ผู้เรียนและผู้สอนรู้จักอดทนรอ คอยได้อย่างดี
สำหรับการเรียนการสอนในระดับสูงขึ้นเช่น ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต การกำหนดเวลาและกระบวนการที่มีขั้นตอนชัดเจน เช่น มีกำหนดเวลาขั้นต่ำและขั้นสูงของการศึกษา และการทำดุษฎีนิพนธ์ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 365 วัน มีกระบวนการสอบผ่านแต่ละขั้นตอนเช่น การสอบกลั่นกรองหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การสอบหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การสอบก้าวหน้า การสอบป้องกัน (บางมหาวิทยาลัยเรียกว่าการสอบปกป้อง) การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ และการสอบความสามารถทางภาษา การสอบวัดคุณสมบัติ และอื่นๆ ที่เป็นข้อกำหนดต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เวลาและการอดทนรอคอยทั้งสิ้น
ผู้ที่สามารถจบการ ศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตได้จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอดทนรอคอย ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรไร้รูปอีกใบหนึ่งที่อยู่คู่กับใบปริญญา เพื่อยืนยันว่า ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทำตามสัญญาครบถ้วนแล้ว การเรียนการสอนบนสัญญาการเรียนรู้ (Learning Contracts) จึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่สามารถสร้างความอดทนรอคอย (Delayed Gratification) ได้เป็นอย่างดี
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
Follow-up Study ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1988 พบว่า เด็กกลุ่มที่มีความสามารถในการอดทนรอคอยเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ผู้ปกครองบรรยายว่าบุตรหลานของเขาซึ่งอยู่ในระยะวัยรุ่นเป็นผู้มีสมรรถนะ หรือความสามารถทั่วไปสูงกว่าอีกกลุ่ม
การศึกษาครั้งที่สองเมื่อปี ค.ศ. 1990 พบว่าเด็กกลุ่มที่มีความสามารถในการอดทนรอคอยมีคะแนน SAT สูงกว่าอีกกลุ่ม (SAT แต่เดิมย่อมาจาก Scholastic Aptitude Test ต่อมาย่อมาจาก Scholastic Assessment Test แต่ปัจจุบันหมายถึง ข้อสอบมาตรฐานของผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย และใช้ผลคะแนนสำหรับการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย จึงไม่สนใจความหมายตามตัวอักษรมากนัก)
ในปี ค.ศ. 2006 Mischel ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของ “การลงมือทำกับไม่ลงมือทำ” (Go/no go task) ในภารกิจต่างๆ ย้อนหลังเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ของผู้ที่สามารถอดทนรอคอยได้เมื่อครั้งอายุ 4 ปี และ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างความสามารถในการอดทนรอคอยกับ “การลงมือทำกับไม่ลงมือทำ” ผู้วิจัยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ความสามารถอดทนรอคอยเมื่อครั้งอายุ 4 ปีนั้นเป็นร่องรอยเครื่องหมายบ่งชี้ (Marker) ที่สำคัญของการสร้างบุคลิกภาพของความแตกต่างในบุคคลเมื่อเติบโตขึ้น โดยให้ความสำคัญในพัฒนาการของสมองส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในปี ค.ศ. 2011 การศึกษาพบว่า ความสามารถในการอดทนรอคอยเป็นบุคลิกภาพที่จะอยู่กับตัวตลอดไปชั่วชีวิต และจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการถ่ายภาพสมองพบว่า ความแตกต่างของผู้ที่มีความสามารถอดทนรอคอยมาก กับผู้ที่มีความอดทนรอคอยน้อยนั้น มีความแตกต่างในส่วนของสมองที่เป็น Prefrontal Cortex กับส่วนที่เป็น Ventral Striatum ในปี ค.ศ. 2012 มีการศึกษาวิจัยที่ The University of Rochester โดยก่อนทำการทดลองกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ได้รับการวางเงื่อนไขแบบได้รับ การปฏิบัติโดยการทำตามสัญญา กับได้รับการปฏิบัติแบบไม่ทำตามสัญญามาก่อนที่จะมีการทดลองและทดสอบแบบ “Marshmallow Test” ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญามีความสามารถอดทนรอคอยได้นานกว่ากลุ่มที่ ไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลา 12 นาทีก่อนที่ขนมหวานชิ้นที่สองจะมาถึง
การนำผลการศึกษาวิจัยมาสู่การสอน
“ความ อดทนรอคอย” ไม่เพียงเกิดมาพร้อมกับบุคคลเท่านั้น แต่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ได้ คำสอนทางพุทธศาสนาเรียกความอดทนว่า “ขันติ” การฝึกความอดทนเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า “ขันติบารมี” เป็นสิ่งดีงามหรือเป็นสิ่งมงคลที่ควรเสริมสร้างให้มีขึ้นในตัวบุคคล และถ้าบุคคลใดที่มีความอดทนรอคอยได้มากถือเป็นบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Quotient) มาก และเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำ และผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอีกด้วย
การสอนให้มีสมรรถนะหรือความ สามารถในการอดทนรอคอยอาจไม่เป็นสมรรถนะที่ถูกกำหนดไว้โดยตรงในมาตรฐาน หลักสูตรทุกระดับการศึกษา ทั้งนี้เพราะเป็นสมรรถนะที่วัดได้ยากและส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ยากเช่นกัน ในทางตรงข้าม การเรียนการสอนกลับส่งเสริมการตอบสนองอย่างทันที และเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองมากขึ้น ๆ รวมทั้งพยายามพัฒนาเทคโนโลยีที่เชื่องช้าและต้องรอคอยให้กลายเป็นเทคโนโลยี ที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทันใจ สามารถรู้ผลอย่างรวดเร็วในทุกๆ กิจกรรมของการทำงาน ถึงแม้พัฒนาการด้านต่างๆ เพื่อลดการรอคอยด้วยการใช้เทคโนโลยีอาจไม่ส่งผลโดยตรงกับบุคลิกภาพของบุคคล ที่จะทำให้สมรรถนะในการอดทนรอคอยลดลง แต่เทคโนโลยีก็ไม่ส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางด้านการอดทนรอคอยเช่นกัน สภาพและอาการของบุคคลที่มีอาการ “รอไม่ได้” จึงพบเห็นได้มากและบางครั้งเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
การ สอนให้มีความอดทนรอคอย เป็นกลวิธีการสอนชั้นสูง และการออกแบบการสอนต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของทั้งกระบวนการเรียนและกระบวนการสอน กลวิธีการสอนให้มีความอดทนรอคอยได้นั้นสามารถทำการศึกษาได้จากการวิเคราะห์ กลวิธีการสอนในพุทธศาสนา เช่น วิธีการสอนการเจริญกรรมฐาน การวิปัสสนา การเดินจงกรม การธุดงค์ การสวดมนต์ รวมทั้งวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดให้พระสงฆ์ หรือผู้ทรงศีลพึงปฏิบัติ ในขณะเดียวกันหลักปฏิบัติของศาสนาอื่น ๆ ทุกศาสนาก็แฝงด้วยอุบายต่างๆ เพื่อการฝึกความอดทนเช่นกัน การถอดบทเรียน (Lesson Distilled) จากคำสอนในศาสนาต่างๆ จะทำให้ได้กลวิธีการสอนให้เกิดความสามารถในการอดทนรอคอยได้
จากผลการ วิจัยล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในสัญญา ถ้ามีการผิดสัญญาความเชื่อถือในสัญญาที่ต้องมีการกำหนดเวลาให้รอคอยก็จะลดลง การทำผิดสัญญาก็อาจเกิดมากขึ้น ซึ่งคู่สัญญาไม่อาจอดทนรอคอยได้ สำหรับคำพังเพยต่างๆ ที่อาจถูกหยิบยกขึ้นมาสนับสนุนและคัดค้านรวมทั้งเป็นการให้เหตุผลในการ ละเมิดสัญญา และไม่ยอมอดทนรอคอยได้แก่ “น้ำขึ้นให้รีบตัก” “นกในมือหนึ่งตัว ดีกว่านกทั้งฝูงในพุ่มไม้” หรือ อื่นๆ ในขณะที่อีกฝ่ายอาจจะใช้คำพังเพยได้แก่ “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” และอื่นๆ ที่สนับสนุนให้มีความอดทนรอคอย
การ ทำความเข้าใจและอธิบายคำพังเพยเหล่านี้เป็นประการแรกที่ผู้สอนต้องใช้กลวิธี ในการอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะเจตนาและความหมายของคำพังเพยนั้น เพราะคำพังเพยนั้นบางครั้งเป็นบทสรุปของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ มากกว่าจะใช้เป็นคำสอนที่จะควรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ คำพังเพยจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงในระดับที่เป็น “ปรัชญา” ที่จะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
การ จัดกิจกรรมที่ต้องใช้ความอุตสาหะ และความพยายามอย่างมาก หรือกิจกรรมยากๆ ให้กับผู้เรียนนอกจากจะทำให้ผู้เรียนใช้สมรรถนะที่ซับซ้อนทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ (Intelligent Quotient) แล้วยังส่งเสริมให้เกิด EQ ซึ่งความอดทนรอคอยเป็นส่วนหนึ่งของ EQ แต่ดูเหมือนว่ากิจกรรมการศึกษาในปัจจุบันไม่นิยมจัดกิจกรรมที่ยากๆ ให้ผู้เรียน เพราะผู้เรียนไม่ชอบเรียนยากๆ ทำอะไรยากๆ อยากเรียนง่ายๆ จบง่ายๆ และมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งสามารถตอบสนองผู้ต้องการเรียนแบบง่ายๆ จบเร็วๆ ให้ได้ด้วย
การสอนให้มีความอดทนในการเรียนการสอนวิชาชีพ ช่างอุตสาหกรรมที่ประจักษ์คือ การฝึกช่างฝีมือด้วยอุปกรณ์พื้นฐานงานช่าง ตัวอย่างเช่น งานตะไบ ผู้ฝึกจะต้องมีสมาธิ อดทนต่อสภาพของการทำงาน ถ้าพลาดพลั้งอาจเกิดความเสียหายและอันตราย ผู้ฝึกต้องอดทนรอคอยการเปลี่ยนแปลงของชิ้นงานจากการทำงานอย่างช้าๆ ตามลำดับ ไม่สามารถรวบรัดข้ามขั้นตอนได้ ผู้ผ่านการฝึกจึงมีความอดทน สู้งาน รอคอยผลสำเร็จที่ดีกว่า ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ หรือ เอกลักษณ์ของสถาบันการศึกษาบางแห่งเท่านั้นที่สามารถผลิตกำลังคนประเภทนี้ ได้
การอดทนทำตามขั้นตอนและรอให้บรรลุผลตามขั้นตอนเป็นการปฏิบัติตาม สัญญา ด้วยการมีวินัย ยึดมั่นในพันธะและสัญญา ให้ความสำคัญกับกระบวนการไม่น้อยกว่าผลลัพธ์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของใบงาน การบ้าน กิจกรรมการประลอง แบบฝึกหัด และการสอบต่างๆ ที่มีการตกลงกันไว้ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการเรียนการสอนบนสัญญาการเรียนรู้ (Learning Contracts) และถ้าผู้เรียนและผู้สอนทำตามสัญญาที่ตกลงกันได้ถือว่าทั้งผู้เรียนและผู้ สอน ต่างฝ่ายต่างมีความสามารถในการอดทนรอคอยได้อย่างมีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบ นับเป็นความสำเร็จของการเรียนและการสอนที่ให้ผู้เรียนและผู้สอนรู้จักอดทนรอ คอยได้อย่างดี
สำหรับการเรียนการสอนในระดับสูงขึ้นเช่น ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต การกำหนดเวลาและกระบวนการที่มีขั้นตอนชัดเจน เช่น มีกำหนดเวลาขั้นต่ำและขั้นสูงของการศึกษา และการทำดุษฎีนิพนธ์ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 365 วัน มีกระบวนการสอบผ่านแต่ละขั้นตอนเช่น การสอบกลั่นกรองหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การสอบหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การสอบก้าวหน้า การสอบป้องกัน (บางมหาวิทยาลัยเรียกว่าการสอบปกป้อง) การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ และการสอบความสามารถทางภาษา การสอบวัดคุณสมบัติ และอื่นๆ ที่เป็นข้อกำหนดต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เวลาและการอดทนรอคอยทั้งสิ้น
ผู้ที่สามารถจบการ ศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตได้จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอดทนรอคอย ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรไร้รูปอีกใบหนึ่งที่อยู่คู่กับใบปริญญา เพื่อยืนยันว่า ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทำตามสัญญาครบถ้วนแล้ว การเรียนการสอนบนสัญญาการเรียนรู้ (Learning Contracts) จึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่สามารถสร้างความอดทนรอคอย (Delayed Gratification) ได้เป็นอย่างดี
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/318249
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น