ปัจจุบันพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งระบบ (นับรวมพนักงานเงินงบประมาณแผ่นดิน เงินรายได้
พนักงาน ราชการอัตราจ้าง อาจารย์และลูกจ้างตามสัญญา) คิดเป็นสัดส่วน 70-90% ของบุคลากรทั้งหมด มหาวิทยาลัยบางแห่งมีพนักงานเป็นหมื่น คาดกันว่าในอีก 10-20 ปี ข้าราชการในมหาวิทยาลัยจะหมดไป เหลือแต่พนักงาน 100% แต่ขณะที่มีแนวโน้มว่าพนักงานจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
นั้น ระบบพนักงานมหาวิทยาลัยกลับพัฒนาอย่างไรทิศไร้ทาง
เริ่ม จากการจัดให้มีระบบพนักงานมหาวิทยาลัยตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ให้จ่ายอัตราเงินเดือนแรกบรรจุพนักงานสายวิชาการและสายสนับสนุน 1.7 และ 1.5 เท่าของอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เริ่มต้นก็เถียงกันว่าเป็นเงินเดือนอย่างเดียว หรือรวมสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นด้วย
ฝ่าย สกอ.กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณอ้างว่ารวมทุกอย่างหมด แต่ ครม.ไม่เข้าใจเอง เขียนว่าเป็น อัตราเงินเดือน อย่างเดียว ขณะที่ย้อนไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ครม.กลับมี
มติว่า ให้มหาวิทยาลัยกำหนดจำนวนบุคคลที่จะจ้างและอัตราค่าจ้างได้ภายในวงเงินงบ ประมาณที่ได้รับจัดสรรโดยได้รับความเห็นขอบจากสภามหาวิทยาลัย มีค่าเท่ากับให้อำนาจมหาวิทยาลัยกำหนดค่าจ้างได้เอง ระบบพนักงานมหาวิทยาลัยจึงกลายเป็นระบบที่ไม่มีขอบเขตแน่นอน
มหาวิทยาลัย หลายแห่งใช้วิธีหักเงิน 1.7 และ 1.5 ของพนักงานไปเป็นสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ซ้ำร้ายบางแห่งบริหารแบบดำมืด ไม่มีใครทราบว่าเงินส่วนที่ถูกหักถูกนำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง บางครั้งรู้แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องหักเงินไว้
0.2% นำไปสมทบกองทุนประกันสังคมและจ่ายค่าตำแหน่งทางวิชาการ เพราะนั่นมันเท่ากับมหาวิทยาลัยไม่ได้ออกเงินเพิ่มอะไรสักแดงเดียว
พนักงาน บางแห่งจึงใช้วิธีฟ้องศาลปกครองว่ามหาวิทยาลัยไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.ที่ให้จ่าย 1.7 และ 1.5 ซึ่งก็ได้ผลระดับหนึ่ง ผู้บริหารยอมคืน0.2% ให้ แต่ตั้งข้อแม้ว่าต้องทำผลงานทางวิชาการให้ได้ในเวลาที่กำหนด จึงกลายเป็นประเด็นเดือดต่ออีก
การหักเงินต่างกันจึงทำให้เกิดความ โกลาหลและลักลั่น ที่อเนจอนาถคือ บางแห่งหักมากจนพนักงานมหาวิทยาลัยได้ค่าจ้างต่ำกว่าอัตราแรกเข้าของข้า ราชการ อีกทั้งผู้บริหารบางคนมีทัศนคติเชิงลบและไม่มีแผนการล่วงหน้าอะไรเกี่ยวกับ พนักงานมหาวิทยาลัย อนาคตของพนักงานมหาวิทยาลัยแขวนอยู่บนเส้นด้ายบางๆ
ต้น ตอของปัญหามาจากการจัดตั้งระบบพนักงานโดยคิดวางแผนล่วงหน้า โดยเฉพาะไม่มีแม่แบบ (prototype) และศึกษาวิจัยให้ตกว่าจะให้เงินเดือน สวัสดิการ และเงินจูงใจอย่างไร จึงเหมาะสมกับตลาดแรงงานและการแข่งขันเพื่อให้เกิดการดึงดูด รักษา และจูงใจพนักงาน ส่วนไหนเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ส่วนไหนเป็นทางเลือก (options) ที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งสามารถเลือกได้เอง รัฐบาลเล่นโยนเงินให้ก้อนหนึ่ง เรียกว่า เงินอุดหนุนทั่วไป แล้วให้มหาวิทยาลัยไปบริหารเอง อ้างว่านี่แหละคือความเป็นอิสระทางวิชาการ ทั้งๆ ที่เป็นการปัดภาระอย่างชัดเจน
ข้างผู้บริหารมหาวิทยาลัย ค่าที่ไปหักเงิน 1.7 และ 1.5 มั่วไปหมด จึงเกิดระบบโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการที่แตกต่างกัน บางแห่งให้เงินเดือนเต็ม 1.7 และ 1.5 บางแห่งหักออกมาจัดกองทุนสวัสดิการสำรองเลี้ยงชีพประกันสังคม กองทุนสวัสดิการ ค่าตำแหน่งทางวิชาการ และสิทธิประโยชน์อื่น เมื่อระบบค่าตอบแทนแตกต่างกันผลที่ตามมา คือ เกิดความไม่เป็นธรรม 3 ด้าน ได้แก่ (1) ระดับบุคคล (2) ภายในองค์การ และ (3) ภายนอกองค์การ
ความ ไม่เป็นธรรมระดับบุคคล คือ เกิดการจ่ายที่ไม่เป็นไปตามผลงานและความอาวุโส โดยเฉพาะคนที่อยู่ก่อนเงินเดือนขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่ทันเด็กใหม่ เนื่องจากเกิดการปรับเงินเดือนใหม่อยู่เรื่อย ส่วนความไม่เป็นธรรมภายในเกิดเพราะองค์การจ่ายเงินไม่เป็นไปตามภาระความมาก น้อยและยากง่ายของงาน เนื่องจากไม่มีการวิเคราะห์
ค่างานและคิดต้นทุนการทำงาน ทั้งๆ ที่การคิดต้นทุนเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยนอกระบบ
ยิ่ง กว่านั้น ยังเกิดความไม่เป็นธรรมภายในอีกอย่าง เพราะระบบพนักงานมีหลายระบบ ทับซ้อนกัน และอาศัยระเบียบคนละฉบับ เช่น พนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณแผ่นดิน พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ พนักงานราชการและพนักงานสัญญาจ้างพนักงานเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง กันตามระเบียบและการดูแลของส่วนงาน อาทิ พนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณได้เงินเพิ่มค่าครองชีพ 5% เพราะรัฐบาลมีบัญชีถือจ่ายอยู่ในมือ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยอื่นไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ครม.
ใช้วิธีผลักภาระว่า มหาวิทยาลัยจะขึ้นให้ก็ได้ ถ้าหากมีรายได้ แต่จริงๆ ไม่ได้ขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่หวงเงินรายได้ หรือพนักงานเงินงบประมาณแผ่นดินขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ ส่วนพนักงานประเภทอื่นขอไม่ได้ หรือพนักงานสัญญาจ้างลาไปต่างประเทศไม่ได้ ค้ำประกันเงินกู้หรือขอกู้ธนาคารไม่ได้ เพราะมีความมั่นคงต่ำ
ส่วนด้านความไม่เป็นธรรมภายนอกหมายถึงความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัย
นอก จากนี้ ระบบพนักงานที่คุยนักคุยหนาว่าจะให้ผลตอบแทนที่เพียงพอ (มากกว่าข้าราชการ) จริงๆ ก็ไม่ใช่ เพราะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้พอกัน ส่วนค่าตำแหน่งทางวิชาการได้แค่ครึ่งเดียวของข้าราชการ ด้านโบนัสก็ได้น้อยกว่าเพราะให้โบนัสตามตำแหน่งบริหารที่ส่วนใหญ่เป็นข้า ราชการ โดยเฉพาะไม่มีส่วนแบ่งผลประโยชน์ (gain sharing) ที่เกิดจากการทำงานเกินมาตรฐาน หรือส่วนแบ่งกำไร (profit sharing)
เหตุผล หลักมาจากไม่มีคนจัดทำบัญชีต้นทุนและคิดการมีส่วนทำงานของกลุ่มต่อผลผลิต จึงไม่รู้ว่าพนักงานคนไหนทำมากหรือทำน้อย และจะแบ่งกำไรหรือขาดทุนกันอย่างไร ในมุมกลับก็ดีไปอย่าง เพราะระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานก็จะมั่วๆ ตามไปด้วย คนที่ไม่ทำอะไรก็ไม่ต้องถูกออก นั่งกินนอนกินในมหาวิทยาลัยได้สบาย ส่วนคนที่ถูกประเมินออก แน่ละว่าต้องเป็นคนที่ผู้มีอำนาจลึกลับในมหาวิทยาลัยให้ออก ข้อหาส่วนใหญ่มักเป็นเหม็นขี้หน้า หรือไม่เช่นนั้นก็ขัดผลประโยชน์ และมันเป็นสัจธรรมตามทฤษฎีสมคบคิดหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ เพราะผู้มีอำนาจลึกลับคนนั้นต้องเป็น ข้าราชการ ที่มีความมั่นคงในการทำงานอย่างล้นเหลือ ซึ่งคุกคามพนักงานตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ล่วงหน้าเสียด้วย
เมื่อเกิด ปัญหาขึ้นแทนที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะย้อนไปดูทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย และเตรียมการรับมือกับอนาคต กลับเรียกร้องกลับไปสู่มหาวิทยาลัยในระบบราชการ ซึ่งเป็นทิศทางที่เป็นไปไม่ได้ เพราะโลกล้วนต้องการลดขนาดของระบบราชการให้มีหุ่นเพรียวลมและรับผิดชอบต่อตน เอง ทางด้าน สกอ. สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง ก็พูดเป็นอย่างเดียวว่า ไม่มีระเบียบ จึงไม่มีอำนาจ ทุกอย่างอยู่ที่สภามหาวิทยาลัยตามกฎหมายที่อุตส่าห์เขียนให้แล้ว
นอก จากนี้ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพนักงานมีปัญหา สะท้อนจากที่ชอบพูดว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จัดระบบพนักงานได้เรียบร้อยดี ข้างสภามหาวิทยาลัยก็ซื่อบื้อจนสังคมมืดแปดด้านว่าจะสร้างกลไกอะไรจัดการกับ ท่านเซ่อร์ เหล่านี้ คิดไปการทำบัญชี
ผู้มีสิทธิเป็นสภา (waiting list) ก็เข้าท่าไม่น้อย ส่วนผู้บริหารก็มีปัญหาตรงที่ไม่เคยมองอะไรออกนอกตัว ราวกับว่าชีวิตนี้หากไม่ได้เป็นอธิการบดี รองอธิการบดี คงชักกระแด่วๆ ตาย
สภาพ ปัจจุบันจึงเป็นสภาพที่พนักงานมหาวิทยาลัยถูกสับโขก บอบช้ำ และโรยแรง เงินเดือนก็ไม่มาก สิทธิประโยชน์ก็ต่ำ ที่หนักข้อคือ ขาดความมั่นคง มหาวิทยาลัยไทยในปัจจุบันขาดระบบการประเมินผลที่ได้มาตรฐาน ไม่มีภูมิคุ้มกันในการอุทธรณ์และร้องทุกข์ในระบบ ก.พ.อ. ไม่มีตัวแทนระดับนโยบาย ซึ่งมีผลต่อคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยอย่างไม่ต้องสงสัย
ส่วน รัฐบาลก็ไม่รู้คิดอะไรกับการศึกษาไทย ที่ผ่านมามุ่งเพิ่มเงินเดือนครูนอกมหาวิทยาลัยเป็นเท่าๆ ตัวอีกทั้งหย่อนเกณฑ์การขอผลงานทางวิชาการจนเหมือนไล่แจก แต่สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะกลายเป็นผู้กุมชะตากรรมของมหาวิทยาลัยกลับ ไม่เหลียวแล มีกฎหมายรับรองสิทธิอยู่เพียงสองวรรค ส่วนนอกนั้น แผนพัฒนาพนักงานมหาวิทยาลัยสักฉบับก็ไม่เห็น โครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยก็ยังคงเดิม คิดกันได้แค่ยุบกับรวม แล้วก็ย้ายที่ตั้งไม่รู้ว่าระบบพนักงานมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่มันจะเจริญต่อ ไปได้อย่างไร
โดย เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ
ที่มา : http://www.matichon.co.th
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความแนะนำ
โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
http://www.mua.go.th/users/bhes/pdf/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B...
-
สวัสดีค่ะ... วันนี้แอดมินขอนำเสนอความหมายของ EdPEx อีกครั้ง ....ที่ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอ "คำถาม 15 ข้อที่คาใจ" เกี่ยวกับ EdPEx...
-
ฟอนต์อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ดาวน์โหลดกันได้เลยค่ะ http://www.f0nt.com/release/silpakor...
-
การสอนงาน หมายถึง การที่หัวหน้างานได้สอนหรือแนะนำให้ลูกน้อง ได้เรียนรู้งาน ที่ได้รับ มอบหมาย มีวัตถุประสงค์และข้อปฏิบัติอย่างไร จึงจะบรรล...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น