เป็นแนวความคิดของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton ที่ว่าด้วยการวัดผลของกิจการที่จะทำให้ผู้บริหารระดังสูงเห็นถึงภาพรวมของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงภาพรวมขององค์กรอย่างสมดุล ซึ่งนอกจากการวัดผลในด้านการเงินแล้ว ต้องมีการวัดผลด้านกระบวนการบริหารงาน การสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างเป้าหมายสำหรับองค์กรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
มุมมองของ Balanced Scorecard มีองค์ประกอบในการวัดผลดังนี้
- วัตถุประสงค์(Objective) เพื่อกำหนดตัววัตถุประสงค์ของแต่ละมุมมองที่จะใช้ชี้วัด
- ตัวชี้วัด(Performance Indication) เป็นตัวชี้วัดที่จะแสดงให้เห็นว่าการวัดผลนั้นได้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่
- เป้าหมาย(Target) เป็นค่าตัวเลขที่ตั้งไว้เพื่อให้องค์กรบรรลุถึงค่านั้นๆ
- แผนงาน โครงการที่ตั้งใจ(Initiatives) เพื่อการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอนในการวัดผล
การวัดผลโดยทั่วสามารถแบ่งวัดได้ 4 ด้านคือ
- การเงิน จะเป็นการวัดผลประกอบทางการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของหรือผู้ที่ลงทุนซึ่งจะดูจากการลดต้นทุน การเพิ่มคุณภาพในการผลิต และการใช้สินทรัพย์ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น
- มุมมองของลูกค้า หรือความพอใจของลูกค้า ซึ่งดูได้จากการเป็นผู้นำด้านสินค้าและบริการ การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และความสัมพันธ์กับลูกค้า
- การบวนการบริหารภายในองค์กร โดยวัดจาก กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบในการจัดเก็บ การบริหารวัตถุดิบในคลังสินค้า, กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงวัตถุดิบให้เป็นสินค้า, กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายสินค้ารวมถึงบริการไปยังผู้บริโภค และการให้บริการหลังการขาย
- มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาบุคคลขององค์กรในด้านของบุคลากรที่เกี่ยวกับ ทักษะความสามรถ ทัศนคติของพนักงาน รวมไปถึงระบบข้อมูลสารสนเทศ และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน
ประโยชน์และความสำคัญของ Balanced Scorecard
- ทำให้วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ขององค์กรมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- ทำให้เกิดการสื่อสารวัตถุเชิงกลยุทธ์ ที่เชื่อมโยงกับมาตรการในการวัดผลได้ชัดเจน
- ทำให้เกิดการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการชี้วัดมาตรการที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินด้วย
- ทำให้ทราบถึงข้อมูลของกลยุทธ์ที่วางไว้นั้นได้ผล และประสบความสำเร็จหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น