ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร กล่าวว่า ในปี 2559 ตัวบ่งชี้ของแผนมีแนวทางตามกรอบแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2559) ซึ่งวิสัยทัศน์ ปี 2559 คือ “อุดมศึกษาเป็นแหล่งองค์ความรู้และพัฒนากำลังคนระดับสูงที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน
สร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีบทบาทสูงในสังคมประชาคมอาเซียนและมุ่งสู่คุณภาพอุดมศึกษาระดับนานาชาติ”
ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่สถาบันฯ ต้องเตรียมรับ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์
ปี
2559 มีจำนวนรวม 7 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
1. ร้อยละของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่ได้รับจัดลำดับในระดับสากล
ตามระบบมาตรฐานสากลที่สกอ.กำหนด
1) ภาพรวมของประเทศเท่ากับ
6%
2) กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาที่เป็น
เลิศในการสร้างองค์ความรู้เพื่อชี้นำสังคมและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับโลก
(เฉพาะกลุ่ม) เท่ากับ 100%
2. ร้อยละของอาจารย์ที่ได้รับการรับรองศักยภาพความเป็นอาจารย์มืออาชีพตามที่
สกอ.กำหนด เมื่อ เทียบกับจำนวนอาจารย์ทั้งหมด
เท่ากับ
25%
3. คะแนนเฉลี่ยจากงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์/เผยแพร่ต่อจำนวนอาจารย์ ≥
3.51 (คำนวณจากข้อมูลของสมศ. แต่ปรับเป้าหมายให้สอดคล้องตามกลุ่มสถาบัน)
4. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่ผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพหรือใบรับรองคุณวุฒิเฉพาะสาขาแห่งชาติ
เท่ากับ 100% (โดยครอบคลุมความรู้ด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ)
5. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
เท่ากับ ≥ 4.51
6. ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับนานาชาติ
โดยหน่วยงานสถาบันวิชาชีพ/องค์กร
ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
เท่ากับ
20%
7. ร้อยละของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยคุณภาพ
เท่ากับ 100%
ที่มา : ที่ประชุมแนวทางการเป็นผู้จัดทำมาตรฐานการศึกษาระดับอาเซียนและเกณฑ์ใหม่ในการประกันคุณภาพการศึกษา วันที่ 25 ต.ค. 2556 คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น