วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมแบบล่างสู่บน (Bottom-up)



นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในองค์กรส่วนมากเกิดจากระดับของผู้ปฏิบัติ งานมากกว่า เกิดขึ้นในระดับผู้บริหาร เป็นข้อสังเกตจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของนวัตกรรมต่างๆ ทั้งประเภทนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี (Technological Innovation) และนวัตกรรมเชิงความคิด (Ideological Innovation) ยิ่งองค์กรมีระดับชั้นการบริหารงานและการบังคับบัญชามากเท่าไรยิ่งเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

แนวความคิดนี้ได้ รับการทดลองที่ศูนย์วิจัย PARC (Palo Alto Research Center) อยู่ในบริเวณพื้นที่ของ Stanford University มลรัฐ California เป็นรัฐชายฝั่งตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิกของประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์วิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัท Zerox ที่มีชื่อเสียงด้านเครื่องถ่ายเอกสาร และที่ศูนย์วิจัยแห่งนี้ได้นำระบบการบริหารจัดการที่ระดับการบังคับบัญชา น้อยมาใช้จึงได้พัฒนานวัตกรรมที่กลายมาเป็นเทคโนโลยีในปัจจุบันเช่น PC หรือ Personal Computer, GUI หรือ Graphic User Interface หรือที่เรียกว่า Icon รวมทั้ง Object-Oriented Programming และ Ubiquitous Computing ซึ่งเป็นนวัตกรรมประเภท Technological Innovation เป็นต้น

การร่วม มือแบบล่างสู่บน (Bottom-up) มีความหมายในเชิงของการเป็นรูปแบบของความร่วมมือแบบไม่มีระดับชั้นหรือ Non-Hierarchical Model ซึ่งเกิดขึ้นจากระดับของผู้ปฏิบัติงานก่อนการร่วมมือเกิดขึ้นจากกลุ่มคน เล็กๆ ผู้ที่มีความคิดร่วมกันมีความต้องการสอดคล้องกันแล้วลงมือกระทำ ส่วนมากจะเป็นกิจกรรมที่ระดับผู้บริหารระดับสูงยังไม่ทราบหรือยังไม่ให้ความ สนใจในระยะแรก เช่น ในการพัฒนา Laptop ของบริษัทโตชิบา หรือ การพัฒนา Macintosh Computer ของบริษัท Apple ซึ่งต้องทำการพัฒนาแบบลับๆ ซึ่งเรียกการทำงานแบบนี้ว่า Skunk Works Project รวมทั้งโครงการ Mississippi Summer Project หรือเรียกว่า Freedom Summer ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1964 ทำให้เกิดนวัตกรรมเชิงเทคนิควิธีในการเรียกร้องเสรีภาพ ต่อต้าน ประท้วงการกดขี่และการปลุกระดมมวลชนและการจัดการมวลชนเพื่อต่อสู้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมประเภท Ideological Innovation และได้รับการเผยแพร่ไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
 คณะผู้วิพากษ์หลักสูตรมี อาจารย์ วิชริณี สวัสดี เป็นผู้ประสานงาน

จาก แนวคิดของการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวนำมาสู่แนวทางการร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันการศึกษาขึ้น ถึงแม้จะไม่ถึงขนาดต้องทำงานในแบบลับ ๆ หรือ Skunk Works แต่ความร่วมมือเกิดขึ้นจากระดับคณาจารย์ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารระดับคณะ วิชา หรือที่เรียกว่ากว่าแบบ Bottom-up Approach ที่ตรงข้ามกับแบบ Top-down Approach ซึ่งความร่วมมือเกิดจากนโยบายและความเห็นชอบของผู้บริหารระดับสูงทำให้เกิด ความร่วมมือในรูปแบบที่เป็นทางการมีระดับชั้นและใช้กลไกการบริหารสั่งการ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหาร

ตัวอย่างของความร่วมมือ ทางวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมแบบล่างสู่บนหรือ Bottom-up Approach ได้เกิดขึ้นเป็นปีที่ 2 ระหว่างคณาจารย์ ผู้บริหาร และนักศึกษาระดับปริญญาเอกของภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ร่วมมือกับคณาจารย์และผู้บริหารของคณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ซึ่งมีกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร วิพากษ์หลักสูตร และจัดการบรรยายทางวิชาการฝึกอบรมความรู้ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับ นักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสังคมโดยนักศึกษาระดับปริญญาเอกของภาควิชาครุศาสตร์ เทคโนโลยีด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการสอนที่คิดค้นขึ้นและนำไปทดลอง ใช้เป็นตัวอย่างของความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบของ Bottom-up Approach
ผศ.ดร.สุกัลยา ปริญโญกุล รองคณบดีคณะเทคโนโลยีสังคมกล่าวต้อนรับ
นวัต กรรมทางการสอนรวมทั้งเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่นักศึกษาระดับปริญญาเอกได้ออกแบบหรือได้คิดขึ้นได้ถูกนำไปใช้กับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันการได้ทดลองนำเทคนิควิธีที่นักศึกษาปริญญาเอก ได้ออกแบบและคิดขึ้นไปทดลองใช้จะทำให้เกิดความมั่นใจในนวัตกรรมการสอน และเทคนิควิธีการที่นำมาใช้ในสถานการณ์จริง นอกจากนั้นความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการด้านอื่นๆ ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้เช่น การทำวิจัย การผลิตตำราเรียน และผลงานวิชาการ เป็นต้น
ประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือทางวิชาการแบบ Bottom-up Approach นอกจากจะสามารถยืนยันผลการศึกษาวิจัยทางด้านการเผยแพร่นวัตกรรมและการเกิด ขึ้นของนวัตกรรมในองค์กรระดับปฏิบัติการแล้วยังทำให้เกิดประโยชน์กับ กระบวนการจัดการเรียนการสอนดังนี้

1. ได้ใช้ เสรีภาพทางวิชาการนักศึกษาระดับปริญญาเอกหลักสูตร Ph.D.Technical Education Technology ที่เข้าร่วมในกิจกรรมส่วนมากเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อจบการศึกษาแล้วจะกลับไปทำงานในสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย นักศึกษาปริญญาเอกเหล่านั้นได้มีโอกาสทำความเข้าใจ ตระหนักและใช้เสรีภาพทางวิชาการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้คุ้มครองไว้ในมาตรา 50

2. ได้สร้างเครือข่ายทางวิชาการเกิดขึ้นโดยเฉพาะเครือข่ายในลักษณะที่เป็น Interpersonal Networks การได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดเครือข่ายในหลายระดับซึ่งเป็นช่องทางสำหรับการเผยแพร่นวัตกรรมต่อ ไป

3. ได้มีการเผยแพร่นวัตกรรมทั้งนวัตกรรมที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัต กรรมการเรียนการสอนที่ได้นำมาใช้ ช่วยลดช่องว่างของโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยี

ผศ. เอกชัย ปริญโญกุล คณะบดีคณะเทคโนโลยีสังคม กล่าวถึงความร่วมมือ
จาก ประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับรูปแบบและวิธีการ ความร่วมมือแบบ Bottom-up ซึ่งอาจไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือแบบสั่งการ หรือแบบ Top-down ที่มีกระบวนการบังคับบัญชาหลายชั้น หรือเป็นรูปแบบที่เป็น Hierarchical Model


โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ที่มา http://www.thairath.co.th/edu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น