“ภูมิปัญญา” เป็นการรวมกันของ “ความรู้หรือวิทยาการ” กับ “ปัญญา” ทำให้เกิด “ภูมิปัญญา” ในการนำผลของภูมิปัญญาไปใช้ เริ่มจากการศึกษาเหตุและปัจจัยต่างๆ
เพื่อค้นหานวัตกรรมสำหรับการนำไปใช้ในด้านอื่นๆ ต่อไป ถือว่าเป็นการต่อยอดของความรู้หรือวิทยาการด้วยปัญญา
ในการจัดการศึกษานั้นการสอนให้มีความรู้และวิทยาการมีความแจ่มชัด โปร่งใส
(Transparency) และวัดผลได้ แต่เมื่อผู้เรียนนำความรู้ หรือวิทยาการไปใช้กลับพบว่า
ความรู้หรือวิทยาการที่นำไปใช้ต่อยอด หรือประยุกต์กับสภาพการณ์จริงกลับ พร่ามัว
หรือไม่แจ่มชัด (Ambiguity)
สอนแจ่มชัดแต่ปฏิบัติพร่ามัว (Teach Transparency but Practice Ambiguity)
การ ถ่ายโยงความรู้สู่การปฏิบัติเป็นประเด็นสำคัญของการสร้างภูมิปัญญาต่อยอด องค์ความรู้ที่ได้จากอาจารย์ผู้ทำวิจัยในมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ ถ่ายทอดสู่ผู้เรียนมากนัก การวิจัยของอาจารย์ส่วนมากเป็นการทำงานวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ ให้ทุนวิจัย องค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยอาจไม่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่อาจารย์ผู้ทำ วิจัยรับผิดชอบหรือมีภาระงานสอน ดังนั้น ความรู้ที่ค้นพบจากการวิจัยจึงไม่ได้ถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน เนื่องจากรายวิชาที่ทำการสอนมีการกำหนดเนื้อหา ขอบเขต เวลา กระบวนการสอน การวัดและประเมินผล ตามหลักสูตรไว้อย่างครบถ้วน จึงมีความ “แจ่มชัด” ในกระบวนการสอนของรายวิชาต่างๆ อยู่แล้ว
การส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหน้าที่หลักเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีภารกิจของการวิจัยควบคู่ไปด้วยเป็น ความมุ่งหวังทางอุดมคติ เป็นความคิดต้องการพัฒนาการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยพยายามทำให้มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ควบคู่กับการสร้างคน โดยมีอาจารย์เป็นผู้ทำวิจัยสร้างองค์ความรู้ เพื่อนำมาใช้สำหรับการสอนและถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ผู้เรียน เกิดการสร้างนวัตกรรม ต่อยอดภูมิปัญญา แต่กระบวนการและเจตนาของการดำเนินการในแนวคิดนี้ถูกนำไปปฏิบัติอย่าง “พร่ามัว” ไม่แน่ชัดว่าต้องการบรรลุเป้าประสงค์อะไร หรืออย่างไร เป็นสำคัญ ซึ่งคำตอบนี้ไม่ควรนำตัวชี้วัดในกระบวนการประกันคุณภาพมาเป็นคำตอบเท่านั้น
สถาบัน อุดมศึกษาบางแห่งมีหน่วยงาน หรือ “สถาบันวิจัย” ที่มีนักวิจัยโดยเฉพาะที่ไม่ต้องทำหน้าที่สอน ไม่มีฐานะเป็นอาจารย์โดยมีหน้าที่สำหรับการทำวิจัย หรือสนับสนุนการทำงานวิจัยโดยเฉพาะ การวิจัยกับการสอนจึงเป็นภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง การพยายามทำให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นสถาบันวิจัยอาจ ทำให้ลำดับความสำคัญของภารกิจในสถาบันอุดมศึกษาเปลี่ยนไป กลายเป็นสถาบันวิจัย เพื่อสร้างผลงานวิจัยมากกว่าการสร้างคน
ผู้กำหนดนโยบาย (Policy Makers)
การ ส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) ด้วยกลวิธีต่างๆ ทำให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งดูเหมือนเป็นการสร้างระดับชั้นของมหาวิทยาลัยในแนวตั้ง มากกว่าการแบ่งประเภทตามพันธกิจและเจตนาของการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาแต่ละ แห่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวนอน
การก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง แต่ละยุคสมัยมีเหตุผลและความจำเป็นตลอดจนเป้าหมายของการพัฒนาโดยเฉพาะ ซึ่งอาจดูเหมือนจะมีความแตกต่างกันแม้เพียงเล็กน้อย เพราะมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนากำลังคนเช่นเดียวกัน แต่ก็นับเป็นสาระสำคัญ เพราะแต่ละแห่งจะมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน หรือที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแผนว่า The Same Goals but Different Objectives
การกำเนิดขึ้นของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง จึงมีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Objectives) กำกับไว้ด้วย พันธกิจหลัก 4 ประการของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิต หรือการการสอนเป็นสำคัญในขณะที่บางแห่งอาจต้องมีการวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในลำดับที่แตกต่างกันไป
ดังนั้น การจัดลำดับความสำคัญของภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและการให้ความสมดุลระหว่าง การสนับสนุนการสอนและการทำวิจัย รวมทั้งพันธกิจอื่นๆ จึงอาจต้องมีการทบทวนนโยบายทั้งในระดับ “มหภาค” หรือระดับชาติ และระดับ “จุลภาค” หรือในสถาบันอุดมศึกษาเองด้วย
ผู้ปฏิบัติ (Practitioners)
อาจารย์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสถาบันอุดมศึกษา ถ้าไม่มีอาจารย์ ไม่มีการเรียนการสอน ไม่มีผู้เรียนไม่อาจเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่บริบูรณ์ได้ การมีอาจารย์ผู้สร้างองค์ความรู้และสอนองค์ความรู้ ส่วนมากเน้นการสอนความรู้ หรือวิชาในศาสตร์ที่มีความรู้ หรือเรียนจบมาด้วยคุณวุฒิสูงๆ อาจารย์เหล่านั้น อาจมีความสามารถในการรู้เท่า รู้ทัน รู้นำ สร้าง “ภูมิปัญญา” ให้ผู้เรียน แต่การปฏิบัติการสอนส่วนมากมีขอบเขต แจ่มชัด และโปร่งใส จนไม่อาจเป็นครู หรืออาจารย์ในอุดมคติที่สั่งสอนศิษย์ โดยไม่ใช่สอนวิชาอย่างเดียว แต่สอนให้มีปัญญาเกี่ยวกับการทำงาน และการใช้ชีวิตว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ที่เรียกว่า “จิตปัญญา”
การมีอาจารย์ที่มีความสามารถใน การสอนให้เกิด “ภูมิปัญญา” และมีครูที่สามารถสั่งสอนศิษย์ให้เกิด “จิตปัญญา” ได้เป็นอุดมโชค หรือมหาโชคสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งนั้น การสร้างอุดมโชค หรือมหาโชคให้กับสถาบันอุดมศึกษาต้องผ่านกระบวนการของ “นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” ยิ่งถ้าสร้างผู้ปฏิบัติที่สามารถเป็นอาจารย์ผู้สร้างภูมิปัญญาและครูผู้ สร้างจิตปัญญารวมอยู่ในตัวตนคนเดียวได้ถือเป็นสิ่งที่วิเศษสุดประเสริฐสุด สำหรับการพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคน พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศชาติในที่สุด.
โดย : รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์สอนแจ่มชัดแต่ปฏิบัติพร่ามัว (Teach Transparency but Practice Ambiguity)
การ ถ่ายโยงความรู้สู่การปฏิบัติเป็นประเด็นสำคัญของการสร้างภูมิปัญญาต่อยอด องค์ความรู้ที่ได้จากอาจารย์ผู้ทำวิจัยในมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ ถ่ายทอดสู่ผู้เรียนมากนัก การวิจัยของอาจารย์ส่วนมากเป็นการทำงานวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ ให้ทุนวิจัย องค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยอาจไม่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่อาจารย์ผู้ทำ วิจัยรับผิดชอบหรือมีภาระงานสอน ดังนั้น ความรู้ที่ค้นพบจากการวิจัยจึงไม่ได้ถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน เนื่องจากรายวิชาที่ทำการสอนมีการกำหนดเนื้อหา ขอบเขต เวลา กระบวนการสอน การวัดและประเมินผล ตามหลักสูตรไว้อย่างครบถ้วน จึงมีความ “แจ่มชัด” ในกระบวนการสอนของรายวิชาต่างๆ อยู่แล้ว
การส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหน้าที่หลักเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีภารกิจของการวิจัยควบคู่ไปด้วยเป็น ความมุ่งหวังทางอุดมคติ เป็นความคิดต้องการพัฒนาการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยพยายามทำให้มหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ควบคู่กับการสร้างคน โดยมีอาจารย์เป็นผู้ทำวิจัยสร้างองค์ความรู้ เพื่อนำมาใช้สำหรับการสอนและถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ผู้เรียน เกิดการสร้างนวัตกรรม ต่อยอดภูมิปัญญา แต่กระบวนการและเจตนาของการดำเนินการในแนวคิดนี้ถูกนำไปปฏิบัติอย่าง “พร่ามัว” ไม่แน่ชัดว่าต้องการบรรลุเป้าประสงค์อะไร หรืออย่างไร เป็นสำคัญ ซึ่งคำตอบนี้ไม่ควรนำตัวชี้วัดในกระบวนการประกันคุณภาพมาเป็นคำตอบเท่านั้น
สถาบัน อุดมศึกษาบางแห่งมีหน่วยงาน หรือ “สถาบันวิจัย” ที่มีนักวิจัยโดยเฉพาะที่ไม่ต้องทำหน้าที่สอน ไม่มีฐานะเป็นอาจารย์โดยมีหน้าที่สำหรับการทำวิจัย หรือสนับสนุนการทำงานวิจัยโดยเฉพาะ การวิจัยกับการสอนจึงเป็นภารกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง การพยายามทำให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นสถาบันวิจัยอาจ ทำให้ลำดับความสำคัญของภารกิจในสถาบันอุดมศึกษาเปลี่ยนไป กลายเป็นสถาบันวิจัย เพื่อสร้างผลงานวิจัยมากกว่าการสร้างคน
ผู้กำหนดนโยบาย (Policy Makers)
การ ส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) ด้วยกลวิธีต่างๆ ทำให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งดูเหมือนเป็นการสร้างระดับชั้นของมหาวิทยาลัยในแนวตั้ง มากกว่าการแบ่งประเภทตามพันธกิจและเจตนาของการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาแต่ละ แห่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวนอน
การก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง แต่ละยุคสมัยมีเหตุผลและความจำเป็นตลอดจนเป้าหมายของการพัฒนาโดยเฉพาะ ซึ่งอาจดูเหมือนจะมีความแตกต่างกันแม้เพียงเล็กน้อย เพราะมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนากำลังคนเช่นเดียวกัน แต่ก็นับเป็นสาระสำคัญ เพราะแต่ละแห่งจะมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน หรือที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแผนว่า The Same Goals but Different Objectives
การกำเนิดขึ้นของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง จึงมีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Objectives) กำกับไว้ด้วย พันธกิจหลัก 4 ประการของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิต หรือการการสอนเป็นสำคัญในขณะที่บางแห่งอาจต้องมีการวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในลำดับที่แตกต่างกันไป
ดังนั้น การจัดลำดับความสำคัญของภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาและการให้ความสมดุลระหว่าง การสนับสนุนการสอนและการทำวิจัย รวมทั้งพันธกิจอื่นๆ จึงอาจต้องมีการทบทวนนโยบายทั้งในระดับ “มหภาค” หรือระดับชาติ และระดับ “จุลภาค” หรือในสถาบันอุดมศึกษาเองด้วย
ผู้ปฏิบัติ (Practitioners)
อาจารย์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสถาบันอุดมศึกษา ถ้าไม่มีอาจารย์ ไม่มีการเรียนการสอน ไม่มีผู้เรียนไม่อาจเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่บริบูรณ์ได้ การมีอาจารย์ผู้สร้างองค์ความรู้และสอนองค์ความรู้ ส่วนมากเน้นการสอนความรู้ หรือวิชาในศาสตร์ที่มีความรู้ หรือเรียนจบมาด้วยคุณวุฒิสูงๆ อาจารย์เหล่านั้น อาจมีความสามารถในการรู้เท่า รู้ทัน รู้นำ สร้าง “ภูมิปัญญา” ให้ผู้เรียน แต่การปฏิบัติการสอนส่วนมากมีขอบเขต แจ่มชัด และโปร่งใส จนไม่อาจเป็นครู หรืออาจารย์ในอุดมคติที่สั่งสอนศิษย์ โดยไม่ใช่สอนวิชาอย่างเดียว แต่สอนให้มีปัญญาเกี่ยวกับการทำงาน และการใช้ชีวิตว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ที่เรียกว่า “จิตปัญญา”
การมีอาจารย์ที่มีความสามารถใน การสอนให้เกิด “ภูมิปัญญา” และมีครูที่สามารถสั่งสอนศิษย์ให้เกิด “จิตปัญญา” ได้เป็นอุดมโชค หรือมหาโชคสำหรับสถาบันการศึกษาแห่งนั้น การสร้างอุดมโชค หรือมหาโชคให้กับสถาบันอุดมศึกษาต้องผ่านกระบวนการของ “นวัตกรรมการสอนที่มีคุณภาพ” ยิ่งถ้าสร้างผู้ปฏิบัติที่สามารถเป็นอาจารย์ผู้สร้างภูมิปัญญาและครูผู้ สร้างจิตปัญญารวมอยู่ในตัวตนคนเดียวได้ถือเป็นสิ่งที่วิเศษสุดประเสริฐสุด สำหรับการพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคน พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศชาติในที่สุด.
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/330198
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น