มหาวิทยาลัยซิดนีย์ใหญ่มาก มี นศ. กว่า ๕ หมื่นคนใน ๑๖ คณะวิชา และที่สำคัญมี นศ. ต่างชาติมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศจีน ความพึงพอใจของนักศึกษาด้านการเรียนรู้จึงสำคัญมาก นี่คือที่มาของการที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์มีเป้าหมายชัดเจนที่การพัฒนาคุณภาพของการเรียนการสอนของทั้งมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
นำไปสู่การตั้ง Institute for
Teaching and
Learningทำหน้าที่จัดการฝึกอบรมการเรียนการสอนแก่อาจารย์ใหม่
ซึ่งมีปีละประมาณ ๒๐๐ คน
รวมทั้งทำงานวิจัยและพัฒนาศาสตร์ด้านการเรียนการสอน
และการวัดผล โปรดเข้าไปดูในเว็บไซต์
จะเห็นว่าเขามีกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่หลากหลายมาก
โดยอาจารย์ ไซมอน ผอ. สถาบันการเรียนการสอน
บอกว่าแม้มหาวิทยาลัยจะเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาการเรียนการสอน
แต่ก็ยังอ่อนแอด้านการประเมินผลการเรียน
โดยเฉพาะด้านที่ประเมินยาก เช่นด้านจริยธรรม ด้าน engagement
เขาบอกว่า QA ของการประเมิน ก็ยังไม่ดี
เขามีบริการ Professional Developmentให้แก่อาจารย์มากมาย เช่น อาจารย์ใหม่ทุกคนของมหาวิทยาลัยต้องเข้ารับการอบรม Principles and Practice of University Teaching (P&P)เป็นเวลา ๒ วัน แถมยังมีหลักสูตร part time เวลา ๑ ปี ให้เรียนเพื่อให้ได้ Graduate Certificate in Educational Studies (Higher Education)ติดตัวไปตลอด เป็นต้น
ที่น่าประทับใจคือ ในทุกคณะจะมีรองคณบดีด้านการเรียนการสอน
ที่ทำงานร่วมกับ ผอ. ของสถาบันการเรียนการสอน
ในการพัฒนาคุณภาพของการเรียนการสอน
การพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะด้านการเรียนการสอนและการประเมิน
เพิ่มขึ้น
รวมทั้งส่งเสริมอาจารย์ให้ทำวิจัยด้านการเรียนการสอน
โดยที่เขาพยายามส่งเสริมให้แต่ละคณะมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญและรักงานพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
โดยอาจได้ปริญญาโทหรือเอกด้านการเรียนรู้ศาสตร์ตามคณะของตน
เช่น PhD in Engineering Education
และผลงานวิจัยการเรียนการสอนเอามานับเป็นผลงานเพื่อเลื่อนตำแหน่ง
หรือพิจารณาความดีความชอบได้
ที่คณะบริหารธุรกิจ
เราได้คุยกับรองคณบดีฝ่ายการเรียนการสอน
ที่ทำงานพัฒนาศาสตร์ด้านการเรียนการสอนในสาขาบริหารธุรกิจมายาวนานกว่า
๒๐ ปี คือ รศ. มิเชล
ที่มีเอกสารช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการเรียนการสอนแก่อาจารย์ใหม่
และอาจารย์ทั่วไปอย่างดีมาก เข้าไปดูในเว็บไซต์ได้
ที่นี่
จะเห็นว่าเขาให้ความสำคัญต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนมาก
เพื่อเพิ่มชื่อเสียงต่อนักศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
มีระบบการจัดการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอาจารย์ด้านการเรียนการสอน
มีการปลุกกระแสสร้างความเอาใจใส่คุณภาพของการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
ด้วยหลากหลายวิธี
วิจารณ์ พานิช
๖ ก.ย. ๕๕
ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/505804
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น