วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เมื่อต้องสอนในเรื่องที่ตนเองไม่รู้



  การเป็น อาจารย์ใหม่มีความคาดหวังว่าจะได้สอนในรายวิชาที่ตนเองถนัด และเชี่ยวชาญ แต่ความเป็นจริงส่วนมากแล้วกลับต้องสอนในรายวิชาที่ไม่เคยรู้ หรือไม่เคยเรียนมาก่อน เพราะการเป็นผู้มาใหม่ต้องยอมรับว่าผู้อยู่มาก่อน หรือ อาจารย์เก่าส่วนมากจะสอนในรายวิชาที่อาจารย์ใหม่ต้องการสอนอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นรายวิชาที่อาจารย์ใหม่ได้รับมอบหมายให้สอนจึงเป็นรายวิชาที่หาคนสอน ไม่ได้ หรือ เหลือล้นจากอาจารย์เก่าที่แบ่งมาให้กับอาจารย์ใหม่

ปรากฏการณ์ แบบนี้เกิดขึ้นทั่วไปในทุกระดับการศึกษา และทั่วทุกภูมิภาคของโลกถ้าเป็นสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการปรับ ตัวของอาจารย์ใหม่อาจไม่มากนัก เพราะเนื้อหาวิชาส่วนมากไม่ซับซ้อนลึกซึ้ง และอาจารย์ใหม่อย่างน้อยก็เคยรู้เคยเรียนมาบ้าง ถึงแม้จะไม่เชี่ยวชาญก็ตาม นอกจากนั้นตำแหน่ง ครูผู้ช่วยที่บรรจุแต่งตั้งก็เป็นการสอบคัดเลือกตามสาขาวิชาที่ต้องการของสถานศึกษา ส่วนมากอาจารย์ใหม่เหล่านั้นจะได้สอนในรายวิชาที่ใกล้เคียง หรือในสาขาวิชาที่ตนเองได้รับการบรรจุแต่งตั้ง

แต่ในสถานศึกษาระดับ อุดมศึกษาที่มีหลายคณะวิชา หลายภาควิชา หลายหลักสูตร และหลายรายวิชา ดังนั้นอาจารย์ใหม่อาจได้รับมอบหมายให้สอนในรายวิชาที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเรียน มาก่อน อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่บรรยายเนื้อหาสาระหน้าห้องเรียนให้นักศึกษาฟัง อาจเพิ่งอ่านหรือค้นคว้าเนื้อหาสาระมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หรือเมื่อวันวานก่อนบรรยาย แล้วนำมาสอนนักศึกษาตามที่ตนเองไปอ่านหรือค้นคว้ามาในระยะเวลาไม่นาน เช่น เดียวกับวิทยากรที่ได้รับเชิญให้ไปบรรยายบางท่านรับคำเชิญไปบรรยายในเรื่อง ที่ตนเองไม่เคยรู้ไม่เคยเรียนมาก่อนเช่นกัน

ในสหรัฐอเมริกาการที่ อาจารย์ต้องสอนในสิ่งที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเรียน หรือไม่เชี่ยวชาญนั้นเกิดจากสถานศึกษาไม่สามารถจ้างอาจารย์ที่มีความเชี่ยว ชาญได้ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจของสถานศึกษา และธรรมชาติการหมุนเวียนเพื่อรับอาจารย์ใหม่เข้ามาสู่สถานศึกษา รวมทั้งการพยายามใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้มากที่สุด ประกอบกับปรัชญาและความเชื่อบางประการที่ยอมรับในความสามารถของผู้จบปริญญา ขั้นสูงว่าเป็นผู้ที่ปัญญาดี ฉลาดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว สามารถแสวงหาความรู้ได้ สามารถเป็นผู้รู้ได้ทุกเรื่องในเวลาที่รวดเร็ว อาจารย์ในมหาวิทยาลัยจึงต้องสามารถสอนในสิ่งที่ตนเองไม่เคยรู้ไม่เคยเรียนมา ได้

สำหรับประเทศไทย บริบทของสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยทั้งในสังกัดและในกำกับของรัฐรวม ทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนมีความคล้ายคลึงกัน แต่อาจมีความแตกต่างกับสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศโดยเฉพาะ ในสหรัฐอเมริกาอยู่บ้างในด้านของกระบวนการจ้างงานหรือการเข้าสู่ตำแหน่ง อาจารย์และความสัมพันธ์ระหว่างคณาจารย์กับคณาจารย์และคณาจารย์กับนักศึกษา อีกทั้งแหล่งความรู้ที่ใช้สำหรับการค้นคว้านั้นสหรัฐอเมริกามีแหล่งความรู้ และเป็นต้นแบบของความรู้หลายด้านมากกว่าในประเทศไทย ทำให้การศึกษาค้นคว้าอาจใช้เวลาน้อยลงเพราะอาจารย์มี “Information Literacy” หรือ การรู้สารสนเทศมากกว่า

ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “Teaching What You Don’t Know” ของ Therese Huston จากสำนักพิมพ์ Harvard University Press ซึ่งได้วิเคราะห์ช่องว่างของการสอนระหว่าง อาจารย์ใหม่ที่มีความรู้ในเนื้อหาที่สอนน้อยหรือไม่เคยรู้ไม่เคยเรียนมาก่อน (Content Novices) กับ อาจารย์เก่าที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่สอนเป็นอย่างดี (Content Experts) โดย Huston (เธอเป็นสตรี) ได้ทำการศึกษาจากคณาจารย์จำนวน 28 ท่านในหลายสาขาวิชาและหลายสถาบันการศึกษา พบข้อดีจากการสอนของอาจารย์ใหม่ และให้ข้อเสนอแนะไว้ดังนี้

ประการ แรก อาจารย์ใหม่หรือผู้ที่เป็น Content Novices มีการประเมินเวลาที่ใช้สำหรับการทำงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนเป็นจริงมากกว่า หมายความว่าอาจารย์ใหม่ให้เวลานักศึกษาพอเพียงและพอดีกับที่นักศึกษาจะต้อง ทำรายงานหรือชิ้นงานที่อาจารย์มอบหมายมากกว่าอาจารย์เก่าหรือผู้ที่เป็น Content Experts นอกจากนั้น Huston ยังเสริมอีกว่า ในการศึกษาของเขามีกรณีหนึ่งที่ อาจารย์เก่าประมาณเวลาที่ใช้สำหรับทำงานให้สำเร็จคลาดเคลื่อนจากความเป็น จริงมาก มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทำงานนั้นประมาณการเสียอีก

ประการที่สอง อาจารย์ใหม่ดีกว่าอาจารย์เก่าในเรื่องของการทำนายขั้นตอนการทำงานของผู้ที่ ได้รับมอบหมายให้ทำงานครั้งแรกได้ดีกว่าอาจารย์เก่า โดยที่อาจารย์ใหม่สามารถทำนายหรือคาดหมายขั้นตอนการทำงานที่จะใช้ในการเริ่ม ต้น ขั้นตอนของความผิดพลาด และขั้นที่ต้องกลับมาทำซ้ำอีกได้อย่างชัดเจนและแม่นยำกว่า

ประการที่ สาม อาจารย์ใหม่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระเข้าสู่ชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียนได้ดีกว่าอาจารย์เก่า เพราะอาจารย์ใหม่ไม่ตกอยู่ในกรง (Vault) ของความรู้เชิงลึกที่มีความเฉพาะด้านมากนัก ผิดกับอาจารย์เก่าที่มีความรู้มาก ลึกซึ้ง ทำให้ไม่กล้าเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐาน หรือความรู้เดิมได้เพราะรู้และตระหนักในข้อจำกัดและข้อยกเว้นที่ไม่อาจ เชื่อมโยงหรือเปรียบเทียบกับความรู้พื้นฐาน หรือความรู้เดิมได้อย่างสมบูรณ์

อย่าง ไรก็ตาม Huston ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์ใหม่ที่สามารถนำไปสู่ขั้นมีคุณภาพที่ ดีเยี่ยมไว้ว่า การสอนที่ดีนั้นส่วนมากจะอยู่ภายใต้ข้อตกลงหรือความเข้าใจร่วมกันว่าเป็นการ หาวิธีการจัดโครงสร้างและการถ่ายทอดความรู้ที่ซับซ้อนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งหมายถึงการสอนให้สามารถครอบคลุมเนื้อหาครบถ้วนตามหลักสูตร

เมื่อ อาจารย์ใหม่ได้รับมอบหมายให้สอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง สิ่งที่อาจารย์ใหม่ให้ความสำคัญมากคือ การพยายามสอนให้ครบถ้วนครอบคลุมเนื้อหา และมักจะถือว่าเป็นการสอนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ของการประเมินการสอน โดยละเลยการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านอื่น ๆ ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน และอาจารย์ใหม่ส่วนมากไม่ยอมเสียสละเวลาในการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะอื่น ๆ นอกจากพยายามทำให้สามารถสอนได้ครบถ้วนและทันกับระยะเวลาในแต่ละภาคเรียน

การ ที่พยายามสอนให้ทัน ครอบคลุมเนื้อหา จนกลายเป็น ทาสของเนื้อหา” (Slaves to Content Coverage) ไม่ใช่หมายความว่าจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ดี ขอให้อาจารย์ใหม่ทั้งหลายให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย ไม่เพียงแต่การพยายามทำการสอนให้เป็นไปตามแผนการสอนอย่างเดียว

สำหรับ ประเทศไทย อาจารย์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้สอนรายวิชาที่ไม่เคยรู้หรือไม่เคยเรียนมา ก่อน อาจได้ประโยชน์จากการศึกษาวิจัยของ Huston และเพิ่มความมั่นใจให้กับอาจารย์ใหม่ที่ต้องสอนในเนื้อหาสาระที่ตนเองไม่ เชี่ยวชาญ การพัฒนาอาจารย์เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อาจต้องใช้เวลามาก อาจารย์ใหม่อาจค้นพบสิ่งที่เหมาะสมกับตนเองจากการสอน หรืออาจสนใจสิ่งที่ไม่เคยได้เรียนรู้มาก่อนและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในอนาคต ก็เป็นได้


โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ 
ที่มา : http://www.thairath.co.th/edu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น