หลักการที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการแยก corporate governance กับ academic governance ออกจากกัน และ corporate governance ต้องคอยช่วยปกป้องให้ academic governance มีอิสระ หรือ academic freedom คือเป็นการกำกับกันอยู่ในวงวิชาการ ไม่โดนฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายศาสนา (ในกรณียุโรปสมัยก่อน) เข้ามาสั่งการ ซึ่งก็หมายความว่ามีการกำกับดูแลมาตรฐานวิชาการกันเองในวงวิชาการ และกลไกนั้นคือ academic board (สภาวิชาการ)
ซึ่งก็แปลว่า สภาวิชาการต้องมีกลไกปรับเปลี่ยน “มาตรฐานวิชาการ” ให้เหมาะแก่ยุคสมัย รวมทั้งให้มีคุณภาพวิชาการ ความยากอยู่ที่ สภาวิชาการต้องทำหน้าที่อยู่ในสภาพความเป็นจริงของโลก ของสังคม และของวิชาการ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วิชาการบางเรื่องที่ดีที่สุด ทันสมัยที่สุดในวันนี้ อาจล้าสมัยในปีหน้าก็เป็นไปได้
เมื่อดูในกฎหมาย TEQSA ของออสเตรเลีย เห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายระบุกรอบคุณภาพและเงื่อนไขของการจัดการคุณภาพของวิชาการไว้ชัดเจน และมอบอำนาจการจัดการให้แก่ฝ่ายบริหาร และแก่ Academic Board ให้ทำหน้าที่จัดการคุณภาพวิชาการของมหาวิทยาลัย
เขาบอกว่าการจัดการคุณภาพวิชาการ เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ในวงการวิชาการเอง และกับนักศึกษา
แต่ผมมองว่า Academic Board ต้องทำงานซับซ้อนกว่านั้น ไม่จำกัดวงอยู่เฉพาะในวงวิชาการ และวง นศ. เท่านั้น ต้องเชื่อมออกไปสู่วง “ผู้ใช้” ผลิตผลของมหาวิทยาลัย หรืออาจเรียกว่าวง demand-side ด้วย โดยที่เป็นความสัมพันธ์แบบที่ละเอียดอ่อน ทั้งรับฟัง และสงวนความอิสระในการตัดสินใจ
Academic Board ต้องทำงานเพื่อรักษา คุณภาพ ความน่าเชื่อถือ (integrity) และความเป็นอิสระ ทางวิชาการ โดยในขณะเดียวกัน ก็ต้องตอบสนองความต้องการของสังคม หรือที่เรียกว่า University Social Responsibility
ผมค้นบันทึกระหว่างนั่งฟัง session นี้ หาบันทึกความในใจที่ปิ๊งแว้บขึ้น จากการฟัง ได้ข้อความดังนี้ “Acad Bd ทำหน้าที่ถือกฎ vs ทำหน้าที่สร้างกระบวนการให้เกิดความร่วมมือกันสร้างคุณภาพวิชาการ
Shared influence
สภาวิชาการ > 50% จากบุคคลภายนอก **ใช้ทำอะไรเป็นหลัก ?ผลักวิชาการสู่สังคม ?ผลักวิชาการสู่ขอบฟ้าใหม่ ?กำกับคุณภาพ ?คิดระบบจัดการการพัฒนาวิชาการ”
ผมไม่ทราบว่า สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยมีองค์ประกอบอย่างไร ทราบแต่ว่า ของต่างประเทศ กว่าครึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ผมลองค้นใน Google ด้วยคำว่า Academic Board พบเรื่องราวมากมาย ของหลากหลายมหาวิทยาลัย ที่เปิดเผยกลไกการทำงานของ Academic Board ของเขาไว้ เช่น ของ University of Sydney ที่นี่ ซึ่งเขามีคู่มือของสมาชิก บอร์ด ไว้ด้วย ที่นี่
ผม AAR กับตัวเองว่า วงการอุดมศึกษาไทยน่าจะมีกระบวนการพัฒนา สภาวิชาการอย่างเป็นระบบ
วิจารณ์ พานิช
๑๑ ก.ย. ๕๕ ปรับปรุง ๒๑ ต.ค.
๕๕
ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/506455
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น