วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ไทยแลนด์4.0คืออะไรนายกฯอธิบายให้เข้าใจง่าย


นายกฯอธิบายไทยแลนด์4.0คืออะไรเปรียบเหมือนคนไทยกำลังใช้โทรมือถือต้องทำงานน้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น  แนะประชาชนอย่าหยุดพัฒนาตัวเอง.... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/politic/470622

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Productivity แห่งอนาคต

จากรายงาน “การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของไทย พ.ศ. 2553-2583” จัดทำโดย “คณะอนุกรรมการคาดประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583” สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่าประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) มาตั้งแต่ปี 2547และจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในปี 2574
ปัญหาหลักก็คือการขาดแคลนแรงงาน เพราะขณะที่ประชากรสูงอายุมีชีวิตอยู่นานขึ้น แต่อัตราการเกิดกลับลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องโดยในปี พ.ศ. 2553 ประชากรวัยทำงาน 1 คน ต้องเลี้ยงดูเด็ก 0.3 คน และผู้สูงอายุ 0.2 คน แต่ในปี พ.ศ. 2583 อัตราส่วนพึ่งพิงเพิ่มขึ้นเป็นประชากรวัยทำงาน 1 คน ต้องเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 0.6 คนและต้องเลี้ยงดูวัยเด็ก 0.2 คน
ในส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “ชนชราแห่งอนาคต” ที่จัดขึ้นโดยTCDC (Thailand Creative & Design Center หรือ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) แสดงให้เห็นถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยตอบสนองผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

แนวคิดของ Productivity เป็นหลักการสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบ นั่นคือการมุ่งเน้นที่ผลิตภาพในการตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการวิจัย ค้นคว้า ทดลอง ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่ออนาคตก็ล้วนใช้หลักการของ Productivity ทั้งสิ้น นั่นคือการลดปริมาณและเพิ่มคุณภาพ โดยเฉพาะเทคโนโลยีส่วนบุคคล เช่น มีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ประชากร 10 % ของโลกจะสวมใส่เสื้อผ้าที่เชื่อมต่อกับ Internet และโทรศัพท์มือถือ และต่อไปจะมีเครื่องมือเล็กๆ ฝังอยู่ใต้ผิวหนังเพื่อช่วยดูแลสุขภาพ และยังช่วยให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นด้วย
พาหนะที่ไร้คนขับเป็นสิ่งที่จะนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในส่วนบุคคลและการใช้ในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ เช่นเดียวกับการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ทดแทนแรงงานที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนถึงขั้นสามารถคิดและตัดสินใจได้
ปรากฏการณ์เหล่านี้ย้ำเตือนเห็นถึงความสำคัญของ Productivity ในวิถีชีวิตแห่งอนาคต ในฐานะคนทำงาน ทักษะและความสามารถอะไรบ้างที่ควรจะมีเพื่อเป็นคนที่ได้รับการเลือกให้เข้าทำงาน เพราะงานหลายประเภท ปัญญาประดิษฐ์ทั้งหลายได้เข้าแทนที่ไปหมดแล้ว
ในฐานะผู้บริหาร จะบริหารจัดการอย่างไรให้เกิดผลิตภาพจากคนและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม คนทำงานจำนวนน้อยที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้เทคโนโลยีต้องเลือกอย่างชาญฉลาด ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ Productivity แห่งอนาคตมีความสำคัญมากขึ้นนั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่นับวันจะส่งผลรุนแรงมากขึ้น ข่าวจากเว็บไซต์ BBC กล่าวถึงผลกระทบที่จะเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญในปีนี้ว่าจะส่งผลร้ายแรงมากขึ้นจากการเตือนขององค์การนาสา จะเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในหลายประเทศ และเป็นครั้งแรกที่ขั้วโลกเหนืออยู่ในภาวะอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง ในประเทศที่เคยหนาวเย็นอย่างนอร์เวย์จากที่เคยติดลบ 24 องศาเซลเซียสกลับลดลงเหลือเพียงติดลบ 2 องศา การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลโดยตรงต่อผลิตผลทางการเกษตร เกิดภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำ ซึ่งที่ในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่นี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

โจทย์ของอนาคตในเรื่องนี้ก็คือการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีผลิตภาพสูงสุด ด้วยการวิจัย ค้นคว้า หาทางออกร่วมกัน ปัจจุบันเริ่มมีแนวทางการทำการเกษตรที่ใช้น้ำน้อยลง เทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินซึ่งเป็นพลังงานที่สร้างมลพิษและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะหมดไป

เริ่มมีแหล่งอาหารทางเลือกเข้ามา เช่น โปรตีนจากแมลง เนื้อลูกวัวที่เพาะเลี้ยงจากเซลเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ปศุสัตว์ การใช้น้ำและวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารสัตว์
การเข้าถึงการศึกษาจากทุกที่โดยการใช้ Smart Phone เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน การก่อสร้างอาคารสถานศึกษา พื้นที่สำหรับธนาคารจึงไม่จำเป็นอีกแล้ว
การพิมพ์ 3 มิติจะทำให้การผลิตสามารถตอบสนองผู้บริโภคได้จากการสั่งโดยตรงโดยไม่ต้องมีการผลิตเผื่อเลือก อุตสาหกรรมจึงลดต้นทุนด้านคลังสินค้าได้โดยปริยาย และยังลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตได้อีกด้วย
แนวโน้มที่เห็นในปัจจุบันคนรุ่นใหม่เริ่มเห็นปัญหาของเหลือทิ้งที่สูญเปล่ามากขึ้น ทั้งขยะพลาสติกที่เริ่มมีนวัตกรรมเปลี่ยนวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์จากปิโตรเคมีมาเป็นแป้งที่ย่อยสลายได้ การทำธุรกิจจากอาหารเหลือก็เริ่มมีในหลายประเทศ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต “วีฟู้ด” ที่เดนมาร์ก ร้านอาหาร WestED ในสหรัฐอเมริกาที่นำเอาวัตถุดิบที่ถูกโยนทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหารทั่วไปมาใช้เท่านั้น หรือการนำอาหารเหลือมาแบ่งปันให้คนยากจนอย่างธนาคารโรตีที่มุมไบ ที่บ้านเราก็เริ่มเห็นแนวคิดนี้ในหนังสั้นของ Whizdom 101 by MQDC
การลดของเสีย เพื่อเพิ่มผลิตภาพเป็นหัวใจสำคัญของ Productivity แนวคิดนี้จะช่วยให้มนุษย์ในโลกอยู่รอดได้ในอนาคตที่มีความผันแปรและต้นทุนจากธรรมชาติค่อยๆ หมดไป พร้อมกับการเผชิญหน้ากับวิฤติการณ์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การปลูกฝังแนวคิด Productivity ไม่เคยล้าสมัย
แหล่งข้อมูล : www.thaipublica.com., http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637438http://www.now26.tv/view/70341, http://www.tcdc.or.th/articles/business-industrial/23402,ยลยินอินเทอร์เน็ตจากนิตยสารสกุลไทย
ที่มา http://www.ftpi.or.th/2016/9398

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2558

                มหาวิทยาลัยศิลปากร จะรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2558 ในระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 20 - วันศุกร์ที่  21 ตุลาคม  2558 

                 โดยมีคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน จำนวน 6 ท่าน ดังรายนามดังต่อไปนี้
                                      

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

6 เทคนิคการจำข้อมูลยาวๆในเวลาสั้นๆ

ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน คนทำงาน นักแสดง นักพูด ต่างก็มีหน้าที่ ที่จะต้องจดจำข้อมูลหรือเนื้อหาในการเรียนหรือทำงาน เช่น การพรีเซนต์ต่างๆ หรือการจำบทของนักแสดง แต่หลายครั้งเราก็มีเวลาไม่มากใช่มั้ยคะ จะทำอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการท่องจำข้อมูลยาวๆ ให้ได้ในเวลาที่สั้นกว่าเดิม มาฝากค่ะ

 เทคนิคการจำข้อมูลข้อที่ 1
อ่านข้อมูลที่ต้องการจดจำซัก 2-3 รอบ
อ่านข้อมูลทั้งหมดก่อนค่ะ โดยใช้เวลาไม่มาก แต่จะทำให้เราคุ้นเคย และสร้างความเข้าใจในเนื้อหาและลำดับของข้อมูลทั้งหมด ก่อนที่จะไปเริ่มจดจำข้อมูลสำคัญๆต่อไปเทคนิคการจำข้อมูลข้อที่ 2
แบ่งข้อมูลออกเป็นช่วงสั้นๆ
เป็นไปไม่ได้ที่เราจะจดจำข้อมูลทั้งหมดในครั้งเดียวใช่มั้ยคะ ดังนั้นเราจะต้องแบ่งมันออกเป็นช่วง และค่อยๆจำทีละส่วนๆ แบบนี้จะทำให้เราจดจำข้อมูลได้เร็วขึ้นค่ะเทคนิคการจำข้อมูลข้อที่ 3กำหนดเลขลำดับการกำหนดหมายเลขหรือลำดับให้กับข้อมูลแต่ละส่วน จะทำให้การจดจำง่ายขึ้น เนื่องจากสมองของเราจะมีวิธีจดจำ ตัวเลข กับข้อมูลเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้เรานึกได้ถึงข้อมูลได้ตามลำดับ
เทคนิคการจำข้อมูลข้อที่ 4อ่านออกเสียงเริ่มอ่านข้อมูลด้วยเสียงให้ตัวเองฟัง ซักรอบ 2 รอบ เพื่อเป็นการเพิ่มการเปิดช่องทางรับข้อมูลจากทางหู และ ทางสายตาด้วยเทคนิคการจำข้อมูลข้อที่ 5เริ่มจดจำข้อมูลเริ่มจดจำข้อมูลทีละส่วน ตามลำดับ เมื่อเริ่มจำได้ ก็ค่อยเลื่อนไปจำลำดับต่อไป เราจะค่อยๆจำได้ เพราะจะนึกถึงความต่อเนื่องของข้อมูล ทีละส่วนๆ ตามกันมาเทคนิคการจำข้อมูลข้อที่ 6คิด จำ ทบทวนจากนั้นให้พูดซ้ำๆ ทีละส่วน ตามลำดับ โดยพยายามไม่ดูข้อมูลหรือโน้ต แต่ให้คิดถึงความหมายของสิ่งที่พูด นึกถึงที่มา สาเหตุ และ ผลหรือสิ่งที่ตามมา ของแต่ละส่วนไปเรื่อยๆ เพื่อที่เราจะสามารถนึกถึงข้อมูลที่จะติดตามกันมาเป็นลำดับ ให้ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะจำได้ค่ะ โดยเราอาจจะใช้ เทคนิคส่วนตัว เช่น การสร้างเป็นภาพหรือเรื่องภายในความคิดของเรา หรือ สร้างความเชื่อมโยงของคำแต่ละคำ เพื่อให้จดจำง่ายขึ้นไปอีก

เป็นอย่างไรบ้างคะ เชื่อว่าวิธีการที่นำเสนอมานี้ จะช่วยทุกคนได้ไม่มากก็น้อยนะคะ สำหรับคนที่จำเก่งอยู่แล้ว อาจจะนำเทคนิคส่วนตัวมาผสมปรับใช้ และจะนำมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ทราบบ้างก็ได้นะคะ ส่วนคนที่ยังค้นหาวิธีการดีๆอยู่ ก็ขอให้ลองนำไปใช้กันค่ะ
แหล่งที่มา :
http://news.voicetv.co.th/thailand/97775.html

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/teacher/24607

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

10 เคล็ดลับในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เคยไหมเวลาท่องจำคำศัพท์แล้วรู้สึกว่าเบื่อ ยาก ปวดหัว เพราะต้องจำเยอะ บทความนี้ผมก็มี 10 เคล็ดลับในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แบบสบายๆชิวๆ มาฝาก แล้วจะรู้ว่าการจำคำศัพท์มันไม่ใช่เรื่องที่ต้องปวดหัวหรือเหนื่อยใจเสมอไปหรอกครับ
ความเกี่ยวเนื่อง: จัดคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ระหว่างศัพท์แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผังจะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
 
เขียน: การนำคำศัพท์นั้นมาใช้จะทำให้คุณจำได้ฝังใจยิ่งขึ้น ลองเขียนแต่งประโยคโดยนำศัพท์ใหม่ที่เรียนนั้นมาประกอบหรือแต่งเรื่องโดยใช้ กลุ่มคำศัพท์หรือสำนวนที่เรียนอยู่
วาดรูป: ดึงวิญญาณศิลปินในตัวคุณออกมาใช้ โดยการวาดรูปที่แสดงถึงศัพท์ที่คุณเรียนอยู่ ภาพที่คุณวาดจะช่วยกระตุ้นความทรงจำถึงศัพท์นั้นในอนาคต
แสดง: แสดงท่าทางประกอบคำศัพท์หรือสำนวนที่คุณกำลังเรียนอยู่ หรือจินตนาการว่าคุณจะแสดงออกอย่างไรในสถานการณ์ที่คุณต้องใช้ศัพท์คำนั้น
สร้าง: ออก แบบ flashcards ศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมายแล้วเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง ทำเล่มใหม่ขึ้นทุกอาทิตย์และอย่าลืมทบทวนอันเก่าไปพร้อมๆ กันด้วย
ความสัมพันธ์: กำหนดแต่ละสีให้แต่ละคำศัพท์ ความสัมพันธ์ของแต่ละคู่จะช่วยให้คุณจำศัพท์นั้นได้แม่นขึ้นเมื่อนึกถึงคำนั้นในคราวต่อไป
ฟัง: นึกถึงศัพท์คำอื่นที่ออกเสียงคล้ายๆ กับคำศัพท์ใหม่ที่คุณพยายามเรียนอยู่ ใช้ความสัมพันธ์ตรงจุดนี้ในการช่วยให้คุณจำการออกเสียงของคำใหม่นั้น
เลือก: จำไว้ว่าการเรียนในหัวข้อที่คุณชอบหรือสนใจจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น ฉะนั้นคุณควรใส่ใจในการเลือกคำศัพท์ที่คุณคิดว่ามีประโยชน์หรือน่าสนใจ เพราะแม้แต่กระบวนการเลือกคำที่จะเรียนก็มีผลให้คุณจำได้แม่นและเร็วขึ้น ด้วยเช่นกัน !
ข้อจำกัด: คุณก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนเราจะจำศัพท์ที่มีอยู่ในดิกชันนารี่ ทั้งหมดได้ในวันเดียว เพราะฉะนั้นจำกัดการเรียนศัพท์ใหม่แค่วันละ 15 คำก็พอแล้ว ซึ่งถ้าพยายามจำให้มากคำเกินไปกว่านี้แทนที่มันจะทำให้คุณรู้สึกมั่นใจกลับ จะทำให้คุณสมองตื้อแทน
สังเกต: พยายามสังเกตหาคำศัพท์ที่คุณกำลังเรียนอยู่เมื่ออ่านหรือฟังภาษาอังกฤษ

แหล่งที่มา :
http://www.tlcthai.com/education/knowledge-online/content-edu/16467.html 

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/teacher/24607

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วิธีปฏิบัติ 6 ประการ เพื่อทำให้ผู้อื่นชอบท่าน

จงปฏิบัติตามนี้ แล้วจะมีผู้ต้อนรับท่านทุกหนทุกแห่ง
  1. การผูกมิตรกับผู้อื่นจะสำเร็จเรียบร้อยภายในเวลา 2 เดือน ด้วยการเอาใจใส่อย่างแท้จริงต่อเขาผู้นั้น ซึ่งจะได้ผลยิ่งกว่าการผูกมิตรซึ่งใช้ เวลาถึง 2 ปี แต่ด้วยความพยายามให้เขาผู้นั้นเอาใจใส่ต่อเรา
  2. บุคคลใดที่ละเว้นการเอาใจใส่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่เพียงแต่เขาจะดำรงชีวิตอยู่โดยปราศจากความราบรื่น หากเขาจะเป็นมนุษย์ที่มี อันตรายอย่างใหญ่หลวงแก่ผู้อื่นด้วย มนุษย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ห่างไกลจากความก้าวหน้า และความรุ่งเรืองในประการทั้งปวง
  3. ฉะนั้น จงเอาใจใส่อย่างแท้จริงต่อผู้อื่น ขอเน้น จงเอาใจใส่อย่างแท้จริงต่อผู้อื่น ถ้าท่านต้องการให้ผู้อื่นชอบท่าน
วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้ผู้อื่นติดเนื้อต้องใจเมื่อแรกพบ
  1. ท่านไม่มีความรู้สึกที่จะยิ้มเลยหรือ? เมื่อเช่นนั้นจะทำอย่างไรดี? มีอยู่ 2 ประการ ประการแรกจงบังคับตัวท่านให้ยิ้ม
    จนได้ ถ้าท่านอยู่ คนเดียว จงบังคับตัวของท่านให้ผิวปาก หรือทำเสียงหึ่มๆเป็นทำนองเพลง หรือร้องเพลง ท่านจงทำกิริยา
    ท่าทางเหมือนหนึ่งท่านกำลังมีความสุข และในที่สุด จะโน้มความรู้สึกของท่านให้มีความสุขจริงๆ
  2. ความสุขมิได้อยู่ที่สิ่งแวดล้อมภายนอก แต่อยู่ที่สิ่งแวดล้อมภายในต่างหาก
    - ไม่ใช่เพราะสิ่งที่ท่านมี หรือท่านอยู่ในฐานะใด หรือท่านอยู่ที่ไหน หรือท่านกำลังกระทำสิ่งใดที่ช่วยให้ท่านมีความสุข หรือปราศจาก ความสุข มันอยู่ที่ท่านคิดถึงสิ่งเหล่านั้นต่างหาก คนส่วนมากมีความสุขมากน้อยเพียงใด แล้วแต่จะทำใจให้รู้สึกเช่นนั้น
  3. "ท่านจะไม่ยอมเสียเวลาแม้แต่นาทีเดียวคิดถึงศัตรูของท่าน จงพยายามตั้งใจให้แน่วแน่ มั่นคงในสิ่งที่ท่านปรารถนาจะ
    กระทำ ครั้นแล้ว โดยปราศจากการลังเลหันเห ท่านจงมุ่งตรงไปสู่จุดหมายนั้น จงทำใจของท่านให้จดจ่ออยู่เสมอว่า ความปรารถนาของท่านเพื่อกระทำสิ่งใดๆ จะประสบผลอันงามเลิศ แล้วท่านจะพบว่าขณะวันและเวลาล่วงไป โอกาสจะเปิด ให้ท่านประสบความสำเร็จตามความปรารถนาโดยไม่รู้ตัว"
  4. จงสร้างมโนภาพของท่าน ถึงบุคคลที่มีสมรรถภาพสูง เข้มแข็งเอาการเอางาน ซึ่งท่านประสงค์จะเป็นเช่นนั้นบ้าง และจากความนึกคิด ทุกๆชั่วโมงอันนี้เอง สามารถเปลี่ยนแปลงท่านให้เป็นบุคคลที่มีความเด่นเป็นพิเศษ..... ความคิด เป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด จงดำรง รักษาจิตใจ แนวจิตไว้ให้อยู่ในท่าทีถูกต้องดีงาม ท่าทีแห่งความกล้าหาญบึกบึน แห่งความเป็นคนเปิดเผยตรงไปตรงมา และร่าเริงแจ่มใส ความคิดอันถูกต้องดีงามจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ ความสำเร็จสมดังปรารถนามาจากความตั้งใจจริง เราจะเป็นอย่างไร แล้วแต่ใจเราคิด
  5. มีภาษิตของจีนกล่าวไว้ว่า คนที่ใบหน้าไม่ยิ้ม อย่าเปิดร้านค้าขาย
    ฉะนั้น วิธีง่ายๆ ที่ทำให้ผู้อื่นติดใจเมื่อแรกพบ ก็คือ "ยิ้ม"
ถ้าท่านไม่ทำตามนี้ ท่านจะบ่ายหน้าไปพบความยุ่งยาก
  1. การให้เกียรติโดยการตั้งชื่อ
  2. พยายามจดจำชื่อบุคคลที่เราพบปะให้ได้มากที่สุด
  3. จงจำไว้ว่า ชื่อของบุคคลใดก็ตาม สำหรับบุคคลนั้น เป็น สำเนียงหวานที่สุด และสำคัญที่สุด ในภาษามนุษย์
หนทางง่ายๆ ที่จะเป็นนักสนทนาที่ดี
  1. ฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สนใจอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอีกแล้วที่จะเป็นการแสดงความคารวะยิ่งไปกว่านี้
  2. มีบุคคลอยู่เป็นอันมาก ประสบความล้มเหลวที่จะเป็นผู้ได้รับความนิยม เนื่องจากไม่ฟังผู้อื่นอย่างตั้งอกตั้งใจ
  3. ความสามารถเป็นนักฟังที่ดีของมนุษย์เป็นสิ่งหายาก เกือบจะยิ่งกว่านิสัยดีๆอื่นๆทั้งหลาย
  4. จงตั้งคำถามในเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งจะตอบด้วยความยินดี สนับสนุนให้ผู้อื่นสนทนาถึงเรื่องของเขา และความสำเร็จของเขา
  5. โปรดจำไว้เสมอว่า บุคคลที่ท่านสนทนาด้วย เป็นผู้สนใจตัวของเขาเอง ความต้องการของเขา และปัญหาของเขา ยิ่งกว่าจะสนใจในตัวท่าน และปัญหาของท่านตั้งร้อยเท่า
    จงเป็นนักฟังที่ดี จงสนับสนุนให้อีกฝ่ายหนึ่งคุยถึงเรื่องของเขา
วิธีทำให้ผู้อื่นสนใจ
  1. ค้นหาความจริงว่าเขาสนใจในสิ่งใด และเขามีความสุขในการสนทนาถึงสิ่งใด
    สนทนาในเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งสนใจ
วิธีทำให้ผู้อื่นชอบท่านในทันที
  1. จงทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเป็นคนสำคัญ
  2. จงปฏิบัติต่อผู้อื่น เช่นเดียวกับที่ท่านต้องการจะให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน
  3. คำพูดสั้นๆ เช่น "เสียใจมากที่ต้องรบกวน" , "โปรด", "กรุณา", "ขอบคุณ" ความสุภาพอ่อนโยนเพียงเล็กน้อยจะช่วยปลอบใจ
    อีกฝ่ายหนึ่งให้หายจากความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียจากงานประจำวัน
    จงทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเป็นคนสำคัญ และ จงทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมพัฒนาตนเอง

ก่อนที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงตัวเอง เราจะต้องยอมรับเสียก่อนว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเราและต้องเชื่อว่า เราสามารถกระทำได้ ประเด็นสำคัญคือ เราต้องยอมรับและสนใจปัญหานั้น ไม่ใช่หลีกเลี่ยงมัน ซึ่งกระทำได้โดย การศึกษาจาก หนังสือตำรา หรือปรึกษาปัญหานั้นกับคนอื่นๆ ลองคิดถึงผลที่เกิดขึ้นว่าชีวิตของเราจะดีขึ้นเพียงใดถ้าหากเราไม่มีปัญหานั้น
หลังจากตัดสินใจว่าจะปรับปรุงตัวเองในเรื่องใดเป็นการเฉพาะ แน่นอนว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาปัญหานั้นให้ชัดเจน อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลงหรือกลัวว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็จ เริ่มต้นหาแนวทางว่า จะทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้การเปลี่ยนแปลง เป็นไปตามที่ต้องการ การปรับปรุงตนเองต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจหลายอย่าง ไม่ใช่อาศัยเพียง แต่ความตั้งใจจริง ที่จะทำอะไรสักอย่างเท่านั้น ดังนั้นเราจะต้องใส่ใจหาความรู้และทักษะที่จำเป็นที่จะช่วยให้การปรับปรุงตัวเองบังเกิดผล
จากการศึกษาพบว่า ในการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตนเองของคนเรานั้นมีพัฒนาการเป็น 6 ระยะ (Prochaska, Norcross & DiClemente, 1994) คือ
ระยะที่1. ยังไม่คิดจะปรับปรุงตนเอง (precontemplation) เป็นระยะที่บ่ายเบี่ยง คิดว่ายังไม่มีปัญหาอะไรในตัวเอง แม้ว่าคนอื่นๆจะมองเห็นชัดเจน หรือถ้ามีก็หวังว่าอาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ไม่มีความตั้งใจอย่างแน่นอน ไม่มีแผนใน การปรับปรุงแต่อย่างใด มักจะอ้างว่าปัญหาเกิดจากคนอื่น ต่อต้านการปรับปรุงตัวเอง และเชื่อว่าตนเอง ไม่สามารถ แก้ไขอะไรได้
ระยะที่ 2. เริ่มคิดถึงการปรับปรุงตนเอง (contemplation) เป็นระยะก่อนการลงมือปรับปรุงตนเอง ระยะนี้เริ่มมีความตระหนักถึงปัญหาที่มี และคิดถึงการเปลี่ยนแปลงแก้ไข แต่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะแก้ปัญหานั้นโดยวิธีใด อยู่ระหว่างการชั่งใจว่าผลการเปลี่ยนแปลงจะคุ้มค่ากับความพยายามหรือไม่ เปรียบผลระหว่างการปรับปรุงและการไม่ทำอะไรเลย คนส่วนมากเสียเวลากับระยะนี้นานมาก (คนที่คิดจะเลิกสูบบุหรี่ ใช้เวลาตัดสินใจเกือบสองปี)
ระยะที่ 3. วางแผนหรือโครงการปรับปรุงตนเอง (preparation) ถือเป็นระยะตกลงใจแล้วว่าจะปรับปรุงตัวเอง โดยเริ่มศึกษา วิเคราะห์ปัญหา เลือกวิธีการที่เหมาะสม กำหนดแผนปฏิบัติการ และกำหนดเป้าหมาย ของการเปลี่ยนแปลงตนเอง อย่างชัดเจน
ระยะที่ 4. ลงมือปรับปรุงตนเอง (action) โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ลงมือปฏิบัติการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดในแผนหรือโครงการของระยะที่ 3
ระยะที่ 5. คงสภาพผลได้จากการปรับปรุง (maintainance) การทบทวน หรือ เสริมแรงให้ผลการปรับปรุงตนเองตามเป้าหมายคงอยู่ต่อไปอย่างถาวร หรือนานชั่วระยะเวลาหนึ่งที่พอใจ
ระยะที่ 6. จบการปรับปรุง (termination)
การทราบระยะของการปรับปรุงตนเองย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่คิดจะพัฒนาตน ไม่ใช่เพราะทราบว่า ระยะใดต้องทำอะไร เท่านั้น แต่จะช่วยให้ทราบว่า เราจะทำอย่างไรจึงจะผลักดันหรือจูงใจให้ผ่านจากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่งได้ คนจำนวนมากปฏิเสธ ที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง หรือบางคนต้องการจะทำแต่ไม่สามารถจะเริ่มต้นได้สักครั้งเดียว การสร้างแรงจูงใจ ให้ตัวเองจึงมีความสำคัญต่อ การเปลี่ยนเปลงตนเอง
การวางโครงการปรับปรุงตนเองจะมีความสะดวกในขั้นตอนปฏิบัติมากขึ้น ถ้าเราวิเคราะห์พฤติกรรม หรือ ลักษณะนิสัยที่ต้องการปรับปรุง ให้ชัดเจนตามองค์ประกอบของปัญหา ถ้าพิจารณาในขณะที่เกิดปัญหาขึ้นกับเรา ไม่ว่าปัญหาใดก็ตาม สามารถวิเคราะได้จาก องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน ดังนี้
1. การกระทำหรือพฤติกรรม (behavior) ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
2. ความรู้สึกหรืออารมณ์ในขณะนั้น (emotions experiences)
3. การขาดทักษะ (skills needed) ที่จำเป็นอะไรบ้าง จึงทำให้เกิดปัญหา
4 .ความคิดความเข้าใจ (mental processes) รวมถึงอัตมโนทัศน์ ค่านิยม ความคาดหวัง
5. พลังใต้สำนึกบางอย่าง (unconscious forces) ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
ถ้าสามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห็ปัญหาที่เกิดกับตัวเราได้ชัดเจนแล้ว เท่ากับเราแก้ไขปัญหาสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง เพราะทำให้มองเห็นได้สะดวกว่าควรใช้วิธีการใดจึงเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหานั้น
การเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตนเองไม่ใช่กระทำได้ราบรื่นหรือสะดวกสบาย อาจมีอุปสรรคทำให้ล้มเหลวได้ อาจเกิดจากโครงการที่ไม่ชัดเจน วิธีการที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม บางครั้งก็หมดแรงจูงใจที่จะทำหรือลืมปฏิบัติตามโครงการ ปัญหากลับทรุดลงกว่าเดิม เป็นต้น ส่วนมากมักต้องพยายามทำหลายครั้ง เมื่อไม่สำเร็จก็กลับไปเริ่มต้นใหม่อีกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยเฉพาะเมื่อศึกษาปัญหาไม่ชัดเจนพอ หรือมีความรู้ไม่พอ แต่ผู้ที่ปรับปรุงตนเองได้มักเป็นผู้ที่ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เมื่อไม่สำเร็จเขาจะกลับไปศึกษาใหม่ หาอุปสรรค สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง หาวิธีการที่ดีกว่า เป็นการดีที่ได้พยายามแล้วไม่สำเร็จ ดีกว่าคนที่ไม่ได้ลองพยายามเลย เพราะจะล้มเหลวตลอดไป
ขั้นตอนปฏิบัติในโครงการปรับปรุงตนเอง
เมื่อตัดสินใจจะปรับปรุงตนเองแล้ว ควรวางโครงการให้เป็นไปตามลำดับขั้นที่จะเสนอโดยสรุปต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นการบังคับตายตัวว่าต้องวางแผนไปตามนี้ทุกขั้นตอนในทุกโครงการ อาจข้ามไปได้บ้างในบางครั้ง ถ้าหากว่าการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องการไม่มีความยากลำบากหรือซับซ้อนมากนัก เช่น ปัญหาบางอย่างไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์แยกออกเป็นห้าองค์ประกอบ หรือไม่ต้องบันทึกผลความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียด เพราะเป็นเรื่องง่ายที่รอให้ลงมือปรับปรุงได้เลย แต่ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ซึ่งจำเป็นต้องวางแผนปฏิบัติไปตามลำดับทุกขั้นตอน

การบริหารคนเก่ง Talent Management

"คนเก่ง" หรือ Talent หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ มีผลงานที่โดดเด่นเหนือ บุคคลอื่น ซึ่งอาจมีลักษณะที่ แตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร โดยขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ลักษณะธุรกิจนโยบายวัฒนธรรมองค์กร และกลยุทธขององค์กรว่าต้องการเดินไปในทิศทางใด
ลักษณะทั่วไปของคนเก่ง หรือมีศักยภาพสูง คือ
1. มีความสามารถ และมีคุณสมบัติในการนำตัวเองไปสู่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
2. สามารถแก้ปัญหาได้ดี วางแผนป้องกันปัญหาได้
3. เรียนรู้ได้รวดเร็ว
4. มีความกระตือรือร้น
5. มีความคิดสร้างสรรค์
6. มีความเป็นผู้นำ
7. มีวิสัยทัศน์
8. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งภายในได้แก่ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา
รวมถึงการประสานงานกับภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า เป็นต้นความสามารถของบุคคลเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อ การบรรลุเป้าหมายของ องค์กร และบุคคลเหล่นี้จะถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำ รือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในอนาคตการจัดการกับคนเหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์
(Human Capital Management) ซึ่ง
• เป็นการรักษาประสิทธิภาพขององค์กร
• ลดอัตราสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้และประสพการณ์
• นำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน
กระบวนการจัดการคนเก่ง
1. การสรรหาคนเก่ง
2. การคัดเลือกหรือระบุคนเก่งขององค์กร
3. การพัฒนาคนเก่ง
4. การบริหารและจูงใจคนเก่ง
5. การรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร
การสรรหาคนเก่ง
ในกระบวนการสรรหาคนเก่งนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจนบางบริษัทเช่น Microsoft ต้องตั้งทีมสรรหาคนเก่งไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน โดยการไปสัมภาษณ์และรับนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยที่กำลังใกล้จบ ในการสรรหาคนเก่งนั้น มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่องค์กรอยากได้
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อยากได้
3. หาแหล่งเป้าหมายที่จะเข้าถึงคนเหล่านี้
External Hunting
เช่น บริษัท Clisco กำหนดไว้เป็น Passive job seeker หมายถึง ไม่ใช่คนที่กำลังหางานทำ แต่เป็นคนที่มีงานทำมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเป็น ที่ต้องการขององค์กร แล้วพยายามเข้าถึงคนเหล่านี้ หรือ บริษัท Home Depot กำหนดไว้ว่าต้องการคนเก่งที่สุดของคู่แข่ง เรียกว่า กระบวนการ Head hunter ผู้บริหารที่ใช้วิธีดังกล่าวมักให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่าจริยธรรม คุณธรรม เกิดการโก่งค่าตัว ในบางครั้งจนกลายเป็นกระบวนการ Trading เป็นธุรกิจโดยมีนายหน้าเป็นผู้บริการ Head hunter ก็มี บางบริษัทเช่น P&G เน้นการสรรหาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และการจัดโปรแกรมใน ภาคฤดูร้อนสำหรับนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญาโท
การคัดเลือกคนเก่งที่มาจากแหล่งภายใน
เป็นการมองหาดาวรุ่งที่มีอยู่ในองค์เพื่อที่จะจัดให้เข้ามาในกลุ่มของพนักงาน ที่องค์กรต้องการดูแลเป็นพิเศษ แบ่งเป็น
• แบบไม่เป็นทางการ โดยการพูดคุย วางแผนกันระหว่างผู้บริหารสายงานกับ HR ถึงตัวบุคคลที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เป็นที่ทราบกันเฉพาะในผู้ที่เกี่ยวข้อง
• แบบเป็นทางการ อาจเป็นในรูปแบบการจัดการทดสอบ คัดเลือก แจ้งให้พนักงานทราบและดำเนินตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ หรืออาจจะพิจารณาจากผลประเมินบุคคล ในงานและนอกงาน

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )

คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับผู้เรียนเองแล้วนั้น กระบวนการเรียนการสอนจากครูนับว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน วันนี้ ทรูปลูกปัญญา ได้ทำการรวบรวมบทความแนวคิด เทคนิคการสอนแบบระดมพลังสมอง (Brainstorming) ไว้ให้คุณครู ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสอนนักเรียนกันค่ะ

 ตัวอย่างที่ 1
         การระดมสมอง หมายถึง วิธีสอนที่ใช้ในการอภิปรายโดยทันที ไม่มีใครกระตุ้น กลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสั้นโดย ในขณะนั้นจะไม่มีการตัดสินว่า คำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่อย่างไร
 
ลักษณะสำคัญ ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือก สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง
 
ขั้นตอนในการระดมสมอง
 
1. กำหนดปัญหา
2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน และอาจเลือกประธานหรือเลขา เพื่อช่วยในการอภิปรายและ บันทึกผล
3. สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด โดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
4. คัดเลือกเฉพาะทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด
5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน ( ข้อ 4 และ 5 อาจสลับกันได้ )
6. อภิปรายและสรุปผล
 
ข้อดีและข้อจำกัด
 
         ข้อดี
                  1. ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาและมีคุณค่ามากที่จะใช้เพื่อแก้ปัญหาหนึ่ง
                  2. ก่อให้เกิดแรงจูงใจในตัวผู้เรียนสูง และฝึกการยอมรับความเห็นที่แตกต่างกัน
                  3. ได้คำตอบหรือทางเลือกได้มาก ภายในเวลาอันสั้น
                  4. ส่งเสริมการร่วมมือกัน
                  5. ประหยัดค่าใช้จ่ายและการจัดหาสื่อเพิ่มเติมอื่น ๆ
 
         ข้อจำกัด
                  1. ประเมินผลผู้เรียนแต่ละคนได้ยาก
                  2. อาจมีนักเรียนส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนครอบครองการอภิปรายส่วนใหญ่
                  3. เสียงมักจะดังรบกวนห้องเรียนข้างเคียง
                  4. ถ้าผู้จดบันทึกทำงานได้ช้า การคิดอย่างอิสระก็จะช้าและจำกัดตามไปด้วย
                  5. หัวเรื่องต้องชัดเจนรัดกุม และมีประธานที่มีความสามารถในการดำเนินการ และสรุปการอภิปราย ทั้งในกลุ่มย่อย และรวมทั้งชั้น
 
ตัวอย่างที่ 2 
 
         การระดมพลังสมอง เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่แล้วออกมาใช้ ผู้เรียนมีอิสระในทางความคิด ไม่ต้องไปกังวลว่าสิ่งที่คิดออกมาสัมพันธ์กับประเด็นที่ตั้งไว้หรือไม่ จะถูกหรือผิดการระดมพลังสมองใช้ได้ทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม
 
การระดมพลังสมอง มี 2 รูปแบบ
         รูปแบบที่ 1 ระดมหามากที่สุด
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                  1. ครูกำหนดประเด็นหรือให้นักเรียนเป็นผู้กำหนดประเด็นขึ้นมา เช่น ผ้าขาวม้า
                  2. ให้นักเรียนเขียนอะไรก็ได้เกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดให้มากที่สุดในเวลาที่กำหนดเช่น เขียนประโยชน์ของผ้าขาวม้า
                  3. นักเรียนนำเสนอความคิดของสิ่งที่ได้เขียนขึ้น
                  4. เปิดโอกาสให้มีการพิจารณาความถูกต้องหรือความเป็นไปได้ของความคิดแต่ละอย่างที่แต่ละคน หรือกลุ่มได้นำเสนอ
                  5. นักเรียนสรุปผลที่ได้จากการระดมความคิด
 
         รูปแบบที่ 2 ระดมหาที่สุด
 
         การระดมหาที่สุด เป็นการระดมเพื่อหาแนวทางหรือวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อการแก้ปัญหา หรือเพื่อการตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การระดมพลังสมองเพื่อหาที่สุดจะมี 3 ขั้นตอน คือ

                  1. ระดมความคิด
                  2. กลั่นกรองความคิด
                  3. สรุปความคิดที่เหมาะสม
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                  1. ครูกำหนดประเด็นปัญหา หรือเหตูการณ์ที่ท้าทาย หรือเป็นเหตุการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน “เราจะแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครได้อย่างไร”
                  2. แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 6 – 8 คน
                  3. นักเรียนร่วมกันระดมความคิด หาวิธีการในการแก้ปัญหา หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจ
                  4. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันพิจารณากลั่นกรองประเด็นข้อเสนอของสมาชิก และคัดเลือกประเด็นที่เป็นไปได้ และมีความเหมาะสม
                  5. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายในประเด็นที่ได้คัดเลือกไว้โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับสภาพ
                  6. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปประเด็น หรือ วิธีการที่กลุ่มจะนำไปดำเนินการ 1-2 ประเด็น
                  7. กลุ่มนำวิธีการที่ได้จากข้อสรุปไปวางแผนกำหนดขั้นตอนการดำเนินการต่อไป

เป็นยังไงบ้างค่ะ กับแนวคิด เทคนิคระดมพลังสมอง  ( Brainstorming ) คุณครูลองเอาไปปรับใช้ในรูปแบบการสอนของตนเองดูนะคะ

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหา เทคนิคการสอนงาน เขียนโดย สมิต สัชฌุกร


การสอนงาน หมายถึง การที่หัวหน้างานได้สอนหรือแนะนำให้ลูกน้อง ได้เรียนรู้งาน ที่ได้รับ มอบหมาย มีวัตถุประสงค์และข้อปฏิบัติอย่างไร จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่าง มีประสิทธิภาพ และประหยัด
การสอนงาน เป็นหน้าที่ประการหนึ่งของผู้บังคับบัญชาที่พึงปฏิบัติต่อ ผู้ใต้บังคับบัญชา ในอันที่จะให้เขาเกิดความเข้าใจงาน มีความชำนาญ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยหัวหน้างานจะต้องชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ วิธีการปฏิบัติงานอย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อจะนำไปสู่ความสำเร็จของงาน และองค์การในที่สุด การสอนงานถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ และยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน
ความสำคัญของการสอนงาน
การสอนงานมีคุณค่าพิเศษทำให้เกิดผลดี ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ ความสำคัญของการสอนงาน มีดังต่อไปนี้
1. ไม่เกิดการลองผิดลองถูก การสอนงานเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพลดความผิดพลาดเสียหายและเวลาการทำงาน
2. การเรียนรู้เป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เกิดการถ่ายทอดงานและเทคนิคการปฏิบัติงานจากหัวหน้าไปสู่ผู้ร่วมทีมงานช่วยให้เกิดความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3. การปฏิบัติงานสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย สามารถปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
4. ไม่เสียเวลาแก้ไขงานที่ผิดพลาดและบกพร่อง
5. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาไว้วางใจกันและเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. ทำให้องค์ความรู้ไม่ติดกับตัวบุคคลเมื่อมีการเข้าออกจากงานก็มีผู้สืบต่องานได้

ประโยชน์ของการสอนงาน

1. หัวหน้ามอบหมายงานได้มากขึ้น
2. หัวหน้าไม่ต้องเสียเวลาแก้ไขงาน
3. หัวหน้าได้ทบทวนและปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน
4. พนักงานปฏิบัติงานได้ตรงตามความต้องการ
5. พนักงานทำงานเป็น ไม่เกิดการผิดพลาด
6. พนักงานไม่ต้องทนรับคำตำหนิ
7. เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้ากับพนักงาน
8. หัวหน้าควบคุมงานง่ายขึ้น เนื่องจากมีความใกล้ชิดกัน
9. เกิดการมีส่วนร่วมและสร้างแรงจูงใจ ในการทำให้หน่วยงานเข้มแข็ง
10. สามารถใช้พนักงานได้เต็มขีดความสามารถ ลดความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

การสอนงานจะเกิดขึ้นเมื่อ

1. รับพนักงานใหม่เข้าทำงาน
2. เมื่อโอนย้ายพนักงาน
3. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบงาน
4. เมื่อมีการนำเครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ใหม่มาใช้
5. เมื่อหัวหน้าพบว่าพนักงานใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไม่ตรงกับงาน
6. เมื่อสังเกตเห็นว่าพนักงานทำงานผิดวิธี
7. เมื่อพบว่าพนักงานทำงานไม่สะดวกหรือทำงานช้า
8. เมื่อพบว่าพนักงานทำงานเสี่ยงอันตราย มีการกระทำที่ไม่ปลอดภัย
9. เมื่อเกิดปัญหางานผิดพลาดบกพร่อง ผลงานไม่ได้มาตรฐาน
10. เมื่อต้องการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานให้สูงขึ้น

บทบาทของผู้บังคับบัญชาในการสอนงาน

บทบาทของผู้บังคับบัญชา คือการสร้างทีมงานที่เข็มแข็ง มอบหมายให้ทุกคนร่วมกันทำงาน นำไปสู่จุดหมายเดียวกัน คอยดูแลเมื่อมีปัญหาติดขัด และชี้แนะแนวทางให้ลูกน้องเกิดแง่คิดในการปรับปรุงวิธีการทำงานให้สะดวกขึ้น เบาแรงขึ้น ผู้บังคับบัญชาจะต้องมีความอดทน อดกลั้นในการที่จะสอนงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงจังและจริงใจด้วยความรักและความหวังดี เพื่อให้เขามีโอกาสก้าวหน้าในงาน
คุณสมบัติของผู้สอนงาน
การสอนงานนั้น ผู้สอนกับผู้รับการสอนจะต้องใกล้ชัดและมีความเชื่อถือในกันและกัน ผู้สอนจะต้องเชื่อว่าผู้รับการสอนสามารถที่จะรับการสอนได้ ส่วนผู้รับการสอนก็ต้องเชื่อว่าผู้สอนจะสามารถถ่ายทอดความรู้ในการทำงานให้แก่ตนได้
ลักษณะของผู้สอนที่ดี มีดังนี้
1. มีความรู้และความสามารถในงานที่จะสอน
2. มีความรักในการถ่ายทอดความรู้
3. มีความมุ่งมั่นจริงจังในการสอนให้เกิดผลสำเร็จ
4. มีความตั้งใจในการสอน
5. มีทักษะในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ
6. มีความอดทนต่อพฤติกรรมของผู้รับการสอน
7. มีจิตวิญญาณของการเป็นครู
กระบวนการสอนงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. การหาความจำเป็นในการสอนงาน
2. การจัดทำแผนการสอน
3. การเตรียมเนื้อหาวิชา
4. การจัดทำแบบซอยงาน คือ การนำงานที่จะสอนมาวิเคราะห์แยกเป็นส่วนๆ
5. การจัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์
6. การจัดเตรียมสถานที่
7. การประเมินผลการสอน

หลักในการสอนงาน

  • ต้องชี้แจงให้ผู้รับการสอนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการสอน 
  • ต้องทำให้ผู้รับการสอนสนใจใคร่จะเรียนรู้งานที่จะสอน
  • ต้องมุ่งผลของการสอนงาน โดยคำนึกถึงผู้รับการสอนเป็นสำคัญ
  • ต้องให้ผู้รับการสอนรู้ว่างานอยู่ในขั้นตอนไหน และจัดการสอนให้มีสภาพเหมือนปฏิบัติงานจริง
  • ทำให้ผู้รับการสอนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์
  • ทำโปรแกรมการสอนงานให้เหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้รับการสอน

วิธีการสอนงาน

ต้องมีการเตรียมการสอน การลงมือทำการสอน ฝึกปฏิบัติ และทดสอบติดตามผล

เทคนิคเกี่ยวกับการสอนงาน

เทคนิค คือ วิธีการที่ได้ผ่านการทดลองและเป็นที่ยอมรับว่าได้ผล ถือว่าเป็นวิธีการที่ใช้โดยผู้ชำนาญการ คือเทคนิคในการสอนงาน และยังมีเทคนิคอีกหลายอย่างที่ควรจะทราบ คือ
1. เทคนิคการสร้างความต้องการเรียนรู้ ใช้ในกรณีที่ทราบว่าใครจำเป็นต้องได้รับการสอนงานในเรื่องใด
2. เทคนิคการทำให้ผู้รับการสอนมีความพร้อม เป็นการสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ทำให้ผ่อนคลายความเครียด ไม่เน้นพิธีการ
3. เทคนิคการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ จะคำนึงถึงประโยชน์และวัตถุประสงค์ของงาน ทำให้ผู้รับการสอนเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้
4. เทคนิคการอธิบาย เป็นการสอนให้ความรู้ใหม่หรือเพิ่มเติมจากที่เคยทำมาก่อน มีการพูดบอกเล่า “วิธีการ” พร้อมทั้งอธิบายตามขั้นตอนการทำงาน จะต้องเป็นการสื่อสารสองทาง ให้มีการซักถาม
5. เทคนิคในการแสดงการทำงานให้ดู
6. เทคนิคการให้ผู้รับการสอนฝึกปฏิบัติ เทคนิคนี้ถ้าจะให้ผู้รับการสอนมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต้องมีการลองทำในขณะทำการสอน เพราะถ้าหากมีข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขได้ทันที
7. เทคนิคการทดสอบและติดตามผล เมื่อมีการสอนงานแล้วจะต้องมีการทดสอบเพื่อให้เห็นว่าทำได้และเกิดการเรียนรู้จริง ซึ่งในระยะการติดตามผล ผู้ฝึกสอนควรหมั่นตรวจสอบการทำงานของผู้รับการสอนอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้ซักถาม เพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานต่อไป
8. เทคนิคการเร้าให้เกิดการเรียนรู้ อาจเกิดจากสภาพแวดล้อม โอกาสหรือเหตุการณ์ต่างๆ เทคนิคต้องพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รับการสอน หากผู้รับการสอนทำได้ถูกต้องสมบูรณ์ ควรมีการชมเชยเพื่อให้กำลังใจและอยากเรียนรู้มากขึ้น
9. เทคนิคการสร้างความเชื่อมั่น เป็นการทดลองทำด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ และฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญทำให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องที่ได้เรียนรู้

เทคนิคการสอนผู้ใหญ่

การสอนงานผู้ใหญ่ ต้องระลึกไว้เสมอว่า ผู้ใหญ่อาจดื้อเหมือนเด็ก แต่เมื่อเกิดความพอใจแล้ว ก็จะกลายเป็นเด็กหัวอ่อน ว่านอนสอนง่าย การสอนเป็นการฝึกอบรมในงาน จึงควรทำให้งานนั้นน่าเรียนรู้ เพื่อให้ผู้รับการสอนสนุกไปกับการรับการสอนมิใช่การถูกเคี่ยวเข็ญให้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนไม่ต้องการ
การสอนงานผู้ใหญ่ไม่ควรสอนครั้งละมากๆ แต่ควรจะให้ทดลองฝึกปฏิบัติให้เกิดความมั่นใจและเกิดความชำนาญตามมา
ปัญหา อุปสรรคในการสอนงาน มีหลายด้านด้วยกัน ดังนี้
ด้านผู้บังคับบัญชา
1. ไม่สอนงานด้วยข้ออ้างต่างๆ ไม่อยากถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่น
2. สอนงานไม่เป็น
3. ไม่เห็นความสำคัญ
4. เลือกสอนเฉพาะบางคน
5. มีทัศนคติที่ผิด
6. สอนอย่างเร่งร้อน
7. ขาดการกระตุ้น
8. ขาดการประเมิน
9. ขาดความรับผิดชอบ
10. ขาดความรู้ ความชำนาญในงานที่สอน
ด้านผู้ใต้บังคับบัญชา
1. ไม่ยอมรับการสอนงานด้วยสาเหตุต่างๆ เนื่องจากคิดว่าตนเองมีความรู้มากกว่าผู้สอน
2. ไม่สนใจการเรียนรู้อย่างจริงจัง
3. ไม่ศรัทธา เชื่อถือ ในความสามารถของผู้บังคับบัญชา
4. เย่อหยิ่งทะนงตน คิดว่าตนเองมีความรู้และประสบการณ์มากกว่าผู้บังคับบัญชา
5. สติปัญญาทึบ เรียนรู้ช้า
6. ไม่เห็นความสำคัญของการสอน
7. ขาดความพร้อม/มีปัญหาส่วนตัว
8. ขาดแรงจูงใจในการทำงาน
ด้านวิธีการสอน
1. ขาดระบบการสอน ไม่มีการวางโปรแกรมการสอน ตลอดจนขาดอุปกรณ์
2. ขาดวิธีการสอนที่เป็นขั้นตอน นึกจะสอนอะไรก็สอน ไม่มีแผนการสอนที่ดี
3. ขาดคู่มือในการสอน
4. ขาดเวลาที่ใช้ในการสอนอย่างเพียงพอ
5. ขาดสิ่งอำนวยความสะดวก หน่วยงานไม่จัดเตรียมอุปกรณ์

เทคนิคการสอนงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการสอนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่เป็นเทคนิคที่มุ่งเน้นไปยังผู้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ในการสอนงาน ดังนี้
  • ผู้สอนงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบงานอย่างละเอียด สามารถตอบคำถามของ
  • ผู้ฝึกงานได้ และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายในการทำงาน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร
  • ผู้สอนงานต้องเต็มใจที่จะให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
  • ผู้สอนงานต้องเต็มใจที่จะเสียสละเวลาบางส่วนเพื่อการสอนงาน ซึ่งในบางครั้งอาจใช้เวลานานพอสมควร
  • ผู้สอนงานและผู้ฝึกงานต้องมีความเชื่อใจซึ่งกันและกัน และมั่นใจในแนวทางการสอนงาน
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้สอนงานทุกคนอาจจะไม่ใช่ผู้สอนงานที่ดี บางคนทำงานเก่งแต่สอนคนอื่นไม่เป็น หรือไม่ต้องการส่งต่อความรู้ที่มีในตัวเอง ( Tacit Knowledge ) ให้กับคนอื่น นอกจากนั้นยังมีปัญหาสำคัญคือ ความรู้และทักษะในการทำงานที่ผู้บังคับบัญชามีอยู่อาจจะล้าสมัยไปแล้ว เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้ก็ไม่หยุดนิ่งด้วยเช่นกัน ผู้บังคับบัญชาที่มีอายุมากและทำงานมานานอาจจะไล่ตามเทคนิคใหม่ ๆ ในการทำงานไม่ทัน บางหน่วยงานมีการแก้ไขปัญหาเหล่านนี้ด้วยการจัดฝึกอบรมเทคนิคการสอนงานให้กับผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน เพื่อที่จะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับลูกน้องได้อีกเป็นจำนวนมาก
จะเห็นได้ว่า การสอนงาน เป็นวิธีการอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ได้เป็นอย่างดี และส่งผลให้กระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้รับการสอนงานนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน เกิดความรู้ใหม่ ๆ และเตรียมพร้อมที่จะเป็นผู้สอนงานให้แก่ผู้รับการสอนงานในรุ่นต่อ ๆ ไปได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง
สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ/เอกสาร เทคนิคการสอนงาน เขียนโดย สมิต สัชฌุกร


สรุปเนื้อหา โดย สาวิตรี ลำดับศรี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี กรมการพัฒนาชุมชน