การแจก Tablets การให้อิสระกับทรงผม และการลดการบ้านในส่วนของนักเรียน
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ประชาชนทั่วไปรับรู้ผ่านสื่อสารมวลชน รวมทั้งการเพิ่มเงินเดือน
ค่าตอบแทน และตำแหน่งที่สูงขึ้นของครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานจนมากกว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยและข้าราชการอื่นๆ
ในกระทรวงศึกษาธิการ ล้วนเป็นกระบวนการของความพยายามที่จะทำให้เกิดคุณภาพทางการศึกษาที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้เมื่อมีการจัดอันดับคุณภาพทางการศึกษาใน
ประชาคมโลก
ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวที่รับรู้ได้นั้นเป็นเพียงส่วนย่อย (Atomistic) ของกระบวนการองค์รวม (Holistic) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เนื่องจากคุณภาพการศึกษาเป็นเป้าหมายทางอุดมคติที่สูงมาก และต้องใช้กระบวนการบริหารจัดการที่ซับซ้อนเพื่อการดำเนินการให้เกิดคุณภาพ ทางการศึกษา จึงไม่อาจดำเนินการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะทำให้ เกิดผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการตัดสินคุณค่าหรือการประเมินกระบวนการหรือส่วนย่อยต่างๆ เพียงส่วนเดียว ทั้งด้านบวกหรือด้านลบ ด้วยการใช้ความรู้ ประสบการณ์ สามัญสำนึก หรือใช้กระบวนการวิจัยก็ตาม จึงไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะส่งผลอ้างอิงไปถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษาในองค์รวม ได้
“นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” หรือ “Quality Teaching Innovation” เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากที่ประชุมโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา หรือ HERP (HERP = Higher Education Research Promotion) ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 มกราคม 2556 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (HERP เป็นโครงการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดสรรทุนวิจัยและทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกให้กับมหาวิทยาลัย 70 แห่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554) โดยมี ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นผู้ริเริ่มให้นำ “นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” ทดลองใช้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ท่านเคยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏดังกล่าว
การเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งสามแห่งดังกล่าวสำหรับการเริ่มต้นโครงการ “นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” เนื่องจากต้องการความร่วมมือจากผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในการเริ่มต้น ประกอบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏดังกล่าวมีชื่อเสียงและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ของการเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และพัฒนามาสู่การเป็นวิทยาลัยครู และเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันตามลำดับ
มหาวิทยาลัย ราชภัฏจึงมีบุคลากรและองค์ความรู้สำหรับการสอนที่มีคุณภาพอยู่มาก นอกจากนั้นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏยังมีความหลากหลาย มีนักศึกษาที่มีความสามารถทางสติปัญญาสูงจำนวนมากที่สามารถจะเรียนสาขาวิชา ที่เป็นที่นิยม ในมหาวิทยาลัยที่ได้รับความนิยม แต่พวกเขาเหล่านั้นเลือกที่จะเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพราะเป็นมหาวิทยาลัยใน ถิ่นฐานของตน นอกจากนั้นยังมีนักศึกษาที่สนใจหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏและตรงกับความ ต้องการ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมีหลักสูตรที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้จำนวนมาก มีความเป็น Comprehensive University มากขึ้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานไปศึกษาที่อื่น และประการสำคัญมากคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถานศึกษาของรัฐ มีค่าใช้จ่ายในการศึกษาไม่มาก และมีศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญาเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทุกประการ จึงทำให้มีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีความหลากหลายกว่ามหาวิทยาลัย อื่นๆ
จากเหตุผลหลักด้านบุคลากรและองค์ความรู้ทางด้านคุณภาพทางการส อน กับความหลากหลายของนักศึกษา จึงทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความเหมาะสมที่จะนำ “นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” มาทดลองใช้เพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบของการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอื่นๆ และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ที่ต้องการนำไปพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนต่อไปได้
การสร้างนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ
นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ นอกจากจะเป็นสิ่งใหม่ตามความหมายของความเป็น “นวัตกรรม” ในลักษณะต่างๆ แล้ว (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://met.fte.kmutnb.ac.th/images/diffusion.pdf ) ยังต้องมีความสอดคล้องกับรูปแบบความสัมพันธ์ของคนในสังคมอีกด้วย นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ เป็นนวัตกรรมในรูปแบบของ “ความคิดเชิงคุณภาพ” (Quality Thinking) ซึ่งเกิดจากกระบวนการสำคัญ 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. ขั้นการสรุปบทเรียน (Lesson Learned) เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านการสอน จากการจัดกิจกรรมการสอน เทคนิคและวิธีการสอน สื่อการสอน และการวัดและประเมินผลที่ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาโดยตลอด ในขั้นตอนนี้บุคลากรที่เคยสร้างผลงานการสอนที่มีคุณภาพ หรือบุคลากรประจำการที่มากด้วยประสบการณ์ควรได้รับการเชิญมาร่วมกันทำการ สรุปบทเรียน
2. ขั้นการถอดบทเรียน (Lesson Distilled) เป็นการกลั่นกรององค์ความรู้ต่างๆ จากการสรุปบทเรียนและเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป ทั้งในรูปแบบของความสัมพันธ์ในสังคม วิถีชีวิตของอาจารย์และนักศึกษา เทคโนโลยีที่เหมาะสม ความพร้อมของฝ่ายสนับสนุน ตลอดจนระดับเศรษฐกิจหรือค่าใช้จ่ายของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ และมหาวิทยาลัยที่จะสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ประเด็นสำคัญในขั้นนี้คือ ค่านิยมคุณภาพ ที่อาจมีความเห็นที่แตกต่าง เช่น ค่านิยมคุณภาพในด้านของความเป็นเลิศ (Excellence) หรือคุณภาพในด้านเพียงเพื่อการสนองได้ตรงตามความต้องการ (Fit to the Needs) ซึ่งต้องหาความพอดี หรือข้อตกลงระหว่างค่านิยมคุณภาพทั้งสองประการนี้ในบริบทของมหาวิทยาลัย ราชภัฏให้ได้
3. ขั้นการเข้ารหัสนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ (Quality Teaching Innovation Encoded) เป็นขั้นที่เกิดรูปแบบนวัตกรรม “ความคิดเชิงคุณภาพ” ทางการสอน อาจเป็นกลุ่มของคำ วาทกรรม หรือเป็นภาษาคำพูดที่สามารถจดจำได้ง่าย อาจมีการสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) หรือสัญรูป (Icon) เป็นตัวแทนของนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ ซึ่งจะสามารถจดจำนำไปใช้เป็นแนวทางของการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ อาจจะอยู่ในรูปของ Apps สำหรับ Tablets และ Smart Phones ในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลามาก อาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กับขั้นของการถอดบทเรียน และเป็นผลของการที่ได้ถอดบทเรียนแล้ว การเข้ารหัสนวัตกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ผ่านขั้นตอนของการสรุปบทเรียนและ ถอดบทเรียนมาก่อน (Apps หมายถึง Application Software เป็นโปรแกรมที่ออกแบบสำหรับการใช้งานตามจุดประสงค์เฉพาะกับอุปกรณ์เฉพาะ อย่าง)
4. ขั้นการถอดรหัสนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ (Quality Teaching Innovation Decoded) สำหรับนำไปใช้ในการสอน จะเห็นว่านวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพนั้นไม่ได้เป็นชุดการสอน บทเรียนสำเร็จรูป หรือมอดูลเพื่อนำไปใช้สอน แต่เป็น “รูปแบบความคิดทางการสอน” ที่ต้องนำไปถอดรหัสก่อน อาจารย์มหาวิทยาลัยมีความสามารถทางการสอนอยู่แล้ว มีความเชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา มีความเข้าใจบริบทของการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนอยู่แล้ว การมีรูปแบบนวัตกรรมการสอนเชิงความคิดไปใช้ด้วยการถอดรหัสตามบริบทและความ ถนัดของอาจารย์แต่ละท่าน อาจจะผ่านทาง Apps ต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจ กระตุ้นการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เกิดขึ้น
5. ขั้นการเผยแพร่นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ (Quality Teaching Innovation Diffusion) การเผยแพร่ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ มีรูปแบบ วิธีการต่างๆ ทั้งกระบวนการทางบริหารและการสั่งการ ซึ่งผู้บริหารจะมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ด้วยวิธีการนี้ ทั้งในส่วนของการ สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานของการใช้นวัตกรรม และรวมทั้งการกำหนดมาตรการต่างๆ ทางการบริหารจัดการเพื่อการส่งเสริมการใช้นวัตกรรม การได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารจึงมีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีกระบวนการทางสังคม และกระบวนการเผยแพร่ที่ใช้วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อการเผยแพร่นวัตกรรม (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก http://met.fte.kmutnb.ac.th/images/diffusion.pdf )
การ ถอดรหัสนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ (Quality Teaching Innovation Decoded) เป็นภารกิจที่ขึ้นอยู่กับสมรรถนะทางการสอน และความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งจะสอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะการจะเผยแพร่นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ นั้นต้องยอมรับความเป็นจริงว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยเชื่อมั่นในการสอนของตนเอง มาก การหยิบยื่นนวัตกรรมการสอนสำเร็จรูปให้นอกจากจะไม่เหมาะสมแล้วยังไม่สอด คล้องกับบริบทในบทบาทของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอีกด้วย
การนำเส นอนวัตกรรมในรูปแบบ “ความคิดเชิงคุณภาพ” ของการสอน เพื่อให้อาจารย์นำไปถอดรหัสแล้วเลือกกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมแก่ตน เองจะเป็นแนวทางที่ประสบความสำเร็จได้อย่างมาก และยังนำไปสู่การวิจัยต่อยอดทางด้านการสอนได้อีกมากเช่นกัน ภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งสามแห่งที่เข้าร่วมโครงการ "นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ" คือ ต้องค้นหา หรือพัฒนานวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน ถึงแม้จะเป็นองค์ประกอบย่อย ระดับ Atomistic ขององค์รวมคุณภาพของการศึกษาระดับ Holistic ก็ตาม
การช่วยกันเริ่ม ต้นลงมือทำสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่าองค์ประกอบย่อย (Atomistic) ให้ดีก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาขยายออกไปให้ใหญ่ขึ้นและกว้างขวางมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic) เป็นความคิดที่อยู่เบื้องหลังของโครงการนี้
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวที่รับรู้ได้นั้นเป็นเพียงส่วนย่อย (Atomistic) ของกระบวนการองค์รวม (Holistic) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เนื่องจากคุณภาพการศึกษาเป็นเป้าหมายทางอุดมคติที่สูงมาก และต้องใช้กระบวนการบริหารจัดการที่ซับซ้อนเพื่อการดำเนินการให้เกิดคุณภาพ ทางการศึกษา จึงไม่อาจดำเนินการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะทำให้ เกิดผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการตัดสินคุณค่าหรือการประเมินกระบวนการหรือส่วนย่อยต่างๆ เพียงส่วนเดียว ทั้งด้านบวกหรือด้านลบ ด้วยการใช้ความรู้ ประสบการณ์ สามัญสำนึก หรือใช้กระบวนการวิจัยก็ตาม จึงไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะส่งผลอ้างอิงไปถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษาในองค์รวม ได้
“นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” หรือ “Quality Teaching Innovation” เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากที่ประชุมโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา หรือ HERP (HERP = Higher Education Research Promotion) ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 มกราคม 2556 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (HERP เป็นโครงการภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดสรรทุนวิจัยและทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกให้กับมหาวิทยาลัย 70 แห่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554) โดยมี ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นผู้ริเริ่มให้นำ “นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” ทดลองใช้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ท่านเคยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏดังกล่าว
การเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งสามแห่งดังกล่าวสำหรับการเริ่มต้นโครงการ “นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” เนื่องจากต้องการความร่วมมือจากผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในการเริ่มต้น ประกอบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏดังกล่าวมีชื่อเสียงและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ของการเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และพัฒนามาสู่การเป็นวิทยาลัยครู และเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันตามลำดับ
มหาวิทยาลัย ราชภัฏจึงมีบุคลากรและองค์ความรู้สำหรับการสอนที่มีคุณภาพอยู่มาก นอกจากนั้นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏยังมีความหลากหลาย มีนักศึกษาที่มีความสามารถทางสติปัญญาสูงจำนวนมากที่สามารถจะเรียนสาขาวิชา ที่เป็นที่นิยม ในมหาวิทยาลัยที่ได้รับความนิยม แต่พวกเขาเหล่านั้นเลือกที่จะเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพราะเป็นมหาวิทยาลัยใน ถิ่นฐานของตน นอกจากนั้นยังมีนักศึกษาที่สนใจหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏและตรงกับความ ต้องการ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมีหลักสูตรที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้จำนวนมาก มีความเป็น Comprehensive University มากขึ้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานไปศึกษาที่อื่น และประการสำคัญมากคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถานศึกษาของรัฐ มีค่าใช้จ่ายในการศึกษาไม่มาก และมีศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญาเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทุกประการ จึงทำให้มีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีความหลากหลายกว่ามหาวิทยาลัย อื่นๆ
จากเหตุผลหลักด้านบุคลากรและองค์ความรู้ทางด้านคุณภาพทางการส อน กับความหลากหลายของนักศึกษา จึงทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความเหมาะสมที่จะนำ “นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” มาทดลองใช้เพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบของการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอื่นๆ และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ที่ต้องการนำไปพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนต่อไปได้
การสร้างนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ
นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ นอกจากจะเป็นสิ่งใหม่ตามความหมายของความเป็น “นวัตกรรม” ในลักษณะต่างๆ แล้ว (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://met.fte.kmutnb.ac.th/images/diffusion.pdf ) ยังต้องมีความสอดคล้องกับรูปแบบความสัมพันธ์ของคนในสังคมอีกด้วย นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ เป็นนวัตกรรมในรูปแบบของ “ความคิดเชิงคุณภาพ” (Quality Thinking) ซึ่งเกิดจากกระบวนการสำคัญ 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. ขั้นการสรุปบทเรียน (Lesson Learned) เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านการสอน จากการจัดกิจกรรมการสอน เทคนิคและวิธีการสอน สื่อการสอน และการวัดและประเมินผลที่ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาโดยตลอด ในขั้นตอนนี้บุคลากรที่เคยสร้างผลงานการสอนที่มีคุณภาพ หรือบุคลากรประจำการที่มากด้วยประสบการณ์ควรได้รับการเชิญมาร่วมกันทำการ สรุปบทเรียน
2. ขั้นการถอดบทเรียน (Lesson Distilled) เป็นการกลั่นกรององค์ความรู้ต่างๆ จากการสรุปบทเรียนและเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป ทั้งในรูปแบบของความสัมพันธ์ในสังคม วิถีชีวิตของอาจารย์และนักศึกษา เทคโนโลยีที่เหมาะสม ความพร้อมของฝ่ายสนับสนุน ตลอดจนระดับเศรษฐกิจหรือค่าใช้จ่ายของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ และมหาวิทยาลัยที่จะสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ประเด็นสำคัญในขั้นนี้คือ ค่านิยมคุณภาพ ที่อาจมีความเห็นที่แตกต่าง เช่น ค่านิยมคุณภาพในด้านของความเป็นเลิศ (Excellence) หรือคุณภาพในด้านเพียงเพื่อการสนองได้ตรงตามความต้องการ (Fit to the Needs) ซึ่งต้องหาความพอดี หรือข้อตกลงระหว่างค่านิยมคุณภาพทั้งสองประการนี้ในบริบทของมหาวิทยาลัย ราชภัฏให้ได้
3. ขั้นการเข้ารหัสนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ (Quality Teaching Innovation Encoded) เป็นขั้นที่เกิดรูปแบบนวัตกรรม “ความคิดเชิงคุณภาพ” ทางการสอน อาจเป็นกลุ่มของคำ วาทกรรม หรือเป็นภาษาคำพูดที่สามารถจดจำได้ง่าย อาจมีการสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) หรือสัญรูป (Icon) เป็นตัวแทนของนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ ซึ่งจะสามารถจดจำนำไปใช้เป็นแนวทางของการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ อาจจะอยู่ในรูปของ Apps สำหรับ Tablets และ Smart Phones ในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลามาก อาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กับขั้นของการถอดบทเรียน และเป็นผลของการที่ได้ถอดบทเรียนแล้ว การเข้ารหัสนวัตกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ผ่านขั้นตอนของการสรุปบทเรียนและ ถอดบทเรียนมาก่อน (Apps หมายถึง Application Software เป็นโปรแกรมที่ออกแบบสำหรับการใช้งานตามจุดประสงค์เฉพาะกับอุปกรณ์เฉพาะ อย่าง)
4. ขั้นการถอดรหัสนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ (Quality Teaching Innovation Decoded) สำหรับนำไปใช้ในการสอน จะเห็นว่านวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพนั้นไม่ได้เป็นชุดการสอน บทเรียนสำเร็จรูป หรือมอดูลเพื่อนำไปใช้สอน แต่เป็น “รูปแบบความคิดทางการสอน” ที่ต้องนำไปถอดรหัสก่อน อาจารย์มหาวิทยาลัยมีความสามารถทางการสอนอยู่แล้ว มีความเชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา มีความเข้าใจบริบทของการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตนอยู่แล้ว การมีรูปแบบนวัตกรรมการสอนเชิงความคิดไปใช้ด้วยการถอดรหัสตามบริบทและความ ถนัดของอาจารย์แต่ละท่าน อาจจะผ่านทาง Apps ต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจ กระตุ้นการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เกิดขึ้น
5. ขั้นการเผยแพร่นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ (Quality Teaching Innovation Diffusion) การเผยแพร่ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ มีรูปแบบ วิธีการต่างๆ ทั้งกระบวนการทางบริหารและการสั่งการ ซึ่งผู้บริหารจะมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ด้วยวิธีการนี้ ทั้งในส่วนของการ สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานของการใช้นวัตกรรม และรวมทั้งการกำหนดมาตรการต่างๆ ทางการบริหารจัดการเพื่อการส่งเสริมการใช้นวัตกรรม การได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารจึงมีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีกระบวนการทางสังคม และกระบวนการเผยแพร่ที่ใช้วิธีการเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อการเผยแพร่นวัตกรรม (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก http://met.fte.kmutnb.ac.th/images/diffusion.pdf )
การ ถอดรหัสนวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ (Quality Teaching Innovation Decoded) เป็นภารกิจที่ขึ้นอยู่กับสมรรถนะทางการสอน และความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งจะสอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะการจะเผยแพร่นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ นั้นต้องยอมรับความเป็นจริงว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยเชื่อมั่นในการสอนของตนเอง มาก การหยิบยื่นนวัตกรรมการสอนสำเร็จรูปให้นอกจากจะไม่เหมาะสมแล้วยังไม่สอด คล้องกับบริบทในบทบาทของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอีกด้วย
การนำเส นอนวัตกรรมในรูปแบบ “ความคิดเชิงคุณภาพ” ของการสอน เพื่อให้อาจารย์นำไปถอดรหัสแล้วเลือกกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมแก่ตน เองจะเป็นแนวทางที่ประสบความสำเร็จได้อย่างมาก และยังนำไปสู่การวิจัยต่อยอดทางด้านการสอนได้อีกมากเช่นกัน ภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งสามแห่งที่เข้าร่วมโครงการ "นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ" คือ ต้องค้นหา หรือพัฒนานวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน ถึงแม้จะเป็นองค์ประกอบย่อย ระดับ Atomistic ขององค์รวมคุณภาพของการศึกษาระดับ Holistic ก็ตาม
การช่วยกันเริ่ม ต้นลงมือทำสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่าองค์ประกอบย่อย (Atomistic) ให้ดีก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาขยายออกไปให้ใหญ่ขึ้นและกว้างขวางมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic) เป็นความคิดที่อยู่เบื้องหลังของโครงการนี้
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/324340
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น