วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

การบริการวิชาการแก่สังคมกับการเพิ่มคุณค่าให้สถาบันอุดมศึกษาไทย

   เมื่อ เอ่ยถึงการบริการวิชาการแก่สังคม ผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาคงรู้จักเป็นอย่างดี เพราะการบริการวิชาการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ระบุอยู่ภายใต้กฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ข้อที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยพิจารณาจากระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชาและสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาโดยคำนึงถึงองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 9 องค์ ประกอบ โดยมีการบริการวิชาการแก่สังคม เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ดังนั้น การบริการวิชาการแก่สังคมจึงเป็นหน้าที่จำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องทำ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามกฎหมายนั้น
อย่าง ไรก็ตามนอกจากระเบียบของกฎกระทรวงฯดังกล่าวแล้ว การบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษา ยังมีเงื่อนไขอื่นๆที่ผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาให้บริการวิชาการแก่ สังคมอยู่ด้วย เป็นต้นว่า ความจำเป็นเชิงวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการวิจัยที่จะต้องใช้สังคมหรือชุมชนเป็นเครื่อง มือหรือหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการในแต่ละด้าน
บุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษาเองที่มีจิตสาธารณะหรือมีความสมัครใจในการเสียสละความรู้ ประสบการณ์ เวลา รวมทั้งสิ่งต่างๆที่พอเสียสละได้ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งในการบริการวิชาการแก่สังคมด้วยเช่นกัน
นอก จากนี้สถาบันอุดมศึกษาเองยังมีแนวนโยบายให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมต่างๆกับสังคม ที่เห็นได้ชัดเจนคือกิจกรรมการออกค่ายในรูปแบบต่างๆ เป็นต้นว่า ค่ายอาสาพัฒนา       ค่าย เยาวชน ค่ายวิชาการ ค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมที่กล่าวมานี้ได้กลายเป็นเวทีให้นักศึกษาได้เรียนรู้นอกตำราหรือ นอกห้องสี่เหลี่ยม อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย
จะ เห็นได้ว่าภาพของการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษาที่ปรากฏให้ เห็นในข้างต้นนั้นเป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนาที่ดีของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีต่อสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ควร      ยกย่อง แต่คำถามก็คือว่าเจตนาที่ดีดังกล่าวสถาบันอุดมศึกษาสามารถเป็นผู้กระทำการที่สอดคล้องกับเจตนาที่ดีนั้นหรือไม่? สำหรับ ผู้เขียนขอตอบว่าไม่ทั้งหมด เพราะเจตนาที่ดีนั้นเปรียบเสมือนอุดมการณ์ซึ่งมีไม่บ่อยครั้งนักที่จะสอด คล้องกับโลกของความเป็นจริง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาความ เดือดร้อนของสังคมที่เกิดขึ้นจริงได้เลย หรือหากมีก็น้อยมาก ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า สถาบันอุดมศึกษามุ่งที่จะสร้างแผนและกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์มากเกินไป ทั้งที่เป็น พ.ร.บ.การศึกษา กฎกระทรวง รวมทั้งระเบียบของสถาบันอุดมศึกษาเอง ซึ่งกฎเกณฑ์ดังกล่าวคาดหวังผลการดำเนินงานเพื่อความสอดคล้องกับกฎเกณฑ์นั้นๆ จึงทำให้ผลการดำเนินงานถูกบีบคั้นให้ออกมาในรูปของเอกสารรายงานเชิงวิชาการ ในมุมหนึ่งอาจจะเป็นผลดีในเชิงระบบเพื่อการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่อีกมุมหนึ่งนั้นแรงบีบคั้นดังกล่าวอาจทำให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาจะ ต้องคิดหนักในการจัดทำเอกสารรายงาน จนบางครั้งที่เอกสารรายงานไม่ได้เป็นผลมาจากการปฏิบัติงานจริงที่เกิดขึ้น แต่เกิดจากการจัดทำขึ้นเองโดยไม่มีมูลความจริงหรืออย่างที่เรียกๆว่า นั่งเทียนเขียน และบ่อยครั้งที่ไปคัดลอกจากแหล่งอื่นๆ แล้วมาดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้เป็นเอกสารรายงานของหน่อยงานตนเอง
และปัจจุบันจะพบว่าสถาบันอุดมศึกษามุ่งผลิตบัณฑิตที่อยู่ในกรอบของหลักสูตรเฉพาะด้าน    เชิง วิชาชีพมากเกินไป จนทำให้นักศึกษาถูกจำกัดการเรียนรู้ให้อยู่ในกรอบของหลักสูตรเอง อีกทั้งยังอยู่ในกรอบมหาวิทยาลัยหรือในห้องเรียนเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับสังคมอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของวิธีการเรียนการสอนอย่างบูรณาการร่วมกับชุมชน หรือสังคมอย่างถูกต้องเหมาะสมที่ให้ชุมชนเป็นฝ่ายถูกกระทำหรือเป็นผู้ถูกชี้ นิ้วให้ทำ ที่สำคัญหลักสูตรหรือรายวิชาด้านสังคมนั้นสถาบันอุดมศึกษายังให้ความสำคัญ ไม่มากนักและมีแนวโน้มว่าจะลดน้อยลงเรื่อยๆ เพราะไม่สามารถสร้างให้บัณฑิตมีความสามารถเฉพาะด้านในเชิงวิชาชีพสอดคล้อง กับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของประเทศได้ ทำให้ผู้เรียนมีจำนวนน้อยลง และเมื่อเป็นเช่นนี้สถาบันอุดมศึกษาเองโดยเฉพาะภาคเอกชน (รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหลายแห่ง)ให้ความสำคัญทางด้านสังคมน้อยมาก เพราะไม่สามารถเก็บเงินค่าเล่ากับนักศึกษาได้เป็นจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบ กับหลักสูตรเฉพาะด้านเชิงวิชาชีพ เช่น หลักสูตรบริหารธุรกิจ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้สถาบันอุดมศึกษาจึงขาดทั้งความรู้และทักษะการทำงานด้าน สังคม รวมทั้งขาดความจริงจังที่จะบริการวิชาการแก่สังคมอย่างจริงใจได้
ปัญหา ประการสำคัญอีกประการหนึ่งของการบริการวิชาการแก่สังคมคือ ปัญหาเรื่องการตีความการบริการวิชาการแก่สังคมยังคับแคบเกินไป กล่าวคือ
  การตีความ การบริการวิชาการ โดยมองว่า "การบริการวิชาการแก่สังคม"เกี่ยวข้องกับ หน่วยให้บริการ และ หน่วยรับบริการ โดยหน่วยให้บริการนั้น คือสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น  มหาวิทยาลัย วิทยาลัย เป็นต้น ส่วนหน่วยรับบริการนั้น คือ ภาคสังคมหรือชุมชนต่างๆที่อยู่ภายนอกสถาบันอุดมศึกษานั้น เมื่อตีความเช่นนี้สถาบันอุดมศึกษาได้กลายเป็นศูนย์กลางทางวิชาการ ที่มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้ต่างๆแก่สังคมภายนอก ส่วนสังคมภายนอกเองก็มีหน้าที่รับทั้งๆที่ไม่อยากจะรับ หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีใครเอาอะไรมาให้ ประมาณว่าครูบาอาจารย์เขามาขอความร่วมมือ หรือมีอะไรมาให้ก็รับๆไป ก็เท่านั้น ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อเราตีความการบริการวิชาการแก่สังคมเช่นนี้ทำให้สถาบันอุดมศึกษาอยู่ในภาวะ ลอยตัวอยู่เหนือสังคมหมาย ความว่า สถาบันอุดมศึกษามักจะมองว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งความรู้ทางวิชาการที่มี ศักยภาพสูงกว่าสังคม แต่กลับมองข้ามว่าสังคมหรือชุมชนเองก็เป็นศักยภาพได้เช่นกันแต่อาจจะไม่ใช่ ศักยภาพชนิดเดียวกัน สถาบันอุดมศึกษาอาจจะมีความศักยภาพในแง่ของเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่ทัน สมัย แต่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีการแก้ปัญหาในโลก ความเป็นจริงของสังคมก็ได้  ดัง นั้นทั้งในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยของสังคมเองจะต้องสร้างกระบวนการ เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเติมเต็มความรู้กันและกัน ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาเองควรให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรการ ศึกษา และมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน เช่น ให้ปราชญ์ชาวบ้านมีโอกาสได้ให้ความรู้แก่นักศึกษาในด้านต่างๆ เป็นต้น ในส่วนของภาคสังคมเองเมื่อมีประเด็นปัญหาต่างๆเกิดขึ้น ก็ควรกล้าที่จะไปขอคำแนะนำข้อความรู้กับสถาบันอุดมศึกษาเช่นกัน และที่สำคัญทั้งสถาบันอุดมศึกษาและภาคสังคมควรมีการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วม กันอย่างที่เรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยที่เปิดโอกาสให้ทั้งนักวิชาการและชาวบ้านมีโอกาสหัน หน้าเข้าหากันเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆในการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ข. การตีความ สังคม
คน เรามักจะเข้าใจด้วยสามัญสำนึกว่า สังคมเป็นสิ่งที่ติดยึดอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เมื่อเอ่ยถึงสังคม เรามักจะนึกถึงภาพของการตั้งอยู่ของบ้านเรือน และผู้คนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ที่คิดง่ายๆที่สุดคือการมองภาพสังคมที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานศึกษา เมื่อความเข้าใจของสังคมเป็นเช่นนี้ทำให้เราเข้าใจ     ว่าสังคมเป็นสิ่งที่ยึดอยู่กับพื้นที่ มีความหยุดนิ่ง และมีความเป็นทั่วไป ทำให้รูปแบบการบริการวิชาการที่นำเข้าสู่ชุมชนเป็นการ ให้ที่สำเร็จรูปโดย สถาบันอุดมศึกษาเพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆที่ชุมชนนั้นๆอาจไม่มีปัญหาหรือไม่ต้องการความช่วยเหลือก็ได้ เพื่อให้การบริการวิชาการแก่สังคมที่ถูกจุด อย่างที่เรียกว่า     เกาให้ถูกที่คัน เราควรเพ่งสู่เปลี่ยนมาสู่การตีความชุมชนในเชิงรุกที่เรียกว่า ชุมชนประเด็นปัญหากล่าว คือ เป็นสังคมที่ไม่ได้ยึดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หรือลักษณะทางกายภาพเป็นหลักใน การบริการวิชาการ แต่เป็นสังคมที่ยึดประเด็นปัญหาเป็นหลักในการบริการวิชาการ เช่น ชุมชนแออัด ที่มีปัญหาในเรื่องของ   ที่อยู่ อาศัย สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด เป็นต้น ชุมชนผู้ด้อยโอกาส ที่มีปัญหาการเข้าถึงโอกาสในสังคมและถูกดูแคลนจากสังคม เช่น ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน คนพิการ ขอทาน ผู้ติดเชื้อเอดส์  เป็น ต้น ชุมชนที่มีปัญหาความขัดแย้งเรื่องทรัพยากร ชุมชนภายหลังการเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น ชุมชนหลังเหตุการณ์สึนามิ เป็นต้น ซึ่งสังคมเหล่านี้เป็นสังคมที่เป็นประเด็นปัญหาได้รับความเดือดร้อน สถาบันอุดมศึกษาในฐานะที่เป็นแหล่งวิชาการนั้น ควรให้ความสำคัญกับชุมชนดังกล่าวให้มากขึ้น เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ท้าท้ายต่อศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
อาจกล่าว ได้ว่าการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษาไม่ใช่เพียงแค่การสักแต่ ว่าทำเพราะเป็นหน้าที่ ไม่ใช่แค่เพียงทำเพื่อประโยชน์ทางวิชาการในการขอตำแหน่งทางวิชาการ หรือทำเพราะมีใจรักเพียงเท่านั้น แต่การบริการวิชาการแก่สังคมจะต้อง คำนึงถึงหลายอย่างทั้งในส่วนของการใช้สติปัญญาของผู้ให้บริการวิชาการขบคิด อย่างลึกซึ้ง การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาทีหล่อหลอมนิสิตนักศึกษาให้มีจิตสาธารณะ ที่สำคัญการบริการวิชาการแก่สังคมนั้นจะต้องสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสังคมได้ และที่เหนือไปกว่านั้นการบริการวิชาการแก่สังคมควรจะให้ความสำคัญกับสังคม หรือชุมชนที่เป็นประเด็นปัญหาหรือชุมชนที่มีความเดือดร้อน มากกว่าชุมชนหรือสังคมทั่วไป หากสถาบันอุดมศึกษาเล็งเห็นความสำคัญตามสิ่งที่กล่าวมาบ้าง สถาบันอุดมศึกษาก็จะสามารถเป็นผู้กระทำการที่สอดคล้องกับเจตนาที่ดีของตนได้ ซึ่งมีผลให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถดำรงอยู่คู่กับสังคมไทยอย่างมีคุณค่า มากกว่าที่เป็นอยู่..

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=387269

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น