วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แนวคิดการปฏิรูปการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 Changing Education Paradigms


รูปภาพ
ในขณะนี้ ทุกๆประเทศอยู่ในช่วงของการเร่งการปฏิรูปการศึกษา   สาเหตุนั้นมีอยู่ 2   ประการ
อย่างแรกคือเรื่องของเศรษฐกิจ : ผู้คนพยายามขบคิดเรื่องนี้อยู่ว่า เราจะให้การศึกษากับลูก ๆ เราอย่างไรให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21
เรื่องที่ 2 คือวัฒนธรรมทุกคนบนโลกนี้พยายามคิดอยู่ว่า เราจะให้การศึกษากับลูกๆอย่างไรให้เข้ากับเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ
เราจะตีกรอบให้วงจรการศึกษาทั้ง 2 เรื่องนี้ให้เข้ากับยุคโลกาภิวัฒน์อย่างไร
     ปัญหาคือ พวกเขาพยายามเชื่อมอนาคตด้วยสิ่งที่เขาทำในอดีต เมื่อสมัยที่เราไปโรงเรียนจะถูกสอนเสมอว่า เรียนให้หนัก ทำข้อสอบให้ได้ดี ได้เข้ามหาลัยและมีงานทำ แต่ลูก ๆ เรากลับไม่เชื่ออย่างนั้นเมื่อไปถึงอนาคต ไม่ว่าจะมีใบปริญญาหรือไม่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จบมาคุณจะมีงานทำ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจึงเริ่มคิดที่จะพัฒนามาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้น ทำไมจะไม่ล่ะ? ทำไมเราต้องไปลดมันลงล่ะ

     ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือระบบการศึกษาในปัจจุบันถูกออกแบบและคิดโครงสร้าง โดยคนอีกยุคหนึ่งที่แตกต่างกัน กล่าวคือ คนคิดระบบกับคนเรียนอยู่คนละยุคกันระบบนี้ถูกเรียกว่าวัฒนธรรมทางปัญญาของการรู้จริง กับสภาวะเศรษฐกิจ และวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม ซึ่งการศึกษาของรัฐ ได้รับเงินอุดหนุนจากระบบการจัดเก็บภาษี ซึ่งบังคับให้ทุกคนต้องจ่าย แบบจำลองทางสติปัญญาของจิตใจ บ่งบอกถึง ความฉลาดที่แท้จริง ซึ่งประกอบไปด้วย
1. การให้เหตุผลในเชิงนิรนัย/วิธีการใช้เหตุผล ที่ค่อยๆ เริ่มจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
2. ความรู้ตามแบบฉบับ
    ทั้ง 2 สิ่งนี้ทำให้เกิด “ความสามารถทางวิชาการ” กลายเป็น Gene pool ของระบบการศึกษาของรัฐ ทำให้เราแบ่งคนได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ได้เรียนหนังสือ
2.ไม่ได้เรียนหนังสือ
ก็คือ คนฉลาดกับไม่ฉลาด
      ซึ่งทำให้คนอัจฉริยะที่ไม่ได้เรียนหนังสือคิดว่าตนเองโง่ โดยยึดถือตามกรอบความคิดนี้ ซึ่งระบบนี้ไม่ได้มองถึงความสามารถในการรับได้ของคนเลย ทีนี้ เรามาสรุปว่า ระบบการศึกษาของรัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เศรษฐกิจและระดับสติปัญญาซึ่งในความเห็นของผมคิดว่า “แบบจำลองนี้เป็นสาเหตุของความวุ่นวาย”
       ผมเชื่อว่าการศึกษาเป็นโมเดลบนผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมและเป็นภาพสะท้อนของมันซึ่งผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง  โรงเรียนถูกจัดระบบการเรียนการสอนแบบสายพานของโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มจากมีเสียงออกเรียกเข้าเรียน มีการแยกสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในโรงเรียน แบ่งเป็นแผนกเป็นวิชาๆ เรายังคงให้การศึกษากับเด็กๆ โดยการแบ่งพวกเขาเป็นกลุ่มๆ เราสร้างระบบโดยแยกเด็กไว้เป็นกลุ่ม เป็นปีๆ ทำไมเราถึงทำแบบนั้นล่ะเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา เราก็ได้นักเรียนที่เรียนจบออกมาในรุ่นนั้นๆ การทำแบบนี้ไม่ต่างอะไรจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตเลย
ถ้าหากที่กล่าวมาคือมาตรฐานการศึกษาแล้วล่ะก็ ผมจะกล่าวถึงมาตรฐานการศึกษาแบบใหม่ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างแท้จริง ผมจะเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่เป็น “Divergent Thinking” Divergent Thinking ไม่ใช่สิ่งเดียวกับความคิดสร้างสรรค์ ผมขอนิยามมันว่า เป็นกระบวนการของความคิดริเริ่มที่มีคุณค่า Divergent Thinking ไม่ใช่คำคุณศัพท์มันคือส่วนที่สำคัญในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ หมายความว่าเราสามารถหาคำตอบที่เป็นไปได้ อย่างหลากหลายในคำถามเดียว เป็นการคิดแนวข้าง /Think Laterally ตามแนวคิดของ DE BONO ไม่ใช่การคิดแบบ Linear Thinking หรือ Convergent Thinking สรุปคือ คำตอบต้องมีหลากหลายไม่ใช่เพียงคำตอบเดียว ถ้ายกตัวอย่าง Gene Pool Education เราจำเป็นจะต้องเข้าใจความแตกต่างในการรับรู้ของมนุษย์
     เราจำเป็นต้องก้าวออกมาจากกรอบความคิดเดิม ที่แบ่งแยกคน คนนี้ชอบสิ่งที่เป็นนามธรรม   คนนี้ชอบหลักการเหตุผล สิ่งยอดเยี่ยมที่เกิดขึ้นกับการเรียนรู้คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่ม การร่วมมือกัน คือสิ่งที่สำคัญของการพัฒนา และถ้าเราลองแยกกลุ่มนั้นออกมา หมายถึงแตกทั้งกลุ่มออกมาเป็นคนเดี่ยวๆ วัฒนธรรมเดิมจะทำให้เกิดการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ต่างจากเดิม ที่วัฒนธรรมการศึกษาเป็นลักษณะแบบอุตสาหกรรมการศึกษา และสิ่งแวดล้อมเดิมที่พวกเขายังคงทำอยู่ต่อไป
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น