ปัจจุบันพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งระบบ (นับรวมพนักงานเงินงบประมาณแผ่นดิน เงินรายได้
พนักงาน ราชการอัตราจ้าง อาจารย์และลูกจ้างตามสัญญา) คิดเป็นสัดส่วน 70-90% ของบุคลากรทั้งหมด มหาวิทยาลัยบางแห่งมีพนักงานเป็นหมื่น คาดกันว่าในอีก 10-20 ปี ข้าราชการในมหาวิทยาลัยจะหมดไป เหลือแต่พนักงาน 100% แต่ขณะที่มีแนวโน้มว่าพนักงานจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
นั้น ระบบพนักงานมหาวิทยาลัยกลับพัฒนาอย่างไรทิศไร้ทาง
เริ่ม จากการจัดให้มีระบบพนักงานมหาวิทยาลัยตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ให้จ่ายอัตราเงินเดือนแรกบรรจุพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุน 1.7 และ 1.5 เท่าของอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เริ่มต้นก็เถียงกันว่าเป็นเงินเดือนอย่างเดียว หรือรวมสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นด้วย
ฝ่าย สกอ.กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณอ้างว่ารวมทุกอย่างหมด แต่ ครม.ไม่เข้าใจเอง เขียนว่าเป็น อัตราเงินเดือน อย่างเดียว ขณะที่ย้อนไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ครม.กลับมี
มติว่า ให้มหาวิทยาลัยกำหนดจำนวนบุคคลที่จะจ้างและอัตราค่าจ้างได้ภายในวงเงินงบ ประมาณที่ได้รับจัดสรรโดยได้รับความเห็นขอบจากสภามหาวิทยาลัย มีค่าเท่ากับให้อำนาจมหาวิทยาลัยกำหนดค่าจ้างได้เอง ระบบพนักงานมหาวิทยาลัยจึงกลายเป็นระบบที่ไม่มีขอบเขตแน่นอน
มหาวิทยาลัย หลายแห่งใช้วิธีหักเงิน 1.7 และ 1.5 ของพนักงานไปเป็นสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ซ้ำร้ายบางแห่งบริหารแบบดำมืด ไม่มีใครทราบว่าเงินส่วนที่ถูกหักถูกนำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง บางครั้งรู้แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องหักเงินไว้
0.2% นำไปสมทบกองทุนประกันสังคมและจ่ายค่าตำแหน่งทางวิชาการ เพราะนั่นมันเท่ากับมหาวิทยาลัยไม่ได้ออกเงินเพิ่มอะไรสักแดงเดียว
พนักงาน บางแห่งจึงใช้วิธีฟ้องศาลปกครองว่ามหาวิทยาลัยไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.ที่ให้จ่าย 1.7 และ 1.5 ซึ่งก็ได้ผลระดับหนึ่ง ผู้บริหารยอมคืน0.2% ให้ แต่ตั้งข้อแม้ว่าต้องทำผลงานทางวิชาการให้ได้ในเวลาที่กำหนด จึงกลายเป็นประเด็นเดือดต่ออีก
การหักเงินต่างกันจึงทำให้เกิดความ โกลาหลและลักลั่น ที่อเนจอนาถคือ บางแห่งหักมากจนพนักงานมหาวิทยาลัยได้ค่าจ้างต่ำกว่าอัตราแรกเข้าของข้า ราชการ อีกทั้งผู้บริหารบางคนมีทัศนคติเชิงลบและไม่มีแผนการล่วงหน้าอะไรเกี่ยวกับ พนักงานมหาวิทยาลัย อนาคตของพนักงานมหาวิทยาลัยแขวนอยู่บนเส้นด้ายบางๆ
ต้น ตอของปัญหามาจากการจัดตั้งระบบพนักงานโดยคิดวางแผนล่วงหน้า โดยเฉพาะไม่มีแม่แบบ (prototype) และศึกษาวิจัยให้ตกว่าจะให้เงินเดือน สวัสดิการ และเงินจูงใจอย่างไร จึงเหมาะสมกับตลาดแรงงานและการแข่งขันเพื่อให้เกิดการดึงดูด รักษา และจูงใจพนักงาน ส่วนไหนเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ส่วนไหนเป็นทางเลือก (options) ที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งสามารถเลือกได้เอง รัฐบาลเล่นโยนเงินให้ก้อนหนึ่ง เรียกว่า เงินอุดหนุนทั่วไป แล้วให้มหาวิทยาลัยไปบริหารเอง อ้างว่านี่แหละคือความเป็นอิสระทางวิชาการ ทั้งๆ ที่เป็นการปัดภาระอย่างชัดเจน
ข้างผู้บริหารมหาวิทยาลัย ค่าที่ไปหักเงิน 1.7 และ 1.5 มั่วไปหมด จึงเกิดระบบโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการที่แตกต่างกัน บางแห่งให้เงินเดือนเต็ม 1.7 และ 1.5 บางแห่งหักออกมาจัดกองทุนสวัสดิการสำรองเลี้ยงชีพประกันสังคม กองทุนสวัสดิการ ค่าตำแหน่งทางวิชาการ และสิทธิประโยชน์อื่น เมื่อระบบค่าตอบแทนแตกต่างกันผลที่ตามมา คือ เกิดความไม่เป็นธรรม 3 ด้าน ได้แก่ (1) ระดับบุคคล (2) ภายในองค์การ และ (3) ภายนอกองค์การ
ความ ไม่เป็นธรรมระดับบุคคล คือ เกิดการจ่ายที่ไม่เป็นไปตามผลงานและความอาวุโส โดยเฉพาะคนที่อยู่ก่อนเงินเดือนขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่ทันเด็กใหม่ เนื่องจากเกิดการปรับเงินเดือนใหม่อยู่เรื่อย ส่วนความไม่เป็นธรรมภายในเกิดเพราะองค์การจ่ายเงินไม่เป็นไปตามภาระความมาก น้อยและยากง่ายของงาน เนื่องจากไม่มีการวิเคราะห์
ค่างานและคิดต้นทุนการทำงาน ทั้งๆ ที่การคิดต้นทุนเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยนอกระบบ
ยิ่ง กว่านั้น ยังเกิดความไม่เป็นธรรมภายในอีกอย่าง เพราะระบบพนักงานมีหลายระบบ ทับซ้อนกัน และอาศัยระเบียบคนละฉบับ เช่น พนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณแผ่นดิน พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ พนักงานราชการและพนักงานสัญญาจ้างพนักงานเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง กันตามระเบียบและการดูแลของส่วนงาน อาทิ พนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณได้เงินเพิ่มค่าครองชีพ 5% เพราะรัฐบาลมีบัญชีถือจ่ายอยู่ในมือ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยอื่นไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ครม.
ใช้วิธีผลักภาระว่า มหาวิทยาลัยจะขึ้นให้ก็ได้ ถ้าหากมีรายได้ แต่จริงๆ ไม่ได้ขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่หวงเงินรายได้ หรือพนักงานเงินงบประมาณแผ่นดินขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ ส่วนพนักงานประเภทอื่นขอไม่ได้ หรือพนักงานสัญญาจ้างลาไปต่างประเทศไม่ได้ ค้ำประกันเงินกู้หรือขอกู้ธนาคารไม่ได้ เพราะมีความมั่นคงต่ำ
ส่วนด้านความไม่เป็นธรรมภายนอกหมายถึงความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัย
นอก จากนี้ ระบบพนักงานที่คุยนักคุยหนาว่าจะให้ผลตอบแทนที่เพียงพอ (มากกว่าข้าราชการ) จริงๆ ก็ไม่ใช่ เพราะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้พอกัน ส่วนค่าตำแหน่งทางวิชาการได้แค่ครึ่งเดียวของข้าราชการ ด้านโบนัสก็ได้น้อยกว่าเพราะให้โบนัสตามตำแหน่งบริหารที่ส่วนใหญ่เป็นข้า ราชการ โดยเฉพาะไม่มีส่วนแบ่งผลประโยชน์ (gain sharing) ที่เกิดจากการทำงานเกินมาตรฐาน หรือส่วนแบ่งกำไร (profit sharing)
เหตุผล หลักมาจากไม่มีคนจัดทำบัญชีต้นทุนและคิดการมีส่วนทำงานของกลุ่มต่อผลผลิต จึงไม่รู้ว่าพนักงานคนไหนทำมากหรือทำน้อย และจะแบ่งกำไรหรือขาดทุนกันอย่างไร ในมุมกลับก็ดีไปอย่าง เพราะระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานก็จะมั่วๆ ตามไปด้วย คนที่ไม่ทำอะไรก็ไม่ต้องถูกออก นั่งกินนอนกินในมหาวิทยาลัยได้สบาย ส่วนคนที่ถูกประเมินออก แน่ละว่าต้องเป็นคนที่ผู้มีอำนาจลึกลับในมหาวิทยาลัยให้ออก ข้อหาส่วนใหญ่มักเป็นเหม็นขี้หน้า หรือไม่เช่นนั้นก็ขัดผลประโยชน์ และมันเป็นสัจธรรมตามทฤษฎีสมคบคิดหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ เพราะผู้มีอำนาจลึกลับคนนั้นต้องเป็น ข้าราชการ ที่มีความมั่นคงในการทำงานอย่างล้นเหลือ ซึ่งคุกคามพนักงานตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ล่วงหน้าเสียด้วย
เมื่อเกิด ปัญหาขึ้นแทนที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะย้อนไปดูทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย และเตรียมการรับมือกับอนาคต กลับเรียกร้องกลับไปสู่มหาวิทยาลัยในระบบราชการ ซึ่งเป็นทิศทางที่เป็นไปไม่ได้ เพราะโลกล้วนต้องการลดขนาดของระบบราชการให้มีหุ่นเพรียวลมและรับผิดชอบต่อตน เอง ทางด้าน สกอ. สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง ก็พูดเป็นอย่างเดียวว่า ไม่มีระเบียบ จึงไม่มีอำนาจ ทุกอย่างอยู่ที่สภามหาวิทยาลัยตามกฎหมายที่อุตส่าห์เขียนให้แล้ว
นอก จากนี้ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพนักงานมีปัญหา สะท้อนจากที่ชอบพูดว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จัดระบบพนักงานได้เรียบร้อยดี ข้างสภามหาวิทยาลัยก็ซื่อบื้อจนสังคมมืดแปดด้านว่าจะสร้างกลไกอะไรจัดการกับ ท่านเซ่อร์ เหล่านี้ คิดไปการทำบัญชี
ผู้มีสิทธิเป็นสภา (waiting list) ก็เข้าท่าไม่น้อย ส่วนผู้บริหารก็มีปัญหาตรงที่ไม่เคยมองอะไรออกนอกตัว ราวกับว่าชีวิตนี้หากไม่ได้เป็นอธิการบดี รองอธิการบดี คงชักกระแด่วๆ ตาย
สภาพ ปัจจุบันจึงเป็นสภาพที่พนักงานมหาวิทยาลัยถูกสับโขก บอบช้ำ และโรยแรง เงินเดือนก็ไม่มาก สิทธิประโยชน์ก็ต่ำ ที่หนักข้อคือ ขาดความมั่นคง มหาวิทยาลัยไทยในปัจจุบันขาดระบบการประเมินผลที่ได้มาตรฐาน ไม่มีภูมิคุ้มกันในการอุทธรณ์และร้องทุกข์ในระบบ ก.พ.อ. ไม่มีตัวแทนระดับนโยบาย ซึ่งมีผลต่อคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยอย่างไม่ต้องสงสัย
ส่วน รัฐบาลก็ไม่รู้คิดอะไรกับการศึกษาไทย ที่ผ่านมามุ่งเพิ่มเงินเดือนครูนอกมหาวิทยาลัยเป็นเท่าๆ ตัวอีกทั้งหย่อนเกณฑ์การขอผลงานทางวิชาการจนเหมือนไล่แจก แต่สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะกลายเป็นผู้กุมชะตากรรมของมหาวิทยาลัยกลับ ไม่เหลียวแล มีกฎหมายรับรองสิทธิอยู่เพียงสองวรรค ส่วนนอกนั้น แผนพัฒนาพนักงานมหาวิทยาลัยสักฉบับก็ไม่เห็น โครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยก็ยังคงเดิม คิดกันได้แค่ยุบกับรวม แล้วก็ย้ายที่ตั้งไม่รู้ว่าระบบพนักงานมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่มันจะเจริญต่อ ไปได้อย่างไร
โดย เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ
ที่มา : http://www.matichon.co.th
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ตื่นเร่งดัน มหา"ลัยไทยขึ้นอันดับโลก ทุ่มงบวิจัยให้กว่าหมื่นล้าน/ปี เพิ่มเงินเดือนป.เอก 3 หมื่นบาท
จากการจัดอันดับ 400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกของ Times Higher Education World Rankings ประจำปี 2012-2013 ผลปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพียงแห่งเดียวที่ติดอยู่ในอันดับที่ 389 ส่วนมหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ติดอันดับในปีก่อนๆ กลับไม่ติด 400 อันดับในปีนี้ ซึ่ง นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ และ นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ระบุว่าเป็นเพราะรัฐบาลตัดงบประมาณของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติติดต่อกัน 2 ปีซ้อนนั้น
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้วขณะนี้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกเท่าใดนัก เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีทิศทางของตนเอง แต่หากมหาวิทยาลัยใดต้องการติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกก็ต้องทำ ตัวเองให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่หน่วยงานจัดอันดับกำหนด ซึ่งมีอยู่หลายหน่วยงานและเกณฑ์การจัดอันดับก็ไม่เหมือนกัน
นายสมคิด กล่าวต่อว่า ยอมรับว่างบวิจัยที่ลดลงส่งผลกระทบกับการพัฒนามหาวิทยาลัยค่อนข้างมาก ที่ผ่านมารัฐบาลให้งบเริ่มต้นสำหรับโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง จำนวน 2,000 ล้านบาท ปีต่อมาลดเหลือ 800 ล้านบาท และปีล่าสุดเหลือเพียง 400 ล้านบาท เมื่อหารทั้ง 9 แห่งแล้วแต่ละแห่งเหลืองบวิจัยไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับงบวิจัยที่รัฐบาล ให้มาทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการศึกษาในภาพรวมของมหาวิทยาลัยด้วย
"จะ ว่าตามจริงหากรัฐบาลต้องการสนับสนุนมหาวิทยาลัยไทยให้ติดอันดับโลก จะต้องจริงใจและสนับสนุนงบอย่างเพียงพอ ไม่ใช่พูดแต่ปาก แล้วบอกให้มหาวิทยาลัยช่วยตัวเอง เช่น งบมหาวิทยาลัยวิจัยถูกลดลงเรื่อยๆ ทั้งที่ควรต้องให้เพิ่ม หากรัฐบาลจริงใจพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาจริง อย่างน้อยต้องทุ่มงบไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อพัฒนางานวิจัยให้ต่อเนื่อง ซึ่งหลายประเทศก็ทำแบบนี้ ถ้ารัฐบาลทุ่มเทขนาดนั้นก็สามารถจะกำหนดได้เลยว่าจะให้มหาวิทยาลัยไทยติด อันดับโลกกี่แห่ง สิ่งที่ นพ.ภิรมย์พูดไว้ถูกต้อง รัฐบาลบอกว่าอยากให้มหาวิทยาลัยติดอันดับโลก แต่การกระทำสวนทาง ถ้ารัฐบาลจริงใจไม่ใช่แค่เรื่องงบวิจัยที่ต้องพัฒนา เพราะขณะนี้มหาวิทยาลัยยังต้องการคนเก่งมาสอน แต่ปัญหาคือคนเก่งไม่มีใครอยากเป็นอาจารย์เพราะเงินเดือนน้อย ไม่สมเหตุสมผล ระดับปริญญาเอกหมื่นกว่าบาท ถ้ารัฐบาลยอมจ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ให้คนที่จบปริญญาเอกทันที 30,000 บาทขึ้นไป เชื่อว่าจะมีคนเก่งเข้าสู่ระบบอุดมศึกมากขึ้น" นายสมคิดกล่าว
ด้านนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ศธ.สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทำงานวิจัยเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของงบสนับสนุนมหาวิทยาลัยวิจัย 9 แห่ง ทราบว่ากลุ่มมหาวิทยาลัยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในเรื่องงบสนับสนุนเอง ดังนั้น ศธ.ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องถูกปรับลดลง ส่วนจะผลักดันงบในปีต่อไปนั้น ตนก็ยินดีช่วย แต่ต้องมาหารือกัน
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าหากจะพัฒนางานวิจัยควรต้องเป็นงานวิจัยที่เกิดประโยชน์สูงสุด กับประเทศ เพื่อให้การใช้งบเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม คิดว่าต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะแม้ ศธ.จะเป็นกระทรวงที่ได้รับงบมากที่สุด แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะต้องทุ่มงบไปตรงส่วนใด เพื่อให้การจัดการศึกษาเกิดประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ศธ.ไม่ได้ดูแลเฉพาะอุดมศึกษาเท่านั้น แต่ต้องดูตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่ายังดูแลไม่ทั่วถึง
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ. กล่าวว่า ถ้ามหาวิทยาลัยยังขาดงบพัฒนางานวิจัย แนวทางที่ทำได้เร็วที่สุดขณะนี้คือเสนอของบกลาง และเวลานี้ก็อยู่ในช่วงการดำเนินการจัดทำงบปี 2557 ดังนั้น หน่วยงานที่ดูแลมหาวิทยาลัยอย่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สามารถจะเสนอขอตั้งงบปี 2557 เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณา ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยเองจะต้องพัฒนางานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อช่วยพัฒนาประเทศด้วย
ที่มา : http://www.matichon.co.th
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้วขณะนี้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกเท่าใดนัก เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีทิศทางของตนเอง แต่หากมหาวิทยาลัยใดต้องการติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกก็ต้องทำ ตัวเองให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่หน่วยงานจัดอันดับกำหนด ซึ่งมีอยู่หลายหน่วยงานและเกณฑ์การจัดอันดับก็ไม่เหมือนกัน
นายสมคิด กล่าวต่อว่า ยอมรับว่างบวิจัยที่ลดลงส่งผลกระทบกับการพัฒนามหาวิทยาลัยค่อนข้างมาก ที่ผ่านมารัฐบาลให้งบเริ่มต้นสำหรับโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง จำนวน 2,000 ล้านบาท ปีต่อมาลดเหลือ 800 ล้านบาท และปีล่าสุดเหลือเพียง 400 ล้านบาท เมื่อหารทั้ง 9 แห่งแล้วแต่ละแห่งเหลืองบวิจัยไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับงบวิจัยที่รัฐบาล ให้มาทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการศึกษาในภาพรวมของมหาวิทยาลัยด้วย
"จะ ว่าตามจริงหากรัฐบาลต้องการสนับสนุนมหาวิทยาลัยไทยให้ติดอันดับโลก จะต้องจริงใจและสนับสนุนงบอย่างเพียงพอ ไม่ใช่พูดแต่ปาก แล้วบอกให้มหาวิทยาลัยช่วยตัวเอง เช่น งบมหาวิทยาลัยวิจัยถูกลดลงเรื่อยๆ ทั้งที่ควรต้องให้เพิ่ม หากรัฐบาลจริงใจพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาจริง อย่างน้อยต้องทุ่มงบไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อพัฒนางานวิจัยให้ต่อเนื่อง ซึ่งหลายประเทศก็ทำแบบนี้ ถ้ารัฐบาลทุ่มเทขนาดนั้นก็สามารถจะกำหนดได้เลยว่าจะให้มหาวิทยาลัยไทยติด อันดับโลกกี่แห่ง สิ่งที่ นพ.ภิรมย์พูดไว้ถูกต้อง รัฐบาลบอกว่าอยากให้มหาวิทยาลัยติดอันดับโลก แต่การกระทำสวนทาง ถ้ารัฐบาลจริงใจไม่ใช่แค่เรื่องงบวิจัยที่ต้องพัฒนา เพราะขณะนี้มหาวิทยาลัยยังต้องการคนเก่งมาสอน แต่ปัญหาคือคนเก่งไม่มีใครอยากเป็นอาจารย์เพราะเงินเดือนน้อย ไม่สมเหตุสมผล ระดับปริญญาเอกหมื่นกว่าบาท ถ้ารัฐบาลยอมจ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ให้คนที่จบปริญญาเอกทันที 30,000 บาทขึ้นไป เชื่อว่าจะมีคนเก่งเข้าสู่ระบบอุดมศึกมากขึ้น" นายสมคิดกล่าว
ด้านนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ศธ.สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทำงานวิจัยเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของงบสนับสนุนมหาวิทยาลัยวิจัย 9 แห่ง ทราบว่ากลุ่มมหาวิทยาลัยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในเรื่องงบสนับสนุนเอง ดังนั้น ศธ.ไม่ทราบรายละเอียดเรื่องถูกปรับลดลง ส่วนจะผลักดันงบในปีต่อไปนั้น ตนก็ยินดีช่วย แต่ต้องมาหารือกัน
นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าหากจะพัฒนางานวิจัยควรต้องเป็นงานวิจัยที่เกิดประโยชน์สูงสุด กับประเทศ เพื่อให้การใช้งบเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม คิดว่าต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะแม้ ศธ.จะเป็นกระทรวงที่ได้รับงบมากที่สุด แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะต้องทุ่มงบไปตรงส่วนใด เพื่อให้การจัดการศึกษาเกิดประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ศธ.ไม่ได้ดูแลเฉพาะอุดมศึกษาเท่านั้น แต่ต้องดูตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่ายังดูแลไม่ทั่วถึง
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ. กล่าวว่า ถ้ามหาวิทยาลัยยังขาดงบพัฒนางานวิจัย แนวทางที่ทำได้เร็วที่สุดขณะนี้คือเสนอของบกลาง และเวลานี้ก็อยู่ในช่วงการดำเนินการจัดทำงบปี 2557 ดังนั้น หน่วยงานที่ดูแลมหาวิทยาลัยอย่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สามารถจะเสนอขอตั้งงบปี 2557 เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณา ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยเองจะต้องพัฒนางานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อช่วยพัฒนาประเทศด้วย
ที่มา : http://www.matichon.co.th
วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555
พลังแห่งความสำเร็จที่มาพร้อมกับความสุข ตอนที่ 3
กลับมาแล้วค่ะ พลังแห่งความสำเร็จที่มาพร้อมกับความสุข
ตอนที่ 3 คราวนี้มาดูในเรื่องของ “ทฤษฎี ABC” ทฤษฎีที่จะช่วยเปิดทางให้เรา
ผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่า
สิ่งที่กำหนดวิธีการยอมรับและวิธีคิดของแต่ละคน คือ ความคิดและความเชื่อฝังใจ
ซึ่งความคิดและความเชื่อฝังใจนี้เรียกว่า Belief
ผู้เขียนได้นำทฤษฎี ABC
ของอัลเบิร์ต เอลลิส เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
A คือ เหตุการณ์ที่มากระตุ้น
B
คือ Belief
C
คือ ความรู้สึก ความทุกข์ใจ
เมื่อตีความเหตุการณ์ที่มากระตุ้น
(Activating
Event) ด้วยความคิดและความเชื่อฝังใจ (Belief) ผลที่ตามมา (Consequence) คืออารมณ์ความรู้สึกหรือความทุกข์
ดังนั้นสิ่งที่สร้างชีวิตในความเป็นจริงของเรามาโดยตลอดนั้นไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมภายนอก
แต่เป็น Belief ที่อยู่ในตัวของเราเอง
มีท่านใด? ไม่เข้าใจกันบ้างค่ะ
ถ้าไม่เข้าใจเรามาดูตัวอย่างตามที่ผู้เขียนได้เล่าเรื่องไว้
ตัวอย่าง
เช้าวันหนึ่งคุณ
T เดินออกจากบ้านเพื่อไปทิ้งขยะ เธอได้พบกับแม่บ้านที่เป็นเพื่อนบ้านคนหนึ่ง
คือคุณ X เธอจึงทักทายไปว่า “อรุณสวัสดิ์ค่ะ” แต่ทว่าคุณ X กลับเมินเฉย แล้วเดินจากไปด้วยหน้าตาบึ้งตึง
คุณ
T รู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่ง “ทำอย่างไรดีล่ะ
เขาต้องเกลียดฉันแน่เลย”
ในวันนั้นคุณ T ทำอะไรไม่ได้อีกเลย เธอเศร้าเสียใจมาก “ฉันทำอะไรผิดเหรอ”
ในวันนั้นคุณ T ทำอะไรไม่ได้อีกเลย เธอเศร้าเสียใจมาก “ฉันทำอะไรผิดเหรอ”
“ฉันทำให้คุณ X ไม่พอใจอย่างนั้นเหรอ”
เช้าวันต่อมาคุณ
T ไม่กล้าเดินออกไปทิ้งขยะ เมื่อคิดว่า “หากเจอคุณ X
อีก จะทำยังไงดี” เธอจึงรู้สึกไม่ดีที่ต้องออกไปข้างนอกบ้าน
แล้วก็เศร้าใจขึ้นมาอีก
เหตุการณ์ที่มากระตุ้นคือ
“กล่าวทักทาย แต่ถูกเมินเฉย”
ให้เหตุการณ์นี้มีค่าเป็น A
และผลที่ตามมาคือ
ความไม่สบายใจ ทำอะไรไม่ถูก และเศร้าใจ นี่มีค่าเป็น C
คุณคิดว่าค่า
B จะเป็น Belief แบบใดบ้าง คุณ T มีความเชื่อฝังใจอะไรอยู่
อาจจะคิดได้หลายแง่มุม
ความจริงแล้ว
ในกรณีของคุณ T
เธอเชื่อว่า “ต้องเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน” หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า Belief นี้คือ “ไม่ควรถูกใครเกลียด”
ด้วยความเชื่อที่ว่า
“ต้องเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน (ไม่ควรถูกใครเกลียด)”
เธอจึงสับสนและทำอะไรไม่ถูกเมื่อเจอกับเหตุการณ์ที่ (ถูกเมินเฉย ถูกเกลียด)”
เพราะเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดได้เกิดขึ้นแล้วนั่นเอง
“การเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน”
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในความเป็นจริง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า Belief ของคุณ T ที่ว่า “ต้องเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน” เป็นความคิดที่ไม่สามารถเป็นไปได้จริง อีกอย่างหนึ่ง
คนเรามีความรู้สึกทั้ง “ชอบ” และ “เกลียด” เมื่อเราได้ออกไปพบคนมากหน้าหลายตา
ย่อมมีบ้างที่จะถูกเกลียดเป็นธรรมดา แต่เป็นเพราะคุณ T เชื่อว่า
“ต้องเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน”
เธอจึงสับสนและทำอะไรไม่ถูกเมื่อเห็นท่าทางของคุณ X
เป็นอย่างไรบ้างค่ะ
เมื่ออ่านแล้ว คุณเคยมีเหตุการณ์หรือความรู้สึกเช่นนี้กันบ้างไหม??
แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากเพราะหนีไม่พ้นกับความรู้สึกทุกข์ใจที่อยู่ในตัวเราเอง ดังนั้น
เราต้องรู้จักและควบคุมตัวตนที่แท้จริงของเบรกในจิตใจของเราเสียก่อน นั่นคือ “ความคิดและความเชื่อฝังใจ (Belief)”
ขอจบแค่นี้ก่อนนะคะ
คราวหน้าจะมานำเสนอ “Belief
ของคนที่สร้างชีวิตให้เป็นอย่างที่ต้องการได้คืออะไร”
ที่มา : EQ Note ความสำเร็จเริ่มต้นที่หัวใจ/โยชิโนริ โนงุจิ : เขียน ; ทิพย์วรรณ ยามาโมโตะ : แปล
วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
DropBox เครื่องมือแชร์ไฟล์สุดมีประโยชน์
Web Service ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า DropBox เจ้าตัวนี้มันก็คล้ายๆ กับ SkyDrive ของ Windows เเพียงแต่ว่าตัวนี้จะทำให้ชีวิตง่ายกว่ามาก เพราะว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน บ้าน ที่ทำงาน หรือว่าเน็ตคาเฟ่ หรือว่าท่านจะทำงานด้วยเครื่องอะไรไม่ว่าจะเป็น มือถือ Mac Windows หรือว่า Linux ทุกอย่างใน DropBox ของคุณจะถูก Sync ให้เป็นแบบเดียวกันหมดครับ หรือพูดง่ายๆ ว่ามันเจ้าตัว DropBox ตัวนี้สามารถทำงานได้ทุก OS ทุก Platform
- ขั้นตอนแรกเลยเราต้อง Download DropBox โปรแกรมก่อนครับโดยเราต้องเลือกให้ตรงกับเครื่องที่เราต้องการใช้งานครับ เช่น มือถือ เราก็ Download เวอร์ชั่นที่ใช้กับมือถือ
- หลังจากติดตั้งเสร็จก็ต้องสมัคร Account สำหรับการใช้งาน
- หลังจากที่เรา Sync ข้อมูลระหว่างเครื่องและ Server เรียบร้อยแล้วเราจะได้ Icon ประมาณนี้ใน Taskbar นะครับให้ดับเบิ้ลคลิ๊กเลยครับ
- จะมีหน้าต่าง Windows เปิดมาประมาณนี้
- ถ้าเราต้องการแชร์ไฟล์ของเราให้กับคนอื่นก็ง่ายเพียงนิดเดียวครับ เพียงแค่เราส่ง URL ที่เราได้จาก DropBox โดยวิธีดังข้างล่างตามรูปเลยครับ (ไฟล์ที่จะแชร์ให้คนอื่นได้จะต้องอยู่ใน Folder Public เท่านั้น)
- ง่ายๆ เพียงเท่านี้เราก็แชร์ไฟล์ของเราแก่คนอื่นได้แล้ว
โปรแกรมม Dropbox
สำนักงานฯ ของแอดมิน จะำนำโปรแกรม Dropbox มาใช้เพื่อลดปัญหาในการทำงาน...ดังนั้นมารู้จักกับเจ้าโปรแกรมนี้กันดีกว่า
Dropbox เป็นบริการซิงก์และฝากไฟล์ข้อมูลแบบออนไลน์
ซึ่งผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บและแบ่งปันแฟ้ม และโฟลเดอร์ร่วมกับคนอื่น
หรือคนในองค์กรเข้ามาใช้งานด้วยกันโดยสามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลต่างๆได้เพียง
แค่มีอินเตอร์เน็ต ซึ่งขนาดของไฟล์ข้อมูลที่ฝากได้นั้นมีทั้งฟรี
2GB(เหมาะสำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์ทั่วไป) และแบบ Business แบบบริษัท
กล่าวคือเมื่อผู้ใช้งานได้ติดตั้งตัวโปรแกรมแล้วเจ้าตัวDropbox สร้าง
Folderขึ้นมาในเครื่องเรา
เปรียบสเหมือนการสร้างไดร์เก็บข้อมูลขึ้นมาอีกอันก็ว่าได้ ซึ่ง Dropbox
ยังสามารถรองรับระบบ Windows, Mac, Linux ,iPhone, iPad และ BlackBerry )
ซึ่งการใช้งานเมื่อต้นเพียงแค่เราโยนแฟ้มข้อมูล,รูปภาพ
ต่างๆเข้าไปไว้บนโฟลเดอร์ที่ Dropbox เจ้าตัวDropbox มันก็จะถูกดึงไปไว้บน
เซอร์เวอร์ของ Dropbox โดยทันที ทีนี้ผู้ใช้งานจึงสามารถเข้าถึงโฟลเดอร์นี้ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่ได้ติดตั้งโปรแกรม Dropbox
ไว้ แต่ถ้าเราต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ที่อื่น ที่ไม่สะดวกติดตั้งโปรแกรมไว้
เราก็สามารถเข้าถึงไฟล์โดยการเข้าใช้ไฟล์ผ่าน เว็บไซต์
Droboxโดยตรงลักษณะคล้ายๆกับ hotmail ,gmail
คุณสมบัติของโปรแกรม
1. สามารถรองรับระบบปฏิบัติการ OS ได้หลากหลาย อาทิเช่น Windows, Mac, Linux ,iPhone, iPad
2. ซิงก์ไฟล์เมื่อเราทำการโยนไฟล์ไว้ใน Dropbox มันจะทำการซิงก์ไฟล์ หรืออัพโหลดข้อมูลขึ้นเชิฟเวอร์ตัว Dropbox โดยอัตโนมัติเลย
3. การแชร์ไฟล์ เราสามารถแชร์โฟลเดอรหรือไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
ให้กับผู้ใช้งานคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว แม้กระทั้งองค์กร
เข้ามาใช้งานโฟลเดอร์ที่เราแชร์ไว้ได้จะทำการซิงก์ไฟล์ หรืออัพโหลดข้อมูลขึ้นเชิฟเวอร์ตัว Dropbox โดยอัตโนมัติเลย
4. สำรองข้อมูลแบบออนไลน์
เนื่องจากการข้อมูลนั้นถูกเก็บไว้บนเชิฟเวอร์ Dropbox
ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการ
สูยหายของไฟล์อันเนื่องเกิดจาก
คอมเสีย ไฟไหม้ได้
5. สามารถกู้ไฟล์ที่ลบทิ้งได้ นอกจากDropbox จะเป็นบริการฝากไฟล์
ต่างๆ แล้วยังสามารถกู้ข้อมูลที่ผู้ใช้งานลบไป เพราะไฟล์ที่ลบจะถูกเก็บไว้ใน
history ผู้ใช้งานวสามารถกู้ข้อมูลย้อนหลังได้ระยะเวลา 30 วัน
หรืออาจจะเพิ่มแบบไม่จำกัด แต่ต้องเป็น Account pro
ที่มา : http://www.howto108.com
เทคนิคการพัฒนาทักษะการทำงาน
เทคนิคการพัฒนาทักษะการทำงานก็มีอยู่มากมายแล้วแต่มุมมองและความ
เหมาะสมของแต่ละบุคคลหรือองค์กรที่จะนำมาใช้เพื่อให้เข้ากับสภาพการทำงานและ
ให้เข้ากับพนักงานให้มากที่สุด
ในยุคปัจจุบันการพัฒนาทักษะในการทำงานถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่าง หนึ่งที่พนักงานและนายจ้างไม่ควรมองข้ามและสมควรที่จะให้ความสำคัญเป็นอย่าง มาก เราสามารถแบ่งการพัฒนาทักษะการทำงานออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ (EQ) และ ประเภทที่สองคือการพัฒนาทักษะทางด้านความสามารถที่เป็นสิ่งที่จับต้องและวัด ได้เช่นเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English skill) เพิ่มทักษะในด้านการบริหารจัดการ (management skill) ทักษะในการเป็นผู้นำ (leadership skill) และทักษะด้านการสื่อสาร (communication skill) เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาทักษะการทำงานควรจะต้องพัฒนาทั้งสองประเภทควบคู่กันเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพที่สูงสุด การที่พนักงานจะมีพร้อมทั้งสองทักษะก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายนักแต่ก็ไม่ ยากจนเกินไปที่จะพัฒนาไม่ได้
เทคนิคการพัฒนาทักษะการทำงานก็มีอยู่มากมายแล้วแต่มุมมองและความเหมาะสมของ แต่ละบุคคลหรือองค์กรที่จะนำมาใช้เพื่อให้เข้ากับสภาพการทำงานและให้เข้ากับ พนักงานให้มากที่สุด ตัวอย่างเทคนิคที่ขอนำเสนอมีดังต่อไปนี้
1. ค้นหาจุดอ่อนของตัวเอง (analyze your weakness)
การค้นหาจุดอ่อนของตัวเองถือว่าเป็นสิ่งที่ยากเนื่องจากโดยธรรมชาติของคน
ส่วนมากจะไม่ค่อยยอมรับว่าตัวเองมีจุดอ่อนอะไร หรือบางคนรู้แต่ไม่ยอมรับ
แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนอะไรบ้างหรือมีทักษะอะไรที่ควรจะพัฒนาคุณ
สามารถให้บุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน
หรือบุคคลในครอบครัวเป็นคนวิเคราะห์ หรือใช้แบบทดสอบ
เราสามารถทดสอบจุดอ่อนและจุดเด่นของเราได้จากแบบทดสอบประเภทต่างๆ เช่น
แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อดูลักษณะนิสัย แบบทดสอบทางภาษา แบบทดสอบการคำนวณ
เป็นต้น
2. ตั้งเป้าหมาย (set objectives with timeline and expected result) หลังจากที่คุณรับรู้ถึงจุดอ่อนแล้ว คุณสามารถกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า
4. ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุง(evaluation & improvement) หลังจากที่คุณได้ปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว สิ่งที่สำคัญคือการประเมินผลว่าทักษะของคุณได้มีการพัฒนาไปถึงจุดที่คุณตั้ง ไว้หรือไม่ ถ้าการประเมินมีผลเป็นที่ไม่น่าพอใจคุณก็ต้องกลับไปวิเคราะห์ว่าแต่ละขั้น ตอนมีจุดบกพร่องอะไรบ้างเพื่อที่คุณจะได้ปรับวิธีหรือกลยุทธเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์เป็นที่พอใจ แต่ถ้าการประเมินผลออกมาเป็นที่น่าพอใจคุณยังสามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย เพิ่มขึ้นไปอีกได้เช่นเดียวกัน
การพัฒนาทักษะการทำงานไม่ใช่เรื่องยาก แต่การปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จต่างหากที่เป็นสิ่งที่ยาก ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีความตั้งใจที่จะปฏิบัติ และไม่เห็นความสำคัญ เช่น คิดว่าทำไปก็เท่านั้น ทำไปก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น อยากจะขอแนะนำว่าคุณกำลังทำร้ายตัวเองทางความคิด เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นหนึ่งในบุคคลที่กำลังทำร้ายตัวเองทางความคิดขอแนะนำ ให้คิดใหม่ให้คิดบวก สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนาทักษะการทำงานของตนเอง และคิดว่าทุกๆคนมีความรู้สึกและอยากที่จะให้ตัวเองมีความพัฒนาอย่างต่อ เนื่องเพียงแต่จะมีใครที่จะดึงความตั้งใจและความพยายามเหล่านั้นมาใช้เพื่อ ให้เกิดประโยชน์มากกว่ากันท่านั้น
ที่มา : www.m2fjob.com
ในยุคปัจจุบันการพัฒนาทักษะในการทำงานถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่าง หนึ่งที่พนักงานและนายจ้างไม่ควรมองข้ามและสมควรที่จะให้ความสำคัญเป็นอย่าง มาก เราสามารถแบ่งการพัฒนาทักษะการทำงานออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ (EQ) และ ประเภทที่สองคือการพัฒนาทักษะทางด้านความสามารถที่เป็นสิ่งที่จับต้องและวัด ได้เช่นเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English skill) เพิ่มทักษะในด้านการบริหารจัดการ (management skill) ทักษะในการเป็นผู้นำ (leadership skill) และทักษะด้านการสื่อสาร (communication skill) เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาทักษะการทำงานควรจะต้องพัฒนาทั้งสองประเภทควบคู่กันเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพที่สูงสุด การที่พนักงานจะมีพร้อมทั้งสองทักษะก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายนักแต่ก็ไม่ ยากจนเกินไปที่จะพัฒนาไม่ได้
เทคนิคการพัฒนาทักษะการทำงานก็มีอยู่มากมายแล้วแต่มุมมองและความเหมาะสมของ แต่ละบุคคลหรือองค์กรที่จะนำมาใช้เพื่อให้เข้ากับสภาพการทำงานและให้เข้ากับ พนักงานให้มากที่สุด ตัวอย่างเทคนิคที่ขอนำเสนอมีดังต่อไปนี้
2. ตั้งเป้าหมาย (set objectives with timeline and expected result) หลังจากที่คุณรับรู้ถึงจุดอ่อนแล้ว คุณสามารถกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า
- What: กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าคุณต้องการพัฒนาทักษะอะไร และเป้าหมายที่จะต้องไปถึง ณ จุดใด
- Why:คุณจะต้องรู้ว่าทำไมคุณถึงเลือกที่จะพัฒนาทักษะเหล่านั้นและหลังจาก ที่คุณได้พัฒนาทักษะเหล่านั้นแล้วสิ่งที่คุณจะได้รับกลับมาจะมีอะไรบ้าง เช่น จะให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งงานจะมีโอกาสมากขึ้น หรือทำให้คุณทำงานเข้ากับผู้อื่นได้ดี เป็นต้น
- When: ตั้งระยะเวลาที่ชัดเจนว่าคุณจะใช้เวลาในการพัฒนาแต่ละทักษะเท่าไหร่
- How: ค้นหาผู้ช่วย การพัฒนาทักษะสามารถทำได้ในหลายวิธี ตัวอย่างเช่น ลงทะเบียน course ต่างๆตามสถาบันต่างๆ เรียนรู้งานกับหัวหน้างานหรือผู้มีประสบการณ์ หรือ เรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการอ่านหนังสือทางด้านวิชาการหรือ case studies ต่างๆ
4. ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุง(evaluation & improvement) หลังจากที่คุณได้ปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว สิ่งที่สำคัญคือการประเมินผลว่าทักษะของคุณได้มีการพัฒนาไปถึงจุดที่คุณตั้ง ไว้หรือไม่ ถ้าการประเมินมีผลเป็นที่ไม่น่าพอใจคุณก็ต้องกลับไปวิเคราะห์ว่าแต่ละขั้น ตอนมีจุดบกพร่องอะไรบ้างเพื่อที่คุณจะได้ปรับวิธีหรือกลยุทธเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์เป็นที่พอใจ แต่ถ้าการประเมินผลออกมาเป็นที่น่าพอใจคุณยังสามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย เพิ่มขึ้นไปอีกได้เช่นเดียวกัน
การพัฒนาทักษะการทำงานไม่ใช่เรื่องยาก แต่การปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จต่างหากที่เป็นสิ่งที่ยาก ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีความตั้งใจที่จะปฏิบัติ และไม่เห็นความสำคัญ เช่น คิดว่าทำไปก็เท่านั้น ทำไปก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น อยากจะขอแนะนำว่าคุณกำลังทำร้ายตัวเองทางความคิด เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นหนึ่งในบุคคลที่กำลังทำร้ายตัวเองทางความคิดขอแนะนำ ให้คิดใหม่ให้คิดบวก สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนาทักษะการทำงานของตนเอง และคิดว่าทุกๆคนมีความรู้สึกและอยากที่จะให้ตัวเองมีความพัฒนาอย่างต่อ เนื่องเพียงแต่จะมีใครที่จะดึงความตั้งใจและความพยายามเหล่านั้นมาใช้เพื่อ ให้เกิดประโยชน์มากกว่ากันท่านั้น
ที่มา : www.m2fjob.com
เคล็ดไม่ลับหัวหน้างานยุคใหม่
ก่อนที่จะใช้คำว่า”หัวหน้างาน” เราต้องเคยเป็น”ลูกน้อง”มาก่อน ดังนั้น เราจะต้องรู้ว่า เราเคยทำอย่างไรแล้วหัวหน้างานพอใจและชื่นชมเรา ในทางกลับกัน หัวหน้างานทำอย่างไรกับเรา เราถึงเคารพและรักในหัวหน้างาน นี่จึงเป็นที่มาว่า หากเราอยากที่จะเป็นหัวหน้าที่ดี เราต้องทำอย่างไรกับการบริหารจัดทีม รวมถึงการดูแลลูกทีมของเรา ซึ่งมีเคล็ดไม่ลับง่ายๆ 5 ข้อ ดังนี้
1. การให้เกียรติซึ่งกันและกัน
การเป็น หัวหน้างานที่ดีนั้น เราควรที่จะให้กียรติกับคนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ผู้บังคับบัญชาของเรา ลูกค้า หรือแม้กระทั่งการให้เกียรติลูกน้องของเราเอง หลักง่ายๆของการให้เกียรติคือ การยอมรับฟังความคิดเห็น การเคารพในการตัดสินใจที่ถูกต้อง เมื่อคุณได้ให้เกียรติลูกน้องคุณแล้ว ลูกน้องก็จะให้เกียรติคุณเช่นเดียวกัน นี่คือหลักในการจูงใจคนในการทำงาน
2. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
แน่นอนว่า การที่เราจะรู้ว่าลูกน้องเราคิดอะไรอยู่ เหตุใดจึงกระทำการต่างๆ เช่นนั้น หัวหน้าจะต้องลองเอาตัวเองไปนั่งในใจของเขา เพื่อที่จะทำความเข้าใจในตัวลูกน้อง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็เหมือนกับการรู้เขารู้เรา ดังนั้น จะง่ายต่อการบริหาร เราต้องรู้ว่า ลูกน้องแต่ละคนชอบอะไร บางคนชอบการยกย่อง บางคนชอบรางวัล บางคนชอบตำแหน่ง ดังนั้น เราควรจะให้ในสิ่งที่เหมาะสมกับลูกน้องของเรามากที่สุดในการให้รางวัลต่างๆ เช่นเดียวกันกับการลงโทษ เราควรหลีกเลี่ยงการลงโทษต่อหน้าคนอื่น ควรจะรับรู้กันเพียงหัวหน้ากับลูกน้องเท่านั้น เพราะลองคิดถึงใจเราว่า เราก็คงไม่ชอบที่หัวหน้าจะมาต่อว่าเราต่อหน้าคนอื่นเช่นเดียวกัน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนลูกน้อง
ทุกๆ คนก็ต้องการความก้าวหน้า และความสำเร็จในชีวิต รวมทั้งลูกน้องของเราด้วย ดังนั้น หากว่าลูกน้องคนใดมีแววที่จะสามารถก้าวหน้าได้ เราก็ควรจะให้โอกาสโดยการส่งเสริม และสนับสนุนให้ลูกน้องคนนั้นได้โอกาสเจริญเติมโต
4. สามารถฝึกฝน และให้ความรู้ลูกน้อง
หัว หน้าที่ดีจะต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี โดยสามารถฝึกฝน และให้ความรู้ต่างๆ แก่ลูกน้องได้ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลใดบ้างที่สำคัญ และจำเป็นต่อการปฏิบัติงาน และการใช้ชีวิตในองค์กร ควรที่จะทำการสื่อสารให้ลูกน้องได้รับทราบ เพื่อลูกน้องจะได้ฝึกฝน และเรียนรู้ระบบของงาน ซึ่งทำให้ลูกน้องทำงานอย่างเข้าใจ หรือปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
5. รู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา
การ จะเป็นหัวหน้านั้น ต้องใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ตลอด พึงคิดเอาไว้เสมอว่าเรายังไม่รู้อะไรอีกมาก พยายามมองอย่างลึกซึ้ง และจริงจัง เป็นผู้รู้ และเข้าใจในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง โดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิต และสารมารถนำความรู้ต่างๆ มาประยุคใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม
จะเห็นได้ว่าหลักการง่ายๆทั้งสองข้อนี้เป็นหลักการจากหลายๆหลักการในการเป็น หัวหน้างานที่ดี ถ้าเราอยากให้คนอื่นปฏิบัติกับเราเช่นไร เราก็ปฏิบัติเช่นนั้นกับเขา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะและความเหมาะสม เราก็สามารถที่จะได้ใจลูกน้องของเราได้โดยง่าย และหากลูกน้องรักและเคารพในตัวเราแล้ว อย่าว่าแต่สั่งสิบทำได้สิบเลย เขาจะทำให้ถึงสิบห้าเลยแหล่ะ
ที่มา : http://www.m2fjob.com
วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ประโยชน์ของ TQA ต่อองค์กร
ลองมาดูประโยชน์ของ TQA มีประโยชน์ต่อองค์กรของเราอย่างไรบ้าง ??
องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ทุกประเภท ทุกขนาด ที่นำเกณฑ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ซึ่งเป็นกรอบการประเมินคุณภาพระดับมาตรฐานโลกไปเปรียบเทียบกับระบบการบริหาร จัดการของตน จะได้รับประโยชน์ในทุกขั้นตอน เริ่มจากการตรวจประเมินตนเอง ผู้บริหารจะทราบถึงสภาพที่แท้จริงว่าระบบการบริหารจัดการของตนยังขาดตก บกพร่องในเรื่องใด จึงสามารถกำหนดวิธีการและเป้าหมายที่ชัดเจนในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และเมื่อองค์กรปฏิบัติตามแผนจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีความพร้อม และตัดสินใจสมัครรับรางวัล องค์กรจะได้รับการตรวจประเมินด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิผล โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ตรวจ ประเมินโดยเฉพาะ และไม่ว่าองค์กรจะผ่านเกณฑ์รับรางวัลหรือไม่ก็ตาม องค์กรจะได้รับรายงานป้อนกลับซึ่งระบุจุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุง ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อการนำไปวางแผนปรับปรุงองค์กรให้สมบูรณ์มากขึ้นต่อไป องค์กรที่ได้รับรางวัลจะเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และมีสิทธิ์ใช้ตราสัญลักษณ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งสื่อถึงความเป็นเลิศในระบบการบริหารจัดการในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ องค์กร รวมทั้งมีโอกาสส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ โดยการนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จและเปิดโอกาสให้มีการเข้า เยี่ยมชมสถานประกอบการเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน
ความเป็นมาของ TQA
สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินขอนำเสนอความหมายของ TQA มีหลายท่านสงสัยว่า TQA คืออะไร??
TQA ย่อมาจาก Thailand Quality Award คือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นรางวัลที่ให้กับองค์กร ที่ีมีการบริหารจัดการเป็นเลิศตามแนวทางของ Malcolm Baldrige National Quality Award - MBNQA ของประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นรางวัลแห่งชาติที่ใช้มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
แล้วรางวัลคุณภาพแห่งชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร มาดูความเป็นมากันค่ะ
(Thailand Quality Award - TQA) เริ่มต้นตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย และด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุรางวัล คุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความ สามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการ ประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความ สำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายการดำเนินงานไปอย่างกว้างขวางย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับ รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
ที่มา : http://www.tqa.or.th
TQA ย่อมาจาก Thailand Quality Award คือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นรางวัลที่ให้กับองค์กร ที่ีมีการบริหารจัดการเป็นเลิศตามแนวทางของ Malcolm Baldrige National Quality Award - MBNQA ของประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นรางวัลแห่งชาติที่ใช้มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก
แล้วรางวัลคุณภาพแห่งชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร มาดูความเป็นมากันค่ะ
(Thailand Quality Award - TQA) เริ่มต้นตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย และด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุรางวัล คุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความ สามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการ ประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความ สำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายการดำเนินงานไปอย่างกว้างขวางย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับ รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
ที่มา : http://www.tqa.or.th
การจัดอันดับมหาวิทยาลัย: ในสหราชอาณาจักรและของโลก
จำนวนมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยมากมายที่มีให้เลือก
แล้วคุณจะสามารถตัดสินใจได้อย่างไรว่าที่ไหนคือตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับ
คุณ
ขั้นตอนที่มีอิทธิพลและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักศึกษาที่ใช้ใน
การเลือกมหาวิทยาลัยคือ การใช้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยและตารางลีก เพื่อช่วยคุณให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการใช้เครื่องมือนี้และเพื่อสร้างความเสมอภาคกับแหล่งข้อมูลด้านอื่น บรรณาธิการฮอทคอร์ส Alejandraได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อช่วยเหลือคุณ
การตัดสินใจว่าจะเลือกเรียนในหลักสูตรและมหาวิทยาลัยไหนดีดู เหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากที่สุดในการตัดสินใจที่คุณได้เคยได้ทำมา ดูเหมือนว่าจะมีหลายทางเลือกให้เลือกและทุกสถาบันการศึกษาก็ประกาศตนว่าตัว เองดีที่สุด แล้วคุณจะทำอย่างไรเพื่อแยกตัวเลือกที่ไม่ต้องการออกไป
สิ่งแรกที่คุณจำเป็นต้องทำก็คือ คุณต้องคิดถึงปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยในการตัดสินใจของคุณ คุณต้องการเรียนหลักสูตรที่เหมาะสมกับคุณหรือไม่ หรือต้องการได้รับทุนการศึกษา หรือเลือกประเทศในการเรียนต่อ บางทีคุณรู้ว่าคุณต้องการเรียนต่อด้านธุรกิจ แต่คุณไม่รู้ว่าวิทยาลัยไหนมีภาควิชาธุรกิจที่ดีที่สุด ดังนั้นการจัดอันดับก็จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยตัดสินใจให้กับคุณ
คู่มือแนะนำมหาวิทยาลัยโดย The Guardian (The Guardian University Guide)
คู่มือแนะนำมหาวิทยาลัยโดย The Guardian เป็น การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้จัดทำขึ้นมาเป็นอย่างดี ไม่เหมือนกับตารางลีกอื่นๆ ซึ่งได้วัดมาตรฐานของสถาบันการศึกษาจากการสอนและแหล่งข้อมูลสนับสนุนการ เรียนและการวิจัย ซึ่งจะเป็นที่สนใจของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
เกณฑ์การประเมินผล
คู่มือแนะนำมหาวิทยาลัยที่ดีโดย The Times (The Times Good University Guide)
คู่มือแนะนำ The Times ได้ รับการยอมรับว่าเป็นการประเมินผลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในบรรดาการจัดอันดับ ด้วยกันทั้งหมดตั้งแต่ปี 1993 มหาวิทยาลัยในตารางหลักจะถูกเปรียบเทียบผ่านการวัดผลจาก 8 ประเภท ที่มีความสำคัญสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้แก่
The Times Higher Education
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย The Times Higher Education ได้ ถูกพัฒนาขึ้นโดย โทมัส รอยยเตอร์ สถาบันข้อมูลการจัดอันดับแห่งใหม่ ด้วยข้อมูลที่มากกว่า 50 สถาบันชั้นนำในแต่ละส่วนจาก 15 ประเทศทั่วทุกทวีป
ขั้นตอนการประเมินผลจะใช้ดัชนีชี้บ่ง 13 ประเภท ที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อวัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่มีอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การสอนไปจนถึงการทำวิจัย ความพร้อมในการทำงาน ที่แสดงออกมา 5 แบบได้แก่
Shanghai University World Ranking
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกเชิงวิชาการ หรือ The Academic Ranking of World Universities (ARWU), ได้ถูกเผยแพร่ในปี 2003 โดยมหาวิทยาลัยเซียงไฮ้ โดยนิตยสาร The Economist กล่าวว่า “เป็นการจัดอันดับรายปีของมหาวิทยาลัยโลกด้านการวิจัย ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด” มหาวิทยาลัยมากกว่า 1000 แห่งได้ถูกจัดอันดับโดย ARWU ทุกปีและรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 500 อันดับแรกจะถูกเผยแพร่ทางเว็บไซด์ โดยมีเครื่องบ่งชี้ 6 ประเภทในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก
ที่มา : http://www.hotcourses.in.th/study-in-the-uk/choosing-a-university/university-rankings-the-uk-and-the-world/
การตัดสินใจว่าจะเลือกเรียนในหลักสูตรและมหาวิทยาลัยไหนดีดู เหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากที่สุดในการตัดสินใจที่คุณได้เคยได้ทำมา ดูเหมือนว่าจะมีหลายทางเลือกให้เลือกและทุกสถาบันการศึกษาก็ประกาศตนว่าตัว เองดีที่สุด แล้วคุณจะทำอย่างไรเพื่อแยกตัวเลือกที่ไม่ต้องการออกไป
สิ่งแรกที่คุณจำเป็นต้องทำก็คือ คุณต้องคิดถึงปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยในการตัดสินใจของคุณ คุณต้องการเรียนหลักสูตรที่เหมาะสมกับคุณหรือไม่ หรือต้องการได้รับทุนการศึกษา หรือเลือกประเทศในการเรียนต่อ บางทีคุณรู้ว่าคุณต้องการเรียนต่อด้านธุรกิจ แต่คุณไม่รู้ว่าวิทยาลัยไหนมีภาควิชาธุรกิจที่ดีที่สุด ดังนั้นการจัดอันดับก็จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยตัดสินใจให้กับคุณ
คู่มือแนะนำมหาวิทยาลัยโดย The Guardian (The Guardian University Guide)
คู่มือแนะนำมหาวิทยาลัยโดย The Guardian เป็น การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้จัดทำขึ้นมาเป็นอย่างดี ไม่เหมือนกับตารางลีกอื่นๆ ซึ่งได้วัดมาตรฐานของสถาบันการศึกษาจากการสอนและแหล่งข้อมูลสนับสนุนการ เรียนและการวิจัย ซึ่งจะเป็นที่สนใจของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
เกณฑ์การประเมินผล
- คุณภาพการสอน: จะทำการวัดผลจากนักศึกษาในปีสุดท้ายในการสำรวจนักศึกษาแห่งชาติหรือ the national student survey (NSS): เปอร์เซ็นต์ความพึงพอใจของนักศึกษา
- ความคิดเห็นและการประเมิน: จะทำการวัดผลจากนักศึกษาในปีสุดท้ายโดย NSS: เปอร์เซ็นต์ความพึงพอใจของนักศึกษา
- ผลจาก NSS เมื่อนักศึกษาปีสุดท้ายได้ถูกสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพโดยรวมของหลักสูตร
- การใช้จ่ายต่อนักศึกษา: การให้คะแนนจากระดับคะแนนเต็มสิบ
- สัดส่วนอาจารย์:นักศึกษา จำนวนนักศึกษา:จำนวนอาจารย์ผู้สอน
- ความก้าวหน้าในอาชีพ: สัดส่วนของผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำในขั้นปริญญา หรือเรียนต่อเต็มเวลา ภายในระยะเวลาหกเดือนหลังเรียนจบ
- การเพิ่มคุณค่า: เปรียบเทียบผลสำเร็จของนักศึกษากับวุฒิการศึกษาเมื่อตอนแรกเข้า ให้คะแนนจากระดับคะแนนเต็มสิบ ซึ่งจะช่วยแสดงให้เป็นถึงประสิทธิภาพในการสอนของทางสถาบัน
- วุฒิการศึกษาที่ใช้ในการเข้าเรียน (หากผ่านทาง UCAS นักเรียนใช้ผลการเรียนจากทางโรงเรียน)
คู่มือแนะนำมหาวิทยาลัยที่ดีโดย The Times (The Times Good University Guide)
คู่มือแนะนำ The Times ได้ รับการยอมรับว่าเป็นการประเมินผลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในบรรดาการจัดอันดับ ด้วยกันทั้งหมดตั้งแต่ปี 1993 มหาวิทยาลัยในตารางหลักจะถูกเปรียบเทียบผ่านการวัดผลจาก 8 ประเภท ที่มีความสำคัญสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้แก่
- ความพึงพอใจของนักศึกษา (มาจากการสำรวจนักศึกษาแห่งชาติ NSS)
- การวิจัย (Research Assessment Exercise)
- มาตรฐานในการรับเข้าเรียน ค่าเฉลี่ยของคะแนนจาก UCAS
- สัดส่วนจำนวนนักศึกษา:อาจารย์
- การใช้จ่ายในห้องสมุดและห้องคอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อนักศึกษา
- การใช้จ่ายในสิ่งอำนวยความสะดวก ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อนักศึกษาด้านการกีฬา การบริการด้านอาชีพ สุขภาพและการให้คำปรึกษา
- ระดับคะแนนที่ดี เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาด้วยระดับคะแนนที่ดี ที่ได้รับการระบุว่าเป็นเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือ 2.1
- ความก้าวหน้าในอาชีพ เปอร์เซ็นต์ของผู้สำเร็จการศึกษาสัญชาติอังกฤษที่ได้งานทำให้ระดับปริญญาหรือเรียนต่อในระดับที่สูงกว่า
- การสำเร็จการศึกษา เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
The Times Higher Education
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย The Times Higher Education ได้ ถูกพัฒนาขึ้นโดย โทมัส รอยยเตอร์ สถาบันข้อมูลการจัดอันดับแห่งใหม่ ด้วยข้อมูลที่มากกว่า 50 สถาบันชั้นนำในแต่ละส่วนจาก 15 ประเทศทั่วทุกทวีป
ขั้นตอนการประเมินผลจะใช้ดัชนีชี้บ่ง 13 ประเภท ที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อวัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่มีอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การสอนไปจนถึงการทำวิจัย ความพร้อมในการทำงาน ที่แสดงออกมา 5 แบบได้แก่
- การสอน บรรยากาศการเรียนรู้
- การวิจัย ปริมาณ เงินทุนและชื่อเสียง
- การอ้างอิงจากเอกสารการวิจัย มีอิทธิพลต่องานวิจัย
- แหล่งเงินทุนจากภาคอุตสาหกรรม นวัตกรรม
- ความผสมผสานกันของเชื้อชาติ นักศึกษาและคณาจารย์
Shanghai University World Ranking
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกเชิงวิชาการ หรือ The Academic Ranking of World Universities (ARWU), ได้ถูกเผยแพร่ในปี 2003 โดยมหาวิทยาลัยเซียงไฮ้ โดยนิตยสาร The Economist กล่าวว่า “เป็นการจัดอันดับรายปีของมหาวิทยาลัยโลกด้านการวิจัย ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด” มหาวิทยาลัยมากกว่า 1000 แห่งได้ถูกจัดอันดับโดย ARWU ทุกปีและรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 500 อันดับแรกจะถูกเผยแพร่ทางเว็บไซด์ โดยมีเครื่องบ่งชี้ 6 ประเภทในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก
- จำนวนศิษย์เก่าและคณาจารย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลและเหรียญรางวัลฟิลด์
- จำนวนนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่ถูกอ้างอิงมากโดย Thomson Scientific
- จำนวนผลงานตีพิมพ์บทความในวารสาร Nature and Science
- จำนวนบทความในดัชนีอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์
- เพิ่มเติมในส่วนของดัชนีอ้างอิงทางด้านสังคมศาสตร์
- ผลการดำเนินการต่อจำนวนนักศึกษา เพื่อเปรียบเทียบกับขนาดของสถาบันการศึกษา
ที่มา : http://www.hotcourses.in.th/study-in-the-uk/choosing-a-university/university-rankings-the-uk-and-the-world/
อันดับมหาวิทยาลัยจากระดับความน่าเชื่อถือ
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากระดับความน่าเชื่อถือ หรือ The World University rankings based on reputation คือ แบบสำรวจทางการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เน้นความสนใจไปที่ความเปลี่ยนแปลงทางความน่าเชื่อถือของสถาบันการศึกษาต่างๆในแต่ละปี
โดยในปีนี้ การจัดอันดับได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำอย่างชัดเจนของสถาบันการศึกษา จากอังกฤษและอเมริกาในฐานะ “super-brands” ของโลก โดยที่หนึ่งคือ Harvard University ตามด้วย Massachusetts Institute of Technology ในอันดับ 2 และ the University of Cambridge ในอันดับสาม ส่วน Stanford University, the University of California, Berkeley และ the University of Oxford ได้อันดับ 4-6 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยของอังกฤษบางแห่ง ก็ได้อันดับที่ตกลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่มหาวิทยาลัยจากประเทศจีน กลับพัฒนาขึ้น โดยในปีนี้ มหาวิทยาลัยจากเอเชีย อย่างเช่น จีน, ไต้หวัน (National Taiwan University) และสิงคโปร์ (National University of Singapore) รวมทั้งออสเตรเลีย (University of Melbourne) เป็นมหาวิทยาลัยที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากของผลสำรวจในปีนี้
ผลสำรวจได้แสดงให้เห็นถึงสถาบันการศึกษาที่โดดเด่นในระดับโลก โดยรวบรวมความเห็นเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก รวมทั้งสาขาอีก 6 สาขาวิชา คือ physical sciences, engineering and technology, social sciences, clinical subjects, life sciences และ arts and humanities โดยผลสำรวจในปีนี้ มาจากความเห็นทั้งหมด 17,554 ความเห็น
Phil Baty ผู้เขียนการจัดอันดับ Times Higher Education Rankings ได้ออกมากล่าวถึงผลในปีนี้ว่า
“ในตลาดแรงงานระดับโลกที่มีการแข่งขันที่สูงมากนั้น มหาวิทยาลัยที่ได้อันดับความน่าเชื่อถือในอันดับต้นของโลกเหล่านี้ ต่างก็ได้แย่งชิงหรือได้มาซึ่งสิ่งดีๆทั้งสิ้น ทั้งอาจารย์ผู้สอนที่ยอดเยี่ยม, นักเรียนที่มีความสามารถ, การทำวิจัยร่วมทุน หรือแม้แต่สัญญาจ้างงานจากองค์กรธุรกิจต่างๆ อีกทั้งยังสามารถดึงเอาเงินทุนหรือเงินสนับสนุนต่างๆเข้ามาได้มากกว่าอีก ด้วย ถือได้ว่าผู้ชนะ จะได้หมดทุกอย่าง
ถึงแม้ว่าการได้รับความเชื่อถือในระดับต้นๆของโลก จะใช้เวลานาน บางครั้งเป็นสิบปีกว่าจะสามารถก้าวมาถึงจุดนี้ได้ก็ตามนั้น แต่ปัจจุบันด้วยความที่โลกได้กลายเป็นโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูล ที่รวดเร็วและเชื่อมต่อกันได้หมด ก็ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่สามารถนั่งอยู่เฉยๆยึดติดกับตำแหน่งนี้เหมือนเดิมได้อีกต่อไป เพราะสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบให้เกิดสถาบันการศึกษาใหม่ๆขึ้นมา ส่วนความสามารถของมหาวิทยาลัยเก่าก็ลดลง ดังนั้น การรักษาตำแหน่งที่เกิดจากความน่าเชื่อถือนี้ให้คงอยู่ ก็เป็นสิ่งที่ดีกว่าและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง”
Stanford University ranked 4th according to academics.
มีตารางการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับโลกมากมาย แต่ผลสำรวจนี้เป็นผลล่าสุดที่วัดจากความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยในสายตา ของนักวิชาการและนักวิจัย แต่โดยทั่วไปแล้ว ผลการสำรวจที่ออกมา มหาวิทยาลัยต่างๆจะนำไปเป็นตัวตัดสินประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัย และเป็นตัวชี้วัดเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องเงินช่วยเหลือและโครงการใน อนาคตต่างๆ
ผลการจัดอันดับ The Times Higher Education World Reputation Rankings นี้ เป็นหนึ่งในแฟ้มสะสมผลงานของระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่ได้ก่อตั้ง Times Higher Education ขึ้นมา ในฐานะของผู้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถของมหาวิทยาลัยต่างๆในโลก ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูงที่สุด โดยการจัดอันดับจากความน่าเชื่อถือในครั้งนี้เป็นการสำรวจในระดับโลก ที่จัดทำโดย Thomson Reuters
ที่มา : http://www.hotcourses.in.th/study-abroad-info/study-options/university-rankings-reputation/?campaign=178
สัมภาษณ์กับผู้เขียน The World University rankings : Phil Baty
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากระดับความน่าเชื่อถือ
ในวันนี้ฮอทคอร์สได้มีโอกาสพูดคุยกับ Phil Baty ผู้เขียน การจัดอันดับมหาวิทยาลัย The World University rankings และเขาจะมาอธิบายเพิ่มเติมว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากความน่าเชื่อถือนี้ สามารถแสดงอะไรให้เราได้เห็นบ้าง
เห็นได้ว่ามหาวิทยาลัย 6 อันดับแรก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว คุณคิดว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้เกิดผลเช่นนี้?
6 อันดับแรกถือว่าเป็นอันดับที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยเดิมจากปีที่แล้ว นอกจากนี้ ก็ยังมีความน่าสนใจตรงช่องว่างระหว่างอันดับ 6 และ 7 ด้วย
โดยมหาวิทยาลัย 6 อันดับแรกถือว่าเป็นผู้นำในรูปแบบ “Super Brand” หรือคล้ายๆกับสถานะ “Super Group” ของเหล่ามหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ถึงอย่างนั้น 6 มหาวิทยาลัยนี้ก็เป็นคนละกลุ่มกันกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกทั่วไป เป็นไปได้ว่ามหาวิทยาลัยจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนี้นี้เป็น มหาวิทยาลัยที่ฝังอยู่ในความคิดของผู้คนทั่วไป ทำให้ทันทีที่ตอบแบบสำรวจ ผู้คนก็จะนึกถึงมหาวิทยาลัยเหล่านี้ก่อน ทำให้มหาวิทยาลัยเหล่านี้ยิ่งใหญ่เกินจริง ซึ่งถือว่าน่าสนใจมากๆ
อันดับเหล่านี้เกิดจากการมีเงินทุนสนับสนุนใช่หรือไม่?
ผลสำรวจนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ตอบล้วนๆ เกิดจากนักศึกษาและอาจารย์ที่ถูกถามเพื่อให้คะแนนกับมหาวิทยาลัยที่แตกต่าง กัน ส่วนในเรื่องการตัดเงินทุนสนับสนุนนั้น มักจะเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยของอเมริกา โดยเฉพาะแคลิฟอร์เนีย ที่อาจารย์เก่งๆจะย้ายออกไปเพื่อหางานที่ดีกว่าในมหาวิทยาลัยอื่น
แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเงินทุนสนับสนุนมีผลอย่างมากต่ออันดับ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราถึงเห็นมหาวิทยาลัยจากเอเชียมากมายติดอันดับ โดยตารางค่อนข้างคงที่และไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่คุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของมหาวิทยาลัยจากเอเชียเสมอ อย่างเช่น มหาวิทยาลัยจากจีน ที่มีก้าวขึ้นมากถึง 5 อันดับในปีนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยจากสิงคโปร์,ไต้หวัน และอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกัน คุณก็จะเห็นมหาวิทยาลัยชื่อดังจากอังกฤษมีอันดับที่ตกลงเล็กน้อย โดยมหาวิทยาลัยจากอังกฤษ มีเพียงแค่ 10 แห่งที่ติดอันดับ Top 100 ในปีนี้ ซึ่งผมคิดว่าส่วนมากเกิดจากผลของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แต่ถ้าตัดเรื่องของเงินทุนสนับสนุนออกไป อะไรที่มหาวิทยาลัยจากเอเชียเกิดการเปลี่ยนแปลงของอันดับที่แตกต่าง?
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดเรื่องของเงินสนับสนุนออกไป เพราะว่ามันเงินเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนตัวขับเคลื่อน โดยมหาวิทยาลัยของจีนและชาติเอเชียอื่นๆนั้น ใช้เงินสนับสนุนการศึกษา, การเปลี่ยนแปลงเงินเดือนและการเพิ่มการทำวิจัย เป็นตัวผลักดันองค์ความรู้ของพวกเขาออกไปให้กว้างขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการเงินทุนสนับสนุนทั้งสิ้น
แบบสำรวจนี้พิจารณาอะไรบ้าง?
แบบสำรวจนี้เป็นการสำรวจที่ธรรมดามาก โดยเราจะถามนักเรียนและอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขาเรียน, ทำวิจัย หรือ สอนอยู่แล้ว เช่น ถ้าคุณเป็นนักศึกษาของคณะสังคมวิทยา เราก็จะถามคุณเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาสังคมวิทยาที่ดีที่สุด เป็นต้น ดังนั้น ผลที่ออกมาก็จะให้คำตอบที่เกิดจากสิ่งที่คุณรู้จริงๆ
มหาวิทยาลัยของอังกฤษอาจจะต้องตกใจกับผลที่ออกมา คุณคิดว่าผลสำรวจล่าสุดนี้จะสามารถส่งสาระสำคัญไปยังผู้ที่วางนโยบายทางการ ศึกษาของอังกฤษได้อย่างไรบ้าง?
มันเป็นเรื่องกดดันมาก เมื่อความสามารถของมหาวิทยาลัยของอังกฤษยังคงได้รับการยอมรับอยู่ในการจัด อันดับ Top 100 ถึง 10 มหาวิทยาลัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของเปอร์เซนต์มหาวิทยาลัยทั้งหมด ดังนั้น การมีมหาวิทยาลัยถึง 10 แห่งติดอันดับต้นๆถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ Oxford และ Cambridge ที่ถือว่าดีที่สุดในโลก รวมถึง Harvard และ MIT จากอเมริกาด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่ออกมาก็เป็นสัญญาณแล้วว่าพวกเขาจำเป็นต้องระวังให้มากขึ้น เพราะโลกดูเหมือนจะให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก และอาจทำให้ความเหนือชั้นของมหาวิทยาลัยจากอังกฤษในระดับโลกต้องตกลงและหาย ไปในที่สุด แต่นี่เป็นเพียงปีที่ 2 ของการจัดอันดับจากความน่าเชื่อถือเท่านั้น เรายังต้องการข้อมูลอีกมากในการตัดสิน
ถ้ามหาวิทยาลัยของอังกฤษยังต้องการเป็นผู้นำต่อไป พวกเขาจำเป็นต้องรักษาปริมาณการรับสมัครนักเรียนต่างชาติต่อไป และแสดงให้โลกเห็นในฐานะเป็นประเทศของ “ศูนย์รวมทางความรู้” พวกเขาจำเป็นต้องสนับสนุนมหาวิทยาลัยของตนด้วยการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม
อะไรคือสาระสำคัญที่นักเรียนต่างชาติมองหาจากผลการจัดอันดับนี้?
ผมจะพูดเพียงแค่ว่า “จงเรียนรู้” จากสิ่งที่คุณเห็น ถ้าคุณเป็นคนที่สนเรื่องของชื่อเสียงและความโด่งดังของมหาวิทยาลัยที่มีผล ต่อคุณสมบัติของคุณ ก็ถูกต้องแล้วที่คุณจะมองหามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ซึ่งตารางผลสำรวจนี้ก็บอกสิ่งนั้นให้กับคุณ
ผมอยากจะบอกต่อว่า ไม่ว่าจะเป็นตารางจากผลสำรวจอะไรก็ตาม คุณควรอ่านโดยรู้ถึงระเบียบที่มาของมัน และมองหาสิ่งที่คุณต้องการ บางครั้งสิ่งที่คุณสนใจที่สุด ก็อาจไม่สามารถวัดเป็นค่าออกมาได้ หรือ อาจจะไม่มีข้อมูลเพียงพอในระดับโลก ดังนั้น คุณควรใช้ผลสำรวจเหล่านี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้น และควรใช้มันอย่างระมัดระวัง เพราะถึงแม้มันจะเป็นข้อมูลที่ดี แต่มันก็ไม่ได้บ่งบอกในรายละเอียด คุณควรจะหาเพิ่มเติมต่อไป
ที่มา : http://hotcourses.exteen.com/20120328/the-world-university-rankings-phil-baty
ในวันนี้ฮอทคอร์สได้มีโอกาสพูดคุยกับ Phil Baty ผู้เขียน การจัดอันดับมหาวิทยาลัย The World University rankings และเขาจะมาอธิบายเพิ่มเติมว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากความน่าเชื่อถือนี้ สามารถแสดงอะไรให้เราได้เห็นบ้าง
เห็นได้ว่ามหาวิทยาลัย 6 อันดับแรก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว คุณคิดว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้เกิดผลเช่นนี้?
6 อันดับแรกถือว่าเป็นอันดับที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยเดิมจากปีที่แล้ว นอกจากนี้ ก็ยังมีความน่าสนใจตรงช่องว่างระหว่างอันดับ 6 และ 7 ด้วย
โดยมหาวิทยาลัย 6 อันดับแรกถือว่าเป็นผู้นำในรูปแบบ “Super Brand” หรือคล้ายๆกับสถานะ “Super Group” ของเหล่ามหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ถึงอย่างนั้น 6 มหาวิทยาลัยนี้ก็เป็นคนละกลุ่มกันกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกทั่วไป เป็นไปได้ว่ามหาวิทยาลัยจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนี้นี้เป็น มหาวิทยาลัยที่ฝังอยู่ในความคิดของผู้คนทั่วไป ทำให้ทันทีที่ตอบแบบสำรวจ ผู้คนก็จะนึกถึงมหาวิทยาลัยเหล่านี้ก่อน ทำให้มหาวิทยาลัยเหล่านี้ยิ่งใหญ่เกินจริง ซึ่งถือว่าน่าสนใจมากๆ
อันดับเหล่านี้เกิดจากการมีเงินทุนสนับสนุนใช่หรือไม่?
ผลสำรวจนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ตอบล้วนๆ เกิดจากนักศึกษาและอาจารย์ที่ถูกถามเพื่อให้คะแนนกับมหาวิทยาลัยที่แตกต่าง กัน ส่วนในเรื่องการตัดเงินทุนสนับสนุนนั้น มักจะเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยของอเมริกา โดยเฉพาะแคลิฟอร์เนีย ที่อาจารย์เก่งๆจะย้ายออกไปเพื่อหางานที่ดีกว่าในมหาวิทยาลัยอื่น
แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเงินทุนสนับสนุนมีผลอย่างมากต่ออันดับ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราถึงเห็นมหาวิทยาลัยจากเอเชียมากมายติดอันดับ โดยตารางค่อนข้างคงที่และไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก แต่คุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของมหาวิทยาลัยจากเอเชียเสมอ อย่างเช่น มหาวิทยาลัยจากจีน ที่มีก้าวขึ้นมากถึง 5 อันดับในปีนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยจากสิงคโปร์,ไต้หวัน และอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกัน คุณก็จะเห็นมหาวิทยาลัยชื่อดังจากอังกฤษมีอันดับที่ตกลงเล็กน้อย โดยมหาวิทยาลัยจากอังกฤษ มีเพียงแค่ 10 แห่งที่ติดอันดับ Top 100 ในปีนี้ ซึ่งผมคิดว่าส่วนมากเกิดจากผลของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แต่ถ้าตัดเรื่องของเงินทุนสนับสนุนออกไป อะไรที่มหาวิทยาลัยจากเอเชียเกิดการเปลี่ยนแปลงของอันดับที่แตกต่าง?
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดเรื่องของเงินสนับสนุนออกไป เพราะว่ามันเงินเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนตัวขับเคลื่อน โดยมหาวิทยาลัยของจีนและชาติเอเชียอื่นๆนั้น ใช้เงินสนับสนุนการศึกษา, การเปลี่ยนแปลงเงินเดือนและการเพิ่มการทำวิจัย เป็นตัวผลักดันองค์ความรู้ของพวกเขาออกไปให้กว้างขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการเงินทุนสนับสนุนทั้งสิ้น
แบบสำรวจนี้พิจารณาอะไรบ้าง?
แบบสำรวจนี้เป็นการสำรวจที่ธรรมดามาก โดยเราจะถามนักเรียนและอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขาเรียน, ทำวิจัย หรือ สอนอยู่แล้ว เช่น ถ้าคุณเป็นนักศึกษาของคณะสังคมวิทยา เราก็จะถามคุณเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาสังคมวิทยาที่ดีที่สุด เป็นต้น ดังนั้น ผลที่ออกมาก็จะให้คำตอบที่เกิดจากสิ่งที่คุณรู้จริงๆ
มหาวิทยาลัยของอังกฤษอาจจะต้องตกใจกับผลที่ออกมา คุณคิดว่าผลสำรวจล่าสุดนี้จะสามารถส่งสาระสำคัญไปยังผู้ที่วางนโยบายทางการ ศึกษาของอังกฤษได้อย่างไรบ้าง?
มันเป็นเรื่องกดดันมาก เมื่อความสามารถของมหาวิทยาลัยของอังกฤษยังคงได้รับการยอมรับอยู่ในการจัด อันดับ Top 100 ถึง 10 มหาวิทยาลัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของเปอร์เซนต์มหาวิทยาลัยทั้งหมด ดังนั้น การมีมหาวิทยาลัยถึง 10 แห่งติดอันดับต้นๆถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ Oxford และ Cambridge ที่ถือว่าดีที่สุดในโลก รวมถึง Harvard และ MIT จากอเมริกาด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่ออกมาก็เป็นสัญญาณแล้วว่าพวกเขาจำเป็นต้องระวังให้มากขึ้น เพราะโลกดูเหมือนจะให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก และอาจทำให้ความเหนือชั้นของมหาวิทยาลัยจากอังกฤษในระดับโลกต้องตกลงและหาย ไปในที่สุด แต่นี่เป็นเพียงปีที่ 2 ของการจัดอันดับจากความน่าเชื่อถือเท่านั้น เรายังต้องการข้อมูลอีกมากในการตัดสิน
ถ้ามหาวิทยาลัยของอังกฤษยังต้องการเป็นผู้นำต่อไป พวกเขาจำเป็นต้องรักษาปริมาณการรับสมัครนักเรียนต่างชาติต่อไป และแสดงให้โลกเห็นในฐานะเป็นประเทศของ “ศูนย์รวมทางความรู้” พวกเขาจำเป็นต้องสนับสนุนมหาวิทยาลัยของตนด้วยการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม
อะไรคือสาระสำคัญที่นักเรียนต่างชาติมองหาจากผลการจัดอันดับนี้?
ผมจะพูดเพียงแค่ว่า “จงเรียนรู้” จากสิ่งที่คุณเห็น ถ้าคุณเป็นคนที่สนเรื่องของชื่อเสียงและความโด่งดังของมหาวิทยาลัยที่มีผล ต่อคุณสมบัติของคุณ ก็ถูกต้องแล้วที่คุณจะมองหามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ซึ่งตารางผลสำรวจนี้ก็บอกสิ่งนั้นให้กับคุณ
ผมอยากจะบอกต่อว่า ไม่ว่าจะเป็นตารางจากผลสำรวจอะไรก็ตาม คุณควรอ่านโดยรู้ถึงระเบียบที่มาของมัน และมองหาสิ่งที่คุณต้องการ บางครั้งสิ่งที่คุณสนใจที่สุด ก็อาจไม่สามารถวัดเป็นค่าออกมาได้ หรือ อาจจะไม่มีข้อมูลเพียงพอในระดับโลก ดังนั้น คุณควรใช้ผลสำรวจเหล่านี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้น และควรใช้มันอย่างระมัดระวัง เพราะถึงแม้มันจะเป็นข้อมูลที่ดี แต่มันก็ไม่ได้บ่งบอกในรายละเอียด คุณควรจะหาเพิ่มเติมต่อไป
ที่มา : http://hotcourses.exteen.com/20120328/the-world-university-rankings-phil-baty
asian-university-rankings 2012
QS ประกาศอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชีย วันที่ 29 พฤษภาคม 2555
ภาพรวม http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012
1.มหิดล
2.จุฬา
3.เชียงใหม่
4.ธรรมศาสตร์
5.สงขลา
6.บางมด
7.ขอนแก่น
8.เกษตร
ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/arts-humanities
1.จุฬา
2.ธรรมศาสตร์
3.มหิดล
4.เชียงใหม่
ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/technology
1.จุฬา
2.มหิดล
3.บางมด
4.เชียงใหม่
5.ธรรมศาสตร์
6.เกษตร
7.สงขลา = ลาดกระบัง
8.พระนครเหนือ
9.ขอนแก่น
ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/life-science-biomedicine
1.มหิดล
2.จุฬา
3.เกษตร
ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/natural-sciences
1.จุฬา
2.มหิดล
3.บางมด
ด้านสังคมศาสตร์
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/social-science
1.จุฬา
2.ธรรมศาสตร์
3.เชียงใหม่
4.มหิดล
5.เกษตร
ที่มา: http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2507898
ภาพรวม http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012
1.มหิดล
2.จุฬา
3.เชียงใหม่
4.ธรรมศาสตร์
5.สงขลา
6.บางมด
7.ขอนแก่น
8.เกษตร
ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/arts-humanities
1.จุฬา
2.ธรรมศาสตร์
3.มหิดล
4.เชียงใหม่
ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/technology
1.จุฬา
2.มหิดล
3.บางมด
4.เชียงใหม่
5.ธรรมศาสตร์
6.เกษตร
7.สงขลา = ลาดกระบัง
8.พระนครเหนือ
9.ขอนแก่น
ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/life-science-biomedicine
1.มหิดล
2.จุฬา
3.เกษตร
ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/natural-sciences
1.จุฬา
2.มหิดล
3.บางมด
ด้านสังคมศาสตร์
http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2012/faculty-area-rankings/social-science
1.จุฬา
2.ธรรมศาสตร์
3.เชียงใหม่
4.มหิดล
5.เกษตร
ที่มา: http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2507898
วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555
การประเมินผลแบบ forced ranking
ทำไมต้อง Forced Ranking ?
โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา apiwut@riverorchid.com
เวลา ที่ผมต้องไปเป็นวิทยากรในเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลการทำงาน ทุกครั้งที่ไปจะมีคำถามยอดฮิตที่ทุกคนชอบถามคือ ทำไมองค์กรต้องเปลี่ยนวิธีการประเมินผลมาเป็นแบบ forced ranking ด้วย ในเมื่อการประเมินผลแบบให้เกรดแต่ละคนก็ดีอยู่แล้ว การใช้ forced ranking ทำให้หัวหน้างานหลายคนรู้สึกลำบากใจในการให้เกรดลูกน้อง
ก่อนที่จะไป ตอบคำถามว่าทำไม ผมขอชี้ให้เห็นก่อนว่า forced ranking คืออะไร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของคนที่อยู่ในองค์กรที่ยังไม่เข้าสู่ระบบ forced ranking
การประเมินผลแบบ forced ranking คือการประเมินผลแบบการใช้โควตา กล่าวคือหัวหน้าจะทำการประเมินผลลูกน้องโดยให้คะแนน หลังจากนั้นจะนำคะแนนของลูกน้องทั้งหมดในทีมมาเรียงลำดับกัน โดยองค์กรจะเป็นผู้กำหนดว่า ในแต่ละทีมจะมีคนที่ได้เกรด A กี่คน เกรด B กี่คน และเกรด C กี่คน (จำนวนของเกรดอาจจะมีได้มากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละองค์กร)
โดยปกติในอดีตก่อนที่จะมีการนำ วิธี forced ranking มาใช้ในการประเมินผลการทำงาน องค์กรโดยมากจะให้คะแนนพนักงานแต่ละคนเป็นเกรด กล่าวคือ ถ้าพนักงานสามารถทำคะแนนได้เท่านี้ พนักงานจะได้เกรด A หรือพนักงานทำคะแนนได้เท่านั้น ก็จะได้เกรด B
แต่โดยส่วนใหญ่ คนส่วนมากในแทบทุกองค์กรจะได้เกรดรวมกันอยู่ที่ A กับ B ทั้งนี้เป็นเพราะว่าหัวหน้างานแต่ละคนจะพยายามประเมินคะแนนให้ลูกน้องดีไว้ ก่อน เนื่องจากกลัวว่าต้องไปลำบากใจทีหลังในการอธิบายให้ลูกน้องฟังว่า ทำไมจึงให้เกรด C กับลูกน้อง
นอกจากนี้ หัวหน้าเองก็มีหลายแบบ มีทั้งแบบที่เข้มงวด และแบบปล่อยเกรด
ซึ่ง ในจุดนี้หลายคนในองค์กรจะเริ่มมีความกังขาขึ้นมาแล้วว่าลูกน้องที่มีหัวหน้า แบบปล่อยเกรด จะเก่งและดีจริงหรือ ในขณะที่ลูกน้องที่มีหัวหน้าที่เข้มงวดจะเริ่มมีคำถามเช่นกันว่า เขาทำงานได้ดีพอๆ กับอีกคนหนึ่งที่อยู่อีกทีมหนึ่งแล้วทำไมเขาจึงได้เกรดต่ำกว่าคนคนนั้น และนั่นอาจจะส่งผลให้องค์กรเสียคนที่ทำงานเก่ง และดีไปได้
ดังนั้น วิธี forced ranking คือการประเมินที่พยายามแยกคนที่ทำงานดีออกจากคนที่ทำงานไม่ดี คนที่ตั้งใจทำงานออกจากคนที่ไม่ตั้งใจทำงาน ซึ่ง forced ranking จะสามารถแบ่งออกมาได้อย่างชัดเจน โดยองค์กรจะเป็นผู้กำหนดเลยว่า จะมีคนได้เกรด A กี่คน เกรด B กี่คน และเกรด C กี่คน (จำนวนเกรดขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร บางองค์กรอาจจะมี เกรด A - D และเกรด F ในขณะที่บางองค์กรอาจจะมีแค่เกรด A - C เท่านั้น หรือบางองค์กรอาจจะใช้แค่ว่า "ดีมาก" "ดี" "ปานกลาง" และอื่นๆ)
วิธี การหาจำนวนคนในแต่ละเกรด โดยมากองค์กรจะใช้วิธีการหาจากเปอร์เซ็นต์ เช่น องค์กรต้องการคนที่อยู่ในเกรด A กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วนำจำนวนเปอร์เซ็นต์มาคำนวณคูณกับจำนวนพนักงาน
ซึ่งข้อดีของ forced ranking นอกจากจะช่วยในการแยกแยะระหว่างคนทำงานดีกับไม่ดีออกจากกัน องค์กรเองยังสามารถจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงานได้อย่างเหมาะสม
ใน อดีตโดยส่วนมาก เวลาจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน องค์กรจะให้เงินก้อนหนึ่งเลยกับหัวหน้างาน เพื่อนำไปแบ่งให้กับลูกน้องตามความเหมาะสมของหัวหน้า และเพื่อความปลอดภัยของตัวหัวหน้าเอง หัวหน้าโดยมากก็จะแบ่งเงินให้กับลูกน้องเท่ากัน เพื่อไม่ให้เกิดการครหานินทาขึ้น แต่ผลที่ตามมาคือ คนที่ทำงานได้ดี จะไม่เห็นความแตกต่างของการขยันทำงาน เพราะไม่ว่าจะขยันหรือไม่ขยันก็ได้เงินเท่ากัน และนั่นหมายถึงการที่องค์กรไม่สามารถรักษาคนเก่งไว้ได้
ในขณะที่หัว หน้าบางคนอาจจะแบ่งให้ตามความสามารถ แต่ก็อย่างว่า นานาจิตตัง ลูกน้องหลายคนก็จะมองว่าหัวหน้าให้แต่คนสนิท คนที่ไม่สนิทก็ได้น้อยหน่อย แม้หัวหน้าจะพยายามชี้แจงแล้ว แต่ถ้าลูกน้องได้โบนัสน้อย ส่วนมากก็จะหาว่า หัวหน้าแก้ตัวให้กับตัวเอง ทั้งนี้เพราะเกณฑ์การตัดสินใจทุกอย่างขึ้นอยู่กับหัวหน้า องค์กรไม่มีหลักอะไรให้กับหัวหน้างานเลย
ดังนั้นการใช้ forced ranking จะเป็นการประเมินผลที่พยายามแยกคนที่ทำงานดีออกจากคนที่ทำงานไม่ดีอย่าง ชัดเจน ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถตอบแทนพนักงานตามความสามารถของเขาจริงๆ แม้จะค่อนข้างขัดกับความรู้สึกของคนไทย ที่มองว่าคนเรามันก็มีทั้งดีและไม่ดีในตัวของตัวเอง แต่วิธีการ forced ranking ณ ตอนนี้ ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเก็บรักษาคนเก่งคนดีไว้ภายในองค์กร
เพราะวิธีการนี้ จะทำให้องค์กรสามารถ จ่ายผลตอบแทนได้ถูกต้อง และพนักงานก็จะเห็นถึงความแตกต่างในการทำงานดีกับการทำงานไม่ดี
แต่ อย่างไรก็ตาม forced ranking ใช่ว่าจะมีแต่ข้อดีอย่างเดียว forced ranking ก็มีข้อเสียเช่นกัน ซึ่งก็คือ คนที่ได้เกรด B หรือคนที่อยู่ในระหว่างกลางของเกรด (gray area) อาจเกิดอาการน้อยใจได้ หรือกรณีที่องค์กรกำหนดให้เกรด A มี 2 คน แต่ในความเป็นจริงแล้วคนในทีมอาจจะสมควรได้รับเกรด A 3 คน ซึ่งตรงจุดนี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้
แต่ทั้งนั้นระบบ forced ranking ถือว่าเป็นระบบที่มีข้อเสียน้อยที่สุดในปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ หลายองค์กร ทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ต่างหันมาสนใจใช้ระบบ forced ranking กันมากขึ้น ยกตัวอย่างองค์กรยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ได้แก่ General Electric (GE)
GE เป็นบริษัทใหญ่ข้ามชาติที่มีสาขาอยู่มากมายทั่วโลก นโยบายอย่างหนึ่งของ GE ที่ทำให้องค์กรยิ่งใหญ่อยู่จนปัจจุบันนี้ คือ ข้อตกลงที่องค์กรมีกับพนักงานตั้งแต่ก่อนเริ่มงานว่า พนักงานมีโอกาสแค่ 2 G เท่านั้น คือ ถ้าไม่ Grow (เติบโต) ก็คือ Go (ออกไป) ส่วนพนักงานจะ Grow หรือ Go นั้น ขึ้นอยู่กับผลการทำงาน เมื่อถึงเวลาประเมินผลปลายปี ถ้าผลการทำงานของพนักงานอยู่ในระดับ 10% สุดท้ายของพนักงานทั้งหมดขององค์กร ทางองค์กรจำเป็นต้องให้พนักงาน Go
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าแผนกของคุณมีคนอยู่ 20 คน เมื่อถึงเวลาปลายปีหลังประเมินผลการทำงาน 2 คนใน 20 คนนี้จะถูกให้ออก แล้วแผนกก็จะรับคนใหม่เข้ามาแทน 2 คนนี้ แม้หลายคนจะมองว่าความมั่นคงในการทำงานค่อนข้างต่ำ แต่ที่ GE นั้น เขาจ่ายค่าจ้างดีมาก และยิ่งถ้าคุณมีผลงานดีด้วยแล้ว แทบไม่ต้องพูดถึงค่าตอบแทนเลย (อย่างที่ตามหลักการการบริหารการเงินบอกไว้ high risk, high return (ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนก็สูง)
ดังนั้น ถ้าองค์กรของคุณหันมาใช้วิธีการ ประเมินผลการทำงานผ่านระบบ forced ranking แล้วละก็ แสดงว่าองค์กรของคุณเล็งเห็นถึงความสำคัญของคนที่ทำงานดีมีผลงานเด่น
ที่มา : http://shine-management-tips.blogspot.com/2008/02/forced-ranking.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความแนะนำ
โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
http://www.mua.go.th/users/bhes/pdf/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B...
-
สวัสดีค่ะ... วันนี้แอดมินขอนำเสนอความหมายของ EdPEx อีกครั้ง ....ที่ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอ "คำถาม 15 ข้อที่คาใจ" เกี่ยวกับ EdPEx...
-
ฟอนต์อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ดาวน์โหลดกันได้เลยค่ะ http://www.f0nt.com/release/silpakor...
-
การสอนงาน หมายถึง การที่หัวหน้างานได้สอนหรือแนะนำให้ลูกน้อง ได้เรียนรู้งาน ที่ได้รับ มอบหมาย มีวัตถุประสงค์และข้อปฏิบัติอย่างไร จึงจะบรรล...