การยอมรับ หรือ
การรับเอามาใช้เป็นของตน (Adoption) เป็นกระบวนการอีกด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับกระบวนการเผยแพร่
(Diffusion) นวัตกรรม หรือ สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ สำหรับประเทศไทยแล้วเนื่องจากสังคมไทยมีระบบสังคม
(Social System) ที่มีความเฉพาะ ดังนั้น การใช้ทฤษฎีการเผยแพร่และการยอมรับนวัตกรรมที่มีการพัฒนามาจากการ
ศึกษาวิจัยในสังคมอื่น ๆ อาจไม่สามารถนำมาใช้อธิบายกระบวนการยอมรับในสังคมไทยได้
การตัดสินใจ ยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากผู้อื่นหรือจากที่อื่นที่อาจเป็นวัตถุ สิ่งของ วิธีคิด การกระทำ วิธีการทำงาน การใช้ชีวิต การแต่งกายค่านิยม และความเชื่อที่เป็นสิ่งใหม่หรือรู้สึกว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับตนเองและมี อิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในตัวเองในลักษณะที่เป็นการรับ เอามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวเองถือได้ว่าเป็นการยอมรับทั้งทางตรงและโดยปริยาย และอาจแสดงออกมาให้ปรากฏหรือฝังอยู่ในความรู้สึกนึกคิดและพร้อมสำหรับการ แสดงออกเมื่อมีโอกาส
กระบวนการยอมรับและนำมาเป็น “ชุดความเชื่อ” ของตนเองเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลต่อสังคมเศรษฐกิจและการเมือง มาโดยตลอดโดยมีกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
ขั้นที่หนึ่ง เป็นขั้นตอนของการได้รับความรู้และข่าวสาร ในขั้นนี้สังคมไทยได้รับอิทธิพลจากสื่อสารมวลชนอย่างมาก และสื่อมวลชนมีอิทธิพลสูงกว่ากลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มเครือข่ายของตน (Interpersonal Networks) เพราะความรู้และข่าวสารจากสื่อมวลชนสามารถเผยแพร่เข้าถึงประชาชนไทยในแต่ละ รายบุคคลได้อย่างทรงประสิทธิภาพการมีสื่อจำนวนมากในหลาย ๆ รูปแบบทำให้คนไทยส่วนมากไม่ตกข่าวถึงจะอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมากก็ไม่เป็น อุปสรรคสำหรับการรับรู้ข่าวสาร
ขั้นที่สอง เป็น ขั้นสร้างความเชื่อถือในข่าวสารมูลเหตุจูงใจให้เชื่อถือในสังคมไทยไม่ได้ เกิดจากการมีความ รู้ หรือการมีข้อมูลข่าวสารมากแต่เกิดจากการอ้างอิงชุดความเชื่อของตนกับเพื่อน ในกลุ่ม ดังนั้นสื่อมวลชนมีอิทธิพลกับความเชื่อของสังคมไทยน้อยกว่ากลุ่มเพื่อนหรือ กลุ่มเครือข่ายของตนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นการเปิดโอกาส ให้กลุ่มสร้างชุดความเชื่อแล้วเผยแพร่ชุดความเชื่อภายในกลุ่มผ่านสื่อสมัย ใหม่และผ่านการสื่อสารแบบปากต่อปากในเครือข่ายของตน
ขั้นที่สาม เป็น ขั้นการตัดสินใจ อิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจยอมรับในแต่ละบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์กับชุดความ เชื่ออ้างอิง (Relative Believing Set) ที่สอดคล้องกับแนวโน้มความเชื่อของตนเอง ในขั้นนี้สื่อมวลชนมีอิทธิพลน้อยกว่ากลุ่มเพื่อน ความเห็นของกลุ่มเพื่อนและเครือข่ายของตน (Interpersonal Networks) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจยอมรับสูงที่สุด ถึงแม้จะมีข้อมูลข่าวสารที่ขัดแย้งกับความเชื่ออยู่มากก็ตาม
ขั้นที่สี่ เป็น ขั้นแสดงออกถึงความเชื่อและการยอมรับในขั้นนี้สังคมไทยมีความพิเศษเนื่องจาก การแสดงออกนั้นมีความสัมพันธ์กับอิทธิพลอื่น ๆ นอกจากความเชื่อและความรู้ที่ตนเองมีอยู่ การได้รับผลประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องมีอิทธิพลต่อการ แสดงออกอย่างมาก ความเกรงใจ หรือ ต้องการรักษาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทำให้การแสดงออกอาจตรงข้ามกับความเชื่อและการตัดสินใจรับความเชื่อนั้นได้ ดังนั้น ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และความเชื่อจึงไม่เป็นสิ่งที่จะใช้ทำนายพฤติกรรมที่ของคนในสังคมไทยได้
ขั้นที่ห้า เป็นขั้นของการยืนยันการตัดสินใจยอมรับในขั้นนี้เป็นผลของการได้รับความรู้ ข่าวสาร การได้รับการจูงใจให้เกิดความเชื่อและมีชุดความเชื่อนำไปสู่การตัดสินใจ ยอมรับ และแสดงออกมา เมื่อถึงขั้นการยืนยันการตัดสินใจ ในขั้นนี้คนในสังคมไทยหันกลับไปใช้เหตุผล ความรู้ ความคิดของตนเองมากขึ้น อิทธิพลของสื่อมวลชนเริ่มปรากฏให้เห็นอีกครั้ง แต่ยังเป็นรองจากการอ้างอิงชุดความเชื่อของตนกับผู้อื่น ในขั้นนี้คนไทยเริ่มเปิดรับแนวทางการยอมรับจากสังคมอื่น มีการอ้างอิงชุดความเชื่อจากสังคมอื่นที่พัฒนาผ่านช่วงของเวลาที่ประสบอยู่ ไปแล้ว ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการเริ่มมีอิทธิพลกับการยืนยันการตัดสินใจ ยอมรับมากขึ้นมากขึ้น
ดังนั้น การทำให้เกิดความรู้และมีข้อมูลข่าวสาร มีความสำคัญลำดับแรกในการยอมรับ และการอ้างอิงความรู้และชุดความเชื่อจากสังคมอื่นมีอิทธิพลในขั้นการยืนยัน การยอมรับในขั้นสุดท้าย เพราะการเผยแพร่เพื่อให้เกิดการยอมรับและกลายเป็นชุดความเชื่อนั้นสามารถ เปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนานั้น เป็นการนำความรู้ความคิด มาสู่การปฏิบัติ และผลของการปฏิบัตินั้นต้องมีการยืนยันและรับรองอย่างเป็นรูปธรรม การตราพระราชบัญญัติ เป็นการนำความคิด ความรู้มาสู่การปฏิบัติที่มีผลในการบังคับใช้
มีตัวอย่างที่เรียนรู้ ได้จากสังคมอื่นได้แก่ เมื่อครั้งประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1776 และมีรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดสำหรับการปกครองเมื่อปี ค.ศ. 1787 และการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 ซึ่งได้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเช่นกันเป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18
การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของทั้งสองประเทศนั้น เป็นการนำความรู้ ความคิด ปรัชญา หลักการ และทฤษฎี ทางด้านการเมือง การปกครองและอุดมการณ์ในการมีชีวิตที่ดีของสังคมมนุษย์ ซึ่งแต่เดิม อยู่ในรูปของคำสอน ตำราเรียน บทเรียน หรือประเด็นที่เป็นหัวข้อสำหรับการถกเถียงในหมู่นักวิชาการชั้นสูง รวมทั้งเรื่องเล่า ตำนานต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ โดยการนำสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวมากลั่นกรอง รวบรวมใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดและมีอำนาจบังคับใช้เช่น ปรัชญาของการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย ปรัชญาสัญญาประชาคม ปรัชญาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ปรัชญาการให้ความดูแลผู้อ่อนแอในสังคมด้วยรูปแบบรัฐสวัสดิการ เป็นต้น
สิ่ง เหล่านี้เมื่อครั้งก่อนมีรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นเพียงความรู้ ความคิด ความเชื่อ หรือปรัชญาที่ใช้สำหรับศึกษาเล่าเรียนเป็นสำคัญ แต่เมื่อมีรัฐธรรมนูญจึงได้นำความรู้ ความคิด ความเชื่อ และปรัชญาเหล่านั้นมาบรรจุไว้ทำให้เกิดการปฏิบัติและมีผลบังคับใช้ได้
จะ เห็นได้ว่าสาระต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสซึ่งได้ประกาศออกใช้พร้อม ๆ กับประกาศสิทธิมนุษย์และพลเมืองฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ด้วยนั้น ทำให้ประเทศต่างๆ ในสังคมตะวันตกมีการจัดทำรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ และได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างมากในช่วงเวลาประมาณ 200 ปี ต่อมานับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเมื่อเทียบกับก่อนหน้านั้น 2,000 ปี ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการเท่ากับ 200 ปีที่ได้เริ่มมีรัฐธรรมนูญประกาศใช้
สรุป
การ ยอมรับ เพื่อนำมาเป็นชุดความเชื่อในสังคมไทยหลาย ๆ เรื่องกำลังดำเนินมาสู่ขั้นสุดท้ายคือ การยืนยันการตัดสินใจยอมรับ จึงเป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชนอีกครั้ง ประกอบกับนักวิชาการที่ต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และนำเสนอกระบวนการตัดสินใจที่ประสบผลสำเร็จและการตัดสินใจที่ผิดพลาดของ สังคมอื่น เพื่อให้สังคมไทยได้เลือกตัดสินใจยืนยันการยอมรับในสิ่งที่ดีที่สุดและ ประเสริฐสุดเท่านั้น
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
การตัดสินใจ ยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากผู้อื่นหรือจากที่อื่นที่อาจเป็นวัตถุ สิ่งของ วิธีคิด การกระทำ วิธีการทำงาน การใช้ชีวิต การแต่งกายค่านิยม และความเชื่อที่เป็นสิ่งใหม่หรือรู้สึกว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับตนเองและมี อิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในตัวเองในลักษณะที่เป็นการรับ เอามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวเองถือได้ว่าเป็นการยอมรับทั้งทางตรงและโดยปริยาย และอาจแสดงออกมาให้ปรากฏหรือฝังอยู่ในความรู้สึกนึกคิดและพร้อมสำหรับการ แสดงออกเมื่อมีโอกาส
กระบวนการยอมรับและนำมาเป็น “ชุดความเชื่อ” ของตนเองเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลต่อสังคมเศรษฐกิจและการเมือง มาโดยตลอดโดยมีกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
ขั้นที่หนึ่ง เป็นขั้นตอนของการได้รับความรู้และข่าวสาร ในขั้นนี้สังคมไทยได้รับอิทธิพลจากสื่อสารมวลชนอย่างมาก และสื่อมวลชนมีอิทธิพลสูงกว่ากลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มเครือข่ายของตน (Interpersonal Networks) เพราะความรู้และข่าวสารจากสื่อมวลชนสามารถเผยแพร่เข้าถึงประชาชนไทยในแต่ละ รายบุคคลได้อย่างทรงประสิทธิภาพการมีสื่อจำนวนมากในหลาย ๆ รูปแบบทำให้คนไทยส่วนมากไม่ตกข่าวถึงจะอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมากก็ไม่เป็น อุปสรรคสำหรับการรับรู้ข่าวสาร
ขั้นที่สอง เป็น ขั้นสร้างความเชื่อถือในข่าวสารมูลเหตุจูงใจให้เชื่อถือในสังคมไทยไม่ได้ เกิดจากการมีความ รู้ หรือการมีข้อมูลข่าวสารมากแต่เกิดจากการอ้างอิงชุดความเชื่อของตนกับเพื่อน ในกลุ่ม ดังนั้นสื่อมวลชนมีอิทธิพลกับความเชื่อของสังคมไทยน้อยกว่ากลุ่มเพื่อนหรือ กลุ่มเครือข่ายของตนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นการเปิดโอกาส ให้กลุ่มสร้างชุดความเชื่อแล้วเผยแพร่ชุดความเชื่อภายในกลุ่มผ่านสื่อสมัย ใหม่และผ่านการสื่อสารแบบปากต่อปากในเครือข่ายของตน
ขั้นที่สาม เป็น ขั้นการตัดสินใจ อิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจยอมรับในแต่ละบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์กับชุดความ เชื่ออ้างอิง (Relative Believing Set) ที่สอดคล้องกับแนวโน้มความเชื่อของตนเอง ในขั้นนี้สื่อมวลชนมีอิทธิพลน้อยกว่ากลุ่มเพื่อน ความเห็นของกลุ่มเพื่อนและเครือข่ายของตน (Interpersonal Networks) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจยอมรับสูงที่สุด ถึงแม้จะมีข้อมูลข่าวสารที่ขัดแย้งกับความเชื่ออยู่มากก็ตาม
ขั้นที่สี่ เป็น ขั้นแสดงออกถึงความเชื่อและการยอมรับในขั้นนี้สังคมไทยมีความพิเศษเนื่องจาก การแสดงออกนั้นมีความสัมพันธ์กับอิทธิพลอื่น ๆ นอกจากความเชื่อและความรู้ที่ตนเองมีอยู่ การได้รับผลประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องมีอิทธิพลต่อการ แสดงออกอย่างมาก ความเกรงใจ หรือ ต้องการรักษาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทำให้การแสดงออกอาจตรงข้ามกับความเชื่อและการตัดสินใจรับความเชื่อนั้นได้ ดังนั้น ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และความเชื่อจึงไม่เป็นสิ่งที่จะใช้ทำนายพฤติกรรมที่ของคนในสังคมไทยได้
ขั้นที่ห้า เป็นขั้นของการยืนยันการตัดสินใจยอมรับในขั้นนี้เป็นผลของการได้รับความรู้ ข่าวสาร การได้รับการจูงใจให้เกิดความเชื่อและมีชุดความเชื่อนำไปสู่การตัดสินใจ ยอมรับ และแสดงออกมา เมื่อถึงขั้นการยืนยันการตัดสินใจ ในขั้นนี้คนในสังคมไทยหันกลับไปใช้เหตุผล ความรู้ ความคิดของตนเองมากขึ้น อิทธิพลของสื่อมวลชนเริ่มปรากฏให้เห็นอีกครั้ง แต่ยังเป็นรองจากการอ้างอิงชุดความเชื่อของตนกับผู้อื่น ในขั้นนี้คนไทยเริ่มเปิดรับแนวทางการยอมรับจากสังคมอื่น มีการอ้างอิงชุดความเชื่อจากสังคมอื่นที่พัฒนาผ่านช่วงของเวลาที่ประสบอยู่ ไปแล้ว ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการเริ่มมีอิทธิพลกับการยืนยันการตัดสินใจ ยอมรับมากขึ้นมากขึ้น
ดังนั้น การทำให้เกิดความรู้และมีข้อมูลข่าวสาร มีความสำคัญลำดับแรกในการยอมรับ และการอ้างอิงความรู้และชุดความเชื่อจากสังคมอื่นมีอิทธิพลในขั้นการยืนยัน การยอมรับในขั้นสุดท้าย เพราะการเผยแพร่เพื่อให้เกิดการยอมรับและกลายเป็นชุดความเชื่อนั้นสามารถ เปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนานั้น เป็นการนำความรู้ความคิด มาสู่การปฏิบัติ และผลของการปฏิบัตินั้นต้องมีการยืนยันและรับรองอย่างเป็นรูปธรรม การตราพระราชบัญญัติ เป็นการนำความคิด ความรู้มาสู่การปฏิบัติที่มีผลในการบังคับใช้
มีตัวอย่างที่เรียนรู้ ได้จากสังคมอื่นได้แก่ เมื่อครั้งประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1776 และมีรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดสำหรับการปกครองเมื่อปี ค.ศ. 1787 และการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 ซึ่งได้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเช่นกันเป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18
การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของทั้งสองประเทศนั้น เป็นการนำความรู้ ความคิด ปรัชญา หลักการ และทฤษฎี ทางด้านการเมือง การปกครองและอุดมการณ์ในการมีชีวิตที่ดีของสังคมมนุษย์ ซึ่งแต่เดิม อยู่ในรูปของคำสอน ตำราเรียน บทเรียน หรือประเด็นที่เป็นหัวข้อสำหรับการถกเถียงในหมู่นักวิชาการชั้นสูง รวมทั้งเรื่องเล่า ตำนานต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ โดยการนำสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวมากลั่นกรอง รวบรวมใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดและมีอำนาจบังคับใช้เช่น ปรัชญาของการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย ปรัชญาสัญญาประชาคม ปรัชญาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ปรัชญาการให้ความดูแลผู้อ่อนแอในสังคมด้วยรูปแบบรัฐสวัสดิการ เป็นต้น
สิ่ง เหล่านี้เมื่อครั้งก่อนมีรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นเพียงความรู้ ความคิด ความเชื่อ หรือปรัชญาที่ใช้สำหรับศึกษาเล่าเรียนเป็นสำคัญ แต่เมื่อมีรัฐธรรมนูญจึงได้นำความรู้ ความคิด ความเชื่อ และปรัชญาเหล่านั้นมาบรรจุไว้ทำให้เกิดการปฏิบัติและมีผลบังคับใช้ได้
จะ เห็นได้ว่าสาระต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสซึ่งได้ประกาศออกใช้พร้อม ๆ กับประกาศสิทธิมนุษย์และพลเมืองฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ด้วยนั้น ทำให้ประเทศต่างๆ ในสังคมตะวันตกมีการจัดทำรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ และได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างมากในช่วงเวลาประมาณ 200 ปี ต่อมานับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเมื่อเทียบกับก่อนหน้านั้น 2,000 ปี ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการเท่ากับ 200 ปีที่ได้เริ่มมีรัฐธรรมนูญประกาศใช้
สรุป
การ ยอมรับ เพื่อนำมาเป็นชุดความเชื่อในสังคมไทยหลาย ๆ เรื่องกำลังดำเนินมาสู่ขั้นสุดท้ายคือ การยืนยันการตัดสินใจยอมรับ จึงเป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชนอีกครั้ง ประกอบกับนักวิชาการที่ต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และนำเสนอกระบวนการตัดสินใจที่ประสบผลสำเร็จและการตัดสินใจที่ผิดพลาดของ สังคมอื่น เพื่อให้สังคมไทยได้เลือกตัดสินใจยืนยันการยอมรับในสิ่งที่ดีที่สุดและ ประเสริฐสุดเท่านั้น
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ที่มา http://www.thairath.co.th/edu
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น