วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การถอดบทเรียน


            การถอดบทเรียนจึงเป็นสิ่งองค์กรใหญ่ๆ เริ่มให้ความสำคัญ โดยส่งบุคลากรไปรับการฝึกอบรมวิธีการถอดบทเรียนเพื่อนำมาใช้ในองค์กร ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ในการถอดบทเรียนนี้ต้องฝึกทักษะในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการใช้หัวใจนักปราชญ์ คือ สุ-สุตตะ การฟังอย่างลึกซึ่ง จิ- จินตะ เป็นการคิดวิเคราะห์พิจารณาไตร่ตรองในเรื่องที่รับฟัง  ปุ- ปุจฉา รู้จัการตั้งคำถามอย่างตรงประเด็น เพื่อให้การถอดบทเรียนได้ผลประโยชน์สูงสุด ลิ- ลิขิต เมือได้ข้อมูลมาแล้ว ต้องนำมาวิเคราะห์ และสกัดเป็นองค์ความรู้บันทึกไว้ให้อ่านง่าย สะดวกต่อการเรียนรู้ของคนในองค์กร ซึ่งทักษะเหล่านี้ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญระยะหนึ่ง แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือคนในองค์กรต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความไว้วางใจ เชื่อมั่น และศรัทธาในกันและกัน เห็นประโยชน์ของการถอดบทเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารระดับสูงปฏิบัติเป็นแบบอ ย่าง ส่งเสริมอย่างจริงจัง และสร้างสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

    บน เส้นทางการเติบโตขององค์กรนั้นมีประสบการณ์ ความรู้เกิดขึ้นมากมายในทุกๆ งาน ไม่ว่าจะเป็นงานหลักหรืองานสนับสนุน คนทำงานแต่ละคนล้วนมีบทเรียนในงานของตนเอง ที่ผ่านการลองผิดลองถูก จนในที่สุดก็ทำให้เกิดวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร ซึ่งเรียกกันว่า Best Practices การที่องค์กรมีองค์ความรู้สะสมไว้ในองค์กร ก็เสมือนกับคนที่จะมีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น นำไปสู่การก้าวย่างที่มั่นคงขึ้น การที่องค์กรให้คุณค่ากับการถอดบทเรียนของคนในองค์กรไม่ได้ส่งผลเฉพาะการทำ ให้องค์กรได้องค์ความรู้เก็บไว้ แต่จะทำให้คนในองค์กรเองเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ เกิดความภาคภูมิใจ สร้างให้เกิดความผูกพันหรือ Engagement ในที่สุด
          สถาบันการจัดการความรู้เพื่อ สังคมหรือ สคส. ได้ให้นิยามของการถอดบทเรียนไว้ว่าเป็นการทบทวน สรุปประสบการณ์ที่ผ่านมาในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดของเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ปรัชญาของการถอดบทเรียนก็คือ หนึ่ง เมื่อใดที่ลงมือปฏิบัติเมื่อนั้นต้องได้ความรู้ สอง เมื่อใดเสร็จสิ้นการปฏิบัติเมื่อนั้นต้องได้ความรู้เพิ่มขึ้น สาม เมื่อมีการปฏิบัติอีกครั้ง ต้องมีความรู้คู่การปฏิบัติและต้องทำได้ดีกว่าครั้งก่อนๆ  ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการเติบโตขึ้น มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้นในการทำงาน โดยใช้บทเรียนเพื่อทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือยกระดับไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น
          การถอดบทเรียนเป็นส่วนหนึ่งของ การจัดการความรู้ในองค์กร ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคนที่เรียกว่า Tacit Knowledge กลายมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือ Explicit Knowledge ซึ่งถ้าหากได้รับการบันทึกอย่างมีกระบวนการ มีจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการนำมาใช้ จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ในที่สุด


ที่มา :  http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=289348423770290170#editor/target=post;postID=9082582103449272554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น