วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาเพื่อการมีงานทำ (เท่านั้นเองหรือ)



      ความสามารถในการได้รับการจ้างงาน (Employability) กลายเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาในยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็น ต้นมาประกอบกับระบบทุนนิยมที่ให้ความสำคัญกับสังคมที่ยึดถือการทำงานเป็น สำคัญ (Work-OrientedSociety) ทำให้การศึกษาสนองความต้องการของสังคมและของบุคคลโดยการทำให้คนมีงานทำตาม ความต้องการทั้งของสังคมและของบุคลากรศึกษาเพื่อเตรียมคนเข้าสู่โลกของงาน เรียกว่า อาชีพศึกษา” (CareerEducation) จึงเป็นรูปแบบของการจัดการศึกษาของหลายประเทศทั่วโลก

อาชีพศึกษาเป็นการรวมเอาความคิด 2 ประการเข้าด้วยกัน ประการหนึ่งใช้รูปแบบการมีงานทำ” (Occupational Model) เป็นตัวกระตุ้น อีกประการหนึ่งจะใช้รูปแบบ การเตรียมคนเข้าสู่โลกของงาน” (Career Model) การใช้รูปแบบ การมีงานทำนั้นจะใช้ผู้เรียนเป็นผู้ได้รับการฝึกทักษะที่สอดคล้องกับงานหรืออาชีพที่จะ ปฏิบัติงานส่วนรูปแบบ การเตรียมคนเข้าสู่โลกของงานจะใช้ระบบการศึกษาที่มีอยู่ให้การศึกษาแก่ผู้เรียนในวิธีและรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ในแต่ละช่วงของจุดสิ้นสุดขั้นการเรียนในแต่ละ ระดับ

จะเห็นได้ว่ารูปแบบ การเตรียมคนเข้าสู่โลกของงานหรือ Career Model นั้น จะกว้างกว่ารูปแบบ การมีงานทำหรือ Occupational Model ซึ่งไม่เน้นเฉพาะทักษะที่จะทำงานเท่านั้น แต่จะรวมถึงเจตคติ ความรู้ และความคิดของตนเองที่สร้างให้เกิดกระบวนการตัดสินใจโดย Career Model นี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง และดำเนินแผนการเรียนซึ่งแต่ละคนจะเป็นผู้กำหนดซึ่ง Model นี้ไม่ใช้เฉพาะผู้เรียนในวัยมัธยมศึกษาแต่จะใช้กับทุกคนที่เป็นผู้เรียนโดย ไม่จำกัดด้วยอายุและจะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนได้สามารถค้นพบจุดมุ่ง หมายของตนเองในการทำงานและเลือกงาน

สถานศึกษาส่วนมากที่มีอยู่ขณะนี้ ใช้หลักสูตรเนื้อหาวิชาเป็นหลัก (Subject-Centered Curriculum) ขอบเขตและลำดับขั้นของทักษะต่าง ๆ ได้บรรจุไว้ในรายวิชาของแต่ละสาขาวิชาในแต่ละหลักสูตรและผู้เรียนก็เรียนตาม ลำดับที่จัดไว้ การประเมินความสำเร็จในแต่ละระดับการศึกษาไม่อาจจะประมาณได้ชัดเจนว่าแตก ต่างกันอย่างไรในภาวะของความสามารถในการได้รับการจ้างงาน(Employability) เช่น ระดับ ปวช. สาขาบัญชี กับ ระดับ ปวส.สาขาบัญชี ซึ่งเป็นหลักสูตรประเภทเนื้อหาวิชาเป็นหลัก เป็นต้น

อาชีพศึกษา” (Career Education) นั้นสามารถกำหนดเป็นขั้นต่าง ๆ พอสังเขปได้ดังนี้

1. ขั้น Career Awareness เรียกว่าเป็นขั้นตระหนักในอาชีพเป็นการสร้างเจตคติและค่านิยมของการทำงานให้ ตระหนักถึงคุณค่าของอาชีพที่มีต่อการดำรงชีวิตโดยเรียนรู้จากระบบโรงเรียน และประสบการณ์ที่ได้รับจากบ้านและชุมชนการศึกษานี้จะเรียนในชั้นประถม 1-6 โดยยังไม่ให้รายละเอียดของงานมากนักจะกล่าวถึงงานและอาชีพโดยส่วนรวมเป็นการ สร้างความคิดเกี่ยวกับโลกของงานและอาชีพเท่านั้น (World of Work)

2. ขั้น Career Orientation เรียกว่าเป็นขั้นสร้างพื้นฐานอาชีพให้ผู้เรียนได้รู้จักกลุ่มของอาชีพ (OccupationalClusters) ที่มีอยู่ในสังคมและเริ่มต้นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยคาบเกี่ยวกับประถม ตอนปลายโดยเริ่มจาก ป.6 ไปจนถึง ม.2 เป็นการสอนให้ผู้เรียนได้รู้จักอาชีพในกลุ่มต่าง ๆ เพื่อหาอาชีพที่ตนเองชอบและสนใจที่จะมีชีวิตและทำงานในอาชีพนั้น

3. ขั้น Career Exploration เรียกว่าเป็นขั้นสร้างอาชีพที่ต้องการ อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคาบเกี่ยวกับมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งแต่ ม.2-4 ในระดับนี้จะเป็นการเสริมสร้างอาชีพที่ผู้เรียนแต่ละคนสนใจในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ (Occupational Group within Clusters) ผู้เรียนจะรู้ว่าตนเองสนใจและต้องการจะมีอาชีพในกลุ่มใด

4. ขั้น Career Preparation เป็นขั้นเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพซึ่งจะอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป เริ่มตั้งแต่ ม.4 จนถึงจบมหาวิทยาลัย โดยแยกระดับของความต้องการในการประกอบอาชีพถ้าผู้เรียนต้องการเป็นช่างฝีมือ ก็จะเข้าสู่โปรแกรมการฝึกอาชีพเป็นช่างฝีมือถ้าต้องการเป็นผู้มีวิชาชีพชั้น สูงก็เรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่อไป

        นอกจากนี้ การศึกษานอกระบบยังได้มีการส่งเสริมและดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดการศึกษา ในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงการฝึกอาชีพในส่วนของผู้เรียนนั้นต้องการ ให้ผู้เรียนสามารถรู้จักตนเองและเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องในโลกของ งานกระบวนการแนะแนวอาชีพต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถรู้จัก ตนเอง (Know Yourself) แล้วทำการสำรวจสิ่งที่เป็นไปได้และเหมาะสมกับตนเอง (Explore Possibilities) จากนั้นก็จะสามารถหาทิศทางที่เหมาะสมสำหรับตนเอง (Set Directions) และดำเนินการเข้ารับการฝึกอาชีพหรือเรียนในสิ่งที่เหมาะสมกับตน (Take Action)

       การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการศึกษาเพื่อการพัฒนานั้นเป็นการนำ ความรู้ ความคิด มาสู่การปฏิบัติ และผลของการปฏิบัตินั้นต้องมีการรับรองอย่างเป็นรูปธรรม การตราพระราชบัญญัติเป็นการนำความคิด ความรู้มาสู่การปฏิบัติที่มีผลในการบังคับใช้ และการอาชีวศึกษาของประเทศไทยได้พัฒนามาถึงระดับของการมีพระราชบัญญัติการ อาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 นับเป็นพัฒนาการมาถึงขั้นสูงมาก เนื่องจากการได้มีพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว เป็นผลมาจากการรวบรวมความรู้ ความคิด หลักการ ทฤษฎีและปรัชญาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาสู่การปฏิบัติที่มีบทบังคับให้ดำเนินการตามที่กฎหมาย กำหนด จึงถือเป็นบทสรุปที่เป็นข้อยุติทางด้านความคิดที่มีต่อกระบวนการจัดการ อาชีวศึกษาและการฝึกอาชีพได้ระดับหนึ่ง

      ดังนั้น การศึกษาเพื่อการมีงานทำจึงมีแนวทางการดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการของ พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษาส่วนการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์หรือ พัฒนาสังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมคิดค้นวิทยาการต่าง ๆ เพื่อการชี้นำทางสังคม สร้างความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติให้มีความร่มเย็นเป็นสุข มหาวิทยาลัยควรหันกลับมาให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าการจัดการศึกษาที่มุ่งให้ ผู้จบการศึกษามีงานทำ หรือมีความสามารถได้รับการจ้างงานเท่านั้น

ที่มา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
http://www.thairath.co.th/content/edu/371432

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น