วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โมเดล "ศิลปกรรมบำบัด" พัฒนาการศึกษาเพื่อเด็กพิการ




ในอดีตการศึกษาค้นคว้าวิธีการสื่อสารเพื่อสร้างหลักสูตรการ ศึกษาด้านพัฒนาการ และเสริมสร้างสมรรถนะในเด็กพิการหรือเด็กที่บกพร่องทางด้านร่างกายและสติ ปัญญาค่อนข้างมีข้อจำกัดบางประการ ไม่ว่าจะเป็นบทเรียน หรือแม้กระทั่งกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน ประกอบกับการกำหนดสื่อกลางการเรียนการสอนสำหรับเชื่อมโยงการสื่อสารและความ เข้าใจระหว่างผู้สอนกับผู้รับยังมีความเหลื่อมล้ำมากเกินไป

เหตุ นี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาในด้านการนำสื่อกลางมาเพื่อบำบัดเด็กพิการของ "ผศ.ดร.เลิศศิริร์ บวรกิตติ" อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยได้ค้นพบว่าศิลปกรรมเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการบำบัดเด็กพิการได้อย่าง มีประสิทธิภาพ



เบื้อง ต้น "ผศ.ดร.เลิศศิริร์" เล่าถึงที่มาของการศึกษาในเรื่องนี้ว่าเกิดจากความสนใจส่วนตัวที่ต้องการ สร้างจุดเด่นในสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิการ โดยเน้นการกระตุ้น การพัฒนา และการบำบัด ซึ่งสอดคล้องต่อความต้องการของเด็กกลุ่มพิเศษในประเทศไทย

"ถึงวันนี้ ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีต่อการสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกในที่สาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล และโรงแรมกับคนพิการมากขึ้นกว่าในอดีตผ่านมา นั่นเป็นสัญญาณดีที่บอกว่าแม้จำนวนของผู้พิการและเด็กพิเศษจะไม่มีอัตรา เพิ่มขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ได้เป็นการกำหนดการส่งมอบความสะดวกสบายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ ลดลง ตรงกันข้ามกลับยิ่งเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ในสังคม"

โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกแก่เด็กพิการใน โรงเรียนที่ยิ่งต้องได้รับความปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงการกำหนดสื่อการเรียนการสอนก็ยิ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้แก่เด็ก กลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ ดังนั้น ตนจึงมีแนวคิดต่อการศึกษาครั้งนี้ว่าศิลปะจะเป็นเครื่องมือเฉพาะที่ช่วยสื่อ สารระหว่างครูผู้สอน กับเด็กพิการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากศิลปะจะถูกหยิบยกไปใช้บ่อยครั้งขึ้น เพราะถือเป็นสื่อกลางการเรียนการสอนที่เข้าใจง่ายและผ่อนคลายในเวลาเดียวกัน

"มี แนวปฏิบัติเป็นจิตบำบัดทางเลือก หรือการบำบัดเสริมสำหรับผู้พิการ ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และคนทั่วไปที่ต้องการค้นหาตัวเอง หรือเพิ่มเสริมพลังทางจิตใจ ซึ่งกลไกในการบำบัดมีหลากหลายรูปแบบที่ไม่มีกระบวนการ หรือรูปแบบที่ตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับความต้องการ ขีดความสามารถ และวัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ"

สำหรับ กระบวนการบำบัดในเด็กพิการ "ผศ.ดร.เลิศศิริร์" บอกว่า ต้องขึ้นอยู่กับการที่ผู้รับได้สื่อสารส่งถ่ายกับนักบำบัด โดยการแสดงออกเชิงภาษาสัญลักษณ์ผ่านงานศิลปะที่สร้างสรรค์ เพื่อสะท้อนความนึกถึง และสิ่งเร้าต่อสิ่งนั้น ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนเชิงวิชาการได้เบื้องต้น 4 ด้าน ประกอบด้วย

หนึ่ง ศิลปะการเรียนภาษา การกำหนดรูปแบบศิลปกรรมเชิงภาษาจะช่วยเปิดเผยความในใจของบุคคลที่ไม่สามารถ หรือไม่ต้องการแสดงออกทางวาจา ศิลปกรรมภาษาจึงมีบทบาทเกี่ยวกับทัศนศิลป์ที่แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น ภาพ คำ โดยให้ผู้เรียนได้สะกดและเขียนคำศัพท์จากภาพที่กำหนด รวมถึงการนำกวีนิพนธ์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างถ้อยคำได้ โดยใช้การวาดภาพเพื่อสื่อความหมาย


สอง ศิลปะกับคณิตศาสตร์ โดยศิลปะจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ความชำนาญ และความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ผ่านกระบวนการจากการแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสร้างความสัมพันธ์ และการนำเสนอ โดยทักษะเหล่านี้เพียงพอต่อการพัฒนาความเข้าใจในคณิตศาสตร์

สาม ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ เช่น ใช้การคาดการณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์กระบวนการเรียนรู้ในการคาดเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้

สี่ ศิลปะกับสังคมศึกษา โดยเน้นการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมของเด็กพิเศษ ผ่านกิจกรรมศิลปะที่แสดงวิธีการต่าง ๆ เนื่องจากงานศิลปะสามารถแสดงออกในรูปวัตถุที่จับต้องได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยจะเกี่ยวโยงไปถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างงานศิลปะ และการเรียนรู้ทางด้านสังคมด้วยตัวเองไปพร้อม ๆ กัน

การใช้ศิลปะกับการเรียนการสอนทั้ง 4 ด้านนี้ "ผศ.ดร.เลิศศิริร์" บอกว่าจะเป็นอีกมิติทางเลือกหนึ่งของการช่วยบำบัดเด็กพิการในด้านวิชาการแบบ องค์รวม ทั้งทางอารมณ์ จิตใจ ร่างกาย และสติปัญญา เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยสร้างความเข้าใจปมปัญหาภายในจิตใจได้ด้วยตัวเอง จนสามารถปรับจัดอารมณ์ความรู้สึก และสร้างพลังเชิงบวกได้

"กุญแจ สำคัญที่จะทำให้กระบวนการการบำบัดสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจถึงกระบวนการทำงานเชิงวิชาการในงานศิลปะ โดยต้องวางแผนการบำบัดการรักษาให้เหมาะสมกับรายบุคคลหรือประเภทกลุ่มบุคคล ซึ่งต้องอาศัยภาคการประเมินก่อนให้การบำบัด เพื่อคัดผู้ที่เหมาะสำหรับศิลปกรรมบำบัด ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิผลของการบำบัดในระยะยาว"

องค์ ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ตนผนวกรวมกับความรู้ที่ได้จากหนังสือ Art-centered Education and Therapy for Children with Disabilities ร้อยเรียงเป็นหนังสือแปลในชื่อศิลปะศูนย์กลางการศึกษาและการบำบัดเด็กพิการ ซึ่งได้เน้นสหวิทยาการใช้ศิลปะในหลักสูตรการศึกษาด้านการพัฒนาการเรียนและ การเสริมสร้างสมรรถนะ โดยรวบรวมความรู้ความเข้าใจด้านทฤษฎีศิลปะกับประเภทความพิการ เพื่อนำมาปรับใช้ศิลปะในด้านวิชาการ และการพัฒนาทางภาษาให้มีประสิทธิผลเชิงบำบัด

"ผมหวังอย่างยิ่งว่า ศิลปะทุกแขนงจะสามารถเป็นส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพเด็กพิการให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูง สุด ตลอดจนการช่วยขัดเกลาจิตใจให้มีความเข้มแข็ง และมีความสุขต่อการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต"

เพราะสุดท้ายแล้วคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกวิธีหนึ่ง

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414212213

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น