ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
และรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการดำเนินงานขององค์กร คน
และองค์กรต้องมีการปรับต่อ และปรับปรุงการดำเนินงาน
เพื่อความอยู่รอด แต่องค์กรส่วนใหญ่ยังขาดการเชื่อมโยงกันภายในองค์กร
ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กรได้ อาจารย์ศุภชัย เมืองรักษ์
ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จึงได้แนะนำแนวทาง
กรอบการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ (Business Excellence Framework)
เพื่อให้สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของแต่ละองค์กรได้
แนวทางสู่ความยั่งยืน
การนำแนวทาง Business Excellence Framework มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ
เป็นการจัดการกระบวนการขององค์กรเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงต่อเนื่อง สามารถส่งต่อข้อมูลภายในองค์กรเป็นสายโซ่แห่งการจัดการ มีเป้าหมายที่สอดคล้องตรงกันทั้งองค์กร แนวทางนี้จะเน้นเรื่องของการ จัดกระบวนการให้มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ Core Process, Support Process และ Management Process ถ้าทุกกระบวนการในองค์กรมีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดีก็จะช่วยให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานแบบ “บูรณาการ”
การเชื่อมโยงของกระบวนการ
องค์กรมีลักษณะเป็นองค์รวม ทำงานร่วมกัน และเชื่อมโยงกัน หลักการทำงานขององค์กร คือ ทำงานเพื่อคนอื่น เห็นความสำคัญของคนอื่น แล้วคนอื่นจะทำงานเพื่อเรา เป็นการทำงานที่เชื่อมโยง เพื่อสนองประโยชน์คนถัดไป ไม่ใช่ทำงานเพื่อตนเอง นี่เป็นที่มาของ SIPOC Model ซึ่งเป็น Model ที่ใช้ ในการกำหนด และวางแผนกระบวนการการทำงานได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องจัดการ ก่อนคือ I , P และ O ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจากภายในองค์กร ส่วน S กับ C เป็นปัจจัยภายนอกองค์กร
หลังจากปรับปรุงกระบวนการทำงานตามแนวทางของ SIPOC Model แล้ว ก็ต้องมีการประเมินตนเอง
ด้วยเครื่องมือ ADLI , LeTCI เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมินมาพัฒนาองค์กรต่อไป ก่อให้เกิดการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่องตามวงจร PDCA
สิ่งที่สำคัญคือ การออกแบบโครงสร้างองค์กรให้มีความสัมพันธ์กันทั่วทั้งองค์กร ผู้บริหารต้องเข้าใจระบบงานและระบบคน ซึ่งมีความสำคัญเท่า ๆ กัน เหมือน “ หยินหยาง ” ดังนั้น ไม่ว่าองค์กร จะอยู่ในรูปแบบใดก็ต้องจัดการระบบงานกับระบบคนให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน และเติบโตอย่างยั่งยืน
แนวทางสู่ความยั่งยืน
การนำแนวทาง Business Excellence Framework มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ
เป็นการจัดการกระบวนการขององค์กรเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงต่อเนื่อง สามารถส่งต่อข้อมูลภายในองค์กรเป็นสายโซ่แห่งการจัดการ มีเป้าหมายที่สอดคล้องตรงกันทั้งองค์กร แนวทางนี้จะเน้นเรื่องของการ จัดกระบวนการให้มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ Core Process, Support Process และ Management Process ถ้าทุกกระบวนการในองค์กรมีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดีก็จะช่วยให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานแบบ “บูรณาการ”
การเชื่อมโยงของกระบวนการ
องค์กรมีลักษณะเป็นองค์รวม ทำงานร่วมกัน และเชื่อมโยงกัน หลักการทำงานขององค์กร คือ ทำงานเพื่อคนอื่น เห็นความสำคัญของคนอื่น แล้วคนอื่นจะทำงานเพื่อเรา เป็นการทำงานที่เชื่อมโยง เพื่อสนองประโยชน์คนถัดไป ไม่ใช่ทำงานเพื่อตนเอง นี่เป็นที่มาของ SIPOC Model ซึ่งเป็น Model ที่ใช้ ในการกำหนด และวางแผนกระบวนการการทำงานได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องจัดการ ก่อนคือ I , P และ O ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจากภายในองค์กร ส่วน S กับ C เป็นปัจจัยภายนอกองค์กร
หลังจากปรับปรุงกระบวนการทำงานตามแนวทางของ SIPOC Model แล้ว ก็ต้องมีการประเมินตนเอง
ด้วยเครื่องมือ ADLI , LeTCI เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมินมาพัฒนาองค์กรต่อไป ก่อให้เกิดการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่องตามวงจร PDCA
สิ่งที่สำคัญคือ การออกแบบโครงสร้างองค์กรให้มีความสัมพันธ์กันทั่วทั้งองค์กร ผู้บริหารต้องเข้าใจระบบงานและระบบคน ซึ่งมีความสำคัญเท่า ๆ กัน เหมือน “ หยินหยาง ” ดังนั้น ไม่ว่าองค์กร จะอยู่ในรูปแบบใดก็ต้องจัดการระบบงานกับระบบคนให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน และเติบโตอย่างยั่งยืน
จากการบรรยายหัวข้อ Enterprise Process Management การจัดการกระบวนการ
เพื่อเชื่อมโยง และมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน โดย อาจารย์ศุภชัย
เมืองรักษ์ Productivity Talk วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2556
ที่มา : ยุธิชล ศรีตัญญู. การจัดการกระบวนการเพื่อเชื่อมโยงและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน. 14, 158 (พฤษภาคม 2556) http://www.skh.moph.go.th/index.php?option=com_fireboard&Itemid=63&func=view&id=247&catid=3 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น