การทำข้อสอบเป็นประสบการณ์ของผู้ที่เคยเรียนหนังสือทุกคน
การคุมสอบก็เป็นภารกิจที่เกิดขึ้นควบคู่กัน การสอบด้วยการทำข้อสอบเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่นำมาใช้คัดเลือกและตัดสิน
ผลการเรียน หรือความสามารถ และการก่อให้เกิดสิทธิ์ต่างๆ ตามมาให้กับผู้ผ่านการสอบ ผู้เข้าสอบจึงพยายามทำข้อสอบให้ได้คะแนนมากที่สุดเพื่อการได้สิทธิ์
หรือผลของการสอบตามที่ปรารถนา
การสอบที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการ สอนในสถาบันการศึกษามีระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศว่าด้วยการสอบ และมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนตามที่ระบุไว้ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ถ้ามีการพบว่านักศึกษาทุจริตในการสอบ โดยเฉพาะการสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค นักศึกษาผู้นั้นจะถูกปรับให้ตกในรายวิชานั้น และไม่ตรวจผลการเรียนในรายวิชาอื่นที่ลงทะเบียนในภาคเรียนนั้น รวมทั้งให้พักการเรียนในภาคการศึกษาต่อไป การลงโทษลักษณะนี้ดูจะรุนแรง แต่ได้กระทำต่อเนื่องกันมาหลายสิบปี บางปีมีผู้ปกครองมาอุทธรณ์ ร้องเรียนถึงการลงโทษที่รุนแรง แต่คณะกรรมการได้พิจาณาลงโทษยืนตามที่เคยปฏิบัติกันมาเพราะถือว่านักศึกษา รับรู้ และรับทราบตั้งแต่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โทษที่กำหนดไว้ไม่อาจเป็นโทษทางอาญาได้เลย หมายถึงจะเอาไปลงโทษจำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์ไม่ได้ (โทษทางอาญามี 5 ประการได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์)
ส่วนการลงโทษในระดับโรงเรียน หรือการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น แต่เดิมอาจใช้การเฆี่ยนตีหน้าเสาธง เพื่อการประจานให้เข็ดหลาบ ยังมีครูจำนวนหนึ่งเลือกที่จะใช้วิธีการเฆี่ยนตี แต่ปัจจุบันการเฆี่ยนตีนักเรียนไม่สามารถทำได้อีกต่อไป ยิ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ครูและผู้บริหารการศึกษาต้องหามาตรการลงโทษอื่นๆ ที่เหมาะสม และเลือกนำมาปฏิบัติให้เหมาะสมเป็นรายกรณีไป
แต่การสอบ ที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ผู้สอบยังไม่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่ไปเข้าสอบ รวมทั้งการสอบแข่งขันต่างๆ เพื่อบรรจุเป็นพนักงาน ข้าราชการในทุกระดับ ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าการลอกข้อสอบเป็นความผิด การพิจารณาความผิดต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด หลักกฎหมายที่นักกฎหมายทราบกันดีตามภาษิตกฎหมายคือ “ไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด” (มาจากภาษาลาตินว่า “nulla poena sine lege”) เป็นหลักกฎหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติเป็นหลักการสากลว่า “จะมีโทษสำหรับผู้กระทำการอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายมิได้” สอดคล้องกันกับภาษิตที่ว่า "ไม่มีความผิดถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" (มาจากภาษาลาตินว่า nullum crimen sine lege) (There must be no punishment except in accordance with the law.) ทั้งสองมาจากภาษิตเต็มว่า "ไม่มีความผิดและไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ก่อน"
ดังนั้น การลอกข้อสอบ และกระบวนการทุจริตในการสอบจึงต้องพยายามหากฎหมายที่อาจปรับใช้เพื่อการลง โทษผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิด ซึ่งมีความยากลำบาก และไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลาและกำลังของเจ้าหน้าที่มาทำคดีแบบนี้ นอกเสียจากจะพบว่ามีการใช้อุปกรณ์สื่อสาร ก็อาจใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีและใช้อุปกรณ์สื่อสารนั้น ส่วนกระบวนการหลอกลวง เรียกรับเงินหรือผลประโยชน์ต่าง ๆ จากการสอบมีกฎหมายเอาผิดได้อยู่แล้ว แต่ความผิดจากการลอกข้อสอบ ยังไม่มีระบุไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติว่าเป็นความผิด เมื่อไม่มีฐานความผิดก็ไม่มีผู้สนับสนุนให้ทำความผิด ผู้สมรู้ร่วมคิดก็ไม่อาจมีได้เช่นกัน จึงไม่อาจลงโทษทางอาญากับผู้ลอกข้อสอบได้
แนวทางการปฏิบัติทุกวันนี้ เป็นมาตรการป้องปราม เช่น นำเครื่องมืออุปกรณ์ตรวจจับวัตถุมาติดตั้ง การตัดสัญญาณมือถือ การค้นตัวผู้เข้าสอบ ซึ่งหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น การใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจคอยควบคุมความสงบเรียบร้อย และเมื่อพบการกระทำทุจริตในการสอบก็แจ้งให้ตำรวจนำตัวออกไปด้วยอำนาจของเจ้า พนักงานตำรวจที่ให้อำนาจไว้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และต้องปล่อยตัวไปเมื่อการสอบเสร็จสิ้น ไม่อาจแจ้งข้อหากระทำผิดจากการลอกข้อสอบได้ นอกจากมีเหตุอันควรสงสัยอื่น ๆ
การ สอบด้วยข้อสอบยังคงมีอยู่อีกต่อไป และกระบวนการคุมสอบโดยใช้ผู้คุมสอบ (Proctor) ทำหน้าที่คุมสอบได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาช้านาน ต้องใช้งบประมาณ และกำลังคนอย่างมากในการจัดการสอบ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาวิจัยทดลองใช้กล้องวงจรปิดคุมสอบนักศึกษาระดับบัณฑิต ศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พบว่า นักศึกษา เกรงกลัวการใช้กล้องวงจรปิดในการคุมสอบมากกว่าการใช้ผู้คุมสอบ โดยผู้เข้าสอบมีการรักษาระเบียบวินัยในการสอบอย่างดีเมื่อรู้ว่ามีกล้องวงจร ปิดตรวจจับอยู่ตลอดเวลา โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากกล้องวงจรปิดเป็นหลักฐานที่ชัดเจน ยากจะปฏิเสธ และถ้าจับได้ว่าลอกข้อสอบการถูกสังคมลงโทษน่าเกรงกลัวกว่าการลงโทษตาม ระเบียบเสียอีก
ข้อเสนอสำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดการลอกข้อสอบในการ ทำข้อสอบนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น การใช้เทคนิคการออกข้อสอบ และทำข้อสอบแบบต่างๆ อาจมีทั้งยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งผู้ที่ทำงานด้านการศึกษามีความรู้และความเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี สามารถป้องกันการลอกข้อสอบอย่างได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์เลยก็สามารถทำได้ แต่วิธีที่ง่ายและเป็นไปได้ก็อาจนำมาใช้ได้ผลตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เช่น ในปัจจุบันนี้การทำข้อสอบด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิทัล สามารถทำข้อสอบเฉพาะบุคคลได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากนัก และค่าใช้จ่ายนั้นผู้สอบสามารถรับผิดชอบเป็นภาระของผู้สอบได้ เพราะข้อสอบส่วนมากจะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบหลายตัวเลือก
สมมติว่าถ้า ข้อสอบมีจำนวน 100 ข้อ มีผู้เข้าสอบ 100,000 คน ก็สามารถทำข้อสอบได้ 100,000 ชุดครบตามจำนวนผู้เข้าสอบโดยแต่ละชุดไม่ซ้ำกันด้วยค่าใช้จ่ายเท่าๆ เดิมกับการทำข้อสอบ 2-3 ชุด ให้ผู้เข้าสอบจำนวน 100,000 ทำข้อสอบอย่างเช่นปัจจุบัน และการตรวจข้อสอบที่มีคำตอบถูกต้องต่างกันทั้ง 100,000 ชุดไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปเมื่อใช้คอมพิวเตอร์การบริหารจัดการ
การ สอบเป็นความสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิดการลอกข้อสอบ หรือทุจริตการสอบ หน่วยงานที่ไม่มีประสบการณ์ทางการจัดสอบ แต่ต้องทำการจัดสอบเองเช่น การสอบบรรจุเข้ารับราชการในหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากมีผู้เข้าสอบจำนวนมาก การบริหารจัดการสอบควรให้หน่วยงานที่มีประสบการณ์มาจัดการสอบ เริ่มตั้งแต่รับสมัคร และการกำหนดรหัส หมายเลขประจำตัว และสถานที่สอบ และรายวิชาที่ต้องสอบ ต่างๆ เหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการโกงการสอบ ลอกข้อสอบ หรือทุจริตการสอบต่างๆ ไม่อาจทำได้ง่ายนัก เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีการจัดสอบนักศึกษาจำนวนมากเป็นประจำย่อมสะสมความรู้และมี Best Practice สำหรับการปฏิบัติในการบริหารจัดการ การสอบได้อย่างดี ส่วนต้นสังกัดของผู้ที่จัดการสอบมีหน้าที่ออกข้อสอบวัดคุณสมบัติที่พึง ประสงค์ให้เท่านั้น นอกนั้นให้ผู้ที่มีความชำนาญจัดการให้ โดยไม่ต้องมี “พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับการสอบ” ก็ได้
สิ่งที่เป็น สาระสำคัญสำหรับการบริหารจัดการกระบวนการสอบและมาตรการการป้องกันการลอกข้อ สอบ หรือ ทุจริตในการสอบควรเน้นการป้องกันมากกว่าการปราบปรามและเอาผิดกับผู้เข้าสอบ
การสอบที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการ สอนในสถาบันการศึกษามีระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศว่าด้วยการสอบ และมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนตามที่ระบุไว้ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ถ้ามีการพบว่านักศึกษาทุจริตในการสอบ โดยเฉพาะการสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค นักศึกษาผู้นั้นจะถูกปรับให้ตกในรายวิชานั้น และไม่ตรวจผลการเรียนในรายวิชาอื่นที่ลงทะเบียนในภาคเรียนนั้น รวมทั้งให้พักการเรียนในภาคการศึกษาต่อไป การลงโทษลักษณะนี้ดูจะรุนแรง แต่ได้กระทำต่อเนื่องกันมาหลายสิบปี บางปีมีผู้ปกครองมาอุทธรณ์ ร้องเรียนถึงการลงโทษที่รุนแรง แต่คณะกรรมการได้พิจาณาลงโทษยืนตามที่เคยปฏิบัติกันมาเพราะถือว่านักศึกษา รับรู้ และรับทราบตั้งแต่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โทษที่กำหนดไว้ไม่อาจเป็นโทษทางอาญาได้เลย หมายถึงจะเอาไปลงโทษจำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์ไม่ได้ (โทษทางอาญามี 5 ประการได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์)
ส่วนการลงโทษในระดับโรงเรียน หรือการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น แต่เดิมอาจใช้การเฆี่ยนตีหน้าเสาธง เพื่อการประจานให้เข็ดหลาบ ยังมีครูจำนวนหนึ่งเลือกที่จะใช้วิธีการเฆี่ยนตี แต่ปัจจุบันการเฆี่ยนตีนักเรียนไม่สามารถทำได้อีกต่อไป ยิ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ครูและผู้บริหารการศึกษาต้องหามาตรการลงโทษอื่นๆ ที่เหมาะสม และเลือกนำมาปฏิบัติให้เหมาะสมเป็นรายกรณีไป
แต่การสอบ ที่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ผู้สอบยังไม่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่ไปเข้าสอบ รวมทั้งการสอบแข่งขันต่างๆ เพื่อบรรจุเป็นพนักงาน ข้าราชการในทุกระดับ ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าการลอกข้อสอบเป็นความผิด การพิจารณาความผิดต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด หลักกฎหมายที่นักกฎหมายทราบกันดีตามภาษิตกฎหมายคือ “ไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด” (มาจากภาษาลาตินว่า “nulla poena sine lege”) เป็นหลักกฎหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติเป็นหลักการสากลว่า “จะมีโทษสำหรับผู้กระทำการอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายมิได้” สอดคล้องกันกับภาษิตที่ว่า "ไม่มีความผิดถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" (มาจากภาษาลาตินว่า nullum crimen sine lege) (There must be no punishment except in accordance with the law.) ทั้งสองมาจากภาษิตเต็มว่า "ไม่มีความผิดและไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ก่อน"
ดังนั้น การลอกข้อสอบ และกระบวนการทุจริตในการสอบจึงต้องพยายามหากฎหมายที่อาจปรับใช้เพื่อการลง โทษผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิด ซึ่งมีความยากลำบาก และไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลาและกำลังของเจ้าหน้าที่มาทำคดีแบบนี้ นอกเสียจากจะพบว่ามีการใช้อุปกรณ์สื่อสาร ก็อาจใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีและใช้อุปกรณ์สื่อสารนั้น ส่วนกระบวนการหลอกลวง เรียกรับเงินหรือผลประโยชน์ต่าง ๆ จากการสอบมีกฎหมายเอาผิดได้อยู่แล้ว แต่ความผิดจากการลอกข้อสอบ ยังไม่มีระบุไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติว่าเป็นความผิด เมื่อไม่มีฐานความผิดก็ไม่มีผู้สนับสนุนให้ทำความผิด ผู้สมรู้ร่วมคิดก็ไม่อาจมีได้เช่นกัน จึงไม่อาจลงโทษทางอาญากับผู้ลอกข้อสอบได้
แนวทางการปฏิบัติทุกวันนี้ เป็นมาตรการป้องปราม เช่น นำเครื่องมืออุปกรณ์ตรวจจับวัตถุมาติดตั้ง การตัดสัญญาณมือถือ การค้นตัวผู้เข้าสอบ ซึ่งหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น การใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจคอยควบคุมความสงบเรียบร้อย และเมื่อพบการกระทำทุจริตในการสอบก็แจ้งให้ตำรวจนำตัวออกไปด้วยอำนาจของเจ้า พนักงานตำรวจที่ให้อำนาจไว้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และต้องปล่อยตัวไปเมื่อการสอบเสร็จสิ้น ไม่อาจแจ้งข้อหากระทำผิดจากการลอกข้อสอบได้ นอกจากมีเหตุอันควรสงสัยอื่น ๆ
การ สอบด้วยข้อสอบยังคงมีอยู่อีกต่อไป และกระบวนการคุมสอบโดยใช้ผู้คุมสอบ (Proctor) ทำหน้าที่คุมสอบได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาช้านาน ต้องใช้งบประมาณ และกำลังคนอย่างมากในการจัดการสอบ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาวิจัยทดลองใช้กล้องวงจรปิดคุมสอบนักศึกษาระดับบัณฑิต ศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พบว่า นักศึกษา เกรงกลัวการใช้กล้องวงจรปิดในการคุมสอบมากกว่าการใช้ผู้คุมสอบ โดยผู้เข้าสอบมีการรักษาระเบียบวินัยในการสอบอย่างดีเมื่อรู้ว่ามีกล้องวงจร ปิดตรวจจับอยู่ตลอดเวลา โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากกล้องวงจรปิดเป็นหลักฐานที่ชัดเจน ยากจะปฏิเสธ และถ้าจับได้ว่าลอกข้อสอบการถูกสังคมลงโทษน่าเกรงกลัวกว่าการลงโทษตาม ระเบียบเสียอีก
ข้อเสนอสำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดการลอกข้อสอบในการ ทำข้อสอบนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น การใช้เทคนิคการออกข้อสอบ และทำข้อสอบแบบต่างๆ อาจมีทั้งยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งผู้ที่ทำงานด้านการศึกษามีความรู้และความเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี สามารถป้องกันการลอกข้อสอบอย่างได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์เลยก็สามารถทำได้ แต่วิธีที่ง่ายและเป็นไปได้ก็อาจนำมาใช้ได้ผลตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เช่น ในปัจจุบันนี้การทำข้อสอบด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิทัล สามารถทำข้อสอบเฉพาะบุคคลได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากนัก และค่าใช้จ่ายนั้นผู้สอบสามารถรับผิดชอบเป็นภาระของผู้สอบได้ เพราะข้อสอบส่วนมากจะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบหลายตัวเลือก
สมมติว่าถ้า ข้อสอบมีจำนวน 100 ข้อ มีผู้เข้าสอบ 100,000 คน ก็สามารถทำข้อสอบได้ 100,000 ชุดครบตามจำนวนผู้เข้าสอบโดยแต่ละชุดไม่ซ้ำกันด้วยค่าใช้จ่ายเท่าๆ เดิมกับการทำข้อสอบ 2-3 ชุด ให้ผู้เข้าสอบจำนวน 100,000 ทำข้อสอบอย่างเช่นปัจจุบัน และการตรวจข้อสอบที่มีคำตอบถูกต้องต่างกันทั้ง 100,000 ชุดไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปเมื่อใช้คอมพิวเตอร์การบริหารจัดการ
การ สอบเป็นความสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิดการลอกข้อสอบ หรือทุจริตการสอบ หน่วยงานที่ไม่มีประสบการณ์ทางการจัดสอบ แต่ต้องทำการจัดสอบเองเช่น การสอบบรรจุเข้ารับราชการในหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากมีผู้เข้าสอบจำนวนมาก การบริหารจัดการสอบควรให้หน่วยงานที่มีประสบการณ์มาจัดการสอบ เริ่มตั้งแต่รับสมัคร และการกำหนดรหัส หมายเลขประจำตัว และสถานที่สอบ และรายวิชาที่ต้องสอบ ต่างๆ เหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการโกงการสอบ ลอกข้อสอบ หรือทุจริตการสอบต่างๆ ไม่อาจทำได้ง่ายนัก เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีการจัดสอบนักศึกษาจำนวนมากเป็นประจำย่อมสะสมความรู้และมี Best Practice สำหรับการปฏิบัติในการบริหารจัดการ การสอบได้อย่างดี ส่วนต้นสังกัดของผู้ที่จัดการสอบมีหน้าที่ออกข้อสอบวัดคุณสมบัติที่พึง ประสงค์ให้เท่านั้น นอกนั้นให้ผู้ที่มีความชำนาญจัดการให้ โดยไม่ต้องมี “พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับการสอบ” ก็ได้
สิ่งที่เป็น สาระสำคัญสำหรับการบริหารจัดการกระบวนการสอบและมาตรการการป้องกันการลอกข้อ สอบ หรือ ทุจริตในการสอบควรเน้นการป้องกันมากกว่าการปราบปรามและเอาผิดกับผู้เข้าสอบ
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
- 12 พฤศจิกายน 2555, 09:55 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น