ผมเดาว่า นี่คือที่มาของการก่อตั้ง Engagement Australiaซึ่งตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน (community engagement) เป็นองค์กรที่สมาชิกจ่ายค่าสมาชิกรายปี มีมหาวิทยาลัยออสเตรเลีย ๒๕ แห่งเป็นสมาชิก จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งประเทศ ๓๙ แห่ง
ลองอ่าน Charter ของ Engagement Australia ที่นี่ จะเห็นว่าเขามีวัตถุประสงค์กว้างขวาง โดยเฉพาะหลักการของ engagement 9 ข้อที่ระบุไว้ มหาวิทยาลัยไทยน่าจะได้ทำความเข้าใจ และปรับใช้กับสถานการณ์ไทย
ผมได้บันทึกการค้น อินเทอร์เน็ต ทำความเข้าใจเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมไว้ในบันทึกชุดเรียนรู้อุดมศึกษาออสเตรเลียตอนที่ ๑ ที่นี่ และเมื่อได้คุยกับ Dr. Diana Whittonแห่ง University of Western Sydneyซึ่งเป็น Chair of the Scholarship Committeeก็รู้สึกว่า Engagement Australia ไม่แข็งแรงนัก และทำงานเน้น community engagement เป็นหลัก ผมได้ถามว่า เขา engage กับ industry ได้แค่ไหน เขาบอกว่า ทางภาคอุตสาหกรรมไม่สนใจ
ที่มหาวิทยาลัย โวลล็องก็อง เขาพูดเรื่อง community engagement ว่า เขาตีความคำว่า community กว้าง หมายถึงทั้ง local community, national community, ไปจนถึง global community เขาจึงมีวิทยาเขตที่นครดูไบ
อย่างไรก็ตาม ผมมีความเห็นว่า เรื่อง engagement เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับมหาวิทยาลัย ที่จะต้องเอาใจใส่สร้างพลัง engagement ในหลายมิติ ทั้ง student engagement, staff engagement, community engagement, และ industry engagement แต่ละมหาวิทยาลัยต้องศึกษาตีความคำว่า engagement เอาเอง เพื่อหาทางใช้พลังของมัน เพื่อการดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าของมหาวิทยาลัย
วิจารณ์ พานิช
๑๑ ก.ย. ๕๕ ปรับปรุง ๒๖ ก.ย.
๕๕
ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/506073
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น