วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดการความรู้กลุ่มสายสนับสนุน

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ได้จัดให้มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะวิชาอื่น คู่มือการปฏิบัติงาน วศ 7.2.3-7 www.eng.su.ac.th KM การจัดการความรู้)
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การพัฒนากระบวนการเบิกจ่ายกิจกรรม/โครงการ คณะฯ ได้รวบรวมองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงินและงบประมาณโดยตรง เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาสามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้ถูกต้อง อีกทั้งลดระยะเวลาในการกลับมาแก้ไข
คณะวิทยาการจัดการ
การจัดทำคู่มือการทำงาน โดยการสำรวจความต้องการของบุคลากรสายสนับสนุนรายบุคคลในเรื่องการจัดการความรู้พบว่า มีความสนใจในการพัฒนาคู่มือการทำงาน และเริ่มเขียนขั้นตอนการทำงานพร้อมทั้งรวบรวมให้เป็นระบบ จากนั้น จึงได้เชิญผู้มีประสบการณ์ในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ในการจัดสัมมนาอาจารย์และบุคลากร เมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2554 (เอกสารหมายเลข วก 7.2.4-6 ถึง วก 7.2.4-8)
บัณฑิตวิทยาลัย
มีการจัดโครงการการจัดการความรู้ โดยเชิญบุคลากรภายในหรือภายนอกที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวิชาการและผลงานทางด้านวิจัย มาถ่ายทอดความรู้ เคล็ดลับ หรือนวัตกรรม แนวปฏิบัติที่ดี โดยมีเวที การจัดประชุมสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเจ้าของความรู้ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยการดำเนินการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “จากหิ้งสู่ชุมชน” ครั้งที่ 1 เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้บริหารจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเพชรบุรี องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน นักวิชาการที่สนใจและบุคลากรของบัณฑิตวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข อ.7.2.6)
สำนักหอสมุดกลาง
มีการแบ่งปันผ่าน Blog การประชุม การเสวนา และการสัมมนาในหน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการฯ (สห 7.2.3–1) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้และทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง โดยเชิญ ผศ.ดร. นรงค์ ฉิมพาลี ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลางมาเล่าประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำดัชนีชี้วัดหน่วยงาน ดัชนีชี้วัดรายบุคคล การทำความเข้าใจกับบุคลากร และการวิพากษ์ KPI ให้กับบุคลากร (สห 7.2.3–2) รวมทั้งโครงการจดหมายเหตุฯ มีการศึกษาดูงานจดหมายเหตุ ณ หน่วยงานต่างๆ (สห 7.2.3–3)
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มีการจัดโครงการการจัดการความรู้ โดยเชิญบุคลากรภายในหรือภายนอกที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวิชาการและผลงานทางด้านวิจัย เช่น การจัดอบรมการใช้โปรแกรมระบบบริหารงานวิจัย (NRPM) การฝึกทักษะการนำเสนอต่อที่ประชุมระดับนานาชาติ การเขียนบทความภาษาอังกฤษเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ การจัดระบบทางการเงินของหน่วยงาน และการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน โดยมีเวที การจัดประชุม อบรม สัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเจ้าของความรู้ เพื่อการพัฒนาหน่วยงานและมหาวิทยาลัย และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ (เอกสารหมายเลข สว 2.4.1-4, สว 2.4.1-5, สว 4.1.2-2, สว 4.2.2-1, สว 4.2.2-2 และ สว 7.2.2-1)
หอศิลป์ได้จัดการความรู้ที่มีความจำเป็นต่อหอศิลป์
คือ การอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม เพราะหอศิลป์มีผลงานศิลปกรรมที่มีอายุมากและจำเป็นต้องซ่อมแซม ดังนั้นการจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและลงมือปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรของหอศิลป์รวมทั้งผู้สนใจ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีประสบการณ์ตรงและมีความชำนาญได้ถ่ายทอดความรู้ของตน ในขณะเดียวกันบุคลากรของหอศิลป์และผู้สนใจซึ่งมีความสนใจในประเด็นที่สอดคล้องกันแม้นมีประสบการณ์น้อยในเชิงปฏิบัติแต่ศึกษาภาคทฤษฎีมามาก จึงก่อให้เกิดบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีโดยวิทยากร 3 ท่าน คือ (1) อาจารย์สมศักดิ์ แตงพันธ์ ข้าราชการบำนาญ ผู้เชี่ยวชาญในการอนุรักษ์ผลงาน ศิลปกรรม จัดการความรู้ “การอนุรักษ์ผลงานผ้าใบ” (2) อาจารย์ขวัญจิต เลิศศิริ ข้าราชการในสังกัดกลุ่มวิทยาศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม เจ้าหน้าที่ในกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม สำนักโบราณคดี ผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการอนุรักษ์ผลงานกระดาษ จัดการความรู้ “การอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรมบนกระดาษ” และ (3) อาจารย์ชลิต สิงหศิริ ข้าราชการในสังกัดกลุ่มวิทยาศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม เจ้าหน้าที่ในกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม สำนักโบราณคดี จัดการความรู้ “เคมีภัณฑ์เพื่อใช้ในการอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม” โดยได้ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการทำงาน และได้นำตัวอย่างบางส่วนมาให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกทักษะ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริงได้ (เอกสารหมายเลข 7.2.3-1 ถึง 7.2.3-3)
สำนักงานอธิการบดี
ได้ดำเนินนการตามแผนการจัดการความรู้ โดยขอบเขต KM 3 โครงการการจัดการความรู้ เรื่องระเบียบงานสารบรรณและการจัดการความรู้ (KM) ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรของกองในสำนักงานอธิการบดีและบุคลากรของคณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองกลาง และที่ประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในของสำนักงานอธิการบดียังเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (เอกสารหมายเลขสนอ. 7.2.3-1 ถึง สนอ. 7.2.3-3 และ สนอ. 7.2.1-5)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น