นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)
|
ในที่นี้คำว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” จะประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า “ นวัตกรรม ” และคำว่า “ การศึกษา ”
คำว่า “ นวัตกรรม ” ตาม
ความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่
หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม
แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
ส่วนคำว่า “ การศึกษา ” ตามพระ
ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดย
การถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม
การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม
การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สรุปความแล้ว “ นวัตกรรมการศึกษา ”
หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ หรือการพัฒนา
ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม
วิธีการเดิมหรือสิ่งเดิมที่ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอก
งามของบุคคล และสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
หลักเกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม
นวัต
กรรมเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่หรือพัฒนา ปรับปรุง
เพิ่มเติมจากสิ่งเดิมแล้วนำมาทดลองจนมีประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือ
และนำไปใช้ในสภาพงานที่จริงในที่สุด แต่
เมื่อใช้นวัตกรรมจนเป็นที่แพร่หลายและยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของงานแล้ว ก็จะ
ถือได้ว่านวัตกรรมนั้นได้ปรับเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี
แต่ก็ยังมีความไม่แน่ใจอยู่อีกว่า ถ้าเทคโนโลยีสภาพแวดล้อมหนึ่ง
ซึ่งใช้เป็นที่แพร่หลายแล้ว แต่ในอีกสภาพแวดล้อมหนึ่งยังถือว่าเป็นสิ่งใหม่
เพราะยังไม่เคยนำไปปฏิบัติ
จะถือว่าเป็นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมดังนั้นจึงมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณานวัต
กรรมพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน
2. เป็นแนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิม จากที่อื่น แล้วนำมาใช่กับสภาพการณ์ใหม่
3. เป็นแนวคิดเดิม วิธีเดิม หรือสิ่งเดิม ที่ถูกพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วใช้ในสภาพการณ์เดิม หรือนำไปใช้สภาพการณ์ใหม่
4. เป็น
แนวคิด วิธีการ หรือสิ่งที่ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
ถ้าใช้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันจะไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
แต่เปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี
5. เป็นแนวคิด วิธีการ หรือสิ่งที่อยู่ในระหว่างการวิจัย หรือพิสูจน์ด้วยการวิจัยแล้วว่าช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ถึง
แม้ว่านวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ
และใช้เป็นที่แพร่หลายในสภาพแวดล้อม และสังคมหนึ่งแล้วนั้น
มิได้หมายความว่าจะใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมและสังคมอื่นเสมอ
ไป เนื่องจากในแต่ละสภาพแวดล้อม และสังคมจะมีความแตกต่างกัน เช่น วัฒนธรรม
บุคลากร สถานที่ บรรยากาศ เป็นต้น ดังนั้นในการนำนวัตกรรมจากสภาพแวดล้อม
และสิ่งอื่นมาใช่ก็ควรที่จะต้องทดลองใช้กับสภาพแวดล้อและสังคมใหม่เพื่อ
รับประกันว่าในสภาพแวดล้อม
และสังคมใหม่นี้นวัตกรรมที่นำมาใช้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงกว่า
จริง หรือมีการวิจัยที่ยืนยัน
ว่านวัตกรรมที่นำมาใช้นี้สามารถนำไปใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อม
และสังคมที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือเหมือนกันนี้
ลักษณะของนวัตกรรม
1. นำเอาวิธีเก่าจากที่อื่นมาทดลองใช้
2. ดัดแปลง ปรับปรุงของเก่าให้เหมาะกับสถานการณ์
3. ฟื้นฟูสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อน
4. การคิดสิ่งใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับเทคโนโลยี
นวัตกรรมกับเทคโนโลยี จะเห็นได้ว่าคำสองคำนี้มักจะเขียนควบคู่กันในภาษาอังกฤษบางครั้งจะใช้คำย่อว่า INNOTECH ซึ่งย่อมาจาก Innovation and Technology เนื่อง
จากนวัตกรรมเมื่อนำมาใช้งานและยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน
หรืออยู่ในช่วงการทดลอง พัฒนา ปรับปรุง จะยังเป็นนวัตกรรม
แต่เมื่อไหร่ก็ตามได้นำไปใช้จนเป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน
นวัตกรรมก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีหรืออีกนัยหนึ่งถ้ามองทางด้านเทคโนโลยี
เทคโนโลยีจะเป็นการมุ่งเอาสิ่งต่าง ๆ
รวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ก็น่าจะเป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง
ใน
ทางกลับกันเมื่อเทคโนโลยีได้มีการใช้ไปนาน ๆ ก็จะเป็นแนวคิดเดิม วิธีเดิม
หรือ สิ่งเดิม หรือนำไปใช้ในสภาพการณ์ใหม่ จำเป็นต้องพัฒนา ปรับปรุง
เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แล้วนำไปใช้
เทคโนโลยีก็จะกลายเป็นนวัตกรรม และเมื่อนวัตกรรม ถูกใช้เป็นส่วน
หนึ่งของระบบงานและเป็นที่แพร่หลายก็กลายเป็นเทคโนโลยีหมุนเวียนสลับกันไป
เช่นนี้
นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย
จะ
เห็นได้ว่า
นวัตกรรมนั้นจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการพิจารณาซึ่งนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมหนึ่ง
อาจจะเป็นเทคโนโลยีในอีกสภาพแวดล้อมหนึ่งไปแล้ว อย่างเช่น
การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสหรัฐอเมริกาจะเป็นเทคโนโลยีไปแล้ว
แต่ในประเทศไทยอาจจะเป็นนวัตกรรมอยู่ แต่ถ้ามองให้แคบลงในคณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจจะถือว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นเทคโนโลยีไปแล้ว
ดังนั้นการที่จะกล่าวลงไปว่าอะไรเป็นนวัตกรรมอะไรเป็นเทคโนโลยีก็ขึ้นอยู่
กับว่าจะเอากรอบอะไรมาเป็นตัวจับ กรอบนั้นมีขอบเขตกว้างหรือแคบแค่ไหน
ในที่นี้จะขอใช้กรอบในประเทศไทย
โดยรวมเป็นหลักไม่เฉพาะเจาะจงไปในมหาวิทยาลัยใด หรือกระทรวง กรม กอง
สถาบันการศึกษาเป็นหลัก
โดยจะแบ่งนวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทยออกเป็นหมวดหมู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ นวัตกรรมวิธีการหรือกระบวนการ (Technique of Process) นวัตกรรมที่ประสมวิธีการหรือกระบวนการและการผลผลิต (Process and Product) และคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการศึกษา (Computer-Based Education) ซึ่ง
แยกออกมาจากนวัตกรรมที่ประสมวิธีการหรือกระบวนการ และ ผลผลิต
เนื่องจากเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทมากในปัจจุบันและแนวโน้มคอมพิวเตอร์ก็จะ
เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน
ส่วนนวัตกรรมที่เป็นผลผลิตอย่างเดียวได้นำไปกล่าวไว้ในเทคโนโลยีประเภท
อุปกรณ์แล้ว
คำถาม
|
1. นวัตกรรมทางการศึกษาคืออะไร ? ยกตัวอย่างประกอบ
- นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การ
นำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจใน
การเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น
การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา
1. ศูนย์การเรียน
2. การสอนแบบโปรแกรม
3. บทเรียนสำเร็จรูป
4. ชุดการเรียนการสอน
5. การเรียนการสอนระบบเปิด
6. การสอนเป็นคณะ
7. การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
8. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
9. การเรียนการสอนทางไกล
10. เรียนปนเล่น
11. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI )
12. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
13. แบบฝึกหัดปฏิบัติเฉพาะกิจ
2. อธิบายขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
- กระบวนการของนวัตกรรม
การ
ทำงานใด ๆ ก็ตามถ้ามีการกระทำเป็นปกติวิสัย หรือ
เป็นที่ยอมรับและใช้กันโดยทั่วไปแล้ว ยังไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
แต่นวัตกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้นจะมีกระบวนการของนวัตกรรม
ซึ่งมีนักการศึกษานักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศได้กล่าวไว้
พอสรุปได้แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การประดิษฐ์คิดค้น (Invention) เป็นระยะที่มีการคิดสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ วิธีการใหม่
หรือ
สิ่งใหม่ หรือเป็นการพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม
วิธีการเดิมหรือสิ่งเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพงาน ทันสมัย
ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานให้สูงขึ้น
ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development) เป็นระยะที่นำสิ่งที่คิดขึ้นในระยะที่ 1 มาทำการทดลองใช้
เพื่อ
ที่จะดูว่าสิ่งที่คิดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพจริงและน่าเชื่อถือแค่ไหน
และอาจจะปรับปรุงพัฒาจนกว่าจะมีประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือซึ่งการทดลองบาง
ลักษณะอาจจะอยู่ในรูปโครงการทดลองปฏิบัติก่อน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า
โครงการนำร่อง (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำไปใช้ (Implementation) เป็นระยะที่สืบเนื่องจากระยะที่ 2
เมื่อมีการทดลอง และพัฒนาจนมีประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือ
ก็นำสิ่งใหม่นี้ไปใช้ในสภาพการณ์จริง
ในระบบงานจริงซึ่งไม่เคยปฏิบัติมาก่อนถ้าระบบกระบวนการของนวัตกรรมดำเนินมา
ถึงระยะที่ 3 แล้วจริงจะถือว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
การสร้างและพัฒนานวัตกรรม
ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรม หรือเทคโนโลยี ต่างก็ใช้วิธีระบบ (system approach) ในการพัฒนาซึ่งประกอบไปด้วย ปัจจัย (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) และข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ซึ่งอาจวิเคราะห์ให้เข้ากับบริบทของการจัดการศึกษา ดังนี้
1) การวิเคราะห์ (analyze)
2) การออกแบบ (design)
3) การพัฒนา (develop)
4) การนำไปใช้ (implement)
5) การประเมินผลและปรับปรุง (evaluate and improve)
1. การวิเคราะห์ (analyze)
1.1 วิเคราะห์ความต้องการ โรงเรียนควรวิเคราะห์ความต้องการทั้งจากภายใน เช่น ผู้เรียน บุคลากร และภายนอกโรงเรียน เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน
1.2 วิเคราะห์ผู้เรียน ทั้งด้านวิชาการ บุคลิก เจตคติ สุขภาพ ลักษณะพิเศษ
1.3 วิเคราะห์สภาพการณ์ เป็นการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนทั้งจุดเด่นและด้อย
2. การออกแบบ (design) ซึ่งอาจเป็น software hardware method โดยอาจใช้ศาสตร์ หรือหลาย ๆ อย่าง อาจจะดำเนินการโดยครูหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
3. การพัฒนา (develop) โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งอาจเป็นวิจัยพื้นฐาน (identification research) วิจัยพัฒนา (developmental research) วิจัยทดลอง (experimental research) วิจัยปฏิบัติการ (action research) วิจัยประเมิน (evaluation research) แล้วแต่กรณี
4. นำไปใช้จริง (implement)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น