วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

สกอ.แฉชื่อมหาวิทยาลัยที่ไม่รับรองวุฒิ

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ เผยภายหลังการมอบนโยบายการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่า ตนอยากให้ สกอ.ช่วยพัฒนามหาวิทยาลัยให้ติดอันดับมหาวิทยาลัยโลกมากขึ้น ซึ่งตนพร้อมจะผลักดันการแปรญัตติเพิ่มงบประมาณให้มหาวิทยาลัยวิจัยได้งบฯ เพิ่มเป็น 1,000 ล้านบาท ทั้งจะให้มีการสานต่อโครงการผลิตครูและเร่งรัดการจัดการศึกษาระบบทางไกลให้ มากขึ้น ส่วนความคืบหน้าของศูนย์ ปราบวุฒิเถื่อนนั้น จากข้อมูลที่ได้รับสามารถจัดกลุ่ม มหาวิทยาลัยที่เข้าข่ายผิดกฎหมายและ สกอ. จะไม่ รับรองวุฒิ เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. มหาวิทยาลัยที่อ้างว่าจัดการศึกษาร่วมกับต่างประเทศ คือ ม.อดัมสัน และ ม.แคลิฟอร์เนีย ยูอิน สหรัฐอมริกา, International Academy of Management and Economics ประเทศฟิลิปปินส์ และ Victoria University สมาพันธรัฐสวิส กลุ่มที่ 2. มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้รับการรับรองจากต่างประเทศ ไม่สามารถสืบค้นต้น สังกัดหรือไม่มีตัวตน อาทิ ม.สันติภาพโลก, ม.โรชวิลล์,  ม.ลาครอส, Dhammakaya Open University (DOU) จากสหรัฐอเมริกา, วิทยาลัยสไปเซอร์ เมโม- เรียล และ Darul Uloom Nadwatul Ulama จากอินเดีย, Islamic University of South Africa สาธารณรัฐแอฟริกาใต้, Intercultural Open University เนเธอร์แลนด์, Institut Francais de la Mode ฝรั่งเศส ซึ่งแจ้งความดำเนินคดีกับมหาวิทยาลัยที่มีรายชื่อทั้งหมดที่สกอ.ไม่รับรอง วุฒิ ให้ช่วยติดตามเรื่องนี้ด้วย

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/359412

การประกวดศิลปกรรม“อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่ 5 ประจำปี 2556

การกลับมาของการประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งนี้ถือเป็นการกลับมาเดิทางสร้างพันธมิตรทางศิลปะเป็นปีที่ 5 ซึ่งปีนี้การประกวดศิลปกรรม“อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ประจำปี 2556 เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างพันธมิตรสายศิลปะ และเพิ่มความท้าทายสำหรับประลองฝีมือของศิลปิน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยในปีนี้ให้สอดคล้องกับ “อมตะคาสเซิ่ล” ที่กำลังจะเสร็จนั้น
จึงได้มีการปรับรูปแบบการปร
ะกวดเป็นการจิตรกรรม และประติมากรรมต้นแบบโดยมีการกำหนดจุดสำหรับวางประติมากรรมที่ได้รับรางวัล ใน “อมตะคาสเซิ่ล” เพื่อศิลปินได้ออกแบบผลงานที่เหมาะสมกับพื้นที่ ที่กำหนดอีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์มูลนิธิและอมตะคาลเซิ่นอย่างต่อเนื่อง ให้คนทำงานศิลปะเห็นจุดหมายปลายทาง ของการทำงานด้านศิลปะของมูลนิธิอมตะในอนาคตต่อไป

ข้อกำหนด การประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่ 5
มูลนิธิอมตะ จัดให้มีการประกวดศิลปกรรมอ
มตะ อาร์ต อวอร์ด ครั้งที่ 5
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด “ ครั้งที่ 5 เปิดรับผลงาน
ภายใต้หัวข้อ “ ......สุวรรณภูมิ.......”

ประเภทของผลงานมี 2 ประเภท คือ
1. ประเภทจิตรกรรม
2. ประเภทประติมากรรมต้นแบบ

ข้อกำหนดการส่งผลงานประเภทจ
ิตรกรรม
1. ไม่จำกัดเทคนิค และกรรมวิธีการสร้างสรรค์
2. จำกัดขนาดด้านกว้าง หรือด้านยาว ไม่เกิน 2 เมตร รวมทั้งกรอบ
ข้อกำหนดการส่งผลงานประติมา
กรรม (ประติมากรรมต้นแบบ)
1. ประติมากรรมต้นแบบควรเป็นวั
สดุคงทนถาวร เช่น ทองเหลือง, เรซิ่น, ไม้ ฯลฯ เป็นต้น
2. ขนาดไม่เกิน 70 x 70 x 70 เซ็นติเมตร รวมฐานของประติมากรรม
3. ต้นแบบดังกล่าวต้องสามารถขย
ายได้ขนาด 7 x 7 x 7 เมตร รวมฐาน เป็นประติมากรรมกลางแจ้ง โดยใช้วัสดุถาวรตามที่ประติมากรกำหนด เพื่อติดตั้งที่ อมตะคาสเซิ่ล ได้
4. สำหรับศิลปินที่ได้รับการคั
ดเลือก 10 ชิ้น จะได้รับเงินรางวัลเบื้องต้น 30,000 บาท และจะต้องนำเสนอประมาณการค่าใช้จ่ายในการทำงานสร้างสรรค์จริงรวมการดำเนินงานติดตั้งให้คณะกรรมการตัดสินพิจาณาในวันที่ต้องนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการคัดเลือกตัดสิน
เงื่อนไขการส่งผลงาน
1. ผู้มีสิทธิส่งผลงานเข้าประก
วดศิลปินสัญชาติไทยหรือเชื้อชาติไทย ไม่จำกัดอายุ อาชีพ ที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมด้วยความคิดของตนเอง และผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยประกวดหรือแสดงในการประกวดใดๆ มาก่อน ศิลปินแต่ละท่านมีสิทธิ์ส่งผลงานได้ประเภทละไม่เกิน 3 ชิ้น
2. สำหรับผลงานประติมากรรม ต้องส่งผลงานประติมากรรมต้น
แบบพร้อมแนวคิดและรายละเอียดประกอบ และหากผลงานที่ได้รับการคัดเลือก ทางมูลนิธิจะเชิญศิลปินเข้ามาชมพื้นที่จริงและนำเสนอผลงานประติมากรรมต้นแบบพร้อมรายละเอียดในการดำเนินการขยายแบบ กับกรรมการตัดสิน เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดสร้างจริง ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดอื่นๆ ที่ต้องทราบต่อไป
3. การส่งผลงาน ศิลปินจะต้องส่งผลงานด้วยตน
เอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำมาส่งต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่รับสมัครตามศูนย์ที่ประกาศไว้ในระเบียบการประกวดและต้องกรอกรายละเอียดในแบบพิมพ์ตามข้อกำหนดของมูลนิธิคณะผู้ดำเนินการจะระวังรักษาศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้น ความเสียหายจากอุปัทวเหตุ หรือเหตุอันสุดวิสัย
4. ผู้เข้าร่วมประกวดต้องกรอกร
ายละเอียด ในใบสมัครให้ครบถ้วนชัดเจน แนบมาพร้อมกับผลงานในวันส่งผลงาน
5. ผู้สมัครต้องส่งผลงานจริง ระบุ ชื่อผลงาน ขนาด เทคนิค ปีที่สร้าง และแนวคิดในการสร้างสรรค์ผล
งาน ส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
6. คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ในกา
รลดหรือเพิ่มรางวัลหนึ่งรางวัลใด ตามที่ประกาศไว้ในระเบียบ
7. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้อ
งไม่มีเรื่องราวเนื้อหาที่ละเมิดต่อศีลธรรม จริยธรรม
8. ห้ามนำผลงานที่เคยส่งแล้วมา
ส่งซ้ำ และผลงานนั้นต้องไม่เคยได้รับรางวัลหรือจัดแสดง ณ ที่ใดมาก่อน
9. กรรมสิทธิ์ งานศิลปกรรมทั้งสองประเภทที
่ได้รับรางวัลจะตกเป็นสมบัติของมูลนิธิอมตะ
10. ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประก
วด ทางมูลนิธิอมตะ มีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานลงในสูจิบัตร และเอกสารสิ่งพิมพ์ สารสนเทศสมัยใหม่ทุกชนิด รวมทั้งลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลงผลงาน เพื่อเผยแพร่ผลงานของศิลปินดังกล่าวให้เป็นที่แพร่หลาย โดยทั้งนี้ทางมูลนิธิจะทำหนังสือเพื่อขอรับความยินยอมจากศิลปิน และในการผลิตผลงานเพื่อการจำหน่ายใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ศิลปินยังคงได้รับค่าลิขสิทธิ์ในผลงานเป็นจำนวน 40 % ของมูลค่าผลงานหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
11. ภายหลังจากการประกาศผลงรางว
ัล ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดที่ไม่ได้ผ่านการคัดเลือก ให้นำบัตรประชาชนมาขอรับผลงานคืนจากมูลนิธอมตะ ได้ที่ “อมตะคาสเซิ่ล” ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
การส่งผลงาน
กำหนดการส่งงานวันที่ 4 - 6 ตุลาคม 2556 ณ อมตะคาสเซิ่ล ในนิคมอุตสหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

การตัดสินผลงาน
ประติมากรรม รอบแรก วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2556
จิตรกรรมและประติมากรรม รอบตัดสิน วันที่ 26 - 27 ตุลาคม 2556
ประกาศผลการตัดสิน วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2557 พร้อมจัดแสดงผลงาน “อมตะคาสเซิ่ล” ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
จ.ชลบุรี

คณะกรรมการตัดสิน
สาขาจิตรกรรม ประกอบด้วย

1. อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ กรรมการ
2. ศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก กรรมการ
3. ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี กรรมการ
4. รองศาสตราจารย์รุ่ง ธีระพิจิตร กรรมการ
5. อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร กรรมการ
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิกร คงคา กรรมการ
7. อาจารย์ชูศักดิ์ วิษณุคำรณ กรรมการ
8. นายธวัชชัย สมคง กรรมการ
9. อาจารย์วีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา เลขานุการ
สาขาประติมากรรม ประกอบด้วย

1. ศาสตราจารย์ กิตติคุณ กำจร สุนพงษ์ศรี กรรมการ
2. ศาสตรเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน กรรมการ
3. อาจารย์ชิน ประสงค์ กรรมการ
4. อาจารย์ศราวุธ ดวงจำปา กรรมการ
5. อาจารย์ชูศักดิ์ วิษณุคำรณ กรรมการ
6. นายวิวัฒน์ กรมดิษฐ์ กรรมการ
7. อาจารย์วีรเดช พนมวัน ณ อยุธยา เลขานุการ
การตัดสินของคณะกรรมการคัดเ
ลือกและตัดสินถือว่าเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้

เงินรางวัล
เงินรางวัลสาขาจิตรกรรม พร้อมเหรียญรางวัล ทอง เงิน นาค (ตามลำดับ )
รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล เป็นเงิน 300,000 บาท
รางวัลที่ 2 จำนวน 2 รางวัล เป็นเงิน 200,000 บาท
รางวัลที่ 3 จำนวน 3 รางวัล เป็นเงิน 100,000 บาท
เงินรางวัลสาขาประติมากรรม (ประติมากรรมต้นแบบ)
รางวัลดีเด่น จำนวน 10 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท
โดยผู้ได้รับรางวัลดีเด่นจา
กผลงานประติมากรรมต้นแบบจะต้องนำเสนอรายละเอียดต่างๆ ในการทำงานสร้างสรรค์จริง อาทิ วัสดุ กลวิธี (TECHNIQUE) ฯลฯ ต่อคณะกรรมการคัดเลือกตัดสิน เพื่อพิจารณาประกอบเพื่อให้สามารถสร้างได้จริง ติดตั้ง ณ สถานที่จริง
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 3 รางวัล รางวัลละ 200,000 บาท
( เงินรางวัลดังกล่าวนี้ผู้ที
่ได้รับรางวัลจะต้องถูกหักภาษี เพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพากร ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรด้วย )
Tel. 088-9813809
E-mail: amataart@gmail.com
ที่มา :
www.facebook.com/Amata.Foundation

http://www.amatafoundation.org/Art%205/poster%20FN.pdf

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

การประชุมสัมมนาวิชาการการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับนานาชาติ ระหว่างวันที่ 7-8 พ.ย. 2556


         ที่ประชุมกลุ่มเสวนา Quality Assurance Forum ครั้งที่ 5/2556 วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556  ได้แจ้งความคืบหน้าของการพัฒนาตัวบ่งชี้รอบสี่ สมศ. โดยจะประกาศตัวบ่งชี้ สมศ. รอบสี่ ให้ทราบ ในการประชุมสัมมนาวิชาการการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับนานาชาติ  หัวข้อ

International Conference on QA Culture : Cooperation or Competition” ระหว่างวันที่ 7-8 พ.ย. 2556 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กทม.

อ่านต่อ : http://www.icqa2013.com/


ที่มา : http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/news/detail.php?Key=informationnews&ID=654

การประชุมกลุ่มเสวนา Quality Assurance Forum ครั้งที่ 5/2556

วันนี้ เวลา 10.00 - 12.00 น.     มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา  ได้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มเสวนา Quality Assurance Forum ครั้งที่ 5/2556   ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ชั้น 3




วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

การจัดการกระบวนการเพื่อเชื่อมโยงและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

         ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการดำเนินงานขององค์กร คน และองค์กรต้องมีการปรับต่อ และปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อความอยู่รอด แต่องค์กรส่วนใหญ่ยังขาดการเชื่อมโยงกันภายในองค์กร ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กรได้ อาจารย์ศุภชัย เมืองรักษ์ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้แนะนำแนวทาง กรอบการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ (Business Excellence Framework) เพื่อให้สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของแต่ละองค์กรได้

แนวทางสู่ความยั่งยืน

การนำแนวทาง Business Excellence Framework มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ
เป็นการจัดการกระบวนการขององค์กรเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงต่อเนื่อง สามารถส่งต่อข้อมูลภายในองค์กรเป็นสายโซ่แห่งการจัดการ มีเป้าหมายที่สอดคล้องตรงกันทั้งองค์กร แนวทางนี้จะเน้นเรื่องของการ จัดกระบวนการให้มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ Core Process, Support Process และ Management Process ถ้าทุกกระบวนการในองค์กรมีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดีก็จะช่วยให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานแบบ “บูรณาการ”

การเชื่อมโยงของกระบวนการ

องค์กรมีลักษณะเป็นองค์รวม ทำงานร่วมกัน และเชื่อมโยงกัน หลักการทำงานขององค์กร คือ ทำงานเพื่อคนอื่น เห็นความสำคัญของคนอื่น แล้วคนอื่นจะทำงานเพื่อเรา เป็นการทำงานที่เชื่อมโยง เพื่อสนองประโยชน์คนถัดไป ไม่ใช่ทำงานเพื่อตนเอง นี่เป็นที่มาของ SIPOC Model ซึ่งเป็น Model ที่ใช้ ในการกำหนด และวางแผนกระบวนการการทำงานได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องจัดการ ก่อนคือ I , P และ O ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจากภายในองค์กร ส่วน S กับ C เป็นปัจจัยภายนอกองค์กร

หลังจากปรับปรุงกระบวนการทำงานตามแนวทางของ SIPOC Model แล้ว ก็ต้องมีการประเมินตนเอง
ด้วยเครื่องมือ ADLI , LeTCI เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมินมาพัฒนาองค์กรต่อไป ก่อให้เกิดการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่องตามวงจร PDCA

สิ่งที่สำคัญคือ การออกแบบโครงสร้างองค์กรให้มีความสัมพันธ์กันทั่วทั้งองค์กร ผู้บริหารต้องเข้าใจระบบงานและระบบคน ซึ่งมีความสำคัญเท่า ๆ กัน เหมือน “ หยินหยาง ” ดังนั้น ไม่ว่าองค์กร จะอยู่ในรูปแบบใดก็ต้องจัดการระบบงานกับระบบคนให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน และเติบโตอย่างยั่งยืน
 
จากการบรรยายหัวข้อ Enterprise Process Management การจัดการกระบวนการ เพื่อเชื่อมโยง และมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน โดย อาจารย์ศุภชัย เมืองรักษ์ Productivity Talk วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2556
ที่มา : ยุธิชล ศรีตัญญู. การจัดการกระบวนการเพื่อเชื่อมโยงและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน. 14, 158 (พฤษภาคม 2556)
http://www.skh.moph.go.th/index.php?option=com_fireboard&Itemid=63&func=view&id=247&catid=3

การฟังเป็น (Listening) และ เทคนิคการฟังขั้นสูง


 

 
ชีวิตทุกวันนี้มีทั้งเร่งรีบ บีบคั้น แข่งขัน และรวดเร็ว โดยมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารที่ เสมือนจริง  ล้วนแล้วแต่ทำให้คนเราฟังกันน้อยลง ผลจากการไม่รู้จักฟังกัน ฟังกันไม่เป็น และไม่ค่อยจะมีเวลารับฟังซึ่งกันและกัน ก็เห็นได้จากปัญหาสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ  นั่นเอง จนมีการพูดกระแนะกระแหนกันว่า พระเจ้าสร้างเรามาให้มีหู ๒ หู ปาก ๑ ปาก ไฉนคนเราจึงมักชอบที่จะพูดมากกว่าฟัง 

 การไม่รู้จักฟังกัน หรือ  ไม่รับฟังอีกฝ่าย เป็นผลในทางตรงกันข้ามกับการรู้จักฟังผู้อื่น ทั้งยังช่วยทำให้เราเข้าใจความคิด ความรู้สึกอีกฝ่ายได้มากขึ้น ได้รู้จักกันดีขึ้น ได้เข้าใจว่าฝ่ายนั้นมีความข้องขัดสิ่งใด  ทำให้เขารู้สึกว่า เราแคร์เขามากขึ้น   จึงเรียกว่า การฟังเป็น (Listening)   มีบางตัวอย่างของการฟังเป็น ที่เกิดขึ้นใกล้ตัวจะขอนำมาเล่าที่นี้ คือ

๑)      ปกติเวลาหมอตรวจคนไข้มักจะใช้เวลาอันรวดเร็ว บ่อยครั้งที่คนไข้ยังพูดอธิบายไม่หมดความ หมอก็ด่วนสรุปให้แล้ว Dr. Ken  Davis กล่าวว่า  หากหมอได้ฟังคนไข้พูดมากขึ้น เพียง ๓ - ๔ นาที จะทำให้ตรวจรักษาคนไข้ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นมากถึง ๙๐%    ในขณะที่มีข้อมูลจากแพทยสภาของบ้านเราว่า มีหมอบางโรงพยาบาลทำสถิติตรวจคนไข้นอกได้รวดเร็วมากถึง ๓ - ๔ คนต่อนาที เพราะคนไข้จำนวนมากและขาดแคลนหมอ จึงทำให้หมอต้องทำงานแข่งกับเวลา  แพทยสภาจึงถือว่า มีความเสี่ยงสูงที่หมอคนนี้จะรักษาคนไข้ผิดพลาดและมีโอกาสถูกฟ้องร้อง-ร้อง เรียนสูงมากขึ้นอีกด้วย

๒)      พยาบาลวิชาชีพคนหนึ่ง เธอมีวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพมาเล่าให้เราฟังว่า ตัวเธอมีวิธีการแนะนำการปฏิบัติตัวของคนไข้อย่างได้ผลเมื่อคนไข้กลับไปทำที่ บ้าน ก็ด้วยวิธีการเปิดใจรับฟังปัญหาและวิธีการปฏิบัติตนของคนไข้ที่จะต้องเล่า ให้พยาบาลคนนี้ฟังก่อน แล้วเธอจึงจะแนะนำไปว่า สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด การกระทำอันไหนของคนไข้ที่เป็นตัวชักนำทำให้เกิดการเจ็บป่วย แล้วควรจะหลีกเลี่ยงการกระทำนั้นอย่างไรบ้าง  ผลจากการเปลี่ยนวิธีการสอนหรือแนะนำคนไข้มาเป็นการรับฟังปัญหาเฉพาะตัวของคน ไข้ก่อนเช่นนี้  ทำให้คนไข้การรักษาคนไข้ได้ผลมากขึ้น โดยหายจากการเจ็บป่วยมากขึ้น และเธอยังเป็นที่ชื่นชอบของคนไข้อีกด้วย เนื่องจากพูดได้ตรงใจคนไข้นั่นเอง
นี่ก็เป็นผลจากการรับฟังกันอย่างเข้าใจและลึกซึ้งยิ่งนัก  ซึ่งแตกต่างจากวิธีการแนะนำคนไข้แบบเดิมที่ไม่ต่างจากการมายืนสอนเหมือนครู ยืนสอนหน้าชั้นเรียน ย่อมได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน

๓)      นักศึกษาแพทย์คนหนึ่งเล่าว่า เขาได้เรียนรู้การรักษาการเจ็บป่วยจากคนไข้แบบแปลกใหม่จากที่ครูเคยสอนไว้ใน โรงเรียนแพทย์ เพียงเพราะวันนั้นเขาทนนั่งรับฟังปัญหาแวดล้อมทั้งเรื่องราวจากตัวคนไข้เอง และเรื่องราวต่างๆ จากคนในครอบครัวของคนไข้มากขึ้น แม้จะรู้ว่าเสียเวลามากทีเดียวที่ต้องทำอย่างนั้น ถ้าเพียงแต่เขาฝึกการฟังนั้นจนเกิดความชำนาญ  เขาก็จะสามารถซักถามและจับประเด็นใจความสำคัญๆ ที่เป็นสาระได้อย่างรวดเร็ว   อันจะนำไปสู่การดูแลรักษาผู้ป่วยได้ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

๔)     โรงพยาบาลหลายแห่งได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ ชมรมต่างๆ เพื่่อให้คนไข้โรคต่างๆ มารวมกลุ่มกัน เช่น กลุ่มโรคหัวใจ กลุ่มโรคเบาหวาน ฯลฯ คนไข้ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนสนทนากัน คนที่เคยเจ็บป่วยมาก่อน หรือมีวิธีการดูแลรักษาตนเองจนเข้มแข็งได้มาช่วยมาถ่ายทอดประสบการณ์ให้ฟัง  การเรียนรู้ผ่านผู้ป่วยด้วยกันเองมักเป็นการพูดคุยสนทนากัน รับฟังปัญหาขัดข้องโดยไม่ปิดบัง เคอะเขิน จากคนที่มีปัญหาเดียวกัน ด้วยคนระดับเดียวกัน เป็นการเลียนแบบกันอย่างได้ผลในการรักษาอีกช่องทางหนึ่ง มากกว่าที่จะมุ่งรักษาด้วยวิธีการทางยาจากหมอเพียงอย่างเดียว  

 เหล่านี้เป็นตัวอย่างและผลลัพธ์จากการรับ ฟังกันมากขึ้น มากกว่าการที่เราเดินทางมาเจอหน้ากัน แต่เราไม่ต้องการพูดคุยกันและรับฟัง  แล้วก็จมอยู่กับ หน้าจอของใครของมัน ก็ไม่น่าจะมีประโยชน์แต่อย่างใด สู้กลับบ้านไปแล้วคุยกัน ผ่านจอ อย่างเดิมน่าจะดีกว่าไหม

การฟังกันมากขึ้นจึงเป็นการแก้ปัญหาสังคมง่ายๆ เหมือนกับ เกาถูกที่คันแก่คนที่อยู่ข้างๆ เรา เป็นเสมือนการจ่ายยาที่ถูกกับโรค

หรือ เป็นเสมือนหมอที่รู้จักรักษาวิธีการฟังของหมอก่อน ก่อนที่หมอจะไปรักษาคนไข้นั่นเอง

 การฟัง หรือ การรับฟัง (Listening) ผู้อื่น เป็นกลวิธีการที่สำคัญมากที่เราใช้สื่อสารกับคนรอบข้าง เพราะก่อนที่เราจะสื่อสารออกไป เราควรได้รู้ข้อมูลจากผู้ฟังหรือคู่สนทนาของเราเสียก่อน และผู้ใดรู้จักฟังอย่างถูกวิธีย่อมทำให้การสื่อสาร (พูดคุย) นั้นมีประสิทธิภาพ

นอกจากการรู้จักฟังผู้อื่นจากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว มีตัวอย่างของ เทคนิคการฟังขั้นสูง ซึ่งได้แก่ การตั้งใจผู้อื่นเหมือนกับที่เรากำลังตั้งใจฟังญาติผู้ใหญ่ที่เราเคารพกำลัง พูด รู้จักการจับประเด็น รู้จักซักถาม รู้หรือวิเคราะห์ว่าผู้ฟังชอบไม่ชอบอะไร  รู้จังหวะแทรกการพูดคุย มีการสบสายตาเวลาพูดคุย ถ้าหากคู่สนทนาพูดออกนอกลู่นอกทางก็ดึงเขากลับมาเป็น  มีวิธีการถามด้วยคำถามปลายเปิดเพื่อให้เขาสามารถพูดแสดงความคิดเห็นต่อไป ได้อีกเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเทคนิคการสะท้อนความคิด (Reflection) ในระหว่างการสนทนา ต้องไม่เบรกคู่สนทนานั้นด้วยคำพูดแรงๆ หากไม่ใช่เพื่อนสนิท และรู้จักการยกย่องคู่สนทนาอย่างพอเหมาะพอควร อันเป็นวิธีการให้เกียรติกัน

 นอกจากนี้ การฟังขั้นสูงยังจะเป็นการผูกมิตรที่ยั่งยืนได้อีกด้วย  หากเป็นหมอก็จะเป็นหมอที่ครองใจคนไข้  สามารถรักษาคนไข้ให้หายได้ตั้งแต่คำพูดแรกๆ ที่คนไข้เอ่ยปากอยากเล่าอาการเจ็บป่วยนั้นให้หมอฟัง

 
หากแม้....ไม่ใช่หมอ เราก็ทำตัวเป็นเหมือนหมอได้ เพียงเพราะรู้จักรักษาน้ำใจคู่สนทนา ด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดี และ รู้จักฟังกันมากขึ้น

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/nn1234/2013/04/02/entry-1

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

พอร์ต โฟลิโอ (แฟ้มสะสมผลงาน) ทำอย่างไร ?

เราควรมาทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Portfolio กันใหม่ เพราะพวกเรามักติดอยู่กับการรับโจทย์แบบมีรายละเอียดประกอบ เช่น ต้องทำกี่หน้า ใช้กระดาษอะไร มีข้อมูลอะไรบ้าง พอคุณครูบอกว่าทำอย่างไรก็ได้ ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร คุณครูคงมากำหนดให้เราไม่ได้จริงๆครับเพราะพอร์ตโฟลิโอ คือการบันทึกสิ่งต่างๆที่แสดงความสนใจ ความถนัด ความสามารถ และความคิดเห็นของตัวเรา

        ในพอร์ตโฟลิโอ ของเรา อาจมีข้อมูลต่าง ๆ ต่อไปนี้ครับ

            -
กิจกรรมที่เคยทำ เช่นเคยเป็นคณะกรรมการนักเรียน เคยร่วมแข่งขันกีฬาฯ เคยร่วมจัดโครงงาน คือเคยทำอะไร เมื่อไร ก็ใส่ลงไปครับ เราไม่จำเป็นต้องใส่กิจกรรมทุกอย่างที่เราเข้าร่วม เพราะบางทีถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ผู้อ่าน ดูไม่ออกเลยว่าเราสนใจอะไรกันแน่

            -
ในส่วนนี้อาจใส่ความรู้สึกของคนอื่นที่มีต่อกิจกรรมที่เราทำ หรือ ความรู้สึกที่มีต่อตัวเราในการทำกิจกรรมนั้นๆ

            -
นอกจากนั้นนักเรียนควรบันทึกเรื่องของความภูมิใจ และรางวัลที่เคยได้รับในกาณทำกิจกรรม หรือการเรียน และถึงแม้ไม่ได้รับรางวัลใดๆแต่การเข้าร่วมประกวดแข่งขันต่าง ๆ ก็บ่งบอกถึงความสนใจของเรา นักเรียนก็สามารถบันทึกได้เช่นกัน
ในเรื่องนี้ขอยกตัวอย่างในการพิจารณา เปรียบเทียบพอร์ตโฟลิโอของนักเรียนสองคน

            -
พอร์ต ที่หนึ่ง นักเรียนเข้าร่วมประกวดถ่ายภาพและได้รับรางวัล จากการประกวด มีหลักฐานรางวัล แสดงไว้

            -
พอร์ตที่สอง ถึงแม้ไม่เคยรับรางวัลแต่ส่งเข้าร่วมประกวดมากมาย พร้อมมีรูปงานแสดงภาพถ่ายต่างๆที่ตนเองเข้าร่วมประกวด
        ผมคงพิจารณาว่า เจ้าของพอร์ตที่สองน่าจะเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่า ถ้าต้องคัดเอาเพียงคนเดียวเพื่อเข้าเรียนสาขาการถ่ายภาพ บางทีแค่การไปร่วมงาน ไปดูงานนิทรรศการ ที่เราสนใจก็นำมาบันทึกได้ เพราะพอร์ตคือสิ่งที่จะบ่งบอกความสนใจในตัวเรา บางคนสนใจเรื่องวิชาการ ก็เอาเกรด เอารายงานที่ทำระหว่างเรียน เอาเรื่องราวของการทำโครงงานด้านวิชาการต่างๆ ที่เคยทำมาแสดง มาสรุป หรือนำภาพถ่ายของตนเองในงานนั้นๆมาบันทึกไว้ในพอร์ต ก็ดูน่าสนใจครับ

        คนที่สนใจด้านสังคมก็เอากิจกรรม ที่ทำ บางทีอาจให้เพื่อนเขียนถึงเราก็ได้ว่าเราดีตรงไหน ประทับใจอะไรเรา ให้ครู พ่อแม่ หรือคนที่เรารู้จัก เขียนถึงเราได้ทั้งนั้นไม่ผิดกติกามีนักเรียนถามว่า การบันทึกพอร์ตโฟลิโอต้องมีหลักฐานหรือไม่
        สำหรับผมคิดว่าถ้ามีก็ดี ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะถ้าผู้อ่านสนใจเขาก็มาถามเราต่อได้ เช่นถ้าเราเคยร่วมกิจกรรมปลูกป่า แต่เราไม่มีรูป เราก็อาจเขียนความประทับใจในงานนั้น โดยไม่มีหลักฐาน ไม่มีคนเซ็นรับรอง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ

        นักเรียนที่สนใจด้านเทคโนโลยี อาจทำพอร์ตแบบดิจิตอล คือทำเป็น เวป หรือโปรแกรม นำเสนอ ก็ดูน่าสนใจ ใส่ภาพ เสียง ผมว่าน่าจะสนุกครับเป็นการบ่งบอกความสนใจของเราได้อย่างดี
        คำถามที่ว่าจะใช้กระดาษอย่างไร ความหนาเท่าไร หรือ จำนวนกี่หน้า ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับตัวเรานะ พอร์ตที่แสดงความเป็นตัวเราได้นั่นคือพอร์ตโฟลิโอที่ดี เคยเห็นพอร์ตของนักเรียนที่ สนใจด้านศิลปะ ทำออกมาไม่กี่หน้าแต่ออกแบบน่าสนใจ มีทั้งภาพกราฟฟิค และภาพถ่ายที่ตั้งใจทำอย่างดี อย่างนี้เอาไปสมัครเข้าเรียนต่อด้านศิลปะ การออกแบบสื่อ ก็น่าจะประสบความสำเร็จ
        การที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มมีการกำหนดให้ พอร์ตโฟลิโอ เป็นส่วนหนึ่งของการคัดนักเรียนเข้าเรียนต่อ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าส่งเสริมมากครับ น่าจะมีผลดีกว่าการคัดนักเรียนจากการสอบเพียงอย่างเดียว บางคนไม่เคยคิดเคยทำประโยชน์อะไรให้สังคมส่วนรวมเลย แต่สอบเข้าคณะส้งคมสงเคราะห์ อย่างนี้จะหวังให้จบมาทำงานด้านนี้ คงยากครับ
การคัดเลือกโดยใช้พอร์ตโฟลิโอเป็นส่วนประกอบจึงน่าจะช่วยให้      มหาวิทยาลัยได้คัดเอาผู้ที่มีความสนใจ ในสาขาวิชานั้นๆ เข้าไปเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนต่อ หรือ การทำงานในอนาคต

โดย อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ 
ที่มา : http://blog.eduzones.com/wiriya/9080


การบริการวิชาการแก่สังคมกับการเพิ่มคุณค่าให้สถาบันอุดมศึกษาไทย

   เมื่อ เอ่ยถึงการบริการวิชาการแก่สังคม ผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาคงรู้จักเป็นอย่างดี เพราะการบริการวิชาการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ระบุอยู่ภายใต้กฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ข้อที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยพิจารณาจากระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชาและสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาโดยคำนึงถึงองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 9 องค์ ประกอบ โดยมีการบริการวิชาการแก่สังคม เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ดังนั้น การบริการวิชาการแก่สังคมจึงเป็นหน้าที่จำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องทำ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามกฎหมายนั้น
อย่าง ไรก็ตามนอกจากระเบียบของกฎกระทรวงฯดังกล่าวแล้ว การบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษา ยังมีเงื่อนไขอื่นๆที่ผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาให้บริการวิชาการแก่ สังคมอยู่ด้วย เป็นต้นว่า ความจำเป็นเชิงวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการวิจัยที่จะต้องใช้สังคมหรือชุมชนเป็นเครื่อง มือหรือหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการในแต่ละด้าน
บุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษาเองที่มีจิตสาธารณะหรือมีความสมัครใจในการเสียสละความรู้ ประสบการณ์ เวลา รวมทั้งสิ่งต่างๆที่พอเสียสละได้ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งในการบริการวิชาการแก่สังคมด้วยเช่นกัน
นอก จากนี้สถาบันอุดมศึกษาเองยังมีแนวนโยบายให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมต่างๆกับสังคม ที่เห็นได้ชัดเจนคือกิจกรรมการออกค่ายในรูปแบบต่างๆ เป็นต้นว่า ค่ายอาสาพัฒนา       ค่าย เยาวชน ค่ายวิชาการ ค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมที่กล่าวมานี้ได้กลายเป็นเวทีให้นักศึกษาได้เรียนรู้นอกตำราหรือ นอกห้องสี่เหลี่ยม อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย
จะ เห็นได้ว่าภาพของการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษาที่ปรากฏให้ เห็นในข้างต้นนั้นเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนาที่ดีของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีต่อสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ควร      ยกย่อง แต่คำถามก็คือว่าเจตนาที่ดีดังกล่าวสถาบันอุดมศึกษาสามารถเป็นผู้กระทำการที่สอดคล้องกับเจตนาที่ดีนั้นหรือไม่? สำหรับ ผู้เขียนขอตอบว่าไม่ทั้งหมด เพราะเจตนาที่ดีนั้นเปรียบเสมือนอุดมการณ์ซึ่งมีไม่บ่อยครั้งนักที่จะสอด คล้องกับโลกของความเป็นจริง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาความ เดือดร้อนของสังคมที่เกิดขึ้นจริงได้เลย หรือหากมีก็น้อยมาก ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า สถาบันอุดมศึกษามุ่งที่จะสร้างแผนและกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์มากเกินไป ทั้งที่เป็น พ.ร.บ.การศึกษา กฎกระทรวง รวมทั้งระเบียบของสถาบันอุดมศึกษาเอง ซึ่งกฎเกณฑ์ดังกล่าวคาดหวังผลการดำเนินงานเพื่อความสอดคล้องกับกฎเกณฑ์นั้นๆ จึงทำให้ผลการดำเนินงานถูกบีบคั้นให้ออกมาในรูปของเอกสารรายงานเชิงวิชาการ ในมุมหนึ่งอาจจะเป็นผลดีในเชิงระบบเพื่อการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่อีกมุมหนึ่งนั้นแรงบีบคั้นดังกล่าวอาจทำให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาจะ ต้องคิดหนักในการจัดทำเอกสารรายงาน จนบางครั้งที่เอกสารรายงานไม่ได้เป็นผลมาจากการปฏิบัติงานจริงที่เกิดขึ้น แต่เกิดจากการจัดทำขึ้นเองโดยไม่มีมูลความจริงหรืออย่างที่เรียกๆว่า นั่งเทียนเขียน และบ่อยครั้งที่ไปคัดลอกจากแหล่งอื่นๆ แล้วมาดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้เป็นเอกสารรายงานของหน่อยงานตนเอง
และปัจจุบันจะพบว่าสถาบันอุดมศึกษามุ่งผลิตบัณฑิตที่อยู่ในกรอบของหลักสูตรเฉพาะด้าน    เชิง วิชาชีพมากเกินไป จนทำให้นักศึกษาถูกจำกัดการเรียนรู้ให้อยู่ในกรอบของหลักสูตรเอง อีกทั้งยังอยู่ในกรอบมหาวิทยาลัยหรือในห้องเรียนเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับสังคมอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของวิธีการเรียนการสอนอย่างบูรณาการร่วมกับชุมชน หรือสังคมอย่างถูกต้องเหมาะสมที่ให้ชุมชนเป็นฝ่ายถูกกระทำหรือเป็นผู้ถูกชี้ นิ้วให้ทำ ที่สำคัญหลักสูตรหรือรายวิชาด้านสังคมนั้นสถาบันอุดมศึกษายังให้ความสำคัญ ไม่มากนักและมีแนวโน้มว่าจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เพราะไม่สามารถสร้างให้บัณฑิตมีความสามารถเฉพาะด้านในเชิงวิชาชีพสอดคล้อง กับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของประเทศได้ ทำให้ผู้เรียนมีจำนวนน้อยลง และเมื่อเป็นเช่นนี้สถาบันอุดมศึกษาเองโดยเฉพาะภาคเอกชน (รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหลายแห่ง)ให้ความสำคัญทางด้านสังคมน้อยมาก เพราะไม่สามารถเก็บเงินค่าเล่ากับนักศึกษาได้เป็นจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบ กับหลักสูตรเฉพาะด้านเชิงวิชาชีพ เช่น หลักสูตรบริหารธุรกิจ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้สถาบันอุดมศึกษาจึงขาดทั้งความรู้และทักษะการทำงานด้าน สังคม รวมทั้งขาดความจริงจังที่จะบริการวิชาการแก่สังคมอย่างจริงใจได้
ปัญหา ประการสำคัญอีกประการหนึ่งของการบริการวิชาการแก่สังคมคือ ปัญหาเรื่องการตีความการบริการวิชาการแก่สังคมยังคับแคบเกินไป กล่าวคือ
  การตีความ การบริการวิชาการ โดยมองว่า "การบริการวิชาการแก่สังคม"เกี่ยวข้องกับ หน่วยให้บริการ และ หน่วยรับบริการ โดยหน่วยให้บริการนั้น คือสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น  มหาวิทยาลัย วิทยาลัย เป็นต้น ส่วนหน่วยรับบริการนั้น คือ ภาคสังคมหรือชุมชนต่างๆที่อยู่ภายนอกสถาบันอุดมศึกษานั้น เมื่อตีความเช่นนี้สถาบันอุดมศึกษาได้กลายเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ ที่มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้ต่างๆแก่สังคมภายนอก ส่วนสังคมภายนอกเองก็มีหน้าที่รับทั้งๆที่ไม่อยากจะรับ หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีใครเอาอะไรมาให้ ประมาณว่าครูบาอาจารย์เขามาขอความร่วมมือ หรือมีอะไรมาให้ก็รับๆไป ก็เท่านั้น ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อเราตีความการบริการวิชาการแก่สังคมเช่นนี้ทำให้สถาบันอุดมศึกษาอยู่ในภาวะ ลอยตัวอยู่เหนือสังคมหมาย ความว่า สถาบันอุดมศึกษามักจะมองว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งความรู้ทางวิชาการที่มี ศักยภาพสูงกว่าสังคม แต่กลับมองข้ามว่าสังคมหรือชุมชนเองก็เป็นศักยภาพได้เช่นกันแต่อาจจะไม่ใช่ ศักยภาพชนิดเดียวกัน สถาบันอุดมศึกษาอาจจะมีความศักยภาพในแง่ของเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่ทัน สมัย แต่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีการแก้ปัญหาในโลก ความเป็นจริงของสังคมก็ได้  ดัง นั้นทั้งในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยของสังคมเองจะต้องสร้างกระบวนการ เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเติมเต็มความรู้กันและกัน ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาเองควรให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรการ ศึกษา และมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน เช่น ให้ปราชญ์ชาวบ้านมีโอกาสได้ให้ความรู้แก่นักศึกษาในด้านต่างๆ เป็นต้น ในส่วนของภาคสังคมเองเมื่อมีประเด็นปัญหาต่างๆเกิดขึ้น ก็ควรกล้าที่จะไปขอคำแนะนำข้อความรู้กับสถาบันอุดมศึกษาเช่นกัน และที่สำคัญทั้งสถาบันอุดมศึกษาและภาคสังคมควรมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วม กันอย่างที่เรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยที่เปิดโอกาสให้ทั้งนักวิชาการและชาวบ้านมีโอกาสหัน หน้าเข้าหากันเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆในการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ข. การตีความ สังคม
คน เรามักจะเข้าใจด้วยสามัญสำนึกว่า สังคมเป็นสิ่งที่ติดยึดอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เมื่อเอ่ยถึงสังคม เรามักจะนึกถึงภาพของการตั้งอยู่ของบ้านเรือน และผู้คนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ที่คิดง่ายๆที่สุดคือการมองภาพสังคมที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานศึกษา เมื่อความเข้าใจของสังคมเป็นเช่นนี้ทำให้เราเข้าใจ     ว่าสังคมเป็นสิ่งที่ยึดอยู่กับพื้นที่ มีความหยุดนิ่ง และมีความเป็นทั่วไป ทำให้รูปแบบการบริการวิชาการที่นำเข้าสู่ชุมชนเป็นการ ให้ที่สำเร็จรูปโดย สถาบันอุดมศึกษาเพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆที่ชุมชนนั้นๆอาจไม่มีปัญหาหรือไม่ต้องการความช่วยเหลือก็ได้ เพื่อให้การบริการวิชาการแก่สังคมที่ถูกจุด อย่างที่เรียกว่า     เกาให้ถูกที่คัน เราควรเพ่งสู่เปลี่ยนมาสู่การตีความชุมชนในเชิงรุกที่เรียกว่า ชุมชนประเด็นปัญหากล่าว คือ เป็นสังคมที่ไม่ได้ยึดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หรือลักษณะทางกายภาพเป็นหลักใน การบริการวิชาการ แต่เป็นสังคมที่ยึดประเด็นปัญหาเป็นหลักในการบริการวิชาการ เช่น ชุมชนแออัด ที่มีปัญหาในเรื่องของ   ที่อยู่ อาศัย สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด เป็นต้น ชุมชนผู้ด้อยโอกาส ที่มีปัญหาการเข้าถึงโอกาสในสังคมและถูกดูแคลนจากสังคม เช่น ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน คนพิการ ขอทาน ผู้ติดเชื้อเอดส์  เป็น ต้น ชุมชนที่มีปัญหาความขัดแย้งเรื่องทรัพยากร ชุมชนภายหลังการเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น ชุมชนหลังเหตุการณ์สึนามิ เป็นต้น ซึ่งสังคมเหล่านี้เป็นสังคมที่เป็นประเด็นปัญหาได้รับความเดือดร้อน สถาบันอุดมศึกษาในฐานะที่เป็นแหล่งวิชาการนั้น ควรให้ความสำคัญกับชุมชนดังกล่าวให้มากขึ้น เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ท้าท้ายต่อศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
อาจกล่าว ได้ว่าการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษาไม่ใช่เพียงแค่การสักแต่ ว่าทำเพราะเป็นหน้าที่ ไม่ใช่แค่เพียงทำเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการขอตำแหน่งทางวิชาการ หรือทำเพราะมีใจรักเพียงเท่านั้น แต่การบริการวิชาการแก่สังคมจะต้อง คำนึงถึงหลายอย่างทั้งในส่วนของการใช้สติปัญญาของผู้ให้บริการวิชาการขบคิด อย่างลึกซึ้ง การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทีหล่อหลอมนิสิตนักศึกษาให้มีจิตสาธารณะ ที่สำคัญการบริการวิชาการแก่สังคมนั้นจะต้องสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสังคมได้ และที่เหนือไปกว่านั้นการบริการวิชาการแก่สังคมควรจะให้ความสำคัญกับสังคม หรือชุมชนที่เป็นประเด็นปัญหาหรือชุมชนที่มีความเดือดร้อน มากกว่าชุมชนหรือสังคมทั่วไป หากสถาบันอุดมศึกษาเล็งเห็นความสำคัญตามสิ่งที่กล่าวมาบ้าง สถาบันอุดมศึกษาก็จะสามารถเป็นผู้กระทำการที่สอดคล้องกับเจตนาที่ดีของตนได้ ซึ่งมีผลให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยอย่างมีคุณค่า มากกว่าที่เป็นอยู่..

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=387269

รวมเทคนิคการใช้งานเฟสบุ๊ค | Facebook Tips : มหาวิทยาลัยออนไลน์


http://facebook.maahalai.com/facebooks/

เทคนิคในการช่วยความจำ

ความหมายของ "ความจำ" เป็นคำที่ใช้อธิบายวิธีการที่ข้อมูล หรือสิ่งที่เรียนรู้ถูกบันทึก และเก็บไว้ถาวรในความจำระยะยาวและสามารถที่จะค้นคืนหรือเรียกมาใช้ (Retrieve) ในเวลาที่ต้องการได้ ความรู้ที่นักเรียนเรียนรู้แล้วแต่จำไม่ได้ก็จะไม่มีประโยชน์ นักเรียนส่วนมากจะไม่มีวิธีการเรียนและวิธีจดจำที่มีประสิทธิภาพ วิธีทั่วๆไป
ที่นักเรียนใช้อยู่เสมอ เช่น การอ่านทบทวนการสรุปและการขีดเส้นใต้ใจความสำคัญนั้น ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยความจำ ความจริงแล้วมนุษย์เราได้ค้นพบวิธีช่วยความจำ (Memonic Device) ที่ได้ผลดีมากมานานนับเป็นพันๆ ปีแล้ว เยสท์ ลูเรีย ฮันท์ และเลิฟ (Yates, 1966 Luria, 1968 Hunt and Love, 1972) พบว่า การสอนเทคนิคในการช่วยความจำให้แก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้ในความทรงจำได้นาน ๆ
เทคนิคช่วยความจำที่ใช้กันอยู่มีทั้งหมด 6 วิธี คือ
(1) การสร้างเสียงสัมผัส
(2) การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ
(3) การสร้างประโยคที่มีความหมายจากอักษรตัวแรกของกลุ่มของที่จะจำ
(4) วิธี Pegword
(5) วิธีโลไซ (Loce)
(6) วิธี Keyword ซึ่งเป็นวิธีที่ใหม่ที่สุด
1. การสร้างเสียงสัมผัส เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมาก และสิ่งที่จดจำจะอยู่ในความทรงจำเป็นเวลานาน บทเรียนภาษาไทยมีผู้คิดแต่งกลอนที่มีสัมผัสและมีความหมายเพื่อให้จำได้ง่าย เช่น การจำการันใช้ไม้ม้วนและคำที่ขึ้นต้นด้วย " บัน "
  
2. การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ การสร้างคำเพื่อช่วยความจำวิธีนี้ทำได้โดยการนำอักษรตัวแรกของแต่ละคำที่จะต้องการจำมาเน้นคำใหม่ที่มีความหมาย เช่น การจำชื่อทะเลสาปที่ใหญ่ทั้งห้าของอเมริกาเหนือสร้างคำว่า Homes ซึ่งหมายถึงทะเลสาป Huron, Ontario, Michigan, Eric, Superior ตามลำดับการท่องจำทิศทั้ง 8 ก็มีผู้คิดว่า ควรจะท่องจำ "อุ-อิ-บุ-อา-ทัก-หอ-ประ-พา" เริ่มจากทิศเหนือแล้ววนขวาตามลำดับ
 
 
3. การสร้างประโยคที่ความหมายช่วยความจำ (Acrostic) ตัวอย่างการใช้ประโยคที่มีความหมายสร้างจากอักษรตัวแรกของการจำชื่อ 9 จังหวัดที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยว่า "ชิดชัยมิลังเลเพียงพบอนงค์" ซึ่งศาสตราจารย์สมุน อมรวิวัฒน์ ได้คิดขึ้น ถ้าถอดคำออกมาจะเป็นชื่อจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปางแพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ น่าน
 
 4. วิธี Pegword เป็นวิธีที่มีประโยชน์สำหรับการท่องจำรายชื่อ สิ่งของหลาย ๆ อย่างที่จะต้องมีลำดับ 1, 2, 3…การใช้จำเป็นจะต้องสร้าง Pegs ขึ้น และท่องจำปกติ มักจะใช้ตัวเลขมีความสัมผัสกับสิ่งของให้มีเสียงสัมผัส(Rhyme)การใช้ก็ต้องใช้จินตนาการช่วยในการจำ การไปซื้อของหลายอย่างอาจจะใช้วิธี Pegword ตัวอย่างเช่น ต้องซื้อของ 7-8 อย่าง อย่างที่หนึ่ง คือ สี อย่างที่สอง คือ ดอกกุหลาบ ฯลฯ ก็อาจจะใช้จิตนาการว่า Bun ลอยอยู่บนป๋องสี เป็นอย่างที่ 1 และดอกกุหลาบโผล่ออกมาที่รองเท้า ประโยชน์ของวิธี Pegword ช่วยความจำ เป็นการช่วยให้ระลึกให้ง่าย และอาจจะระลึกได้ง่ายทั้งลำดับปกติ คือจากหน้าไปหลัง (Foreard) หรือย้อนจากหลังไปหน้า (Backwards)
  
5.วิธีโลไซ (Loci Method) วิธีโลไซนับว่าเป็นวิธีช่วยความจำที่เก่าแก่ที่สุด คำว่า "Loci" แปลว่า ตำแหน่ง แหล่งที่มาของวิธีโลไซไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีเรื่องนิยายเกี่ยวกับวิธีช่วยความจำโลไซที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีวิธีโลไซเน้นหลักการจำโดยการสร้างมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องการจะจำ โดยใช้สถานที่และตำแหน่งเป็นสิ่งเตือนความจำ (Memory Pegs) เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อราว 450 ปี ก่อนคริสตกาล
วิธีช่วยความจำ โลไซมักจะใช้ช่วยความจำเกี่ยวกับสถานที่ เช่น ห้องต่าง ๆ ในบ้าน อาคารต่าง ๆ ของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หรือร้านค้าต่าง ๆ บนถนนก็ได้ กฎเกณฑ์พื้นฐานของวิธีช่วยความจำโลไซมีดังต่อไปนี้
1.สถานที่หรือตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะเลือกใช้ควรจะอยู่ใกล้กัน
2.จำนวนสถานที่หรือตำแหน่งที่จะใช้ควรจะเป็นจำนวนไม่เกิน 10 แห่ง
3.ควรกำหนดหมายเลขให้แต่ละสถานที่ตามลำดับตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงสถานที่สุดท้าย และควรจะสามารถระลึกได้ทั้งหน้าไปหลังและหลังไปหน้า
4.สถานที่ใช้ควรจะเป็นที่ ๆ คุ้นเคย และผู้ใช้สามารถจะนึกภาพได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นสถานที่ ๆ จะใช้ควรจะมาจากประสบการณ์
5.สถานที่จะใช้เป็นเครื่องช่วยความจำโลไซ ควรจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นชัด ผู้ใช้ควร
จะเน้นสิ่งเด่นของแต่ละสถานที่
6.ผู้ใช้จะต้องสามารถที่จะสร้างจินตนาการภาพของลักษณะเดิมของแต่ละสถานที่ได้ เป็นต้นว่าเครื่องแต่งห้องมีลักษณะพิเศษอะไรบ้าง
ในการปฏิบัติ ผู้ที่ประสงค์จะใช้วิธีช่วยความจำโลไซจะต้องนำมาเป็นสิ่งแรกคือ เลือกหาสถานที่ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบตามธรรมชาติ เช่น บ้าน สิ่งแรกคือห้องรับแขก ห้องอาหาร ห้องครัว เป็นต้น หลังจากนั้นก็นำสิ่งที่คนอยากจะจดจำ อาจจะเป็นสิ่งของเหตุการณ์หรือความคิดก็ได้ พยายามเชื่อมโยงสิ่งที่จะจำกับสถานที่หรือสิ่งของที่ได้ให้หมายเลขไว้ และเมื่อจะระลึกถึงสิ่งที่ต้องการจำก็เริ่มจากหมายเลข 1 เป็นต้นไป
Kla : วิธีนี้เป็นวิธี นักจำแชมป์โลก ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่นะครับ   ยกตัวอย่างในการแข่งขัน จดจำตัวเลข โดยจะสุ่มขึ้นมาเช่น  1 3 2 3 5 5  โดยให้เวลาจำทั้งหมด 1 ชั่วโมง และให้เวลาเรียนตัวเลข 2 ชั่วโมง   DR-Gunther จดจำตัวเลขได้ 1949 ตัว โดยสามารถทวนตัวเลขได้อย่างสมบูรณ์แบบ  แถมยังเป็น แชมป์อีก 8 สมัย
  
6.วิธี Keyword วิธีช่วยความจำที่เรียกว่า Keyword เป็นวิธีใหม่ที่สุด มีผู้เริ่มใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2518 แอตคินสัน
หรือผู้ร่วมงาน ขั้นตอนของวิธี Keyword มีเพียง 2 ขั้น คือ
1.พยายามแยกคำภาษาต่างประเทศที่จะเรียน ซึ่งเวลาออกเสียงแล้วคล้ายภาษาไทย นี้คือ Keyword 2.นึกถึงความหมายของคำ Keyword ในภาษาไทยแล้ว แล้วมาหาคำสัมผัสของความหมายของ Keyword ในภาษาไทยตามเสียงที่อ่านและความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่จะเรียน
สรุปแม้วิธีช่วยความจำแบบ Keyword ใช้การเรียนคำในภาษาต่างประเทศเป็นการเชื่อมโยงกับความหมายของ
คำกับ Keyword โดยเสียง และเชื่อมโยงกับความหมายของคำในภาษาไทยได้โดยการใช้จินตนาการ ตัวอย่างเช่น คำภาษาอังกฤษ Potato แปลว่า มันฝรั่ง อ่านว่า โพเทโท คำ Keyword ใช้คำว่าโพหรือโพธิ์ ฉะนั้นอาจจะจำคำ
"โพเทโท" โดยนึกวาดภาพคำว่า โพธิ์ และมันฝรั่งตามตา มีใบโพธิ์โผล่ขึ้นมาวิธี Keyword ช่วยในการเรียนเรื่องอื่น ๆ เช่น การจำชื่อเมืองหลวงต่าง ๆ และความสำเร็จของบุคคลต่าง ๆ นักจิตวิทยาได้ทดลองวิจัยเกี่ยวกับการใช้วิธี Keyword ช่วยความจำทั้งในโรงเรียนประถม มัธยม และมหาวิทยาลัยปรากฏว่าได้ผลดีทุกระดับ
 
สรุปแล้ว เครื่องช่วยความจำ (Memonic Devices) ช่วยให้ผู้เขียนสามารถที่จะเข้ารหัส สิ่งที่เรียนเก็บไว้ในความจำระยะยาว และเวลาที่ต้องการใช้ก็สามารถค้นคืนหรือเรียกมาใช้ได้ง่าย ฉะนั้นการสอนนักเรียนให้ใช้เครื่องช่วยจำจึงมีประโยชน์ เพราะจะได้แก้ความเข้าใจผิดที่ว่า คนจำเก่งเป็นคนที่มีระดับสติปัญญาสูง ถ้านักเรียนได้ทดลองใช้วิธีช่วยความจำในการเรียนขึ้นและสนุกในการที่จะค้นคืนวิธีที่จดจำสิ่งที่เรียกได้ดี เวลาสอบก็จะทำคะแนนได้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยทั่วไปแล้ว ไม่แต่เพียงว่าให้นักเรียนสามารถที่จะระลึกถึงสิ่งที่เรียนรู้แล้วเท่านั้นแต่จะต้องให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์และรวบรวมสิ่งที่เรียนให้เป็นหมวดหมู่ และสามารถที่จะประเมินสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วย การสอนวิธีช่วยความจำ เพื่อช่วยให้นักเรียนระลึกถึงสิ่งที่เรียนรู้ได้เท่านั้น จึงยังไม่พอ นักจิตวิทยาได้ค้นหาวิธีที่จะช่วยนักเรียนจดจำได้นาน ๆ โดยใช้วิธีที่เรียกว่า TACE (Topic, Area,Characteristic และ Example) และ วิธี Loci ผสมกัน
2.ยุทธศาสตร์การเรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบ วิธีเรียนรู้ที่ช่วยความจำด้วยวิธีนี้ ประกอบ ด้วย 2 ส่วน
1. การใช้สมาธิ (Concentration Management) นักเรียนและนักศึกษาได้รับการ สอนให้ใช้สมาธิฝึกตัวเองให้ผ่อนคลายความเครียด (Relax) และลดความกังวล (Anxiety) นอกจากนี้ยังสอนให้มีเป้าหมายเป็นความหวังว่าจะมีความสำเร็จ
2. แผ่นภาพเครือข่าย (Networking หรือ Mapping) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนนักเรียนให้สามารถที่จะได้ความคิดรวบยอดและหลักการจากสิ่งที่ตนอ่าน และสามารถจะหาความสัมพันธ์และเชื่อมโยงได้ ความสัมพันธ์อาจจะเรียงจากลำดับขั้นสูงไปหาต่ำ ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องแร่ อาจจะเขียนเป็นเครือข่ายแดนเชอโรและคณะ (Dansereau et al, 1979) ได้ทำการทดลองใช้วิธีดังกล่าวกับนิสิตมหาวิทยาลัยโดยใช้เวลาฝึกหัดการใช้สมาธิและการสร้างเครือข่าย ปรากฎว่านิสิตที่อยู่ในกลุ่มทดลองสามารถทำคะแนนได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกหัดระบบยุทธศาสตร์การเรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบ
สรุป ทฤษฎีวิธีช่วยความจำมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ และถ้าสอนให้นักเรียนหรือนักศึกษาสามารถที่จะใช้วิธีช่วยความจำ เพื่อที่จะแน่ใจว่าสิ่งที่สอนให้นักเรียนหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ให้นักเรียนได้รับการเข้ารหัสบันทึกในความจำระยะยาว และสามารถที่จะเรียกมาใช้ได้ตามความต้องการทุกเวลา

ที่มา : http://www.unigang.com/Article/3752