วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต


คณะโบราณคดี  
             โดยภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะได้ดำเนินการการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตตามแผนกลยุทธ์ดังนี้ (1) วิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้หรือการจัดการความรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ความรู้ในด้านวิธีการมอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาทำรายงาน ความรู้ในด้านการเสนอแนะนักศึกษาในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ความรู้ในการควบคุมการอภิปรายกลุ่มย่อยของนักศึกษา ความรู้และวิธีปฏิบัติในการนำนักศึกษาออกทัศนศึกษา เป็นต้น  (2) วิธีส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนกับหน่วยงานภายนอก ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น ขั้นตอนและวิธีการเขียนหนังสือราชการถึงหน่วยงานภายนอก ขั้นตอนและวิธีการแสวงหาความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น

คณะอักษรศาสตร์
ได้ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ ประจำปี 2554 การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนด เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร : ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์กรและจรรยาบรรณของผู้บริหาร โดยผู้บริหารทุกระดับของคณะอักษรศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านการบริหารเป็นอย่างดี (เอกสารหมายเลข arts 7.2.3)  โครงการจัดการความรู้ เรื่อง การผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Power Point ขั้นสูง ที่บุคลากรคณะอักษรศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ว่าที่ร้อยตรีพิเชษฐ์  ทองนาวา  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้โปรแกรม Power Point และมีเทคนิคเฉพาะตัวสูง (เอกสารหมายเลข arts 7.2.4)    โครงการจัดการความรู้เรื่อง “การอบรมการออกข้อสอบวิชาภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ” (เอกสารหมายเลข arts 7.2.5) 
คณะศึกษาศาสตร์
             การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ http://www.educ.su.ac.th/images/stories/KM1.pdf

คณะวิทยาศาสตร์
             การใช้ Microsoft word เพื่อพัฒนาเอกสารและสื่อการสอน http://www.sc.su.ac.th/teaching/ms_word01.pdf

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
             การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ คณะฯ ได้รวบรวมองค์ความรู้จากคณาจารย์ทุกคนเพื่อหาแนวทางการสอน รวมไปถึงเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในประเด็นต่างๆ เช่น การส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดด้วยการระดมสมอง การกระตุ้นให้นักศึกษากล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นตนเอง ความเคารพตนเอง ใฝ่รู้ และไม่กลัวต่ออุปสรรคต่างๆ เป็นต้น โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์

คณะวิทยาการจัดการ
             การจัดการเรียนการสอน โดยได้ทำการรวบรวมเอกสารจากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาของอาจารย์ทางด้านการเรียนการสอนภาษาในปีการศึกษา 2553 นอกจากนี้ ยังได้สืบค้นจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ อาทิ ห้องสมุด และทางอินเตอร์เน็ต) และนำเอกสารที่ได้รับทั้งหมดมารวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้านการเรียนการสอน และเพื่อให้สามารถเข้าถึงความรู้ จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามารถด้านการเรียนการสอนมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ (เอกสารหมายเลข วก 7.2.4-3 ถึง วก 7.2.4-5)

วิทยาลัยนานาชาติ
             มีการจัดโครงการการจัดการความรู้ โดยเชิญบุคลากรภายในที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติงานในสำนักงานมาถ่ายทอดความรู้ เคล็ดลับ หรือนวัตกรรม แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อการพัฒนาองค์กร รวมถึงการจัดบุคลากรที่มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดีมาช่วยถ่ายทอดทักษะ ส่วนประเด็นอื่นๆ อยู่ระหว่างการดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนกับคณาจารย์ Birmingham City University ด้วย (เอกสารหมายเลข 7.2.3-1)

คณะมัณฑนศิลป์
             ได้จัดทำ ขั้นตอน และคู่มือปฏิบัติงานสำนักงาน และได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 ครั้งในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำตัวชี้วัดKPIs ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการรอบ 6 เดือนของบุคลากร หัวหน้าภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา และหัวหน้าภาควิชาประยุกตศิลปศึกษาได้ดำเนินการตามกระบวนการจัดการความรู้ และได้นำเสนอวิธีการคำนวณ และเกณฑ์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ภาควิชาอื่น ๆได้นำไปพิจารณาปรับใช้ในภาควิชา ตามความเหมาะสม มศ 7.2 ก5-1 7.2 5 บรรยายคู่มือคณะวิทย์ มศ 7.2 ก5-2 7.2 5 บรรยายคู่มือคณะอักษร มศ 7.2 ก5-3 และ7.5 5 หลักเกณฑ์พิจารณา KPI)   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น