วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเขียนบทความ

ความหมายและลักษณะของบทความ

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้กล่าวถึงความหมายของบทความ
และลักษณะที่น่าสังเกตของบทความในหนังสือพิมพ์ไว้ พอสรุปได้ว่า บทความ 

หมายถึง เรื่องที่ให้สาระ ข้อเท็จจริง ความรู้ เสนอความคิดเห็น แตกต่างจากบันเทิง
คดีบทความในหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะที่น่าสังเกตคือ จะมีเนื้อหาไม่ยาวมากนัก 
ใช้ย่อหน้าสั้นๆ นำเรื่องพื้นๆ ที่รู้ๆ กันอยู่แล้วมาตีพิมพ์ หรือนำเรื่องเล็กๆ
ที่คนมองข้ามมาเติมสีสันให้น่าอ่านบทความอาจมีการเน้นเนื้อหาที่ตัวเหตุการณ์
และแนวโน้มในอนาคต

ฉะนั้น บทความจึงเป็นความเรียงประเภทหนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์หลายลักษณะ เช่น 

เพื่อแสดงความรู้เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์วิจารณ์ ฯลฯ 
โดยต้องเขียนอย่างมีหลักฐาน เหตุผล น่าเชื่อถือ หากมีข้อเสนอแนะใดๆ 
ต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์

ประเภทของบทความ

เมื่อแบ่งตามเนื้อหา บทความจะแบ่งได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่

1. บทบรรณาธิการ
เป็นบทความแสดงความคิดเห็นลักษณะหนึ่งที่เขียนขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดหลัก

ของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2. บทความสัมภาษณ์
เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อเรื่องใด

เรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องหรือเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลนั้น หรือจากการสัมภาษณ์
บุคคลหลายคนในหัวข้อเดียวกัน

3. บทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป มีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหา 

เหตุการณ์ หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความ
คิดเห็นสนับสนุน หรือคัดค้าน หรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียว
กันของคนอื่นๆ เป็นต้น

4. บทความวิเคราะห์
เป็นบทความแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่งซึ่งผู้เขียนจะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ที่เผยแพร่มาแล้ว อย่างละเอียด โดยแยกแยะให้เห็นส่วนต่างๆ ของเรื่องนั้น
ผู้เขียนเสนอความคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์เรื่องราวนั้นอย่างละเอียด 

แสดงข้อเท็จจริง เหตุผล เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้ ความคิดเห็นเพิ่มเติม 
เกิดความคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งเป็นบทความวิเคราะห์ข่าว และบทความวิเคราะห์ปัญหา

5. บทความวิจารณ์
เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์เรื่องราวที่ต้องการวิจารณ์ด้วยเหตุผล

และหลักวิชาเป็นสำคัญ เช่น
“บทบรรณนิทัศน์” ซึ่งแสดงความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่พิมพ์ออกใหม่ 

เพื่อแนะนำหนังสือ
“บทวิจารณ์วรรณกรรม” แสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์และประเมินค่า

โดยใช้หลักวิชาและเหตุผลเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง
 และ “บทวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆ”
ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับบทวิจารณ์วรรณกรรมแต่นำผลงานที่เป็นศิลปะแขนงอื่นๆ 

เช่น ภาพยนตร์ ละคร ภาพเขียน ดนตรี มาวิจารณ์

6. บทความสารคดีท่องเที่ยว มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานที่

ท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีทัศนียภาพสวยงามหรือมีความสำคัญในด้านต่างๆ เพื่อแนะนำ
ให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ชักชวนให้สนใจไปพบเห็นสถานที่นั้นๆ

7. บทความกึ่งชีวประวัติ เป็นการเขียนบางส่วนของชีวิตบุคคลเพื่อให้ผู้อ่านทราบ 

โดยเฉพาะคุณสมบัติ หรือผลงานเด่นที่ทำให้บุคคลนั้นมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในชีวิต 
เพื่อชื่นชม ยกย่อง เจ้าของประวัติ และชี้ให้ผู้อ่านได้แง่คิดเพื่อเป็นแนวทาง
ในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ

8. บทความครบรอบปี มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์
พิธีการในเทศกาลหรือวันสำคัญ เช่น วันสำคัญทางศาสนา ทางประวัติศาสตร์ 

ทางวัฒนธรรม เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ เป็นต้น ที่ประชาชนสนใจเมื่อโอกาสนั้นมาถึง 
เช่น วันวิสาขบูชา วันคริสต์มาส เป็นต้น

9. บทความให้ความรู้ทั่วไป ผู้เขียนจะอธิบายให้ความรู้คำแนะนำในเรื่องทั่วๆ
ไปที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น มารยาทการเข้าสังคม 

การแต่งกายให้เหมาะแก่ กาลเทศะและบุคลิกภาพเคล็ดลับการครองชีวิตคู่ เป็นต้น

10. บทความเชิงธรรมะ จะอธิบายข้อธรรมะให้ผู้อ่านทั่วๆ ไปเข้าใจได้ง่าย หรือให้คติ
ให้แนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธศาสนา เสนอหนทางแก้ปัญหา

ตามแนวพุทธปรัชญา ปัจจุบันบทความลักษณะนี้มีมากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านมีแนวทาง
การดำเนินชีวิตในสังคมที่วิกฤตได้อย่างปกติสุขมากขึ้น

11. บทความวิชาการ มีเนื้อหาแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ
ผู้เขียนอาจจะเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระทางวิชาการหรือเสนอทั้งเนื้อหาสาระข้อเท็จจริง
และแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ก็ได้ หรืออาจเสนอผลการวิจัย

การใช้ภาษาในการเขียนบทความ

การใช้ภาษาในการเขียนบทความควรพิจารณาใน 3 ประเด็น ได้แก่

1. ระดับภาษา

การเขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ควรพิจารณาใช้ระดับภาษาทั้ง 4 ระดับ 

ได้แก่ ภาษาปาก ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษากึ่งทางการ และภาษาทางการ
โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของผู้เขียน 

ระเภทของบทความ เนื้อหาและกลุ่มผู้อ่านเช่น กรณีที่เขียนบทความแสดง
ความคิดเห็นทั่วๆ ไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ ควรใช้ภาษาพูด
ในระดับไม่เป็นทางการ จนถึงภาษาพูดและภาษาเขียนระดับกึ่งทางการ 
หากมีบางตอนหรือบางข้อความที่ต้องการแสดงอารมณ์ ประชดประชัน
 เหน็บแนม อย่างชัดเจน
อาจจะใช้ภาษาพูดระดับภาษาปาก ที่ไม่หยาบคายก็ได้

กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป บทความสารคดีท่องเที่ยว ควรใช้ภาษาพูด

ในระดับภาษาปาก
เพื่อให้เกิดความเป็นกันเองกับผู้อ่าน จูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำ
หรืออาจจะใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ หรือกึ่งทางการ 

ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทความและกลุ่มผู้อ่านอีกด้วย

กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ให้สัมภาษณ์ 

และเรื่องราวที่สัมภาษณ์รวมทั้งกลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนจึงสามารถเลือกใช้
ระดับภาษาได้ตั้งแต่ ภาษาพูดระดับภาษาปากจนถึงภาษาเขียนระดับทางการ

กรณีเขียนบทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม บทความวิจารณ์

ศิลปะแขนงอื่นๆซึ่งต้องการความน่าเชื่อถือ และให้เกียรติแก่งานวรรณกรรมหรือศิลปะ 
จึงควรใช้ภาษาระดับกึ่งทางการจนถึงภาษาในระดับทางการ

กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ และเชิงวิชาการ ควรใช้ภาษาเขียนกึ่งทางการ

จนถึงระดับทางการ เพื่อให้เกิดความชัดเจน น่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ตาม หากผู้เขียนต้องการสร้างเอกลักษณ์ หรือลีลาการเขียนเฉพาะตน
ก็สามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตามความต้องการของตนเอง

2. โวหาร

กรณีเขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว 

บทความวิเคราะห์ปัญหา ควรใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบ
เช่น อุปมาโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร เป็นต้น
เพื่อแสดงเหตุผลโน้มน้าวใจผู้อ่าน

กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก 

มีโวหารประกอบ ได้แก่ สาธกโวหาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนแจ่มแจ้ง

กรณีเขียนบทความสารคดีท่องเที่ยว บางตอนควรเลือกใช้พรรณนาโวหาร 

เพื่อให้เห็นความงดงามของทัศนียภาพ  นอกเหนือจากการใช้บรรยายโวหาร 
ส่วนโวหารประกอบได้แก่ อุปมาโวหาร สาธกโวหาร
กรณีที่ต้องการเล่าเกร็ดความรู้ ตำนาน นิทานต่างๆ ประกอบสถานที่

กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ บทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม 

หรือศิลปะแขนงอื่นๆ บทความวิชาการ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก 
ส่วนโวหารประกอบได้แก่ สาธกโวหาร

กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก 

ส่วนโวหารประกอบได้แก่ เทศนาโวหาร อุปมาโวหาร และสาธกโวหาร

3. ภาพพจน์

การเขียนบทความควรเลือกใช้ภาพพจน์เพื่อสร้างภาพให้เกิดในความคิด
ตลอดจนเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้อ่าน 

รวมทั้งแสดงอารมณ์ ความรู้สึกอย่างแท้จริงของผู้เขียน ภาพพจน์จะทำให้
งานเขียนมีอรรถรสมากขึ้น และแสดงลีลาการเขียนของผู้เขียนแต่ละคน 
บทความทุกชนิดสามารถใช้ภาพพจน์ได้ตามความเหมาะสม เช่น

บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา 

มักจะใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิภาคพจน์ อติพจน์ ปฏิปุจฉา นามนัย เป็นต้น

บทความสารคดีท่องเที่ยว มักจะเลือกใช้ภาพพจน์เช่น อุปมา อุปลักษณ์ 


บุคลาธิษฐาน อติพจน์ สัญลักษณ์ เป็นต้น

ส่วนบทความชนิดอื่นๆ มักจะเลือกใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิปุจฉา เป็นต้น
แต่บทความวิชาการมักจะไม่ใช้ภาพพจน์ในการเขียนบทความประเภทนี้
เพราะต้องการแสดงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน มากกว่าจะให้เกิดภาพ 

หรืออรรถรส

ลักษณะของบทความที่ดี

บทความที่ดีควรมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้

1. มีเอกภาพ กล่าวคือ เนื้อหาของบทความมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มีทิศทางของเนื้อหาเป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ

2. มีสารัตถภาพ กล่าวคือ ผู้เขียนต้องเน้นย้ำประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่า

ต้องการนำเสนอแนวคิด สำคัญอะไร ด้วยประโยคใจความสำคัญ หรือสาระสำคัญที่โดดเด่น
เนื้อความตลอดเรื่องควรกล่าวย้ำประเด็นหลักของเรื่องเสมอๆ

3. มีสัมพันธภาพ กล่าวคือ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด ทั้งในด้านการเรียบเรียงถ้อยคำ 

ข้อความและการจัดลำดับเรื่อง ทุกประโยคในแต่ละย่อหน้า และทุกย่อหน้าในแต่ละเรื่องต้อง
เชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยการใช้คำเชื่อมข้อความ ได้แก่ คำบุพบท เช่น กับ แต่ แด่ เพื่อ 
คำสันธาน เช่น และ รวมทั้ง ตลอดจน นอกจากนี้ คำประพันธสรรพนาม เช่น ที่ ซึ่ง อัน เป็นต้น

4. มีความสมบูรณ์ กล่าวคือ มีความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหา มีเนื้อความชัดเจนกระจ่างแจ้ง
อธิบายได้ครอบคลุมความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
หากเป็นความคิดเห็นต้องมีความสมเหตุสมผล นอกจากนี้ต้องมีความสมบูรณ์ด้านการใช้ภาษา คือ
ต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายการเขียน ประเภทของบทความ เนื้อหาบทความ 

และกลุ่มผู้อ่าน
นั่นเอง


ขั้นตอนการเขียนบทความ

1. การเลือกเรื่อง ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้

- เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เป็นที่น่าสนใจ และคนส่วนใหญ่กำลังสนใจ ทันสมัย
ทันเหตุการณ์

- เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความรู้ มีประสบการณ์
ตลอดจนเป็นเรื่องที่ผู้เขียนต้องการเสนอความคิดแก่ผู้อ่าน

- เลือกเรื่องที่ผู้เขียนสามารถหาแหล่งค้นคว้า หรือหาข้อมูลมานำเสนอในงานเขียนได้

- เลือกเรื่องที่มีความยาว ความยาก ความง่าย พอเหมาะกับความสามารถของผู้เขียน
เวลาที่ได้รับมอบหมาย หน้ากระดาษ และคอลัมน์ที่ตนรับผิดชอบ

2. กำหนดจุดมุ่งหมาย โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าเขียนเพื่ออะไร เช่น ให้ความรู้
เสนอความเห็น โน้มน้าวใจ ให้แนวคิดในการดำเนินชีวิต เขียนให้ใครอ่าน เช่น กลุ่มมวลชน
กลุ่มผู้มีการศึกษาสูง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เป็นต้น

3. กำหนดแนวคิดสำคัญ หรือประเด็นสำคัญ หรือแก่นเรื่อง
ต้องกำหนดว่าบทความเรื่องนี้จะเสนอแนวคิดสำคัญ หรือมีแก่นเรื่องอะไรให้แก่ผู้อ่าน
เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหา ถ่ายทอดถ้อยคำประโยคต่างๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้น

4. ประมวลความรู้ ความคิด ต้องค้นคว้าหาข้อมูลให้เพียงพอที่จะเขียน
จากแหล่งความรู้ต่างๆ หรือการสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น

5. วางโครงเรื่อง กำหนดแนวทางการเขียนว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ แยกเป็นกี่ประเด็น
ประเด็นใหญ่ๆ มีอะไรบ้าง ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อยๆ มีตัวอย่าง มีเหตุผล
เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้ง่าย 

ไปในทิศทางที่ต้องการ
ไม่สับสน ไม่กล่าวซ้ำซาก ไม่นอกเรื่อง

6. การเขียน ได้แก่

- การเขียนขยายความให้ข้อมูลในแต่ละประเด็น มีการอธิบาย ยกเหตุผลประกอบ 

กล่าวถึงข้อมูลประกอบ
อาจเป็นสถิติ ตัวเลข ตัวอย่างเหตุการณ์ ตำนาน นิทาน เป็นต้น

- เขียนคำนำและสรุปด้วยกลวิธีที่เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาบทความ

- การใช้ภาษา ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับจุดมุ่งหมาย การเขียน ประเภท
เนื้อหา ดังที่กล่าวมาแล้ว

- การสร้างลีลาการเขียนเฉพาะตัว
สร้างได้โดยการเลือกใช้ภาษาให้เป็นเอกลักษณ์ เช่นการใช้ระดับภาษาปาก 

เล่นคารมโวหารมีคำเสียดสี มีการแสดงความรู้สึกอย่างชัดเจน หรือมีการสร้างคำใหม่
มาใช้อยู่เสมอๆ เป็นต้น

ตัวอย่างบทความ

( สุชัญญา วงค์เวสช์ เรียบเรียง)



วัยรุ่นกับความรุนแรง

นับจากต้นปีที่ผ่านมา จะมีข่าวที่วัยรุ่นก่อความรุนแรงมากมาย เช่น
ข่าวที่วัยรุ่นใช้ปืนยิงเพื่อนนักเรียนเสียชีวิต ยกพวกตีกันระหว่างสถาบัน และล่าสุด
คือเมื่องานคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีวัยรุ่นประมาณ 1,000 คน 

ยกพวกตีกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ปัญหาเหล่านี้ จัดว่าเป็นปัญหาทางสังคม
ที่นับวันได้มีแนวโน้มที่แสดงออกถึงการทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

“วัยรุ่น”เป็นวัยที่ผู้คนมักเรียกกันว่า “วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ”
เพราะวัยนี้พยายามที่จะค้นหาความเข้าใจในตนเอง ยิ่งในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง

ไปอย่างรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้โลกทัศน์ของวัยรุ่นกว้างขึ้น
บางคนก็ค้นพบตนเองในทางที่ถูกต้อง แต่บางคนกลับหันเหไปในทางที่ผิด
ทำให้เป็นบ่อเกิดของปัญหาที่เราเห็นในปัจจุบัน

ถ้าจะวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นในขณะนี้
คิดว่าคงจะมีสาเหตุมาจากหลายๆด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของวัยรุ่น สภาพครอบครัว
สภาพสังคมต่างๆ ที่เป็นตัวหล่อหลอมพฤติกรรมของวัยรุ่นผ่านสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ วีดีโอ เกม
ที่ล้วนมีผลต่อความรุนแรง เข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึก โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะบ่งชี้ถึงพฤติกรรมของวัยรุ่น ก็คือครอบครัว
เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่น
ครอบครัวจะเป็นหน่วยพื้นฐานที่คอยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น
ความสัมพันธ์กับบุคลในครอบครัวจะยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น และมักจะเกิดปัญหา

ขัดแย้งกันเสมอๆ เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าวัยรุ่นเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอิสระ 
ไม่อยากให้ใครมาบังคับและต้องการเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นส่วนสำคัญที่สุด คือพ่อ แม่ 
ที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก ควรให้คำปรึกษา เข้าใจในชีวิตของเด็กวัยนี้ ไม่ขัดขวาง 
ห้ามในสิ่งที่เขาต้องการค้นหา แต่ควรให้คำปรึกษาที่ดี เพราะเด็กวัยนี้ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ

โดยทั่วไปแล้วเด็กวัยรุ่นมักจะเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่เสมอ
ทำให้หันเหชีวิตไปหาเพื่อนเป็นส่วนใหญ่
กลุ่มเพื่อนจึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่วัยรุ่นให้ความสำคัญเหนืออื่นใดจึงเกิดการเกาะติดความเป็นพรรค 

เป็นพวกสืบเนื่องไปจนถึงความเป็นสถาบัน และยึดถือปฏิบัติกฎเกณฑ์ที่รุ่นพี่ในสถาบันตั้งขึ้น
เราจึงเห็นกลุ่มวัยรุ่นต่างสถาบันยกพวกตีกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นพ่อ สืบมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน

จากสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา
ทำให้เราเห็นว่าครอบครัวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด
ในการปลูกฝังอบรมเด็กสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็กเมื่อเขาโตขึ้นและย่างเข้าสู่วัยรุ่น พ่อ
แม่ต้องเป็นส่วนสำคัญในการชี้แนวทางการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยวิธีที่ถูกต้อง
และต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของวัยรุ่น ไม่ดุด่า หรือปล่อยจนเกินไป
เพราะสาเหตุเหล่านี้จะทำให้วัยรุ่นกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว และตีตัวออกห่างจากครอบครัว
ไปมั่วสุมกับเพื่อนๆ และเลือกเดินในแนวทางที่ผิดจนกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างที่

ปรากฏในปัจจุบัน

*
http://regelearning.payap.ac.th/docu/th203/content/aticle.htm
ที่มา : http://blog.eduzones.com/yimyim/3424


วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โปรแกรมฝึกอบรม "การบริหารสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2557


TQA Training Program 2014 : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ


การถอดบทเรียน


            การถอดบทเรียนจึงเป็นสิ่งองค์กรใหญ่ๆ เริ่มให้ความสำคัญ โดยส่งบุคลากรไปรับการฝึกอบรมวิธีการถอดบทเรียนเพื่อนำมาใช้ในองค์กร ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ในการถอดบทเรียนนี้ต้องฝึกทักษะในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการใช้หัวใจนักปราชญ์ คือ สุ-สุตตะ การฟังอย่างลึกซึ่ง จิ- จินตะ เป็นการคิดวิเคราะห์พิจารณาไตร่ตรองในเรื่องที่รับฟัง  ปุ- ปุจฉา รู้จัการตั้งคำถามอย่างตรงประเด็น เพื่อให้การถอดบทเรียนได้ผลประโยชน์สูงสุด ลิ- ลิขิต เมือได้ข้อมูลมาแล้ว ต้องนำมาวิเคราะห์ และสกัดเป็นองค์ความรู้บันทึกไว้ให้อ่านง่าย สะดวกต่อการเรียนรู้ของคนในองค์กร ซึ่งทักษะเหล่านี้ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญระยะหนึ่ง แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือคนในองค์กรต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความไว้วางใจ เชื่อมั่น และศรัทธาในกันและกัน เห็นประโยชน์ของการถอดบทเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารระดับสูงปฏิบัติเป็นแบบอ ย่าง ส่งเสริมอย่างจริงจัง และสร้างสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

    บน เส้นทางการเติบโตขององค์กรนั้นมีประสบการณ์ ความรู้เกิดขึ้นมากมายในทุกๆ งาน ไม่ว่าจะเป็นงานหลักหรืองานสนับสนุน คนทำงานแต่ละคนล้วนมีบทเรียนในงานของตนเอง ที่ผ่านการลองผิดลองถูก จนในที่สุดก็ทำให้เกิดวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร ซึ่งเรียกกันว่า Best Practices การที่องค์กรมีองค์ความรู้สะสมไว้ในองค์กร ก็เสมือนกับคนที่จะมีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น นำไปสู่การก้าวย่างที่มั่นคงขึ้น การที่องค์กรให้คุณค่ากับการถอดบทเรียนของคนในองค์กรไม่ได้ส่งผลเฉพาะการทำ ให้องค์กรได้องค์ความรู้เก็บไว้ แต่จะทำให้คนในองค์กรเองเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ เกิดความภาคภูมิใจ สร้างให้เกิดความผูกพันหรือ Engagement ในที่สุด
          สถาบันการจัดการความรู้เพื่อ สังคมหรือ สคส. ได้ให้นิยามของการถอดบทเรียนไว้ว่าเป็นการทบทวน สรุปประสบการณ์ที่ผ่านมาในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดของเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ปรัชญาของการถอดบทเรียนก็คือ หนึ่ง เมื่อใดที่ลงมือปฏิบัติเมื่อนั้นต้องได้ความรู้ สอง เมื่อใดเสร็จสิ้นการปฏิบัติเมื่อนั้นต้องได้ความรู้เพิ่มขึ้น สาม เมื่อมีการปฏิบัติอีกครั้ง ต้องมีความรู้คู่การปฏิบัติและต้องทำได้ดีกว่าครั้งก่อนๆ  ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการเติบโตขึ้น มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้นในการทำงาน โดยใช้บทเรียนเพื่อทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือยกระดับไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น
          การถอดบทเรียนเป็นส่วนหนึ่งของ การจัดการความรู้ในองค์กร ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคนที่เรียกว่า Tacit Knowledge กลายมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือ Explicit Knowledge ซึ่งถ้าหากได้รับการบันทึกอย่างมีกระบวนการ มีจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการนำมาใช้ จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ในที่สุด


ที่มา :  http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=289348423770290170#editor/target=post;postID=9082582103449272554

ตัวบ่งชี้และเป้าหมายผลการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาการศึกษาอุดมศึกษา ปี 2559

ศ.นพ.วุฒิชัย  ธนาพงศธร  กล่าวว่า  ในปี 2559 ตัวบ่งชี้ของแผนมีแนวทางตามกรอบแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2559)  ซึ่งวิสัยทัศน์ ปี 2559 คือ “อุดมศึกษาเป็นแหล่งองค์ความรู้และพัฒนากำลังคนระดับสูงที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน สร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีบทบาทสูงในสังคมประชาคมอาเซียนและมุ่งสู่คุณภาพอุดมศึกษาระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่สถาบันฯ ต้องเตรียมรับ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ปี 2559 มีจำนวนรวม 7 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
1. ร้อยละของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ได้รับจัดลำดับในระดับสากล ตามระบบมาตรฐานสากลที่สกอ.กำหนด
    1) ภาพรวมของประเทศเท่ากับ 6%
    2) กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาที่เป็น เลิศในการสร้างองค์ความรู้เพื่อชี้นำสังคมและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับโลก (เฉพาะกลุ่ม) เท่ากับ 100%
2. ร้อยละของอาจารย์ที่ได้รับการรับรองศักยภาพความเป็นอาจารย์มืออาชีพตามที่ สกอ.กำหนด เมื่อ  เทียบกับจำนวนอาจารย์ทั้งหมด เท่ากับ 25%
3. คะแนนเฉลี่ยจากงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์/เผยแพร่ต่อจำนวนอาจารย์ ≥ 3.51 (คำนวณจากข้อมูลของสมศ. แต่ปรับเป้าหมายให้สอดคล้องตามกลุ่มสถาบัน)
4. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่ผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพหรือใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่งชาติ
เท่ากับ 100% (โดยครอบคลุมความรู้ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ)
5. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต เท่ากับ ≥ 4.51
6. ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับนานาชาติ โดยหน่วยงานสถาบันวิชาชีพ/องค์กร
ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เท่ากับ 20%
7. ร้อยละของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ เท่ากับ 100%

ที่มา :  ที่ประชุมแนวทางการเป็นผู้จัดทำมาตรฐานการศึกษาระดับอาเซียนและเกณฑ์ใหม่ในการประกันคุณภาพการศึกษา วันที่ 25 ต.ค. 2556 คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

http://www.mua.go.th/users/bpp/developplan/index.htm

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการเป็นผู้จัดทำมาตรฐานการศึกษาระดับอาเซียน และเกณฑ์ใหม่ในการประกันคุณภาพการศึกษา

   การประชุม :  แนวทางการเป็นผู้จัดทำมาตรฐานการศึกษาระดับอาเซียน และเกณฑ์ใหม่ในการประกันคุณภาพการศึกษา วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2556 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
โดยมีท่าน ศ.นพ.วุฒิชัย  ธนาพงศธร  เป็นวิทยากร




  

Tips แนวทางการเป็นผู้นำจัดทำมาตรฐานการศึกษาระดับอาเซียน 
     
  การเน้น Leadership
- Glogalization
- Quality challenge
- ASEAN community 2015
- The 11th Higher Education Development Plan (2012-2016 
- IQA EQA EdPEx & AUN accreditation

ทฤษฎี VUCA world
V  =  Volatility 
U =  Uncertainty
C =  Complexity
A = Ambiguous

ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา คุณหมอ กล่าวว่าต้องมี VUCA leadership
V  =  Vision
U  =  Understanding
C  =  Clearity
A  =  Agility

Change Management
 E  =  Q*A
Effiectiveness =  Quality * Acceptation
การเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพนั่นคือ การเปลี่ยนแปลงที่ดี

ทฤษฎี PPP
- Purpose 
- Principle
- Priority 
จัดลำดับความสำคัญกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากการวางแผน เป้าหมายที่ชัดเจน จัดระบบ

concept PPP = Private Public Partnership

การพัฒนาแบบก้าวกระโดด ต้องอาศัยยุทธศาสตร์และเครือข่าย Network 
ยุทธศาสตร์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุดมศึกษาไทยมุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด โดยสรุปเป็นอักษรย่อ คือ "LEGS" STRATEGY ดังนี้
L  = Leader of Change Management for Quality Education (เปลี่ยนระบบการนำองค์กรให้ขับเคลื่อนอุดมศึกษาแบบองค์รวม)
E  =  Educator Professional Development (พัฒนาอาจารย์ให้เป็นมืออาชีพ และพัฒนาผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพให้เป็นอาจารย์)
G  =  Graduated with Quality and Social Responsibility (ยกระดับคุณภาพบัณฑิตอย่างก้าวกระโดด)
S  =  Satang Utilization (ปฏิรูปการบริการการเงินอุดมศึกษา เพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

3 Types of AUN - QA Assessment
- Self - assessment at programme level
- Self - assessment of the IQA system
- Self-assessment at institutional level

EdPEx  (Education Performance fo Excellentce) = Benchmarking

หลักคิด Excellence
Benchmarking is the process
aiming to help us answer
the following questions :
'Where are we?'
'Where is the best?'
'How do they do it?'
'How can we do it better?'

             TQA
TQA  =  Thailand Quality Award
TQA  =  Totally Questions Approach
TQA  =  Too Quiet Answers






วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เคล็ดลับ เติมกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต

   คนเราทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะใช้ เวลาส่วนใหญ่ของชีวิต เพื่อไขว่คว้าหาลาภยศเงินทองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็แน่นอนแหละที่ว่าหลายคนอาจคิดว่าเงินทองลาภยศจะทำให้ชีวิตอยู่ดี มีสุข จึงทำลายเวลาของชีวิตให้หมดไปทุกวัน ๆ อย่างไร้เป้าหมาย เพราะยิ่งตั้งความหวังสูงส่งมากมายไม่รู้จบ ความผิดหวังก็จะประดังเข้ามาไม่จบสิ้น แล้วความท้อแท้ เบื่อหน่ายกับชีวิตและงานก็จะครอบครองชีวิต กำลังใจก็จะลดลง
   กำลังใจ จึงเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มเติม ต้องเสริมให้มีอยู่เสมอ อย่าให้พร่องลงได้ เพราะจะทำให้ชีวิตเสียหาย ในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้น กำลังใจจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ที่เราจะมองข้ามอีกต่อไปอีกแล้ว 
วิธีปรุงแต่งให้เกิดกำลังใจ จงตั้งความคิดให้กับตัวเองดังนี้

 - เราไม่ใช่คนเลว
 - จงคิดว่าเราก็เป็นคนปกติเหมือนคนอื่นๆ เราอาจมีจุดดี จุดด้อย คนอื่นก็ไม่ได้แตกต่างจากเรา
 - จงคิดว่าเราก็เป็นคนแข็งแรง พร้อมที่จะมีพลังต่อสู้กับปัญหาของงานและชีวิตเสมอ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด
 - เรา ไม่เหมือนใคร และก็ไม่มีใครเหมือนเรา เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน การคิดเช่นนี้ทำให้มีกำลังใจเกิดขึ้น เพราะคนอื่นอาจจะมีความสามารถบางอย่างที่เราไม่มี แต่เราเองก็มีความสามารถพิเศษอย่างที่คนอื่นไม่มี

- จงฝึกใจให้เชื่อมั่นในตัวเอง เพราะจะทำให้จิตใจแข็งแกร่ง กล้าคิดสร้างสรรค์ กล้าลงมือปฏิบัติ และเชื่อว่าตนเองจะทำได้สำเร็จ
 -
จง ค้นพบส่วนดีในตนเองให้เจอ นำออกมาใช้ในชีวิตและงาน ย่อมทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นและการงานประสบความสำเร็จมากกว่าที่ผ่านมาใน อดีต เราก็จะภาคภูมิใจและมั่นใจเพิ่มขึ้น พร้อมต่อสู้กับอุปสรรคทั้งปวงด้วยความมั่นคงไม่หวั่นไหว
 -
กล้า เป็นตัวของตัวเอง จะทำให้เราเป็นคนจริงใจเปิดเผย มั่นใจ สบายใจ และมีกำลังใจเต็มเปี่ยม ไม่ต้องคอยหวาดระแวงว่าจะมีใครจับได้ว่าตัวตนที่เป็นจริงของเรานั้นเป็น อย่างไร
 -
จงชื่นชมกับตัวเอง เพราะเป็นบ่อเกิดของกำลังใจ


ที่มา : http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538768400&Ntype=128

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"พงศ์เทพ" ย้ำ สมศ.พิจารณาเข้มตัวบ่งชี้



มุ่งคุณภาพผู้เรียนเป็นหลัก “ชาญณรงค์ติงสถานศึกษาคิดลบการประเมิน

นาย พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (สมศ.) กล่าวในที่ประชุมหารือนโยบายการประเมินคุณภาพภายนอกและประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีคณะกรรมการบริหาร สมศ.ชุดใหม่ เข้าร่วมว่า ภารกิจของ สมศ.มีความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของการประเมินคุณภาพ เรื่องของมาตรฐานที่ขณะนี้ทุกวงการต้องมี และยิ่งในยุคปัจจุบันประเทศเปิดกว้าง คนต่างชาติสามารถมาเรียนในประเทศไทย และเด็กไทยไปเรียนที่ต่างประเทศได้ สิ่งที่จะทำให้ต่างชาติมั่นใจได้ว่าคนไทย เด็กไทยมีคุณภาพก็อยู่ที่มาตรฐานการศึกษา ดังนั้นตนอยากฝากคณะกรรมการบริหาร สมศ. และ ผอ.สมศ.ให้พิจารณาตัวบ่งชี้ต่างๆของ สมศ.โดยเน้นเรื่องของการส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ อีกทั้ง สมศ.ควรมองว่าตัวเอง คือ หน่วยงานบริการ มีหน้าที่ให้บริการ โดยมีผู้ถูกประเมินเป็นผู้ใช้บริการ จะทำอย่างไรให้ผู้ถูกประเมินสบาย และ สมศ.ก็ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ต้องมีการจัดระบบให้สบายด้วยกันทั้งคู่ และอยากให้ สมศ.ทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งการประเมินต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาของ ศธ. เพราะหากมีการประเมินที่ดีก็จะนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ ศธ.ตั้งไว้ได้

ด้าน ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการ สมศ. กล่าวว่า จากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานการประเมิน คือ สถานศึกษา ผู้รับการประเมินยังมีทัศนคติที่ไม่ดี และเข้าใจผิดในเรื่องวิถีการประเมิน โดยสถานศึกษาเข้าใจว่าการประเมินเป็นการตัดสินให้คุณให้โทษ และกลัวการประเมิน ทั้งที่การประเมินเป็นการสะท้อนการทำงาน เป็นประโยชน์และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา ดังนั้นในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2561) สมศ.จะพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการประเมิน อย่างไรก็ตาม สมศ.จะประกาศตัวบ่งชี้ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ การประกันคุณภาพ ในวันที่ 7-8 พ.ย.นี้ ที่ศูนย์การประชุม นิทรรศการไบเทค บางนา ผู้สนใจลงทะเบียนทาง www.onesqa.or.th หรือ โทร.0-2216-3955.

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/edu/377554

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาเพื่อการมีงานทำ (เท่านั้นเองหรือ)



      ความสามารถในการได้รับการจ้างงาน (Employability) กลายเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาในยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็น ต้นมาประกอบกับระบบทุนนิยมที่ให้ความสำคัญกับสังคมที่ยึดถือการทำงานเป็น สำคัญ (Work-OrientedSociety) ทำให้การศึกษาสนองความต้องการของสังคมและของบุคคลโดยการทำให้คนมีงานทำตาม ความต้องการทั้งของสังคมและของบุคลากรศึกษาเพื่อเตรียมคนเข้าสู่โลกของงาน เรียกว่า อาชีพศึกษา” (CareerEducation) จึงเป็นรูปแบบของการจัดการศึกษาของหลายประเทศทั่วโลก

อาชีพศึกษาเป็นการรวมเอาความคิด 2 ประการเข้าด้วยกัน ประการหนึ่งใช้รูปแบบการมีงานทำ” (Occupational Model) เป็นตัวกระตุ้น อีกประการหนึ่งจะใช้รูปแบบ การเตรียมคนเข้าสู่โลกของงาน” (Career Model) การใช้รูปแบบ การมีงานทำนั้นจะใช้ผู้เรียนเป็นผู้ได้รับการฝึกทักษะที่สอดคล้องกับงานหรืออาชีพที่จะ ปฏิบัติงานส่วนรูปแบบ การเตรียมคนเข้าสู่โลกของงานจะใช้ระบบการศึกษาที่มีอยู่ให้การศึกษาแก่ผู้เรียนในวิธีและรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ในแต่ละช่วงของจุดสิ้นสุดขั้นการเรียนในแต่ละ ระดับ

จะเห็นได้ว่ารูปแบบ การเตรียมคนเข้าสู่โลกของงานหรือ Career Model นั้น จะกว้างกว่ารูปแบบ การมีงานทำหรือ Occupational Model ซึ่งไม่เน้นเฉพาะทักษะที่จะทำงานเท่านั้น แต่จะรวมถึงเจตคติ ความรู้ และความคิดของตนเองที่สร้างให้เกิดกระบวนการตัดสินใจโดย Career Model นี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง และดำเนินแผนการเรียนซึ่งแต่ละคนจะเป็นผู้กำหนดซึ่ง Model นี้ไม่ใช้เฉพาะผู้เรียนในวัยมัธยมศึกษาแต่จะใช้กับทุกคนที่เป็นผู้เรียนโดย ไม่จำกัดด้วยอายุและจะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนได้สามารถค้นพบจุดมุ่ง หมายของตนเองในการทำงานและเลือกงาน

สถานศึกษาส่วนมากที่มีอยู่ขณะนี้ ใช้หลักสูตรเนื้อหาวิชาเป็นหลัก (Subject-Centered Curriculum) ขอบเขตและลำดับขั้นของทักษะต่าง ๆ ได้บรรจุไว้ในรายวิชาของแต่ละสาขาวิชาในแต่ละหลักสูตรและผู้เรียนก็เรียนตาม ลำดับที่จัดไว้ การประเมินความสำเร็จในแต่ละระดับการศึกษาไม่อาจจะประมาณได้ชัดเจนว่าแตก ต่างกันอย่างไรในภาวะของความสามารถในการได้รับการจ้างงาน(Employability) เช่น ระดับ ปวช. สาขาบัญชี กับ ระดับ ปวส.สาขาบัญชี ซึ่งเป็นหลักสูตรประเภทเนื้อหาวิชาเป็นหลัก เป็นต้น

อาชีพศึกษา” (Career Education) นั้นสามารถกำหนดเป็นขั้นต่าง ๆ พอสังเขปได้ดังนี้

1. ขั้น Career Awareness เรียกว่าเป็นขั้นตระหนักในอาชีพเป็นการสร้างเจตคติและค่านิยมของการทำงานให้ ตระหนักถึงคุณค่าของอาชีพที่มีต่อการดำรงชีวิตโดยเรียนรู้จากระบบโรงเรียน และประสบการณ์ที่ได้รับจากบ้านและชุมชนการศึกษานี้จะเรียนในชั้นประถม 1-6 โดยยังไม่ให้รายละเอียดของงานมากนักจะกล่าวถึงงานและอาชีพโดยส่วนรวมเป็นการ สร้างความคิดเกี่ยวกับโลกของงานและอาชีพเท่านั้น (World of Work)

2. ขั้น Career Orientation เรียกว่าเป็นขั้นสร้างพื้นฐานอาชีพให้ผู้เรียนได้รู้จักกลุ่มของอาชีพ (OccupationalClusters) ที่มีอยู่ในสังคมและเริ่มต้นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยคาบเกี่ยวกับประถม ตอนปลายโดยเริ่มจาก ป.6 ไปจนถึง ม.2 เป็นการสอนให้ผู้เรียนได้รู้จักอาชีพในกลุ่มต่าง ๆ เพื่อหาอาชีพที่ตนเองชอบและสนใจที่จะมีชีวิตและทำงานในอาชีพนั้น

3. ขั้น Career Exploration เรียกว่าเป็นขั้นสร้างอาชีพที่ต้องการ อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคาบเกี่ยวกับมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งแต่ ม.2-4 ในระดับนี้จะเป็นการเสริมสร้างอาชีพที่ผู้เรียนแต่ละคนสนใจในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ (Occupational Group within Clusters) ผู้เรียนจะรู้ว่าตนเองสนใจและต้องการจะมีอาชีพในกลุ่มใด

4. ขั้น Career Preparation เป็นขั้นเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพซึ่งจะอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป เริ่มตั้งแต่ ม.4 จนถึงจบมหาวิทยาลัย โดยแยกระดับของความต้องการในการประกอบอาชีพถ้าผู้เรียนต้องการเป็นช่างฝีมือ ก็จะเข้าสู่โปรแกรมการฝึกอาชีพเป็นช่างฝีมือถ้าต้องการเป็นผู้มีวิชาชีพชั้น สูงก็เรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่อไป

        นอกจากนี้ การศึกษานอกระบบยังได้มีการส่งเสริมและดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดการศึกษา ในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงการฝึกอาชีพในส่วนของผู้เรียนนั้นต้องการ ให้ผู้เรียนสามารถรู้จักตนเองและเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องในโลกของ งานกระบวนการแนะแนวอาชีพต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถรู้จัก ตนเอง (Know Yourself) แล้วทำการสำรวจสิ่งที่เป็นไปได้และเหมาะสมกับตนเอง (Explore Possibilities) จากนั้นก็จะสามารถหาทิศทางที่เหมาะสมสำหรับตนเอง (Set Directions) และดำเนินการเข้ารับการฝึกอาชีพหรือเรียนในสิ่งที่เหมาะสมกับตน (Take Action)

       การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการศึกษาเพื่อการพัฒนานั้นเป็นการนำ ความรู้ ความคิด มาสู่การปฏิบัติ และผลของการปฏิบัตินั้นต้องมีการรับรองอย่างเป็นรูปธรรม การตราพระราชบัญญัติเป็นการนำความคิด ความรู้มาสู่การปฏิบัติที่มีผลในการบังคับใช้ และการอาชีวศึกษาของประเทศไทยได้พัฒนามาถึงระดับของการมีพระราชบัญญัติการ อาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 นับเป็นพัฒนาการมาถึงขั้นสูงมาก เนื่องจากการได้มีพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว เป็นผลมาจากการรวบรวมความรู้ ความคิด หลักการ ทฤษฎีและปรัชญาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาสู่การปฏิบัติที่มีบทบังคับให้ดำเนินการตามที่กฎหมาย กำหนด จึงถือเป็นบทสรุปที่เป็นข้อยุติทางด้านความคิดที่มีต่อกระบวนการจัดการ อาชีวศึกษาและการฝึกอาชีพได้ระดับหนึ่ง

      ดังนั้น การศึกษาเพื่อการมีงานทำจึงมีแนวทางการดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการของ พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษาส่วนการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์หรือ พัฒนาสังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมคิดค้นวิทยาการต่าง ๆ เพื่อการชี้นำทางสังคม สร้างความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติให้มีความร่มเย็นเป็นสุข มหาวิทยาลัยควรหันกลับมาให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าการจัดการศึกษาที่มุ่งให้ ผู้จบการศึกษามีงานทำ หรือมีความสามารถได้รับการจ้างงานเท่านั้น

ที่มา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
http://www.thairath.co.th/content/edu/371432

พัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร



วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คุณสมบัติของวิศวกร และสถาปนิก ที่จะโยกย้ายทำงานใน ASEAN ตามคุณสมบัติ MRA

ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) พร้อมกับเพื่อนประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ โดยมีข้อตกลงที่กลุ่มสมาชิกอาเซียนยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติหรือ มาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ (Mutual  Recognition  Arrangement : MRA) อยู่ด้วย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพหรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี
จุดประสงค์ของ MRA ของอาเซียนก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ โดยอาเซียนตกลงกันว่าจะยอมรับคุณสมบัติเพื่ออำนวยความสะดวกในขั้นตอนการขอใบ อนุญาต แต่ MRA ของอาเซียนจะยังไม่ไปถึงขั้นที่จะยอมรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งกันและกัน และจะเน้นหลักว่านักวิชาชีพต่างด้าวจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศที่ตนต้องการเข้าไปทำงาน

วิศวกรไทยซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในความตกลง MRA (จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 7 ปี รวมทั้งเคยได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทยแล้ว) สามารถไปสมัครขอขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียนได้ จากนั้นเมื่อมีรายชื่อเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียนแล้ว ก็สามารถไปสมัครกับสภาวิศวกรของประเทศอาเซียนอื่น เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรต่างด้าวในประเทศนั้นๆ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆ เช่น หากมาเลเซียกำหนดว่าต้องมีใบอนุญาต และจะต้องผ่านการสอบด้วย วิศวกรไทยที่สนใจจะไปทำงานในมาเลเซียก็จะต้องไปสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตของ มาเลเซีย

ในส่วนของ สถาปนิก จากข้อมูลล่าสุดของสภาสถาปนิก มีดังนี้
กฎหมายรองรับรัดกุม เพราะมีสภาสถาปนิกอาเซียนคอยรองรับ และกำหนดคุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพสถาปนิกข้ามชาติแล้ว ข้อกำหนดที่ชัดเจนของสถาปนิกข้ามชาติ หลังการเปิด AEC นั้น ถูกกำหนดว่า ต้องมีคุณสมบัติหลายประการ ได้แก่
1) จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์หลักสูตร 5 ปี
2) มีใบอนุญาตเป็นสถาปนิก
3) มีประสบการณ์อย่างน้อย 10 ปีนับแต่จบการศึกษา
4) เมื่อจบแล้วต้องทำงานโดยมีใบอนุญาตอย่างน้อย 5 ปี
5) มีการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง (CDP)
6) ทำงานรับผิดชอบสถาปัตยกรรมสำคัญอย่างน้อย 2 ปี
7) ไม่เคยทำผิดมาตรฐานหรือจรรยาบรรณวิชาชีพ
8) ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสภาสถาปนิกอาเซียน


เมื่อปี 2555 ไทยมีสถาปนิก 17,000 คน แบ่งตามใบอนุญาต 3 แบบ คือแบบสามัญ 1,857 คน แบบภาคี 14,159 คน และแบบวุฒิ 560 คน ขณะที่ต่างประเทศมีใบประกอบวิชาชีพเพียงแบบเดียว คือแบบสามัญ หากไทยต้องรวบเหลือใบเดียว เท่ากับว่าไทยจะเหลือสถาปนิกเพียง 1,857 คน

สำหรับการเตรียมความพร้อมของสาขาวิชาชีพ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศสมาชิกอาเซียน ตามข้อตกลงใน MRA มีดังต่อไปนี้
1. จัดทำกรอบการทำงานร่วมกันของสถาปนิกไทยกับสถาปนิกอาเซียน ภายใต้ข้อตกลงของสภาสถาปนิกอาเซียน ว่าด้วยการทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงร่วมกันภายใต้กรอบใหญ่ของ International Union of Architects: UIA ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “การปฏิบัติงานในประเทศอื่นต้องมีการร่วมมือกับเจ้าของประเทศนั้น”
2. ดำเนินการจัดให้มีระบบการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า CPD (Continuing Professional Development) โดยความสมัครใจ สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็น “สถาปนิกอาเซียน”
3. แก้ไขกฎกระทรวงเพื่อให้เกิดการจ้างงานของคนต่างด้าวตามพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้สถาปนิกต่างชาติสามารถเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้ภายใต้เงื่อนไขของ MRA
ดังนั้น เป็นที่รับทราบแล้วว่า สาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะมีการเปิดเสรีในอาเซียนปี 2558 เราจะมีพันธมิตรและคู่แข่งในสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรม อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จึงเป็นโอกาสที่นักวิชาชีพของอาเซียนสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะได้พันธมิตร วิชาชีพเดียวกันในภูมิภาค ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี รวมถึงการร่วมทุน ขณะเดียวกันทุกสาขาวิชาชีพที่ถูกกำหนดต้องปรับตัวพัฒนาวิชาชีพเชี่ยวชาญ เพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาอาเซียน รวมถึงการเข้าใจเรื่องสังคมและคนอาเซียน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้และใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ อย่างสูงสุด สุดท้ายแล้วประชาชนทุกคนคือผู้บริโภค จะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นความหวังที่น่าท้าทายและเป็นจริงได้มากที่ สุด.
รศ.ดร.นิพันธ์ วิเชียรน้อย
สาขาวิชาการผังเมือง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ.

ที่มา : http://www.thai-aec.com/840