ในการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ 6/2556 วันที่ 23 สิงหาคม 2556 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการการอุดมศึกษาชุดใหม่ ซึ่งมีรศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นประธาน ในโอกาสนี้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมประชุมและมอบนโยบายด้านการอุดมศึกษา พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมการ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน เพื่อที่รัฐบาลและ กกอ. จะได้ขับเคลื่อน ผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอุมดศึกษาของประเทศร่วมกัน
โดยได้มอบนโยบายด้านการอุดมศึกษาให้กับคณะกรรมการการอุดมศึกษาชุดใหม่ ให้ผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ เน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน มากกว่าการขยายการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณ พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาให้สูงขึ้น โดยสนับสนุนให้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะต้องมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับทั้งจากประชาคมอุดมศึกษาและสังคม พร้อมทั้งการส่งเสริมการวิจัย เพื่อพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) และผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับของนานาชาติให้มากขึ้น และพัฒนากองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (ICL) เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติอุดมศึกษา และพระราชบัญญัติวิทยาลัยชุมชน ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว และพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติสำหรับภูมิภาคอาเซียน สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยชั้นนำของต่างประเทศมาเปิดดำเนินการในประเทศไทยภายใต้กติกาที่กำหนด พร้อมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนจัดการศึกษา ตลอดจนพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งนี้ คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีการพิจารณา เห็นว่า การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา ควรพัฒนาตามจุดแข็งและอัตลักษณืของแต่ละประเภทสถาบัน โดยอาจแบ่งกลุ่ม อาทิ 1) มหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อสร้างบัณฑิตศึกษาและอาจารย์ที่เป็นนักวิจัยชั้นนำ 2) สายเทคโนโลยี เพื่อสร้างวิชาชีพ และแรงงานด้านอุตสาหกรรม และ 3) ด้านการพัฒนาชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสถาบันแต่ละประเทศสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศและความเป็นนานาชาติได้ตามกลุ่มของตนเอง และรัฐบาลควรส่งเสริมสถาบันที่มีศักยภาพความพร้อมไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลก
สำหรับการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา (Ranking) ควรมีระบบที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในแต่ละประเภทสถาบัน และต้องเป็นระบบ Ranking ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษาใดที่มีศักยภาพ มีความสามารถที่จะติดอันอับโลกได้ ก็ควรจะส่งเสริมและสนับสนุน สำหรับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ที่ยังไม่มีศักยภาพพียงพอที่จะติดอันดับโลกได้ ก็ให้ Ranking เพื่อการพัฒนา นอกจากนี้ อุดมศึกษาไทยควรมีระบบเทียบเคียงกับต่างประเทศเพื่อให้สถาบันและสังคม ได้รู้สถานภาพ จุดอ่อน จุดแข็ง และผลักดัน ให้เกิดการพัฒนา ให้ผลิตบัณฑิตที่เป็นคนเก่งและคนดี สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล ในขณะที่ระบบการประเมินและการประกันคุณภาพ จะต้องมีเกณฑ์และดัชนีชี้วัดหลายตัวที่จะเข้าไปสนับสนุนในการประเมิน เพื่อที่จะช่วยส่งเสริมสถาบันให้พัฒนาตามจุดแข็ง และอัตลักษณ์ ทั้งนี้ควร ส่งเสิรม ให้เกิดความร่วมมือเป็นเครือข่ายระหว่งสถาบันทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพการศกึษาในภาพรวมของประเทศให้ดีขึ้น
คณะกรรมการการอุดมศึกษา ยังพิจารณาเห็นควรให้มีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่ปัจจุบันที่ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิ นักเรียน ไม่สนใจเรียนในห้องเรียน มุ่งแต่กวดวิชา การออกข้อสอบไม่ตรงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องเชื่อมโยงกับจุดแข็ง และอัตลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ได้คนที่มีศักยภาพ ความพร้อมที่ตรงตามความต้องเฉพาะทาง
ที่มา : อนุสารอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ปีที่ 39 ฉบับที่ 423 ประจำเดือนกันยายน 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความแนะนำ
โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
http://www.mua.go.th/users/bhes/pdf/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B...
-
สวัสดีค่ะ... วันนี้แอดมินขอนำเสนอความหมายของ EdPEx อีกครั้ง ....ที่ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอ "คำถาม 15 ข้อที่คาใจ" เกี่ยวกับ EdPEx...
-
ฟอนต์อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ดาวน์โหลดกันได้เลยค่ะ http://www.f0nt.com/release/silpakor...
-
การสอนงาน หมายถึง การที่หัวหน้างานได้สอนหรือแนะนำให้ลูกน้อง ได้เรียนรู้งาน ที่ได้รับ มอบหมาย มีวัตถุประสงค์และข้อปฏิบัติอย่างไร จึงจะบรรล...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น