แนวปฏิบัติที่ดี
ในการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน
โดย
เสถียร คามีศักดิ์
Ø Tips ในการเขียนชื่อเรื่อง
1.
ต้องเป็นงานหลักของตำแหน่ง
2.
ต้องเป็นงานที่ปฏิบัติจริง
3.
ผู้เขียนมีความรู้ มีความสนใจ
4.
ไม่ควรตั้งชื่อว่า ความรู้เบื้องต้น
หรือหลักการบริหารทั่วไป เพราะกว้างเกินไป
5.
ต้องกระชับ ชัดเจน
เพื่อให้เขียนได้ในแนวลึก เจาะลึกอย่างละเอียดลึกซึ้ง
6.
หลีกเลี่ยงซ้ำกับผู้อื่น
Ø Tips ขนาดของเนื้อหา
หลักการไม่ได้กำหนดจำนวนหน้า
สั้น – ยาว แต่การจำกัดขอบเขตของเรื่อง จะเป็นตัวบอก
1.
โดยชื่อเรื่อง – การบริหารงานบุคคล-การโอน
2.
โดยระบุหน่วยงาน-กระทรวงศึกษา / ก.พ.อ
3.
โดยระยะเวลา-ในปี พ.ศ. / ระหว่าง พ.ศ. –
พ.ศ.
Ø Tips การบริหารเวลา
1.
บริหารเวลาให้เป็น
เวลาใช้หมดหรือไม่ได้ใช้ หาทดแทนไม่ได้
2.
ต้องแบ่งเวลาในการเขียน
3.
ตั้งมั่นต้องเขียนทุกวันให้ได้อย่างน้อยที่สุด
1 หน้า
4.
การบริหารเวลา 10 ข้อที่ต้องทำ
1)
เกิดเป็นคน จึงต้องทำ
2)
ทำไม่เป็น ต้องหัดทำ
3)
หัดเป็นแล้ว ต้องทำเอง
4)
ทำไม่คล่อง หมั่นหัดทำ
5)
คิดจะทำ ทำทันที
6)
สมควรทำ รีบทำ
7)
ยามจน ยิ่งต้องทำ
8)
ยามรวยย้ำ ทำต่อไป
9)
ทำไม่ดี รีบแก้ไข
10) ทำจนตาย ไม่ต้องทำ
Ø Tips การสร้างคุณค่าของคู่มือ
1.
ต้องสอดแทรกความคิดเห็นของตนเอง
วิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์ โดยการสรุปทุกครั้ง
2.
ต้องเขียนสรุปตอบปัญหาหรือวัตถุประสงค์ในบทที่
1 ว่าเอกสารคู่มือฉบับนี้มีประโยชน์ในการนำไปใช้อย่างไร อาจสรุปไว้ท้ายบทที่ 5
หรืเอาไว้ที่คำนำก็ได้
Ø Tips การสร้างคุณธรรม/จรรยาบรรณ
1.
อย่าลอกผลงานผู้อื่น โดยไม่อ้างอิง
(โจรกรรมทางวิชาการ-เป็นการคว้าเอามา
2.
อย่าอำพราง
แบบอ้างว่าเป็นแหล่งข้อมูลแรก
3.
การอ้างอิงจะทำให้ผู้อ่านเกิดความศรัทธาในข้อเขียนเป็นข้อยืนยันว่าได้เขียนจากการอ่านอย่างแตกฉาน
ปลูกฝังนิสัยสุจริตทางวิชาการ ไม่ประพฤติตัวเยี่ยงขโมยที่คัดลอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น